‘เวิลด์แบงก์’ เผยเวียดนามคงเกินดุลการค้าในช่วงต้นปี 65

ตามรายงาน “Vietnam Macro Monitoring” ของธนาคารโลก (World Bank) เปิดเผยว่าภาวะการค้าของเวียดนามยังคงเกินดุลการค้า ถึงแม้ว่าการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว ในส่วนของภาคการผลิตอุตสาหกรรมนั้น ยังคงเติบโตเป็นบวก แม้ในอัตราการเติบโตจะชะลอตัว ในขณะที่ยอดค้าปลีกมีทิศทางที่เป็นบวกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปลายเดือน เม.ย.64 ในอีกด้านหนึ่ง การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเดือน ม.ค. มีมูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.2%YoY โดยได้รับแรงสนับสนุนมาจากการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนจำนวนมากไปยังโครงการปัจจุบันและผ่านการควบรวมกิจการ นอกจากนี้ ราคาพลังงานปรับตัวพุ่งสูงขึ้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารยังคงอยู่ในระดับทรงตัวหรือไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการควบคุมเงินเฟ้อ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-trade-balance-remains-in-surplus-in-early-2022-post924758.vov

 

ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ปี 64 ‘ศก.เวียดนาม’ ส่งสัญญาเป็นบวกจากการลงทุนจากต่างประเทศ

ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ “Dezan Shira & Associates” เปิดเผยว่าถึงแม้เวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายของการระบาดโควิด-19 แต่เวียดนามกลับมองเห็นสัญญาเชิงบวกจากการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2564 โดยอ้างข้อมูลทางสถิติจากกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ระบุว่าในปีที่แล้ว เวียดนามมีโครงการที่ได้รับใบอนุญาตใหม่ จำนวน 1,738 โครงการ ลดลง 31.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่จดทะเบียนรวม มีมูลค่า 15.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.1%YoY ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจและสวนอุตสาหกรรม (IPs) ดึงดูดโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จำนวน 539 โครงการ และโครงการในประเทศ จำนวน 615 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 12.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ บริษัท “Amkor Technology” ผู้ให้บริการบรรจุภัณฑ์และทดสอบผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ ตั้งเป้าว่าจะลงทุนก่อตั้งโรงงานในจังหวัดบั๊กนิญ ด้วยมูลค่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2035 อย่างไรก็ดี ในมุมมองของบทความชี้ว่าปัจจัยทางด้านต้นทุนแรงงานที่มีความสามารถการแข่งขัน ประกอบกับการยกเว้นภาษีและนโยบายการลงทุนที่เอื้อต่อการลงทุน ทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางด้านการผลิตของบริษัทข้ามชาติ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-enjoys-positive-signals-in-foreign-investment-in-2021-experts-post924721.vov

เขตเศรษฐกิจพิเศษ ติลาวา ดึงดูดเม็ดเงินกาลงทุนไปแล้วกว่า 2.149 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำนักงานบริหารจัดการบริษัทและทะเบียนบริษัท (DICA) เผย ณ สิ้นเดือนธ.ค. 2564  มีบริษัท 112 แห่งจาก 18 ประเทศได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนกว่า 2.149 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวาภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยโรงงานประมาณ 102 แห่งสามารถสร้างานปะจำได้มากกว่า 12,000 คน ปัจจุบันเมียนมากำลังดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษสามแห่ง ได้แก่ ทิละวา จ่อพยู และทวาย ซึ่งติละวาเป็นผู้นำและต้นแบบในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้นและธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ขระที่ Myanmar Thilawa SEZ Holdings Public Ltd. เปิดเผยว่า ธุรกิจมากกว่า 60 % ในเมืองติลาวาเป็นผู้ประกอบการด้านการผลิตในประเทศ และ 40% เป็นผู้ผลิตที่เน้นการส่งออก ซึ่งภาคการผลิตมีเม็ดเงินการลงทุน จากต่างประเทศมากที่สุด ที่เหลือจะลงทุนในภาคการค้า บริการอื่นๆ การขนส่ง การโรงแรมและการท่องเที่ยว และภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ญี่ปุ่นครองอันดับหนึ่งของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุน คิดเป็นสัดส่วน 33% ของการลงทุนทั้งหมด รองลงมาคือสิงคโปร์และไทย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/thilawa-sez-attracts-over-us2-149-bln-so-far/

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Meeting Retreat: AMM Retreat)

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers? Meeting Retreat: AMM Retreat) การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งแรกของปี โดยกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนปี ๒๕๖๕ จะนำเสนอประเด็นสำคัญที่จะผลักดันภายใต้แนวคิดหลัก ?ASEAN A.C.T.: Addressing Challenges Together? ที่เน้นย้ำความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียน และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อให้สามารถรับมือปัญหาท้าทายที่มีผลกระทบต่อภูมิภาคและประชาชน รองนายกรัฐมนตรีฯ จะใช้โอกาสการเข้าร่วมการประชุมผลักดันความร่วมมือภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ บีซีจี และชูบทบาทนำของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ทั้งในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปี ๒๕๖๕ การเป็นประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนเรื่องความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการเป็นผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/mfa/3298114

อาเซียน FMs หารือการรับมือโควิดและความพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาด

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเริ่มต้นขึ้นที่กรุงพนมเปญเมื่อวันพฤหัสบดี ในรูปแบบไฮบริดเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ตั้งแต่การตอบสนองของโควิด-19 ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่าง 10 ประเทศกับคู่เจรจาในอาเซียน ผู้นำอาเซียนหารือถึงความจำเป็นในการรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนเพื่อประกันสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์หลังปี 2568 ของประชาคมอาเซียน การพัฒนาที่ยั่งยืน และความสัมพันธ์ของอาเซียนกับพันธมิตรภายนอก นอกจากนี้บรรดาผู้นำยังได้หารือถึงแนวทางในการเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน การบูรณาการระดับภูมิภาค และความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวในภูมิภาค นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณค่า ความรู้ และอัตลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างขีดความสามารถสำหรับสตรี ประเด็นด้านสุขภาพ และการปกป้องสังคมอาเซียน

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Asean34.php

ม.ค. การค้าระหว่าง กัมพูชา-เกาหลี มูลค่าแตะ 108 ล้านดอลลาร์

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่าแตะ 108 ล้านดอลลาร์ ในเดือน ม.ค. 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานจากสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลี โดยในเดือน ม.ค. กัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ ไปยังเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้ว ในขณะที่กัมพูชาทำการการนำเข้าสินค้าจากเกาหลีเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 49.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสู่มูลค่า 78.3 ล้านดอลลาร์ ซึ่งกัมพูชาส่งออกรองเท้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เพื่อการเดินทาง เครื่องดื่ม ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยาง ยา และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นหลักไปยังเกาหลีเป็นสำคัญ ด้านการนำเข้ากัมพูชานำเข้า ยานพาหนะ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัว เครื่องดื่ม ยา พลาสติกและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป จากเกาหลีเป็นสำคัญ โดยปัจจุบันทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างกัน ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อต้นปีที่ผ่าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501026475/cambodia-korea-trade-values-108-million-in-january/

CMA และ CBC ลงนาม MoU สนับสนุนภาคบริการทางการเงินกัมพูชา

ระบบทางการเงินกัมพูชาได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของกัมพูชา ประจำปี 2019-2025 ด้วยการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างสมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา (CMA) และเครดิตบูโรกัมพูชา (CBC) ภายใต้โครงการระยะเวลา 5 ปี มูลค่า 2 ล้านดอลลาร์ ในการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปีครั้งที่ 16 และการประชุมประจำปีครั้งที่ 2 ว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของภาคส่วนการเงินรายย่อยในกัมพูชา เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความรู้ทางการเงินให้กับประชาชนกัมพูชา รวมถึงเสริมสร้างความยืดหยุ่นของภาคการเงินรายย่อย ด้วยการสร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทันท่วงที ตามข้อกำหนด ภายใต้ความสามารถในการชำระคืน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501026477/cma-and-cbc-ink-mou-to-prop-up-cambodias-

‘แบงก์ชาติสิงคโปร์’ มั่นใจเวียดนามได้รับผลประโยชน์หลักจากข้อตกลง RCEP

ธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS) รายงานว่าอัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยของเวียดนามในกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) อยู่ที่ 1.2% ต่ำกว่าเกาหลีใต้ 4.8% หรือจีน 2.8% ชี้ให้เห็นถึงเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศของสมาชิกอาเซียนที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีศุลกากร เหตุจากการเปิดกว้างทางการค้าของเวียดนามในระดับสูง ในขณะที่ภาพรวมของการค้าเวียดนามกับสมาชิกใน RCEP นั้นอยู่ในระดับสูง และทำให้ภาคธุรกิจได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว ตลอดจนผลของข้อตกลงการค้าเสรียังช่วยให้เวียดนามยกระดับการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรียังก่อให้เกิดการเพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ถึงแม้ว่าสิงคโปร์ยังคงมีส่วนแบ่งทางการลงทุน FDI เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การไหลเข้าของเม็ดเงินทุนไปยังเวียดนามนั้น มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและอยู่ในอันดับที่ 1 ใน 3 ของประเทศรับเงินทุนจากกลุ่มสมาชิกอาเซียน+6

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/singaporean-bank-considers-vietnam-key-beneficiary-of-rcep-post924478.vov

‘HSBC’ คาดเงินเฟ้อเวียดนามสูงขึ้นเล็กน้อย

ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ได้ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อของเวียดนามในปี 2565 จาก 2.7% มาอยู่ที่ 3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ถือว่ามีความเสี่ยงอยู่ในระดับเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัญญาเชิงบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ก่อนเทศกาลตรุษญวน รัฐบาลประกาศว่าจะไม่มีการกลับมาล็อกดาวน์และข้อจำกัดการกิจกรรมทางสังคมต่างๆ รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐฯ ที่ให้อยู่ร่วมกับเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จของโครงการฉีดวัคซีนในประเทศจำนวนมาก ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัว ทั้งนี้ การปรับคาดการณ์เงินเฟ้อดังกล่าวของธนาคารเอชเอสบีซี เมื่อเทียบกับธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) มองว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของรัฐบาลที่ 4% โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อของอาเซียน เช่น ไทยและสิงคโปร์ที่มีตัวเลขเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-receives-slightly-higher-inflation-forecast-negligible-risk-hsbc-post924429.vov