ระดมทุน ‘ฟินเทค’ อาเซียนพุ่งกว่าสามเท่า แตะสูงสุดมูลค่า 3.5 พันล้านดอลล์จากปี 63

เงินทุนสำหรับเทคโนโลยีด้านการเงิน (ฟินเทค) ในภูมิภาคอาเซียนดีดตัวกลับอย่างแข็งแกร่งในปี 2564 เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าใน 9 เดือนแรกของปี 2564 เมื่อเทียบกับปี 2563 ทั้งปี ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รายงาน FinTech in ASEAN 2021 ของ UOB, PwC Singapore และ Singapore FinTech Association (SFA) ระบุว่าจำนวนการระดมเงินทุนสำหรับฟินเทคที่พุ่งสูงขึ้นนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากข้อตกลง 167 ข้อตกลง และในจำนวนนี้ 13 ข้อตกลงมาจากการระดมทุนระดับเมกะ มีมูลค่ารวมสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสนใจบริษัทฟินเทคขั้นปลาย ซึ่ง 10 จาก 13 ข้อตกลงบรรลุ ได้เงินทุนในระดับเมกะในปีนี้ ซึ่งมีบริษัทฟินเทคของไทยรวมอยู่ด้วย โดยเทรนด์นี้เป็นสัญญาณชี้ถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของนักลงทุนในตลาดในภูมิภาคหลายแห่ง และแสดงให้เห็นว่านักลงทุนดำเนินการอย่างระมัดระวังและเลี่ยงความเสี่ยงโดยให้การสนับสนุนบริษัทที่เติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งมองว่ามีโอกาสสูงที่จะเติบโตขึ้นจากภาวะโรคระบาด เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลที่สูงขึ้นในภูมิภาคอาเซียน นักลงทุนจึงเชื่อมั่นและทุ่มเงินทุนให้บริษัทฟินเทคขั้นปลายในหมวดหมู่การชำระเงินมากที่สุด

ที่มา : https://www.matichon.co.th/politics/news_3068515

‘เวียดนาม’ ถือเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการขับเคลื่อนการเติบโตทางการค้าในอนาคต

รายงานที่เผยแพร่โดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ระบุว่าเวียดนามเป็นหนึ่งใน 13 ตลาดที่มีการขับเคลื่อนการเติบโตทางการค้าในอนาคต และด้วยการบูรณาการทางเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น เวียดนามจึงมีความได้เปรียบอย่างมากจากการส่งออก ทั้งนี้ ธนาคารได้ทำการสำรวจบริษัทระดับโลก พบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ 41% ได้ดำเนินงานในเวียดนามแล้วหรือวางแผนที่จะลงทุนในเวียดนามอีก 10 ปีข้างหน้า โดยสหรัฐฯ และจีนยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วน 26% และ 19% ของการส่งออกรวมทั้งสิ้นในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2573 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ โดยเฉพาะสินค้าส่งออก อาทิ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าการเกษตรและอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ ตามรายงานของ Công thương (อุตสาหกรรมและการค้า) เผยว่าการที่เวียดนามมีจำนวนแรงงานที่มาก และความสัมพันธ์ห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ ตลอดจนนโยบายที่เปิดกว้างสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทำให้เวียดนามจะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลกและเป็นแหล่งดึงดูดผู้ประกอบการต่างชาติ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-among-markets-driving-future-trade-growth/216466.vnp

 

ดัชนีความเชื่อมโยงระดับโลกของเวียดนาม เติบโตอย่างก้าวกระโดด

เวียดนามได้รับการจัดอันดับที่ 38 ในดัชนีความเชื่อมโยงระดับโลก (Global Connectedness Index: GCI) ปี 2563 จัดทำโดยบริษัท DHL ซึ่งอันดับดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และยังแสดงให้เห็นว่าเวียดนามถือเป็นประเทศดาวรุ่งพุ่งแรกสำหรับภาคการผลิตระดับโลก โดยเฉพาะเมื่อจีนประสบปัญหาจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ทำให้ตลาดเวียดนามยินดีที่จะเปิดรับผู้ผลิตจากการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน ทั้งนี้ การปรับตัวของเวียดนามต่อการแพร่ระบาดของโรคในปีที่แล้ว ทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยอัตราการขยายตัว 2.9% ปีที่แล้ว และยอดการส่งออกเพิ่มขึ้น 28.4% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นับว่าเป็นความสำเร็จของเวียดนามท่ามกลางการระบาดของเชื้อโรค นอกจากนี้ คุณ Bernardo Bautista กรรมการผู้จัดการบริษัท DHL Express Vietnam กล่าวว่าเวียดนามจะต้องมีกระแสการค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจในประเทศ และกระแสการค้าระหว่างประเทศจะกระจายไปยังทั่วโลก

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-leaps-up-in-global-connectedness-index-908948.vov

 

ราคาถั่วดำ พุ่งเป็น 40,000 จัตต่อตัน ภายในหนึ่งสัปดาห์

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung Wholesale Centre) ระบุ ราคาถั่วดำ (หรือ Urad ในภาษาอินเดีย) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 40,000 จัตต่อตันภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ราคาถั่วดำอยู่ที่ 1,382,000 จัตต่อตัน แต่วันที่ 1 ธ.ค. พุ่งขึ้นเป็น 1,425,000 จัตต่อตัน โดยกระทรวงเกษตรและสวัสดิการของอินเดีย นอกจากอนุญาติให้นำเข้าถั่วดำแล้ว แต่ยังรวมถึงถั่วชนิดอื่นๆ ให้นำเข้าจากเมียนมาได้ พร้อมผ่อนคลายด้านการขนส่งจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 64  เมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ราคาพุ่งเป็นประวัติการณ์ที่ 2 ล้านจัตต่อตัน ตามค่าเงินจัตที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาด forex  ทั้งนี้เมียนมาส่งออกถั่วต่างๆ มูลค่ากว่า 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เป็นการส่งออกทางทะเล1.24 ล้านตัน มูลค่า 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และผ่านทางชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน 786,920 ตัน มูลค่า 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/black-gram-price-up-by-k40000-per-tonne-within-one-week/

19 พ.ย. 64 ค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ แตะ 3.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ณ วันที่ 19 พ.ย.64 ของปีงบประมาณย่อยปี 2564-2565 การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาร์และบังกลาเทศอยู่ที่ 3.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่ 5.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออก 3.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 0.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการค้าชายแดนส่วนใหญ่ผ่านจุดผ่านแดนเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ โดยสินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งทะเลและปลา พรุน กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพลัม รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bangladesh-border-trade-hits-3-88-mln-as-of-19-nov/

สปป.ลาว ปธน.จีน เตรียมเจรจาเปิดงานรถไฟ

ประธานาธิบดีทองลุน สีสุลิด และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนจะจัดการเจรจาอย่างเป็นทางการและเข้าร่วมพิธีเปิดการรถไฟลาว-จีนผ่านลิงก์วิดีโอในวันศุกร์นี้ อีกทั้งยังตรงกับวันชาติ รัฐบาลลาวจึงจะจัดพิธีทางศาสนาที่สถานีรถไฟในเวียงจันทน์รวมด้วย ผู้นำสปป.ลาวและจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้การรถไฟบรรลุผล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน การรถไฟลาว-จีนจึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเชื่อมโยงรถไฟระดับภูมิภาคที่จะเชื่อมต่อจีนกับสิงคโปร์ผ่านสปป.ลาว ไทย และมาเลเซีย รัฐบาลสปป.ลาวหวังว่าทางรถไฟจะช่วยส่งเสริมความพยายามในการสร้างพื้นที่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลของประเทศโดยกลายเป็นจุดเชื่อมโยงทางบกภายในภูมิภาค รถไฟสายนี้จะทำให้สปป.ลาวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่สำคัญ รวมถึงในเส้นทางระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป เนื่องจากเวลาที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางรางจะลดลงสามเท่า

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_237_
21.php

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรรวม มูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่ารวม 4.4 พันล้านดอลลาร์ ไปยังตลาดต่างประเทศ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ โดยสิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าภาคเกษตรกรรมจะยังคงเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจกัมพูชาในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งตัวเลขจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ระบุว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวม 7.1 ล้านตัน ถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ 68 แห่งทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้คิดเป็นการส่งออกข้าวสารรวม 532,179 ตัน ลดลงร้อยละ 11.46 เมื่อเทียบปีต่อปี มูลค่ารวม 454 ล้านดอลลาร์ ส่วนข้าวเปลือกส่งออกไปทั้งสิ้นจำนวน 3.1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนพฤศจิกายนปีนี้ มูลค่าการส่งออกรวม 546 ล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกสินค้านอกภาคเกษตรมีมูลค่ารวม 2.990 พันล้านดอลลาร์ ปริมาณ 4.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.47 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980853/cambodia-nets-4-4-billion-from-agricultural-exports/