รัฐบาล สปป.ลาว จัดให้คำปรึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคาร์บอนเครดิต

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (MoNRE) สปป.ลาว สถาบันการเติบโตสีเขียวระดับโลก (GGGI) และรัฐบาลออสเตรเลีย จัดการหารือร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายเกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคาร์บอนเครดิตในประเทศลาว งานนี้เป็นการรวมตัวของผู้แทนพันธมิตรด้านการพัฒนา องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานภาคเอกชนที่มีความสนใจในประโยชน์ของคาร์บอนเครดิตและตลาด เพื่อสนับสนุน สปป. ลาว ในการกำหนดการมีส่วนร่วมที่กำหนดในระดับชาติและความทะเยอทะยานด้านสภาพภูมิอากาศโลก รัฐบาล สปป.ลาว ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เพื่อเตรียมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคาร์บอนเครดิต ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีในการควบคุมการจัดการและการค้าในลาว GGGI ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่รัฐบาล สปป.ลาว ภายใต้โครงการสำหรับตลาดคาร์บอนแบบเปิดและยั่งยืน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_90_Government_y24.php

อัตราอ้างอิงการขายส่งน้ำมันปาล์มของ YGN ทรงตัวเป็นเวลาสามสัปดาห์ติดต่อกัน

ตามการระบุของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันบริโภค  ระบุว่าอัตราอ้างอิงราคาขายส่งน้ำมันปาล์มสำหรับตลาดย่างกุ้งในสัปดาห์นี้ ตั้งไว้ที่ 5,220 จ๊าดต่อviss มีผลตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงสองสัปดาห์ก่อนหน้า โดยที่อัตราอ้างอิงยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาติดต่อกัน ด้านคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันบริโภคภายใต้กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคา FOB ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด โดยเพิ่มค่าขนส่ง ภาษี และบริการทางธนาคาร เพื่อกำหนดอัตราอ้างอิงตลาดค้าส่งสำหรับน้ำมันบริโภคเป็นรายสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาน้ำมันปาล์มในตลาดจะสูงกว่าราคาอ้างอิง กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ยังคงควบคุมเรื่องของการขายสินค้าเกินราคาในตลาดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ กระทรวงกำลังทำงานร่วมกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันเมียนมา และบริษัทนำเข้าน้ำมันปรุงอาหาร เพื่อเพิ่มช่องทางการซื้อน้ำมันปาล์มนำเข้าในราคาที่ไม่แพงให้กับผู้บริโภคด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ygn-palm-oil-wholesale-reference-rate-flat-for-three-straight-weeks/#article-title

การส่งออกของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 15% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี

มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 8 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นการขยายตัวถึงร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของกัมพูชา รองลงมาคือเวียดนามและจีน โดยยอดการค้าระหว่างกัมพูชาและคู่ค้าทางการค้าทั้งหมด อยู่ที่ 16.67 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากการมีอยู่ของความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชา-จีน และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ช่วยส่งเสริมการเติบโตด้านการส่งออกของกัมพูชา อีกทั้งกัมพูชาได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับจีน เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ซึ่งคาดว่าช่วยส่งเสริมการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ด้านนายกรัฐมนตรีกัมพูชาตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนกัมพูชาให้เป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบ พร้อมทั้งมีความสามารถในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างรายได้ให้กับภาคประชาชนต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501487228/cambodias-exports-rise-15-in-four-months/

บริษัทจีนสนใจเข้าลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตน้ำสะอาดในกัมพูชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (MISTI) Hem Vanndy ได้หารือกับตัวแทนจากบริษัท Hainan Litree Purifying Technology Co., Ltd. ในวันศุกร์ที่ผ่านมา (3 พ.ค.) เพื่อหารือเกี่ยวกับความสนใจของบริษัทที่จะขยายการลงทุนในภาคการประปาสะอาดของกัมพูชา โดย Hainan Litree Purifying Technology ถือเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเมมเบรน ซึ่งบริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์บำบัดน้ำที่มีชื่อเสียงภายใต้แบรนด์ Litree โดยใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในระบบประปาของเมือง ในการนำน้ำเสียกลับมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม และเครื่องกรองน้ำดื่มภายในครัวเรือน ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เมมเบรน UF ของ Litree ถูกนำไปใช้ในหลายจังหวัดและเมืองของกัมพูชา ช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำดื่มได้กว่า 11,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดย Hainan Litree วางแผนที่จะลงทุนราว 50-100 ล้านดอลลาร์ ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำประปาในกัมพูชาภายใน 3-5 ปีข้างหน้า ด้านรัฐมนตรี Vanndy ยินดีที่บริษัทฯ มีแผนที่จะขยายการลงทุนในระบบประปาของกัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่ที่ขาดแคลนระบบประปาของรัฐหรือเอกชน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501487224/investment-boost-for-kingdoms-clean-water-sector/

ส่องตลาด ‘Data Center’ ในเวียดนาม ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ

จากรายงานการตลาดของบริษัทวิจัย JLL ได้จัดทำข้อมูลภาพรวมของตลาดศูนย์ข้อมูล (Data Center) เปิดเผยว่าตลาดศูนย์ข้อมูลของเวียดนามในปัจุบัน ถูกครอบงำโดยธุรกิจโทรคมนาคมของท้องถิ่น ได้แก่ VNPT, Viettel IDC, FPT Telecom และ CMC Telecom จากการเติบโตอย่างมากทั้งในด้านการให้บริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างชาติและผู้ดำเนินการในต่างประเทศ เล็งเข้าสู่ตลาดแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงโครงการต่างๆ เช่น โรงงาน ขนาด 20MW ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม Saigon Hi-Tech Park  ตามมาด้วยโรงงาน ขนาด 30MW ของสิงคโปร์ และโครงการจากความร่วมมือของบริษัทเอ็นทีที (NTT) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะบริษัทอาลีบาบาที่ได้ประกาศว่าจะสร้างศูนย์ข้อมูลในเวียดนาม แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของตลาดนี้ว่ามีความต้องการมากขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1655440/viet-nam-s-data-centre-sector-is-attractive-to-foreign-investors.html

ประธานาธิบดี สปป.ลาว-รัสเซีย จัดการเจรจาความสัมพันธ์ทวิภาคี

ประธานาธิบดีทองลุน แห่ง สปป.ลาว พร้อมคณะทำงาน ตอบรับคำเชิญของประธานาธิบดีปูติน แห่งรัสเซีย โดยได้เดินทางเยือนรัสเซียในวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งผู้นำ สปป.ลาว ได้เข้าร่วมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะที่จัดขึ้นในกรุงมอสโก โดยประธานาธิบดีปูติน ได้กล่าวยกย่องผู้นำ สปป.ลาว ว่า “ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบท่านในกรุงมอสโก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องในโอกาสวันแห่งชัยชนะ ซึ่งเป็นชัยชนะของชาวโซเวียตในมหาสงครามแห่งมิตรภาพระหว่างสองประเทศ”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_89_Lao_Russian_y24.php

‘เวียดนาม’ เผยภาคธุรกิจและประชาชน หวังให้มีการขยายเวลาลด VAT

จากการยื่นมติเรื่องการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 10% เหลือ 8% ตามมติที่ 110/2023/QH15 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2567 เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนแก่ภาคธุรกิจและกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมถึงผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ภาคธุรกิจและประชาชน หวังว่าจะได้รับข้อเสนอและพิจารณาจากการมติของรัฐสภาในการขยายเวลาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทั้งนี้ จากการสอบถามประชาชนที่อยู่ในเมืองฮานอย กล่าวว่าตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน การลดภาษีมูลค่าเพิ่มลงเหลือ 8% ช่วยประหยัดการใช้จ่ายซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต

นอกจากนี้ ดร. Lê Đăng Doanh นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่าการขยายเวลาลดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและยังช่วยกระตุ้นการบริโภค สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างมาก นอกเหนือจากการลงทุนและการส่งออกแล้ว การบริโภคในประเทศยังเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1655414/businesses-and-people-expect-vat-cut-extension-to-be-approved.html

มะริดส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่า 19.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

U Zaw Min Oo รองผู้อำนวยการกรมประมง เมืองมะริด เขตตะนาวศรี รายงานว่า ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากเขตตะนาวศรี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากมะริด ถูกส่งออกผ่านเส้นทางการค้าชายแดนมอตอง ในขณะที่บางส่วนขนส่งโดยตรงจากเกาะสองไปยังระนอง ในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำรวม 32,567.61 ตัน สร้างรายได้ 19.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 3,854 ตันในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2567-2568 โดยมีรายได้ 3.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี อำเภอมะริดขึ้นชื่อเรื่องการผลิตปลาน้ำเค็มและกุ้ง ซึ่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ส่งออกสำคัญจากเขตตะนาวศรี ได้แก่ ปลา กุ้ง ปลาเลี้ยง และผลิตภัณฑ์ทางทะเลอื่นๆ จากเกาะสอง อำเภอทวาย และมะริด ที่ถูกขนส่งผ่านห้าเส้นทางเพื่อการส่งออก และสินค้าบางส่วนยังขนส่งไปยังย่างกุ้งก่อนส่งออกไปต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myeik-district-exports-us19-41-million-worth-of-aquatic-products-in-2023-24-financial-year/

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาจับมือสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา ส่งออกข้าวโพดและข้าว กระตุ้นเศรษฐกิจ

มีรายงานว่า ข้าวโพดกว่า 5,400 ตันถูกส่งออกจากท่าเรือ Min Htet Min (MHM) พร้อมด้วย 2,700 ตันจากท่าเทียบเรือ Shweme (SMJ) และข้าว 4,850 ตันจากท่าเรือ Wilmar International Port ซึ่งจุดเริ่มต้นด้านการส่งออกดังกล่าวนี้ ดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และสหภาพสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา (UMFCCI) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม มีการส่งออกเพิ่มเติม ได้แก่ ข้าวโพด 71,900 ตัน และข้าว 6,000 ตันจากท่าเรือ Sule Port Wharves (SPW) ข้าวโพด 53,500 ตันจากท่าเรืออุตสาหกรรมเมียนมา (MIP), ข้าวโพด 58,400 ตัน และข้าว 12,500 ตันจากท่าเรือ Ahlon International Port Terminal (AIPT), ข้าวโพด 29,500 ตันจาก The Myanmar Terminal-TMT, ข้าวโพด 5,400 ตันจากท่าเรือ Min Htet Min (MHM), 11,000 ตันจากท่าเทียบเรือนานาชาติย่างกุ้ง (YIGT) และข้าวโพด 2,700 ตันจาก Myanmar Five Star Line ( MFSL) ซึ่งการส่งออกเหล่านี้ได้ถูกกำหนดให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-collaborates-with-umfcci-to-export-maize-and-rice-boosting-economy/

ไทยร่วมมือซาอุฯ ส่งเสริมพัฒนาสินค้าฮาลาล

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้การต้อนรับ นายมาญิด บิน อับดุลเลาะฮ์ อัลกอเศาะบี รมว.พาณิชย์แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียและคณะ เพื่อหารือความร่วมมือและแนวทางการขับเคลื่อนการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของทั้งสองประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีความโดดเด่นด้านอุตสาหกรรมอาหาร ซาอุดีอาระเบียมีความยินดีที่ได้ร่วมมือและดำเนินการร่วมกันในอุตสาหกรรมฮาลาล เนื่องจากซาอุดีอาระเบียเป็นศูนย์กลางของตลาดฮาลาลในภูมิภาคชาติอาหรับ อีกทั้งมีผู้บริโภคจำนวนมาก นับเป็นเรื่องสำคัญมากหากได้รับความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลของทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้น โดยได้มีการวางแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือด้านฮาลาลระหว่างสองประเทศ เพื่อผลักดันให้สินค้าฮาลาล รวมทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภคของไทย สามารถเข้าถึงตลาดซาอุดีอาระเบียได้มากขึ้น อย่างไรก็ดีทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมสินค้าฮาลาลระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย มุ่งเน้นไปที่สินค้าอาหาร เครื่องดื่ม เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล ขยายโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทย สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้าถึงข้อมูลและช่องทางการจำหน่ายสินค้าในตลาดซาอุดีอาระเบีย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี ร่วมพัฒนากลยุทธ์และมาตรฐานสินค้าฮาลาล เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าและความสามารถในการแข่งขัน

ที่มา : https://www.naewna.com/business/804219