ดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง หวั่นกระทบส่งออกเมียนมา

ผู้ส่งออกเมียนมากังวลการค้าระหว่างประเทศและรายได้จากการส่งออกซึ่งได้รับผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงและอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงจากธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน อยู่ที่ 1,287.4 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 ปี กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าปริมาณการค้าในช่วงสามสัปดาห์แรกของปีงบประมาณปัจจุบันน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ที่ได้รับในช่วงเวลาเดียวกันของงบประมาณ 62-63 ตลาดส่งออกเริ่มแย่ลงจากพิษ COVID-19 ยังได้รับผลกระทบค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า หากยังลดลงอย่างนี้ผู้ส่งออกย่อมมีโอกาสขาดทุน รัฐบาลและ CBM จะต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น นักวิเคราะห์การเงินคาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจยังคงต่ำกว่า 1300 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐไปอีกระยะ ทั้งยังชี้ให้เห็นว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐได้พิมพ์และใช้เงินจำนวน 3 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาและหากยังพิมพ์ธนบัตรต่อไปยิ่งทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงไปอีก

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-exporters-concerned-over-falling-dollar-rate.html

รัฐบาลสปป.ลาวให้คำมั่นว่าจะลดการขาดดุลการคลังให้อยู่ในระดับเหมาะสม

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะลดการขาดดุลการคลังให้เหลือเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2564-2568 คำมั่นสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่สปป.ลาวกำลังพยายามลดหนี้สาธารณะและบรรเทาความตึงเครียดด้านงบประมาณที่ขาดดุลต่อเนื่องจากช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสปป.ลาวมีโครงการลงทุนใหญ่มากมายไม่ว่าจะเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำหรือเมกาโปรเจกต์อย่างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ทำให้สปป.ลาวมีความเสี่ยงที่อาจผิดนัดชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้และเงินคงคลังที่ไม่สมดุลกับรายจ่ายของประเทศทั้งนี้การที่จะลดการขาดแคลนงบประมาณ รัฐบาลจะต้องลดการใช้จ่ายซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในระยะยาวรัฐบาลจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการจัดการการขาดดุลและทำให้แน่ใจว่าหนี้ของประเทศอยู่ภายใต้การควบคุม ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่สปป.ลาวกำลังเผชิญกับความตรึงเครียดของเศรษฐกิจจากรระบาดของ COVID-19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt216.php

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชากล่าวถึงการถูกขัดขวางการส่งออกด้วยปัจจัยหลายประการ

กัมพูชาส่งออกข้าวประมาณ 30,000 ตัน ในช่วงปี 2009 และ ทางภาครัฐบาลกัมพูชาได้มีการใช้นโยบายในการช่วยกระตุ้นการส่งออกซึ่งในปัจจุบันกัมพูชามีการส่งออกข้าวสารโดยประมาณ 600,000 ตันต่อปี โดยในปี 2015 รัฐบาลตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวสารไว้ที่ 1 ล้านตัน ภายในปี 2020 ซึ่งคนวงการข้าวกล่าวว่าปัญหาต่างๆยังคงไม่ได้รับการแก้ไขมาหลายปี แม้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค (TWG) ด้านข้าวเมื่อ 5 ปีก่อน ไปจนถึงปัญหาด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคงต้องการได้รับการพัฒนาเพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตข้าวสามารถแข่งขันได้และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งระบบชลประทานของประเทศไม่ได้รับการออกแบบและจัดการที่ดีมากในอดีต โดยในปัจจุบันกัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกที่ 536,305 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ซึ่งเป็นข้าวหอมประมาณ 421,132 ตัน ตามที่กระทรวงเกษตรระบุ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779265/rice-exports-hindered-by-a-number-of-factors-says-an-insider/

บริษัทจัดการด้านพลังงานระดับโลกลงสนามอุสาหกรรมพลังงานภายในกัมพูชา

บริษัทจัดการพลังงานระดับโลก Eaton ประกาศว่าได้ร่วมมือกับ One Stop Solution Electric (OSS) ในฐานะตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์จัดการด้านพลังงานไฟฟ้าแรงต่ำที่จะจำหน่ายในตลาดกัมพูชา โดยความร่วมมือนี้จะเริ่มต้นในเดือนนี้และจะช่วยในการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับภาคการก่อสร้างที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งรัฐบาลกัมพูชามีเป้าหมายที่จะขยายและนำส่งกระแสไฟฟ้าไปยังทั่วทั้งประเทศในอนาคต ซึ่ง OSS จะเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของซีรี่ส์ Moeller ของ Eaton ในช่วงแรงดันไฟฟ้าต่ำ เช่น เบรกเกอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก โดยถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานการจัดการพลังงานของอาคาร ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดไฟฟ้าในท้องถิ่นมีการเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2010 เนื่องจากรายงานความก้าวหน้าด้านพลังงานของธนาคารโลกที่เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8 ต่อปีตั้งแต่ปี 2010

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779435/power-management-company-enters-market-promoting-reliability/

เกาะติด CLMV อีกหนึ่งคู่ค้าสำคัญของไทย

หลายฝ่ายปรับประมาณการการส่งออกในปีนี้ว่าอาจจะติดลบน้อยลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ 8-10 เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญของไทยนั้นปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะจีน และหลายประเทศในเอเชีย อย่างไรก็ตามอีกตลาดสำคัญของไทยคือ กลุ่มประเทศ (CLMV) กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และ เวียดนาม ก็ต้องใส่ใจและติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกันว่าภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มนี้นั้นฟื้นตัวได้ดีขนาดไหน มีกำลังซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นหรือยัง ทั้งนี้เศรษฐกิจ CLMV ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 หลังเริ่มคลายมาตรการ lockdown ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ปี 2020 แม้กัมพูชา และ สปป.ลาว สามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จ แต่เมียนมาและเวียดนาม กลับเผชิญการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 โดยเวียดนาม กลับมาประกาศใช้มาตรการ lockdown ในบางพื้นที่และสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม ขณะที่เมียนมายังคงได้รับผลกระทบอย่างมากจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน ทั้งนี้เศรษฐกิจ CLMV ยังคงฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึง สำหรับการค้าชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาลาว และเมียนมา หดตัวน้อยลงทั้ง 3 ประเทศตามมูลค่าการค้าโดยรวมของไทยแม้ว่าจะยังมีข้อจำกัดต่างๆ ในด่านตรวจสินค้าชายแดนของไทย

ที่มา : https://www.naewna.com/business/columnist/45810