อุตสาหกรรมรถยนต์เวียดนามยังคงเติบโต … แม้การนำเข้าจากไทยจะเพิ่มกว่าร้อยละ 46

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เวียดนามเป็นประเทศที่ตลาดรถยนต์มีโอกาสเพิ่มปริมาณขึ้นอีกมากในระยะอีก 5 ถึง 7 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มได้ แม้ปัจจุบันเวียดนามจะยังตามหลังประเทศอื่นๆในอาเซียนอยู่หลายด้าน อย่างไรก็ตาม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า หากเวียดนามมีการพัฒนาต่อเนื่องในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับสูงเช่นปัจจุบัน ภาครัฐมีการออกแบบนโยบายที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนได้อย่างเหมาะสม การสร้างระบบสินเชื่อของสถาบันการเงินที่แข็งแกร่งและเข้าถึงลูกค้าได้หลายระดับ รวมถึงการพัฒนาความน่าเชื่อถือของรถยนต์สัญชาติเวียดนามเอง ก็อาจทำให้ภาพของอุตสาหกรรมรถยนต์เวียดนามเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยเฉพาะในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้านี้

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมรถยนต์ในเวียดนามที่ยังไม่เข้มแข็งนัก ทำให้ต้องพึ่งพิงรถยนต์นำเข้าในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจะทำให้ไทยยังมีโอกาสที่จะส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไปยังตลาดเวียดนามได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในระยะยาวอาจจะมีโอกาสที่การส่งออกไม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงดังเช่น ณ ขณะปัจจุบัน เนื่องจากคาดว่าจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นในเวียดนามดังกล่าวข้างต้น

สำหรับในปี 2562 นี้ ไทยยังคงมีโอกาสส่งออกรถยนต์ไปยังเวียดนามได้ดีต่อเนื่อง ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ไทยมีโอกาสส่งออกรถยนต์ไปตลาดเวียดนามได้เพิ่มขึ้นเป็น 83,000 คัน หรือขยายตัวกว่าร้อยละ 46 จากที่ปี 2561 สามารถส่งออกไปได้ประมาณ 57,000 คัน ส่วนในปี 2563 ที่จะถึงนี้ก็คาดว่าการส่งออกรถยนต์ของไทยไปเวียดนามจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 100,000 ถึง 103,000 คัน โดยประเภทรถที่จะเติบโตได้ดี คือ รถยนต์นั่ง ที่ตลาดให้ความนิยมค่อนข้างมาก

โดยสรุป แม้ว่าพื้นฐานต่างๆของเวียดนามปัจจุบันจะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนให้แข็งแกร่งขึ้นมายังเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่มาก แต่ด้วยโอกาสที่ตลาดรถยนต์ในประเทศจะมีแนวโน้มขยายตัวสูงในอนาคต และการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ในระยะต่อไปที่มุ่งไปสู่รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ก็อาจจะเป็นโอกาสให้ค่ายรถสัญชาติเวียดนามพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของตนเองขึ้นในประเทศได้ในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลทำให้การส่งออกรถยนต์ของไทยไปเวียดนามเติบโตได้ในระดับที่จำกัดในระยะข้างหน้า แต่เวียดนามเองก็ยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญอีกมากเพื่อให้พัฒนาขึ้นไปได้ถึงจุดนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคที่จะรองรับต่อความต้องการของตลาด รวมถึงอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดที่สูงมาก เมื่อค่ายรถสัญชาติญี่ปุ่น เกาหลี และตะวันตก มีแนวโน้มจะตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารูปแบบต่างๆในฐานการผลิตอื่นในภูมิภาคอาเซียน และมีโอกาสที่จะส่งออกมายังเวียดนามได้เช่นเดียวกัน

ที่มา : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/z3038.aspx

อสังหาฯชะลอฉุดตลาดลิฟท์ ‘ฮิตาชิ’หันรุกซีแอลเอ็มวี

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (กัมพูชา) จำกัด ผู้ผลิตและให้บริการลิฟต์และบันไดเลื่อนฮิตาชิ กล่าวว่า ปีนี้ตลาดลิฟต์ในประเทศไทยทรงตัว เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาฯรายใหญ่ไม่ลงทุนโครงการตึกสูง ทำให้ภาพรวมตลาดลิฟท์ทุกยี่ห้อ มีความต้องการลดลง จากปัจจุบันมีดีมานด์ปีละ7,000-8,000 ยูนิต ขณะที่ตลาดลิฟต์ในกลุ่ม CLMV เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องเพราะเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะช่วง 5 ปีที่ผ่านมา GDP ของประเทศกัมพูชาโต 6-7% เนื่องจากนักลงทุนรายใหญ่จากจีนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดอสังหาฯ ส่งผลให้ความต้องการใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนเติบโตต่อเนื่องปีละ 10% จากดีมานด์ที่มีอยู่ 1,500 ยูนิต  กลยุทธ์การทำตลาดจะเน้นการหาลูกค้า ที่เป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ของกัมพูชา และจะใช้วิธีการมัดจำก่อนล่วงหน้า 60% ที่เหลือ 40% ลูกค้าต้องชำระหลังจากติดตั้งเสร็จเพื่อลดความเสี่ยง สำหรับตลาดลิฟต์ในกัมพูชา แบ่งออก 2 ตลาด ตลาดอินเตอร์แบรนด์จาก ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ถือว่าเป็นสินค้าคุณภาพ ราคาสูง ส่วนตลาดโลคัล ส่วนใหญ่สินค้าผลิตมาจากจีน มีราคาต่ำกว่า 20-50%  เนื่องจากตลาดลิฟต์ในกัมพูชาเป็นตลาดเปิดยังไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการซื้อ ขายติดตั้ง ลิฟต์ และบันไดเลื่อน ดังนั้นการนำเข้าจากประเทศต่างๆ สามารถนำเข้ามาขายได้อย่างเสรี รวมถึงสามารถสั่งซื้อตรงได้จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีน และเวียดนาม ซึ่งมีราคาถูกมาก

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/850176

เวียดนามดำเนินขอรับใบอนุญาตส่งออกอะโวคาโดไปยังสหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานการค้าเวียดนาม สาขาซานฟรานซิสโก (สหรัฐอเมริกา) เปิดเผยว่าอะโวคาโดส่วนมากที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้น ดังนั้น ผู้จัดจำหน่ายต้องควบคุมขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่ายสินค้า ในขณะที่ ผู้ส่งออกต้องมีใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ สำหรับการจะเข้าตลาดสหรัฐฯ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำตามข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดระดับความสุก, สี, น้ำหนัก, สะอาด และปราศจากแมลง เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กมักจะประสบปัญหาในการเข้าถึงตลาดดังกล่าวอย่างมาก เป็นผลมาจากขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ นอกจากนี้ สำหรับสินค้าทางการเกษตร เช่น มะม่วง เวียดนามจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินรับใบอนุญาต 10 ปี ถึงจะสามารถส่งออกมะม่วงไปยังสหรัฐฯได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536540/viet-nam-trying-to-get-us-export-licence-for-avocados.html#GO48zrRXQqiBzJqc.97

เวียดนามเผยปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น แต่ยอดมูลค่ากลับลดลง

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562  เวียดนามส่งออกข้าวกว่า 5.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 แต่มูลค่ากลับลดลงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีการบริโภคข้าวเกือบ 1.76 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 720 ล้าน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ ราคาข้าวเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 13.8 คิดเป็นราคาอยู่ที่ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และทางหน่วยงานเกษตรกรรมฟิลิปปินส์มีการเสนอให้ใช้ภาษีนำเข้าข้าวในการปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ โดยมีอัตราภาษีนำเข้าข้าวอยู่ที่ร้อยละ 30-65 ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกข้าวเวียดนามในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ตลาดญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะนำเข้าข้าวในกลุ่มประเทศสมาชิก CPTPP เช่น เวียดนาม นอกจากนี้ เวียดนามเล็งเห็นโอกาสในการขยายตลาดไปยังแอฟริกาและตะวันออกกลางอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536522/rice-export-volume-up-but-value-falls.html#m6XyQo0ATOuAqIYj.97

เครื่องบิน ATR ลำใหม่ของ MNA

สายการบินประจำชาติแห่งเมียนมา (MNA) ได้รับเครื่องบินซีรี่ส์ใหม่ ATR 72-600 จาก บริษัท ATR ของฝรั่งเศส MNA จำนวน 10 ลำ ประกอบด้วย ATR 72-600 series และเครื่องบิน ATR 72-500 Series โดยเครื่องบินใหม่จะถูกเพิ่มในเที่ยวบินภายในประเทศและต่างประเทศ เครื่องบินดังกล่าวบินมาจากตูลูสประเทศฝรั่งเศสและใช้เวลาสามคืนในสนามบินกรีซ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดียก่อนบินไปย่างกุ้ง โดยสายการบินได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อซื้อเครื่องบิน ATR 72-600 series จำนวน 6 ลำจาก ได้เปิดศูนย์ซ่อมบำรุงที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งซึ่งได้รับการยอมรับจากสำนักงานความปลอดภัยการบินแห่งยุโรป (EASA) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารวมถึงการตรวจสอบ 8 ปีมีมูลค่าสูงกว่า 700,000 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องบิน ATR รุ่นปี 2007 และมากกว่า 400,000 เหรียญสหรัฐสำหรับรุ่นปี 2010 ของสิงคโปร์ การบำรุงรักษาของมาเลเซียจะมีราคาสูงกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องบิน ATR รุ่นปี 2012 ส่วนของเมียนมาจะอยู่ที่ 100,000 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/mna-receives-new-atr-plane

ผู้ผลิตรถยนต์ในเมียนมากำลังเจอความท้าทาย

ผู้ผลิตรถยนต์ในเมียนมาได้เพิ่มการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น บริษัท ซูซูกิเมียนมาร์มอเตอร์ จำกัด ผลิตรถยนต์ 15,000 คันเมื่อเทียบกับ 12,000 คันในปี 61 หรือเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบเป็นรายปีและเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาในปีนี้โดยมีออเดอร์การผลิต 60% ของความต้องการในประเทศ ที่ผ่านมา Suzuki Myanmar เปิดโรงงานในเมือง South Dagon ของย่างกุ้งในปี 56 และย้ายโรงงานไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา เพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่สูงขึ้น แต่คำเตือนของฟิทช์โซลูชั่นส์ระบุว่าการเติบโตอาจเจออุปสรรค เช่น ระบบธนาคารที่ด้อยพัฒนา การเข้าถึงเครดิตของผู้บริโภคและเส้นทางคมนาคมที่ล้าหลัง จากการคาดการณ์เมียนมามีรถ 26.5 คันต่อประชากร 1,000 คนในปี 62 ซึ่งต่ำกว่าไทยที่ 290 คันต่อประชากร 1,000 คน ในปี 61 ยอดขายรถยนต์ใหม่ 18,000 คัน ซึ่งมากกว่า 2.1 เท่าของปีที่แล้ว ภายในปี 63 มีการประเมินว่าจะมีรถใหม่มากกว่า 2 ล้านคัน โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ได้ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกขึ้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ซึ่งจะผลิต Toyota Hilux ตั้งแต่เดือนก.พ. 64 เป็นต้นไป โรงงานแห่งใหม่มูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐใช้ประกอบรถ Hilux ได้ 2,500 คัน โดยใช้วิธี Semi Knocked Down (SKD)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/car-makers-local-production-despite-challenges.html