ส่งออกกับชาติคู่ค้า FTA คึกคัก 4 เดือนโต 13.18%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มูลค่าการค้าของไทยกับประเทศคู่ค้าที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ด้วยจำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู ในช่วง 4 เดือนของปี 2564 (มกราคม-เมษายน) มีมูลค่า 108,826.75 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.18% คิดเป็นสัดส่วน 63.84% ของการค้ารวมของไทย โดยเป็นการส่งออกไป 18 ประเทศคู่ FTA มูลค่า 52,627.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.45%

ที่มา : https://www.naewna.com/business/577528

เวียดนามเผยยอดการส่งออกซีเมนต์ พุ่ง 50%

ยอดการส่งออกปูนซีเมนต์และปูนเม็ด แตะ 19.26 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 50% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ ปริมาณการบริโภคปูนซีเมนต์ อยู่ที่ประมาณ 45.83 ล้านตัน หากนับตั้งแต่ต้นปี เพิ่มขึ้นราว 16% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงการก่อสร้าง เผยว่าในเดือนที่แล้ว ปริมาณการบริโภคปูนซีเมนต์สูงถึง 10.79 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการบริโภคในประเทศ 6.49 ล้านตัน และการส่งออกประมาณ 4.3 ล้านตัน ในด้านราคานั้น ราคาส่งออกปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ Luong Duc Long รองประธานและเลขาธิการสมาคมปูนซีเมนต์เวียดนาม (VNCA) อธิบายถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งของปริมาณการส่งออกปูนซีเมนต์ กล่าวว่า เวียดนามได้ขยายการส่งออกปูนซีเมนต์ไปยังประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม มองว่าการส่งงอดไปยังตลาดดังกล่าวมีความไม่ยั่งยืน เนื่องจากประเทศเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมซีเมนต์ในประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cement-exports-soar-by-50-percent/202519.vnp

เวียดนามเผยพร้อมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แต่ต้องดึงดูดนักลงทุนมากขึ้น

ตามข้อมูลของ CBRE ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นก่อนที่จะเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากเวียดนามกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของการย้ายฐานการผลิตจากกประเทศจีน บริษัทเวียดนาม เผยว่าอสังหาริมทรัพย์จะก้าวขึ้นเป็น “กระดูกสันหลัง” ของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประเทศ ทั้งนี้ รายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ณ เดือนพ.ค. 64 เวียดนามมีนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 394 แห่ง แบ่งออกเป็นสวนอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการอยู่ 286 แห่ง ด้วยอัตราการเช่า 71.8% และสร้างงาน 3.78 ล้านตำแหน่ง นอกจากนี้  ดร.ตรัน ดินห์ เตียน อดีตผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจของเวียดนาม กล่าวว่าท้องถิ่นได้โอกาสอันสำคัญ และเวียดนามจะเป็นแหล่งดึงดูกการลงทุนชั้นนำของโลก จากความได้เปรียบของข้อตกลงการค้าเสรี อีกทั้ง นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งใหม่ ไม่ควรร้อนใจเกินไป เนื่องจากสิ่งสำคัญในตอนนี้ คือ การหานักลงทุนเข้ามาผลักดันนิคมอุตสาหกรรม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ips-set-up-but-vietnam-still-needs-to-do-more-to-attract-investors/202515.vnp

YIA ขยายเวลาระงับเที่ยวบินเข้าประเทศถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 64

ประกาศของกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร เผย ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) ได้ขยายเวลาระงับเที่ยวบินขาเข้าทั้งหมดจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ทั้งนี้กรมการบินพลเรือนและกระทรวงสาธารณสุขและกีฬา ประกาศจะระงับการให้กับผู้โดยสารตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2563 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามจะยกเว้นให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ชาวต่างชาติ นักการทูต และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของสหประชาชาติ แต่จะต้องติดต่อสถานทูตเมียนมาในต่างประเทศหรือสถานกงสุลในเมียนมาร์เพื่อยกเว้นวีซ่า นอกจากนี้ Myanmar Airways International (MAI) และ Air KBZ ได้ระงับการบินภายในประเทศไปยังท่าขี้เหล็ก, กะเลย์, เชียงตุง, ทวาย, มะริด และ เกาะสอง ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม ถึง 8 มิถุนายน ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yia-extends-suspension-of-all-incoming-international-flights-till-30-june/

รัฐบาลสปป.ลาวห้ามนำเข้าวัคซีนโควิดในเชิงพาณิชย์

อธิบดีกรมอนามัยและส่งเสริมสุขภาพ สังกัดกระทรวง ชี้แจงเหตุผลในการห้ามเอกชนซื้อขายวัคซีนในเชิงพาณิชย์ “รัฐบาลเข้าใจความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับการขาดแคลนวัคซีนแต่ถึงแม้จะมีความต้องการเพิ่มขึ้น รัฐบาลมีความเชื่อมันว่าสต็อกของรัฐบาลเพียงพอแล้วและคาดว่าจะมีการส่งมอบวัคซีนเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้” อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอนุญาตให้หน่วยงานเอกชนซื้อวัคซีนเพื่อใช้เองได้ โดยเอกชนสามารถนำเข้ามาเพื่อฉีดให้กับพนักงงานตนเองโดยห้ามมีการค้าในเชิงพาณิชย์ การดำเนินนโยบายดังกล่าวจะทำให้เป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้ครอบคุลมร้อยละ 50 ของประชากรสปป.ลาว ในปี 64 ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้การเข้มงวดในการกำกับดูแลวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องโปร่งใสและจริงจังเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนของประชากรในปรเทศ 

ที่มา :https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt107.php

GMAC กัมพูชา ยืนยันไม่จ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนหลังถูกสั่งปิดโรงงานชั่วคราว

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) ปฏิเสธการเรียกร้องให้จ่ายเงินค่าแรงเต็มจำนวน ในช่วงล็อกดาวน์ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ ส่งผลถึงการไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้กับคู่ค้าได้จนทำให้เกิดปัญหาทางด้านสภาพคล่อง จึงทำให้การจ่ายเงินค่าแรงเต็มจำนวนเป็นเรื่องที่ยากมากในช่วงของการปิดโรงงานชั่วคราว โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการช่วยออกค่าแรงจำนวน 40 ดอลลาร์ แก่คนงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ร่วมกับเจ้าของโรงงานสมทบเงินเพิ่มอีก 30 ดอลลาร์ ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำของกัมพูชาในปี 2011 อยู่ที่ 61 ดอลลาร์ต่อเดือน และเพิ่มขึ้นเป็น 192 ดอลลาร์ต่อเดือนในปีนี้สำหรับค่าจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50867125/no-work-no-pay-gmac-rejects-union-call-for-full-lockdown-salaries/

การค้าชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชาลดลงในช่วง 4 เดือนแรกของปี

การค้าข้ามพรมแดนของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ทำให้รัฐบาลไทยเชื่อมั่นว่าการค้าดังกล่าวจะกลับมาเติบโตร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 6 ในปี 2021 หลังจากมูลค่าหดตัวที่ร้อยละ 1.7 ในปีที่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การค้าข้ามพรมแดนกับกัมพูชาลดลงร้อยละ 4.5 ในช่วงเวลาเดียวกัน สาเหตุหลักมาจากการปิดชายแดนในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยการเติบโตทางด้านมูลค่าการค้าข้ามพรมแดนของไทยเป็นผลมาจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวง หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ผ่านคณะกรรมการที่ปรึกษาภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ร่วม เพื่อขจัดอุปสรรคด้านการส่งออกและเร่งการเปิดด่านชายแดนอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50867316/cambodias-border-trade-with-thailand-down-4-5-percent-in-four-months/