EIC CLMV Outlook Q4/2020

เศรษฐกิจ CLMV ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 หลังเริ่มผ่อนคลายมาตรการ lockdown ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนปี 2020 แม้กัมพูชาและลาวสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จ แต่เมียนมาและเวียดนามกลับเผชิญการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 โดยเวียดนามกลับมาประกาศใช้มาตรการ lockdown ในบางพื้นที่และสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม ขณะที่เมียนมายังคงได้รับผลกระทบอย่างมากจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน ทั้งนี้เศรษฐกิจ CLMV ยังคงฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึง โดยระดับการฟื้นตัวที่แตกต่างกันมากขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัวแบบช้า ๆ และไม่ทั่วถึงของเศรษฐกิจโลก อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น ระดับการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และประสิทธิภาพของมาตรการรองรับ รวมทั้งปัจจัยเฉพาะในรายประเทศที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ เศรษฐกิจเวียดนามกลับมาฟื้นตัวได้ดีด้วยแรงหนุนจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง ขณะที่การระบาดของ COVID-19 และการถูกเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้า EBA บางส่วนจะยิ่งซ้ำเติมการชะลอตัวของอุปสงค์ต่างประเทศในกัมพูชา ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจลาวยังเผชิญแรงกดดันจากข้อจำกัดในการทำนโยบายการคลัง (fiscal space) และความเสี่ยงที่สูงขึ้นในประเด็นการผิดชำระหนี้ สำหรับเมียนมา การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และมาตรการ lockdown ที่กลับมาเข้มงวดขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำกว่าคาดการณ์ในปีงบประมาณ 2020/2021

  • กัมพูชา  อุปสงค์จากต่างประเทศที่ยังอ่อนแอจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกัมพูชา
  • สปป.ลาว ข้อจำกัดในด้านการทำนโยบายการคลังและความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นยังเป็นความท้าทายหลัก
  • เมียนมา การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และมาตรการ lockdown ที่กลับมาเข็มงวดขึ้นจะส่งผลลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเมียนมา
  • เวียดนาม แม้เผชิญการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 แต่เศรษฐกิจเวียดนามยังขยายตัวได้ดี จากการควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็วและการส่งออกที่แข็งแกร่ง

ที่มา : SCB EIC

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7175

อียู ให้เงินสนับสนุนอาเซียนเดินหน้าโครงการ Smart Green ASEAN Cities

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้มีมติเห็นชอบความตกลงทางการเงินระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อดำเนินโครงการ Smart Green ASEAN Cities เป็นความตกลงเพื่อแสดงว่าอียูจะสนับสนุนงบประมาณ 5 ล้านยูโร สำหรับการดำเนินโครงการฯเวลา 72 เดือน ที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความเป็นเมืองที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับพลเมืองอาเซียน โดยสนับสนุนให้เมืองต่างๆ ในอาเซียนใช้ประโยชน์จากแนวทางเมืองอัจฉริยะ ทั้งนี้มีสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศเข้าร่วมดำเนินโครงการ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ ไทย โดยตั้งเป้าผลผลิต 3 ข้อ คือ 1.ยกระดับการออกแบบ วางแผน และดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะสำหรับเข้าร่วมดำเนินโครงการ 2.เสริมสร้างศักยภาพประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะ ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียน และ 3.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะระหว่างสหภาพยุโรปและภายในภูมิภาคอาเซียน

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/news/2020-732378c251cb42fc3f36615ea1929c94

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 86,000 คัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงมูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์อยู่ที่ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ อยู่ที่ราว 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 1.3 พันล้านดอลลาราสหรัฐ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 350 ล้านด่อง (15,000 ดอลลาร์สหรัฐ) – 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (51,700 ดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญ มองว่าขนาดของการผลิต, การยกเว้นภาษี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเข้าถึงส่วนแบ่งทางการตลาดขนาดใหญ่

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnamese-spend-1-9-bln-on-imported-cars-4195897.html

แบงก์ชาติเวียดนามหั่นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5 หวังบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP

จากการที่อัตราเงินเฟ้อผ่อนคลายลงในอีกไม่กีปีข้างหน้า เนื่องมาจากราคาเนื้อหมูลดลง ราคาน้ำมันและราคาก๊าซอยู่ในระดับต่ำ ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5 ในปีนี้ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ร้อยละ 2.5-3 ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ ทางธนาคารกลางเวียดนาม ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 เพื่อพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ลงมาถึงร้อยละ 0.5 ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ลงจากร้อยละ 4.5 ต่อปี สู่ระดับร้อยละ 4 และปรับลดอัตราดอกเบี้ย rediscount rate ลงจากร้อยละ 3 สู่ระดับร้อยละ 2.5 เป็นต้น นอกจากนี้ ธนาคารกลางเวียดนามยังสั่งให้ธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดสำหรับระยะสั้น ลงเหลือร้อยละ 4.5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและการส่งออก เป็นต้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-cbank-set-for-5th-policy-rate-cut-to-realize-gdp-growth-target-314966.html