เวียดนามเผยข้อตกลง RCEP จะไม่ทำให้ขาดดุลการค้ามากขึ้น

จากตัวเลขสถิติ ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามขาดดุลการค้ากับจีน เกาหลีใต้และอาเซียน อยู่ที่ 27.71, 21.37 และ 5.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ทำให้เกิดความกังวลว่าข้อตกลงดังกล่าวอาจทำให้เวียดนามขาดดุลการค้าพุ่งขึ้น ในขณะที่ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าเวียดนามได้เข้าร่วมความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) และเขตการค้าเสรี (FTA) กับอาเซียนและกลุ่มประเทศคู่ค้า ซึ่งหมายความว่าได้เปิดเสรีทางการค้าไปแล้ว ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ข้อตกลง “RCEP” มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจและการลงทุน ด้วยเหตุนี้ ข้อตกลงดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อการขาดดุลการค้าในระยะยาวของเวียดนาม ทั้งนี้ นาย Nguyen Thi Quynh Nga รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการค้าพหุภาคีของกระทรวงฯ เร่งให้ธุรกิจในประเทศศึกษาถึงข้อตกลงดังกล่าวอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและฝ่าอุปสรรคทางการค้าที่รุนแรงได้ในตลาดในประเทศ

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rcep-will-not-worsen-trade-deficit-ministry/190918.vnp

บ.น้ำมัน “PetroVietnam” ยังคงท็อป 3 บริษัทรายใหญ่ที่สุดในเวียดนามเป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน

ตามรายงานของ Vietnam Assessment Report (Vietnam Report) ร่วมกับ VietNamNet เปิดเผยการจัดอันดับอย่างเป็นทางการ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม (VNR500) พิจารณาจากรายได้, กำไร, อัตราการเติบโต, แรงงาน, ส่วนของเจ้าของและสินทรัพย์รวม ซึ่งถือเป็นปีที่ 14 ติดต่อกัน โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติเวียดนาม (PetroVietnam) ติดอันดับที่ 3 จากจำนวน 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม รองจากซัมซุงเวียดนามที่อยู่ในอันดับที่ 1 และการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) อันดับที่ 2 ทั้งนี้ บริษัท PetroVietnam  นับติดอันดับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจได้ทำผลงานที่โดดเด่นในด้านการผลิตและการดำเนินธุรกิจ รวมถึงกำไรสูง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/petrovietnam-remains-in-vietnams-top-3-largest-firms-for-10th-consecutive-year/190897.vnp

RCEP กระตุ้นภาคการผลิตของเมียนมา

งานวิจัยของ Oxford Business Group ชี้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีส่วนผลักดันการผลิตของเมียนมาโดยกลุ่มการค้าจาก 15 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อขยายฐานการผลิต สภาหอการค้าอังกฤษในเมียนมาเผยผู้ผลิตในท้องถิ่นระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ต้องเข้าร่วมในตลาดอาเซียนกำลังใช้ประโยชน์จากโอกาสในเมียนมา เพราะเศรษฐกิจเมียนมาร์ยังมีความใหม่มีพื้นฐานทางการเกษตรและการผลิตโดยรวมอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีฐานต้นทุนที่ต่ำ โครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเติบโตและรัฐบาลที่เปิดกว้าง รัฐบาลใหม่ของนางอองซานซูจี ตอนนี้ถึงเวลาสร้างและเสริมสร้างขีดความสามารถของกระทรวงต่างๆเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน RCEP อย่างมีประสิทธิผลแ 5 ปีที่ผ่านมาธุรกิจจากต่างประเทศมีการลงทุนลงทุนกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจการผลิต 711 แห่ง ส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ลงทุน 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 50 ธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จากรายงานของคณะกรรมการด้านการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) การลงทุนภาคการผลิตมีมูลค่ามากที่สุดในช่วงปี 2559 ถึง 2563 ด้วยมูลค่า 7.4 พันล้านดอลลาร์  โดย RCEP ได้ลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งมีประเทศร่วมลงนาม ได้แก่ 10 ประเทศจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ RCEP มีประชากรคิดเป็น 30% ของประชากรโลก และขนาดของเศรษฐกิจจะเท่ากับ 28% ของ GDP โลก โดยกลุ่มอาเซียนที่เข้าร่วม ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-asean-led-trade-deal-boost-myanmar-manufacturing-sector.html

ส่งออกไทยสัญญาณดี ลุ้นปีหน้าพลิกบวกตามเศรษฐกิจโลก

“พาณิชย์”ชี้ส่งออกเริ่มฟื้นตัว เดือนต.ค.แค่ติดลบ 6.71% คาดอีก 2 เดือนยังมีแนวโน้มที่ดี โดยสินค้ากลุ่มอาหาร-อุตสาหกรรมยังเป็นดาวรุ่ง จับตาปีหน้าส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกแน่นอน สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศเดือนต.ค.2563 ว่า การค้าระหว่างประเทศของไทยอยู่ในภาวะฟื้นตัว ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น หลังประเทศต่างๆ ทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางและการขนส่ง โดยส่งออกเดือนต.ค. มีมูลค่า 19,376.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  หดตัว 6.71% แม้จะติดลบแต่มีสัญญาณที่ดีขึ้นตามลำดับ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 17,330.15  ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 14.32% ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2,046.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกของไทยส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี หลายสินค้ามีศักยภาพในการขยายตัวแม้เผชิญกับ สถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ขยายตัวในขณะนี้ อาทิ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาด หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งจะสามารถขยายตัวต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง แต่เมื่อโลกสามารถผลิตวัคซีนต้าน โควิด-19 ได้สำเร็จ ความต้องการสินค้าเหล่านี้อาจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะนี้ภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวดีขึ้นเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังในหลายประเทศ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ต่อสินค้ากระเตื้องขึ้น อย่างไรก็ตามสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เติบโตต่อเนื่อง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. สินค้าอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์เลี้ยง สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร 2. สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาอบไมโครเวฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และโซลาร์เซลล์ 3. สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาด โดยมีการคาดการณ์ภาพรวมส่งออกไทยปีนี้น่าจะดีขึ้น หรือมีการติดลบที่น้อยลง  ตลอดทั้งปีจะติดลบที่ระดับ 7%  ส่วนปี 2564 มีแนวโน้มการส่งออกจะดีขึ้นขยายตัวเป็นบวกได้  โดยเฉพาะเมื่อมีวัคซีนป้องกันโควิดออกมาใช้ได้ จะทำให้ดีมานด์สินค้าส่งออกของไทยยังไปได้ดีต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/638651

บริษัท สตาร์เทเลคอม (Unitel) เริ่มใช้ใบแจ้งหนี้ที่พิมพ์ด้วยตัวเองในการขายกิจกรรมการบริการ

ตามใบอนุญาตเลขที่ 3127 / TCT ที่ออกเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2020 กรมภาษีอากรได้ยอมรับคำขอของบริษัท สตาร์เทเลคอม (Unitel) ในการอนุญาตให้พิมพ์ใบแจ้งหนี้ด้วยตนเองสำหรับกิจกรรมการขายและบริการใบแจ้งหนี้ที่พิมพ์ด้วยตนเองคือใบแจ้งหนี้ที่ บริษัท สตาร์เทเลคอม พิมพ์บนคอมพิวเตอร์เครื่องบันทึกเงินสดหรือเครื่องจักรอื่น ๆ เมื่อขายสินค้าหรือให้บริการ การใช้ใบแจ้งหนี้ที่พิมพ์ด้วยตนเองจะช่วยสนับสนุนความพยายามของ Unitel ในการจัดทำใบแจ้งหนี้เชิงรุกด้วยการที่ยูนิเทลเป็นองค์กรที่มีศูนย์บริการจำนวนมากใน 18 สาขาทั่วประเทศการพิมพ์ใบแจ้งหนี้ด้วยตนเองจะช่วยให้ผู้นำควบคุม บริษัท ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้แผนกการเงินที่สำนักงานใหญ่ยังสามารถควบคุมการทำและการพิมพ์ใบแจ้งหนี้เพื่อลดต้นทุนและรองรับการผลิตและการดำเนินธุรกิจได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิถือเป็นต้นแบบบริษัทที่มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในอนาคตหากมีบริษัทในสปป.ลาวนำระบบดังกล่าวไปใช้จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาไปอีกขั้นของบริษัทในสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Unitel_228.php

สปป.ลาวจับมือพันธมิตรเปิดตัวระบบนวัตกรรมการเกษตร

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ คณะผู้แทนสหภาพยุโรปและสถาบันวิจัยเกษตรและป่าไม้แห่งชาติ เปิดตัวโครงการใหม่เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งโครงการพัฒนาขีดความสามารถในระบบนวัตกรรมการเกษตรของการขยายกรอบแพลตฟอร์มเกษตรเขตร้อน (TAP AIS) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิผลความสามารถในการแข่งขัน TAP-AIS เป็นโครงการระดับโลกที่เป็นส่วนหนึ่งของความริเริ่มของสหภาพยุโรป“ การพัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะผ่านการวิจัยด้านการเกษตร (DeSIRA): สู่ระบบเกษตรและนวัตกรรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ”  จะนำไปสู่การส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงการเกษตรและระบบอาหารที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ โดยการพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในระดับประเทศ ซึ่งรวมถึงการร่วมมือกันในการจัดการการผลิตที่ดีขึ้นและการเข้าถึงตลาดใหม่  การใช้เมล็ดพันธุ์ใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่เพื่อผลิตมากขึ้นโดยใช้ยาฆ่าแมลงน้อยลง มีคุณภาพดีขึ้น ช่วยให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจ สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยทางโภชนาการ ทั้งนี้โครงการ TAP-AIS ในสปป.ลาวยังมุ่งเน้นไปที่วิธีการในการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถทั้งสามมิติสำหรับนวัตกรรมทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กรและสภาพแวดล้อม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_228.php

กัมพูชาเตรียมการเจรจาด้านการค้าและการลงทุนกับสหภาพยุโรป

กัมพูชาและสหภาพยุโรป (EU) ได้จัดให้มีการหารือเตรียมการสำหรับการประชุมกลุ่มย่อยด้านการค้าและการลงทุน ครั้งที่ 11 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26-27 พ.ย. โดยการเตรียมการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ระหว่างการประชุมทางวิดีโอ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาเป็นประธานร่วมที่กระทรวงพาณิชย์ และหัวหน้าฝ่ายการค้าและการลงทุนของคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย โดยทางกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาได้ทำการอัปเดตเกี่ยวกับปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรป ไปจนถึงผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการค้าและการลงทุนของกัมพูชา ซึ่งในที่ประชุมยังพิจารณาถึงการแก้ไขกฎหมายการค้าและการลงทุนของกัมพูชา การเจรจาภายใต้กรอบการค้าเสรีทวิภาคีและพหุภาคี ทั้งความคืบหน้าของวาระการประชุมในองค์การการค้าโลก (WTO)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50784381/cambodia-eu-trade-and-investment-talk-set-for-next-week/

แบงก์ชาติกัมพูชาอนุมัติการปรับโครงสร้างเงินกู้จนถึงกลางปี 2564

ขณะนี้ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) อนุญาตให้ธนาคารและกลุ่มไมโครไฟแนนซ์ดำเนินการปรับโครงสร้างเงินกู้สำหรับลูกค้าของตนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันในกัมพูชาจนถึงกลางปี 2564 โดย NBC กล่าวว่าหน่วยงานกำกับดูแลได้อนุญาตให้มีการปรับโครงสร้างเงินกู้ได้ถึงสามครั้งสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งการปรับโครงสร้างเงินกู้ถือเป็นการช่วยเหลือลูกค้า โดยจะตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอื่นในการทำธุรกรรมลง ซึ่งสถาบันการเงินทุกแห่งต้องดำเนินการตามประกาศและจะต้องติดตามการปรับโครงสร้างเงินกู้อย่างสม่ำเสมอตาม NBC กำหนด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50784908/nbc-approves-restructuring-of-loans-until-mid-2021/