โควิดปี 2020 ทำให้ชาวอาเซียนกว่า 4.7 ล้านคน ‘ยากจนขั้นรุนเเรง’ ตกงาน-ไม่มีรายได้

การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีที่เเล้ว มีส่วนทำให้ประชาชนในอาเซียนเข้าสู่ภาวะ ‘ยากจนขั้นรุนแรง’  (Extreme Poverty) เพิ่มขึ้นกว่า 4.7 ล้านคน เเละสูญเสียงานถึง 9.3 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโรคระบาด แม้ว่า ADB คาดว่าการเติบโต 5.1% ในปี 2022 จากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง แต่ก็เตือนว่าหากเกิดไวรัสกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ ก็สามารถลดการเติบโตได้มากถึง 0.8% ทั้งนี้ ADB เรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียนจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมในระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังโรค และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในอนาคต การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาจเพิ่มขึ้นอีก 1.5% หากการใช้จ่ายด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้มีมูลค่าเเตะ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 3%

 

ที่มา : https://positioningmag.com/1377981

โควิดระบาด สะดุดสะดุดกระทรวงท่องเที่ยว

กระทรวงข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวบรรลุเป้าหมายบางอย่างในปีที่แล้ว แต่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายอื่นได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 นางสวนสวรรค์ วิกนาเกต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวกล่าวว่าความสำเร็จหลักของกระทรวงอยู่ที่งานด้านสื่อ โดยนักข่าวยังคงให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ชัดเจน รวดเร็วและเป็นข้อเท็จจริงต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง ในด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว งานมีการพัฒนาและปรับปรุง แต่เป้าหมายบางอย่างไม่บรรลุผลเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ดังนั้นเพื่อความพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยว รัฐบาลจึงตัดสินใจเปิดประเทศอีกครั้งสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าชาวต่างชาติจะเดินทางมาที่ลาวเพียงไม่กี่คน แต่การท่องเที่ยวก็เฟื่องฟูจากการเดินทางของคนในท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่จะไปหลวงพระบาง อุดมไซ และแขวงเวียงจันทน์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา แม้ว่ารัฐบาลจะจัดเขตดังกล่าวเป็นเขตท่องเที่ยวสีเขียว โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่อนุญาตการเดินทาง

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Covid29.php

 

จีนยืนยันสนับสนุนสปป.ลาวสู้โควิด

รัฐบาลจีนได้ยืนยันการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องสำหรับความพยายามของสปป.ลาวในการควบคุมการระบาดของโคโรนาไวรัส ซึ่งรวมถึงเป้าหมายในการฉีดวัคซีน 50% ของประชากรทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ เจียง ไซตง เอกอัครราชทูตจีนประจำสปป.ลาว กล่าวกับสื่อว่า “รัฐบาลจีนจะจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมให้กับรัฐบาลสปป.ลาวภายใต้นโยบายของทั้งสองประเทศ เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการรับมือกับโรคระบาด จีนยังคงมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับสปป.ลาวต่อไปเพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัสในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้น” การสนับสนุนนี้สะท้อนถึงมิตรภาพที่เกิดจากจิตวิญญาณของการเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ที่ครอบคลุมของความร่วมมือที่สอดคล้อง 4 ด้าน เพื่อนบ้านที่ดี, เพื่อนที่ดี, สหายที่ดีและหุ้นส่วนที่ดี จนถึงขณะนี้ ลาวได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว 6 ชนิด มากกว่า 5.7 ล้านโดสและทางการยังคงดำเนินโครงการฉีดวัคซีนต่อไป และตั้งเป้าว่าจะฉีดวัคซีนให้กับประชากรร้อยละ 70 ภายในสิ้นปีหน้าเพื่อป้องกันโควิด-19 อย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_China
197.php

รัฐบาลสปป.ลาวเรียกร้องให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดอย่างเข้มงวด

สปป. ลาว ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานและพนักงานได้รับการคุ้มครอง โรงงาน Trio Garment Factory ที่เป็นของต่างชาติ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านสิกขิต เขตนาทรายทอง ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 และมีคนงานประมาณ 2,800 คน มีกำลังการผลิตเสื้อผ้ามากกว่า 200,000 ชิ้น สร้างมูลค่ากว่า 27.5 พันล้านกีบต่อเดือน อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นหนึ่งในเครื่องกำเนิดเงินตราต่างประเทศที่สำคัญสำหรับสปป.ลาว มาตรการป้องกันที่เข้มงวดจะทำให้ขบวนการผลิตดำเนินการได้ต่อเนื่องสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_VP117.php

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ เผยเศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 1/64 ฟื้นตัวต่ำกว่าคาด

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 1/2564 เติบโตต่ำกว่าที่คาดที่ 4.48% YoY จากเศรษฐกิจภาคบริการและการบริโภคในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดในช่วงต้นปี 2564 ทำให้ทางการเวียดนามออกมาตรการปิดสถานที่ชั่วคราวอาทิ ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ และสถานบันเทิง ทั้งในฮานอยและโฮจิมินห์ ห้ามการรวมตัวของคนหมู่มาก ตลอดจนปรับลดเวลาทำการธุรกิจโดยเฉพาะบริการขนส่งสาธารณะ

  ขณะเดียวกันภาครัฐลดระดับในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลงเพื่อลดภาระทางการคลังหลังจากที่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในปีก่อน1ซึ่งครอบคลุมการปรับลดภาษีธุรกิจ การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ทำให้การบริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวอย่างจำกัด

  ประกอบกับการลงทุนทางตรง (FDI) ยังคงชะลอลง โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการใหม่ ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบจากต่างประเทศที่เติบโตค่อนข้างมาก กดดันให้การเกินดุลการค้าปรับลดลง แม้ว่าภาคการส่งออกแม้ว่าจะขยายตัวได้กว่า 22% ก็ตาม

  ประเด็นการบิดเบือนค่าเงินของเวียดนามไม่ได้ส่งผลต่อภาคการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากที่สหรัฐฯ จัดสถานะเวียดนามเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงินในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่ค่าเงินดอง (VND) ยังคงอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ หากเทียบการอ่อนค่าระหว่างค่าเงินดองกับค่าเงินในสกุลอาเซียนจะพบว่าค่าเงินดองอ่อนค่าน้อยที่สุดเทียบกับสกุลเงินหลักในอาเซียน

   อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวของค่าเงินดังกล่าวไม่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเวียดนามลดลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากเวียดนามยังคงมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตเทียบกับกลุ่มประเทศดังกล่าว ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ขยายตัวอย่างร้อยละ 30 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2564 โดยสหรัฐฯ เป็นตลาดหลักที่หนุนให้การส่งออกของเวียดนามยังคงขยายตัวในระดับสูงในปีนี้

  มองไปข้างหน้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนามยังคงมีทิศทางเติบโตที่เร่งขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ทั้งนี้ การลงทุนในภาคการผลิตกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง อาจเป็นสัญญาณบวกต่อทิศทางการฟื้นตัวของภาคลงทุน เนื่องจากการลงทุนทางตรงในภาคการผลิตซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 2 ใน 3 ของมูลค่าการลงทุนทางตรงทั้งหมดในช่วงก่อนโควิดซึ่งภาคดังกล่าวน่าจะได้รับได้รับอานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน เนื่องจากเวียดนามมีค่าแรงต่ำกว่าจีนค่อนข้างมาก อีกทั้ง เวียดนามมีข้อตกลงการค้าที่ครอบคลุม

   ดังนั้นหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดคลี่คลายลง น่าจะหนุนลงทุนรอบใหม่กลับมาเติบโตอีกครั้ง อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของภาคการบริโภคอาจต้องอาศัยเวลาอีกระยะ เนื่องจากการส่งออกที่ฟื้นตัวในช่วงแรกมาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ขณะที่ส่งออกเครื่องนุ่งห่มซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศมากกว่าอาจต้องรอการฟื้นตัวของความต้องการโดยเฉพาะจากยุโรปที่ยังคงเผชิญกับการระบาดของโควิด

  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามที่กรอบประมาณการที่ 6.8-7.3% โดยการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ที่ออกมาต่ำกว่าคาดอาจส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามเข้าใกล้กรอบล่างของประมาณการมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามที่ต้องติดตาม ได้แก่ พัฒนาการของเศรษฐกิจในยูโรโซนที่กำลังเผชิญกับการระบาดของโควิดรอบใหม่ อาจส่งผลให้การฟื้นตัวของการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามมีแนวโน้มที่จะเติบโตน้อยกว่าคาด

  นอกจากนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์การเปิดประเทศของเวียดนาม นอกจากจะมีผลต่อภาคการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อจังหวะของกระแสเงินลงทุนตรง ที่นักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนรายใหม่ยังคงรอคอยการเปิดประเทศก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในขั้นสุดท้าย

ที่มา : /1 https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Vietnam-apr-FB-12-04-2021.aspx

/2 https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=d1Z2b01wVFVaRVk9