กัมพูชาเร่งศึกษาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอินเดีย

หลังจากการลงนามในข้อตกลงการค้าความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคระหว่างกัมพูชาและจีน รวมถึงได้ข้อสรุปในการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้แล้ว กัมพูชายังคงมองหาคู่ค้าที่มีศักยภาพในการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีต่อไป โดยเฉพาะกับอินเดีย ซึ่งโฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่ากระทรวงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันวิจัยอิสระในภูมิภาคเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับต้นทุนและผลประโยชน์ของ FTA ระหว่างประเทศคู่ค้าต่อไป โดยการศึกษายังอยู่ในระหว่างดำเนินการและเกี่ยวข้องกับการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกับเตรียมการสำหรับการเจรจาระหว่างอินเดียในระยะถัดไป ซึ่งอินเดียถือเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีกำลังซื้อ ด้วยเหตุนี้จึงแสดงให้เห็นถึงตลาดที่มีศักยภาพที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาและเป็นเป้าหมายเชิงตรรกะต่อไปในการที่จะเป็นพันธมิตรทางการค้าที่หวังไว้สำหรับกัมพูชาในอนาคต ข้อมูลจากสถานทูตอินเดียในกัมพูชากล่าวว่าปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศสูงถึง 250 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2018 อยู่ที่ 227 ล้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816522/looking-to-india-for-next-major-fta-agreement/

คาดการณ์จำนวนเที่ยวบินของกัมพูชาลดลงในปี 2021

ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์มีเที่ยวบินตามกำหนดเวลาทั้งขาเข้าและขาออกเพียงประมาณ 223 เที่ยวบิน ระหว่างสนามบินนานาชาติ 3 แห่ง ของกัมพูชา ตามรายงานของผู้บริหารระดับสูงของท่าอากาศยานกัมพูชา โดยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศยานกัมพูชากล่าวว่าการจราจรทางอากาศในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2020 ซึ่งลดลงรวมกว่าร้อยละ 94 ซึ่งมีเที่ยวบินเข้าและออกโดยเฉลี่ย 13 เที่ยวบินต่อวัน ณ สนามบินนานาชาติ 3 แห่ง โดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพนมเปญ โดยสนามบินนานาชาติสามแห่งของกัมพูชาให้การต้อนรับผู้โดยสาร 2.13 ล้านคน (ระหว่างประเทศ ภายในประเทศและการต่อเครื่อง) ในปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับตัวเลขปี 2019 ตามข้อมูลของสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐ (SSCA) รวมถึงข้อมูลจาก SSCA แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาจัดการขนส่งสินค้า 49,983 ตัน ณ สนามบินนานาชาติสามแห่งของประเทศ ลดลงร้อยละ 31 จากตัวเลขของปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816334/number-of-flights-down-by-far-in-early-2021/

Lao National Single Window ลดการซับซ้อนการนำเข้า-ส่งออกพรมแดนระหว่างประเทศ

Lao National Single Window มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 23 ก.พ.เป็นต้นไป โดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศการใช้งานระบบอย่างเป็นทางการ  เพื่อลดความซับซ้อนของการนำเข้าส่งออกและขนส่งสินค้าและการขนส่งสินค้าทั้งหมดที่พรมแดนระหว่างประเทศและสนามบินทุกแห่งในสปป.ลาว การใช้ LNSW จะช่วยเพิ่มแหล่งรายได้ให้กับสปป.ลาวอย่างมีนัยสำคัญและยังรับประกันความโปร่งใสในการค้าและอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรทำให้ผู้นำเข้าสามารถติดต่อกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน หน้าที่หลักของระบบคือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการร้องขอและออกใบอนุญาตนำเข้า การติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าโดยใช้ ID อ้างอิงรายการ และการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม ณ จุดเดียวกัน ทั้งนี้ LNSW ครอบคลุม ใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ รายการอิเล็กทรอนิกส์ การออกใบแจ้งหนี้และการเรียกเก็บเงิน ณ จุดเดียว และสถิติและการรายงาน กระทรวงการคลังได้ประกาศให้ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจและตัวแทนเดินเรือทั้งหมดในสปป.ลาวที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกหรือขนส่งสินค้าควรไปที่สำนักงาน LNSW เพื่อรับการฝึกอบรม ผู้ค้าที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนควรดำเนินการทันทีและควรออกบัญชีผู้ใช้โดยด่วน ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสินค้าทั้งหมดจะต้องชำระภาษีศุลกากรและภาษีอื่น ๆ รวมทั้งค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ จุดเดียว โดย BCEL,LDB ,BCEL i- Banking, BCEL One, LDB Corporate Banking เงินสด การโอนเงินและเช็คขึ้นอยู่กับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ระบบนี้ในอัตรา 120,000 กีบต่อรายการ ซึ่งไม่รวมภาษีศุลกากรและอากรอื่น ๆ ภาษีค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่หน่วยงานต่างๆ เรียกเก็บ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_national_37.php

กัมพูชาร่วมกับออสเตรเลียหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยลงทุน

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ร่วมกับโครงการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการเกษตรกัมพูชา – ออสเตรเลีย (CAVAC) ได้มีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยลงทุนทางการเกษตรและอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ในการพูดคุยเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากกระทรวงและสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดตั้งหน่วยลงทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง CDC และ CAVAC ซึ่งหน่วยลงทุนด้านการเกษตรคาดว่าจะสร้างความสะดวกให้แก่นักลงทุนที่สนใจลงทุนในด้านการเกษตร โดยจะมีการอัพเดทข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบ สิ่งจูงใจและเงื่อนไขที่จำเป็น ผ่านการจัดทำกลยุทธ์เพื่อเผยแพร่ศักยภาพการลงทุนให้กับนักลงทุนได้พิจารณาลงทุน โดยคาดว่าหากจัดตั้งหน่วยลงทุนได้แล้วจะช่วยดึงดูดนักลงทุนด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรให้มาลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของกัมพูชาประจำปี 2015-2025 และการดำเนินกลยุทธ์การดึงดูดการลงทุนให้เป็นเป้าหมาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816226/cambodia-australia-discuss-establishment-of-agri-food-investment-unit/