รัฐบาล สปป. ลาวกําหนด 8 มาตรการ เพื่ออํานวยความสะดวกทางด้านการค้า

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2563 นายสุลิยน พิลาวง หัวหน้ากรมการนําเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว ในฐานะรองหัวหน้าคณะเลขานุการคณะกรรมการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าขั้นศูนย์กลาง ได้เป็น ประธานการประชุมทบทวนแผนการปฏิบัติงานอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าปี 2560 – 2565 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และการปฏิบัติตามคําสั่งนายกรัฐมนตรีเลขที่ 12/นย. ลงวันที่ 16 ต.ค. 2562 ว่าด้วยการอํานวยความสะดวกให้แก่ การนําเข้า ส่งออก การนําเข้าชั่วคราว การผ่านแดน และการเคลื่อนย้ายสินค้าใน สปป. ลาว โดยมีความคืบหน้าหลาย ด้าน เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าขั้นแขวง การวางแผนกิจกรรมและงบประมาณ เพื่อจัดการประชุมหารือแนวทางลดขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคทางการค้าขั้นท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาที่ยังไม่ได้รับการ แก้ไข เช่น ผู้ประกอบการยังพบกับความยุ่งยากในการรวบรวมเอกสารการนําเข้าและส่งออกสินค้า โดยพบว่าบางแขวงยังมี ขั้นตอนมากมายและคาบเกี่ยวกับหลายหน่วยงานและแต่ละหน่วยงานก็ยึดถือตามกฎระเบียบของตนเอง นอกจากนี้ ยังพบการตั้งด่านตรวจตามเส้นทางขนส่งสินค้า ซึ่งกระทบต่อการขนส่งของภาคธุรกิจ

ในโอกาสนี้ นายสุลิยนฯ ได้ให้มอบแนวทางในการดําเนินแผนงานอํานวยความสะดวกทางการค้าปี 2560 – 2565 และการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้

1. เผยแพร่และปฏิบัติตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี เลขที่ 12/นย. ลงวันที่ 16 ต.ค. 2562 ว่าด้วยการอํานวยความสะดวก ให้แก่การนําเข้า ส่งออก การนําเข้าชั่วคราว การผ่านแดน และการเคลื่อนย้ายสินค้าใน สปป. ลาว

2. ปรับปรุงการอํานวยความสะดวกในการดําเนินธุรกิจตามตัวชี้วัดที่ 8 (การค้าระหว่างประเทศ) ให้ดีขึ้นในปี 2563 และดําเนินการตามแผนงานอํานวยความสะดวกทางการค้าปี 2560 – 2565 ให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยกระทรวง อุตสาหกรรมฯ เป็นหน่วยงานหลัก

3. ดําเนินการตามความตกลงด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Agreement – TEA) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) โดยเฉพาะข้อบัญญัติในหมวด A B และ C ให้สําเร็จตามกําหนดเวลาที่ได้แจ้งไว้กับ สํานักงานเลขาธิการ WTO เช่น การทบทวนการปฏิบัติตามข้อบัญญัติหมวด A และ B และการปฏิบัติตามข้อบัญญัติหมวด C ให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งได้ขอความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคนิคไปแล้ว

4. ผลักดันให้หน่วยงานส่วนกลางและท้องถิ่นกําหนดมาตรฐานการบริการ จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสารที่ใช้ และระยะเวลาในการให้บริการ เพื่อเผยแพร่ลงเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาว แขวง ด่านชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. จัดการประชุมวิชาการและฝึกอบรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายต่าง ๆ ในการอํานวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ภาครัฐและภาคธุรกิจในนครหลวงเวียงจันทน์และแขวงต่าง ๆ ทบทวนและ ประเมินผลกระทบจากมาตรการด้านการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Meeasure – NTMs) และเสนอไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทําแผนปรับปรุงการดําเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

6. พัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาวให้ทันสมัยและมีความยั่งยืน

7. ปรับปรุงคู่มือแผนดําเนินงานการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าของ สปป. ลาวปี 2560 – 2565

8. เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่ออํานวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบ การค้าชายแดนและการค้าทวิภาคี

สปป. ลาวเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2556 และเป็นประเทศสมาชิกลําดับที่ 158 จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศทั่วโลก โดยความตกลงด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้าภายใต้ WTO (Trade Facilitation Agreement – TEA) กําหนดเรื่อง การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง (Special and Different Treatment – SDT) โดยจําแนกข้อบัญญัติออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวด A คือ ข้อบัญญัติที่ต้องปฏิบัติทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ หมวด B คือ ข้อบัญญัติที่สมาชิกสามารถ กําหนดเวลาที่จะเริ่มปฏิบัติตามพันธกรณีได้เอง และหมวด C คือ ข้อบัญญัติที่สมาชิกต้องได้รับการความช่วยเหลือก่อน จึงจะปฏิบัติตามได้ ทั้งนี้ SDT ให้ความสําคัญกับความพร้อมของประเทศสมาชิก จึงไม่ได้กําหนดให้ประเทศกําลังพัฒนาและ ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันเท่าเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดย SDT อาจอยู่ในรูปแบบของการให้ ระยะเวลาในการปรับตัวก่อนที่จะผูกพันตามความตกลงฯ หรือให้การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงบางส่วน สมาชิก แต่ละประเทศ (ยกเว้นประเทศพัฒนาแล้ว) มีสิทธิพิจารณาจัดกลุ่มและผูกพันตนเองต่อความตกลงดังกล่าวตามที่เห็นสมควร

ที่มา : https://globthailand.com/laos-08072020/

INFOGRAPHIC : GRDP นครโฮจิมินห์โต 1.02 ในช่วงครึ่งแรกของปี 63

สำนักงานสถิตินครโฮจิมินห์ เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (Gross Regional Domestic Product : GRDP) ในนครโฮจิมินห์ ขยายตัวชะลอ 1.02% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-grdp-rises-102-in-h1/178337.vnp

INFOGRAPHIC : ครึ่งแรกของปี 2563 GDP เวียดนามโต 1.81%

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามขยายตัวชะลอ 1.81% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ซึ่งเติบโตต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วง 6 เดือนของปี 2554-2563

ที่มา : https://baodautu.vn/infographic-gdp-6-thang-nam-2020-tang-181-d124941.html

พาณิชย์ เผย FTA ดันส่งออกมังคุดไทยช่วง 5 เดือนแรกขยายตัว 16%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่า จากการติดตามการส่งออก “มังคุด” พบว่าขยายตัว 16% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 และมีมูลค่าส่งออกถึง 290 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ยังอยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ก็ตาม จีน อาเซียน และฮ่องกง เป็นตลาดส่งออกสำคัญ มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 99% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งไทยมีความตกลงเอฟทีเอ กับทั้ง 3 ประเทศปัจจุบันประเทศคู่เอฟทีเอของไทยมีทั้งหมด 14 ประเทศ ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ามังคุดจากไทยแล้ว เหลือเพียง 4 ประเทศ ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้า ได้แก่ เกาหลีใต้ (อัตราภาษีนำเข้า 24%) กัมพูชา มาเลเซีย และลาว (อัตราภาษีนำเข้า 5%) จึงถือเป็นโอกาสทองของผลไม้ไทยที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้เอฟทีเอ จะขยายการส่งออกผลไม้ต่างๆ ของไทยไปยังต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ควบคู่กับการรักษามาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งสร้างเอกลักษณ์ด้วยการพัฒนาสร้างตราสินค้า เพื่อผลักดันให้ผลไม้ไทยครองใจผู้บริโภค”

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2020/25924

“BCG” แพลนซื้อกิจการโซลาร์ฟาร์มในเวียดนาม

บมจ.บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส (BGC) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้วที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้ประกาศว่ากำลังอยู่ในช่วงเจรจากับนักลงทุนชาวเวียดนาม เพื่อซื้อโซลาร์ฟาร์มที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท (32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทฯ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ด้วยจำนวนอย่างน้อย 2 โซลาร์ฟาร์ม โดยมีกำลังผลิตรวมระหว่าง 50-100 เมกะวัตต์ และงบประมาณรวมอยู่ที่ประมาณ 1-2 พันล้านบาทสำหรับการซื้อเท่านั้น ทั้งนี้ คุณศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่าบริษัทมีแผนที่จะกระจายธุรกิจให้กว้างขวางมากขึ้นและยังคงลงทุนในด้านพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ลมและทรัพยากรน้ำ อีกทั้ง ทางบริษัทฯ มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจพลังงานทดแทนในเวียดนาม ญี่ปุ่นและไต้หวัน ที่มีศักยภาพสูงทางด้านพลังงานหมุนเวียดนามในแผนระดับชาติของกลุ่มประเทศดังกล่าว ประกอบกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/bg-container-glass-of-thailand-plans-to-purchase-local-solar-farms-415882.vov

“ปิโตรเวียดฯ” เผยผลผลิตน้ำมันและก๊าซเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้

ปิโตรเวียดนามสำรวจและผลิต (PVEP) รายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันอยู่ที่ 2.01 ล้านตัน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 4 และบรรลุไปแล้วกว่าร้อยละ 53 ของเป้าหมายตลอดทั้งปี หากจำแนก ชี้ให้เห็นว่าผลผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 1.42 ล้านตัน และ 598 ล้านลูกบาศก์เมตร ขยายตัวสูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 4%, 1% ตามลำดับ ทั้งนี้ คุณ Tran Quoc Viet ประธานและผู้บริหารระดับสูงของปิโตรเวียดนาม กล่าวว่าถึงแม้ผลผลิตจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม แต่ราคาน้ำมันโลกอยู่ในช่วงขาลง รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายทางการเงินได้ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ปิโตรเวียดนามจะปรับตัวในการลดต้นทุน ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพและนำเทคโนโลยีมาใข้ในกระบวนการผลิต

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pveps-oil-gas-output-surpasses-sixmonth-target/178275.vnp