INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปส่วนใหญ่ 81% มองว่ามีแนวโน้มที่ดี

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยผลสำรวจภาวะการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจในประเทศส่วนใหญ่คาดว่าการดำเนินงานดีขึ้นหรือยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไรนักเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3

สถานการณ์การดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ (ร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง)

  • โดยภาพรวม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 45.6 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 35.4 ไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม และร้อยละ 19 แย่ลง
  • ธุรกิจ FDI ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 82.8 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และร้อยละ 17.2 แย่ลง
  • รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 81.7 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และร้อยละ 18.3 แย่ลง
  • ธุรกิจภาคเอกชน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 80.2 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และร้อยละ 19.8 แย่ลง

.ผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ (ร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง)

  • ปริมาณการผลิต ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 45.9 มองว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมาร้อยละ 36.6 ไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม และร้อยละ 17.5 ลดลง
  • ยอดคำสั่งซื้อ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 43.2 มองว่ายอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น รองลงมาร้อยละ 39.1 ไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม และร้อยละ 17.7 ลดลง
  • ยอดคำสั่งซื้อเพื่อส่งออก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 44 มองว่ายอดคำสั่งซื้อเพื่อส่งออกไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม รองลงมาร้อยละ 35.6 เพิ่มขึ้น และร้อยละ 20.4 ลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/81-processingmanufacturing-firms-optimistic-about-business-outlook/188531.vnp

กนอ.เปิดยุทธศาสตร์5ปีตั้งตัวเป็นหน่วยงานหนุนการลงทุน

5 ต.ค. 2563 นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยในงานสัมมนาทิศทางและแผนยุทธศาสตร์ กนอ. ประจำปีงบประมาณ 2564 ว่า กนอ.จะเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ กนอ. ระยะ 5 ปี(2564-68) วงเงินลงทุนประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนกนอ.ให้เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศให้สอดรับเทคโนโลยี 5 จีเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เป็นเทรนด์ของทั่วโลก ส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรมของไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียน วงเงินลงทุนของกนอ.ช่วง 5 ปี ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในท่าเรือมาบตาพุดเฟส3 ขณะที่ปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนนิคมฯสมาร์ทปาร์คช่วงเริ่มก่อสร้าง 800 ล้านบาท ลงทุนด้านดิจิทัล 200 ล้านบาท และอื่นๆ 200 ล้านบาทสำหรับความร่วมมือกับผู้พัฒนาเทคโนโลยี 5 จีในนิคมอุตสาหกรรม เบื้องต้นตามยุทธศาสตร์นี้กนอ.จะนำ 5 จีมาพัฒนานิคมฯของกนอ.รวม 5 แห่ง ประกอบด้วย นิคมฯมาบตาพุด นิคมฯแหลมฉบัง นิคมฯบางปู นิคมฯลาดกระบัง นิคมฯภาคเหนือ รองรับการลงทุนอในอุตสาหกรรมเป้าหมาย(เอส-เคิร์ฟ) ขณะที่นิคมฯของภาคเอกชนอยู่ระหว่างการพัฒนาเช่นกัน  

ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/80656

ผลสำรวจชี้ธุรกิจในเวียดนามขึ้นเงินเดือนในปี 63 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี

จากผลการสำรวจของเมอร์เซอร์ (Mercer) ในโครงการสำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการ (TRS) ได้เปิดเผยว่าบริษัทข้ามชาติ (MNCs) และบริษัทเวียดนามปรับเพิ่มเงินเดือนร้อยละ 6.5 และร้อยละ 5.2 ในปีนี้ และคาดว่าในปีหน้า จะเพิ่มเงินเดือนร้อยละ 7 และ 7.7 ตามลำดับ ในขณะที่ นาย Hoa Nguyễn หัวหน้าอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ด้านโซลูชั่นทุนมนุษย์ กล่าวว่าบริษัทข้ามชาติและบริษัทในท้องถิ่นร้อยละ 14, 34 ไม่ได้เพิ่มเงินเดือนในปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเชื้อ COVID-19 นับว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะสูงกว่าเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ธุรกิจน้ำมัน เหมืองแร่ ธนาคารและอุตสาหกรรมจัดหา มีการปรับเพิ่มเงินเดือนต่ำที่สุด ด้วยร้อยละ 2, 1, 5 และ 6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในกลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินที่มิใช้ธนาคาร รวมถึงธุรกิจในกลุ่มวิทยาศาสตร์ จ่ายโบนัสสูงสุดร้อยละ 22.4, 20.1 และ 18.6 ตามลำดับ นอกจากนี้ ผุ้อำนวยการวิเคราะห์ด้านโซลูชั่นทุนมนุษย์ กล่าวว่าถึงแม้ธุรกิจจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่ธุรกิจร้อยละ 13 ยังคงจ่ายเงินโบนัสให้กับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส ในขณะเดียวกัน เมื่อพูดถึงเทรนด์การสรรหาบุคลากรในปี 2564 พบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 55 คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง รองลงมาร้อยละ 40 วางแผนที่จะเพิ่มพนักงานในปีหน้า และร้อยละ 5 ลด/ปลดพนักงานลง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/793465/salary-increases-in-2020-lowest-in-10-years-survey.html

EVFTA เป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดค้าปลีกเวียดนาม

ความได้เปรียบจากการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรียุคใหม่ อาทิ ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) คาดว่าจะเป็นแรงผลักดันใหม่สำหรับตลาดค้าปลีกในท้องถิ่นที่จะเติบโตดีขึ้น ท่ามกลางการระบาดของโรค COVID-19 ในขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเวียดนามประสบความสำเร็จจากการควบคุม COVID-19 ควบคู่กับการใช้ FTA ด้วยปัจจัยดังกล่าว ช่วยให้เวียดนามเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจากการประเมิน ชี้ว่าเม็ดเงิน FDI ยังคงไหลเข้าไปยังตลาดค้าปลีกในประเทศ ถือว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงการใช้จ่ายของครัวเรือนในท้องถิ่น คาดว่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี และคาดว่าจะสูงถึง 714 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนในปีนี้ อีกทั้ง ตลาดค้าปลีกในเวียดนามได้รับสัญญาไปในทิศทางที่เป็นบวก หลังจากดึงดูดผู้ค้าปลีกจากเกาหลีใต้ ไทยและญี่ปุ่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/evfta-poised-to-become-driving-force-for-retail-market-growth-786276.vov

ผู้ค้าแตงโมรัฐฉาน ขอความช่วยเหลือเมื่อใกล้ฤดูเก็บเกี่ยว

เมื่อใกล้ถึงฤดูเก็บเกี่ยวแตงโมรัฐบาลของรัฐฉานได้รับการร้องขอจากผู้ค้าผลไม้ในพื้นที่ให้เจรจากับมณฑลยูนนานของจีนเพื่อป้องกันความล่าช้าที่เกิดจากการขนส่งของรถบรรทุกและข้อจำกัดในการเดินทาง พ่อค้าชาวเมียนมาส่งออกแตงโมและ Mukmelon ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเมษายนที่ Wanding Fruit Square ของเมืองจีน ตอนนี้การทำธุรกรรมต้องผ่านทางโทรศัพท์ แต่ไม่สามารถขายสินค้าของตนได้หากไม่มีการประชุมแบบเห็นหน้ากัน ก่อนที่ Covid-17 จะระบาด มีรถบรรทุก 200 ถึง 700 คันข้ามพรมแดนทุกวัน แต่คาดว่าจะลดลงเหลือ 200 ถึง 300 คันต่อวันในฤดูกาลนี้ ทั้งนี้ยังเรียกร้องให้กับยูนนานเพื่ออนุญาตให้ตัวแทนสองถึงห้าคนจากเขตการค้าในเมืองมูเซทำงานที่ตลาดผลไม้ในยูนนานเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้รถบรรทุกควรได้รับการตรวจสอบเนื่องจากบรรทุกสินค้าที่เน่าเสียง่าย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-traders-seek-help-melon-season-nears.html

ธุรกิจท่องเที่ยวลดราคาเพื่อแสวงหานักท่อง เที่ยวในท้องถิ่น

ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและการบริการได้ลดค่าใช้จ่ายในการให้บริการและแพคเกจทัวร์ของตนลงอย่างมากเพื่อให้มีราคาที่เหมาะสมมากขึ้นและส่งเสริมให้ชาวสปป.ลาวเดินทางไปพักผ่อนทั่วประเทศ โปรโมชั่นพิเศษที่นำเสนอในตอนนี้มีเป้าหมายที่ผู้เยี่ยมชมในพื้นที่เพื่อชดเชยการไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ธุรกิจบางแห่งได้ลดต้นทุนการให้บริการลงสามเท่าหรือมากกว่านั้น โรงแรมบางแห่งที่เคยเรียกเก็บเงิน 200-500 เหรียญสหรัฐ สำหรับห้องพักได้ลดราคาเหลือเพียง 70-80 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอที่น่าสนใจเพิ่มเติม เช่นบริการรับส่งฟรีไปยังสนามบิน การเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในช่วงเวลาที่การท่องเที่ยวถูกกำจัด การสำรวจเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า Covid-19 ได้ลดรายได้ของธุรกิจนำเที่ยวและการบริการในเมืองหลวงพระบาง ประมาณ 20 ล้านเหรียญ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวซึ่งมีลูกค้าหลักเป็นชาวต่างชาติได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางได้ สิ่งนี้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนต้นทุนการให้บริการของธุรกิจ ซึ่งการลดราคาดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อให้เข้ากับกำลังซื้อของคนสปป.ลาว รัฐบาลกำลังร่วมมือกับธุรกิจต่างๆเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเนื่องจากการระบาดของ Covid-19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Tourism201.php

จีนประกาศสนับสนุนสปป.ลาวเพิ่มเติม

จีนได้ตกลงที่จะสนับสนุนสปป.ลาวผ่านสามโครงการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างสองประเทศ คือจีนจะจัดหาวัสดุเพื่อต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกในสปป.ลาว การเปิดตัวโครงการพัฒนาชนบทโครงสร้างพื้นฐานระยะที่ 2 และจีนเสนอระบบ Generalized System of Preferences (GSP) สำหรับสินค้าส่งออกของสปป.ลาว 97 % ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องในหลักการที่จะอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างสปป.ลาวและจีน นอกจากนี้ทั้งสองประเทศยังตกลงที่จะดำเนินนโยบายตรวจคนเข้าเมืองอย่างรวดเร็วสำหรับจีนซึ่งจะให้สิทธิพิเศษบางประการแก่บุคคลเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าออกโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่การทูต ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและแรงงานต่างชาติที่จำเป็นสำหรับโครงการพิเศษ มาตรการเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวในขณะเดียวกันก็ทำให้โครงการพัฒนาของจีนในประเทศดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด -19 ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในอนาคต นอกจากนี้จีนยังเดินทางเยือนกัมพูชา มาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์ระหว่างวันที่ 11-15 ตุลาคม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในอาเซียน กระทรวงพาณิชย์ของจีนกล่าวว่าอาเซียนและจีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกันและกัน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_China201.php

กัมพูชาการลงนามบันทึกข้อตกลงด้านความปลอดภัยทางอาหาร

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ร่วมกับ TROPICAM Fruits and Vegetables และอีก 4 สมาคมในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม ร้านอาหาร การท่องเที่ยว ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อส่งเสริมการผลิตผักและผลไม้ที่ปลอดภัย โดยปีที่แล้วกัมพูชามีพื้นที่ปลูกผักและผลไม้ 57,262 เฮกตาร์ทั่วประเทศและผลิตอาหารได้ประมาณ 682,012 ตัน อย่างไรก็ตามความต้องการผักอยู่ที่ 1 ล้านตันต่อปี หรือ 2,500-3,000 ตันต่อวันตามรายงานของ General Directorate of Agriculture (GDA) ณ กระทรวงเกษตร เนื่องจากตอนนี้กัมพูชาไม่สามารถรองรับความต้องการพืชผักภายในประเทษได้ด้วยตนเอง จึงมีการนำเข้าโดยเฉลี่ย 500-1,000 ตันต่อวันเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในท้องถิ่น ซึ่งในขณะนี้ GDA กำลังดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าของผักและผลไม้ปลอดสารพิษภายใต้ข้อตกลงของภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้ผลิต เพื่อการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมและส่งเสริมผักและผลไม้ที่มีความปลอดภัยสูงภายใต้มาตรฐาน GAP ที่รับรองโดย GDA ของรัฐบาลเพื่อทำการรับรองมาตรฐาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773548/deal-signed-to-make-fruit-and-veg-safer/

กัมพูชามองหาข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีเพิ่มเติม

กัมพูชากำลังเตรียมพร้อมสำหรับข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับประเทศคู่ค้าหลักเพื่อทำการทดแทนจากการถูกเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าบางส่วนของสหภาพยุโรปหรือที่เรียกว่า Everything but Arms (EBA) โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ากัมพูชาควรเร่งความพยายามในการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งจีนเป็นประเทศแรกที่ได้ลงนาม FTA อย่างเป็นทางการกับกัมพูชา โดยปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาอยู่ที่ 9.42 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งทั้งสองประเทศตั้งเป้าไว้ว่าจะมีปริมาณการค้าระหว่างกันให้ถึงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2023 โดยในปัจจุบันกัมพูชาอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มการค้าทวิภาคีระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773321/kingdom-seeks-more-trade-deals/