การส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรในแขวงจำปาสัก

รองเจ้าแขวงจำปาศักดิ์กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าโควิด -19 ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ อย่างไรก็ตามมาตรการ cross-border travels  ได้ช่วยเพิ่มความต้องการสินค้าเกษตรในจำปาสักทางอ้อม ซึ่งแขวงจำปาสักมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรจำนวนมากและเกษตรกรมีประเพณีการผลิตข้าว กาแฟ ชา ผลไม้ผักและพืชอื่น ๆ มายาวนาน ความท้าทายด้านการตลาดทำให้ผู้ผลิตในพื้นที่บางครั้งต้องขายพืชผลในราคาที่ต่ำกว่าและขาดทุนซึ่งทำให้ไม่สามารถขยายผลผลิตทางการค้าต่อไปได้  ในขณะนี้ชาวไร่กาแฟ บางรายกำลังตัดโค่นสวนกาแฟและหาทางทำมันสำปะหลังเนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มากขึ้น ทั้งนี้ทางการจำปาสักจะส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ขยายตลาดการเกษตรและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร การผลิตทางการเกษตรยังคงเผชิญกับความท้าทาย เช่น ขนาดของตลาดที่เล็ก การผลิตขนาดเล็กปริมาณและคุณภาพที่จำกัด การแข่งขันจากสินค้านำเข้า เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ จะเพิ่มความพยายามในการปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรให้ทันสมัย เพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของผลผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกเพื่อช่วยสร้างรายได้ การบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อีกทั้งจะส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อขยายขนาดของตลาดในท้องถิ่น สร้างตลาดการเกษตรเพื่อส่งเสริมการค้าทางการเกษตร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Champassak_174.php

กล้วย ทำรายได้สูงสุดในการส่งออกสินค้าเกษตรของสปป.ลาว ไปยังจีน

ทางการสปป.ลาวยืนยันว่าปีนี้กล้วยยังคงทำรายได้สูงสุดในบรรดาสินค้าเกษตรส่งออกไปยังประเทศจีน แม้ว่ารัฐบาลจะสั่งห้ามปลูกกล้วยมากขึ้นก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รายงานว่าสปป.ลาวส่งออกกล้วยไปยังจีนเป็นมูลค่า 116 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ปีที่แล้วมีรายได้ราว 185.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้ว่าจำนวนนักลงทุนและสวนกล้วยในประเทศจะลดลง หลังจากที่รัฐบาลบังคับใช้คำสั่งห้ามไม่ให้มีพื้นที่ปลูกใหม่และปิดบริษัทที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ แต่มูลค่าการส่งออกกล้วยยังคงอยู่ในระดับสูง การค้าขายระหว่างสปป.ลาวและจีนในปีนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 แต่การส่งออกสินค้าโดยเฉพาะกล้วยยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากความร่วมมือและการเจรจาที่ดีระหว่างทางการสปป.ลาวและจีนยุทธศาสตร์การเกษตรปี 68 ระบุว่ากล้วยเป็นสินค้าส่งออกทางการเกษตรอันดับต้น ๆ สร้างโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่นเพื่อให้อยู่เหนือความยากจน แต่พื้นที่เพาะปลูกบางแห่งทำร้ายสิ่งแวดล้อม เนื่องจากรัฐบาลขาดการจัดการการจัดสรรที่ดินที่ไม่สมบูรณ์และการจดทะเบียนธุรกิจที่หละหลวม ด้วยเหตุนี้ผู้ค้าและนักลงทุนจึงได้รับการสนับสนุนให้ทำสัญญากับครอบครัวเกษตรกรรมเพื่อปลูกพืช แต่ยังไม่มีการบังคับใช้กฎระเบียบโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับองค์กรการส่งเสริมการลงทุนการจัดการสารเคมีการคุ้มครองพืชการคุ้มครองผู้บริโภคและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/bananas-largest-slice-laos-export-pie-china

บั๊กนิญดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ 119 โครงการ ในช่วงเดือนม.ค.-สิ.ค.

สำนักงานสถิติประจำจังหวัด ระบุว่าจังหวัดบั๊กนิญ (ภาคเหนือ) มีโครงการลงทุนใหม่จากต่างชาติ 119 โครงการ ด้วยทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 334.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติและในประเทศ ทางจ.บั๊กนิญ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ที่ประกอบไปด้วยการใช้ที่ดินน้อย, แรงงานจำนวนน้อย, อัตราการลงทุนที่อยู่ในระดับสูง, งบประมาณและเทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ในจำนวน 1,331 โครงการ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและแปรรูป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 83 ของยอดลงทุนทั้งหมด มาจากเกาหลีใต้ 1,205 โครงการ ตามมาด้วยจีน 112 โครงการและญี่ปุ่น 86 โครงการ นอกจากนั้น กลไกการให้สิทธิพิเศษและนโยบายของรัฐ ทำให้ทางจังหวัดดังกล่าวเสนอความคิดริเริ่ม เพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมและการลงทุน ณ ที่เดียว ผ่านการทำธุรกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ ซัมซุง แคนนอนและฟ็อกซ์คอนน์

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/772036/bac-ninh-attracts-119-foreign-invested-projects-in-january-august.html

ราคาส่งออกข้าวของเวียดนาม แตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกข้าวแตะ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทางฝั่งปริมาณส่งออกข้าวรวมอยู่ที่ 4.5 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ราคาข้าวหักของเวียดนามสูงถึง 480-490 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน นับว่าสูงสุดตั้งแต่ปลายปี 2554 ขณะที่ ราคาข้าวจากอินเดียและไทย อยู่ที่ 383-389 และ 480-500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ตามลำดับ นอกจากนี้ สำนักข่าวเวียดนามอ้างอิงจากคุณเหงียน วัน ด่อง ผู้อำนวยการ บริษัท Viet Hung rice milling, Processing and Trading Company กล่าวว่าสาเหตุที่ราคาส่งออกข้าวเวียดนามอยู่ในระดับสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทไทยแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ไทยเสียเปรียบการส่งออก อีกปัจจัยหนึ่ง คือ คุณภาพข้าวของเวียดนามที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/69811/vietnam-s-rice-export-prices-hit-nine-year-high.html

เมียนมาห้ามรถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลาเคอร์ฟิว

Myanmar Container Truck Association (MCTA) ออกประกาศให้รถบรรทุกทุกคันทั่วประเทศห้ามวิ่งรถในช่วงเวลาเคอร์ฟิวที่รัฐบาลกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระหว่างเวลา 12.00 น. ถึง 04.00 น. ในย่างกุ้งมีรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์วิ่งต่อวันประมาณ 3,000 คัน แต่จำนวนลดลงเหลือประมาณ 1,000 คันเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/container-trucks-warned-avoid-driving-during-curfew-hours.html

ส่งออกข้าวโพดไปไทยหยุดชะงัก

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 63 เมียนมาหยุดการส่งออกข้าวโพดจากชายแดนเมียวดี  เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปไทยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 63 โดยได้รับการยกเว้นภาษีเป็นไปตามข้อกำหนดข้าวโพดของไทย แต่เวลานี้ตรงกับเวลาที่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโพดในไทย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรไทยจึงเพิ่มภาษีการส่งออกข้าวโพดของเมียนมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/corn-export-to-thailand-halts

‘โควิด’ ฉุดธุรกิจลดจ้างงาน 75%

ถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงภาคแรงงาน การจ้างงานที่มีดีมานด์ลดลงอย่างมาก จากการวิเคราะห์ของ “จ๊อบไทย” (JobThai) ผู้ให้บริการหางานสมัครงานออนไลน์ ระบุว่า องค์กรมีความต้องการแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 รวมกันอยู่ที่ 303,776 อัตรา โดย ก.พ.เปิดรับสูงสุด 124,629 อัตรา แต่ในช่วง มี.ค.-เม.ย. การจ้างงานลดลง 16.5% ซึ่งเป็นช่วงที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นและกระจายวงกว้างมากขึ้น เมื่อวิเคราะห์ลงในรายละเอียด พบว่า ประเภทธุรกิจมีความต้องการแรงงานมากที่สุด คือ “อาหาร-เครื่องดื่ม” เนื่องจากผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายในหมวดสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ตรงข้ามกับ “ธุรกิจท่องเที่ยว” ที่มีความต้องการแรงงานน้อยที่สุด ผลจากการที่ภาคการท่องเที่ยวหดตัวรุนแรง หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยที่ประกาศใช้มาตรการจํากัดการเดินทางระหว่างประเทศและมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในไทยลดลง จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจกลุ่มนี้ ซึ่งต่อเนื่องถึงธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท สปาและสนามกอล์ฟ สำหรับทิศทางของตลาดแรงงานจากนี้ไป คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อดูสถิติช่วงต้นเดือน ก.ค. พบว่าสายอาชีพที่มีแนวโน้มเปิดรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟรีแลนซ์ อาจารย์-ครูและกลุ่มบุคลากรด้านสุขภาพ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกรและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/896714?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

คาดปี 67 ตลาดอาหารแช่แข็งกัมพูชามีมูลค่าสูงถึง 119.56 ล้านดอลลาร์

ตลาดอาหารแช่แข็งของกัมพูชาคาดจะมีมูลค่าสูงถึง 119.56 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 67 โดยอัตราการเติบโต (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ  3.9 ในช่วง ปี 62-67 รายงานการวิจัยตลาดของ Bulletin Line กล่าวว่าการเปลี่ยนวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการรับประทานอาหารหลายมื้อต่อวันเป็นแบบเดียวประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ที่ทานอาหารสามมื้อต่อวันมากขึ้น แนวโน้มดังกล่าวยังรวมถึงการซื้ออาหารสำเร็จรูปอาหารปรุงสุกและการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งที่เพิ่มขึ้น ทำให้ยอดค้าปลีกในอุตสาหกรรมอาหารบรรจุหีบห่อเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอาหารแช่แข็งและแช่เย็น ผู้บริโภคมีความต้องการของหวานแช่แข็ง มันฝรั่งแช่แข็งและอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้น ผู้นำเข้าบางรายในกัมพูชามีความเชี่ยวชาญในการให้บริการร้านอาหารของโรงแรมและมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดเก็บและการกระจายสินค้าแช่แข็งและแช่เย็นที่เหมาะสม ร้านค้าปลีกอาหารสมัยใหม่ส่วนใหญ่ เช่น DFI Lucky และ Thai Huot ยังให้บริการการค้านร้านค้าปลีกหรือการค้าส่ง ในปี 2559 สถาบันมาตรฐานแห่งกัมพูชา (ISC) และองค์การเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ร่วมมือกันเพื่อเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเล 4 ชนิดที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล น้ำปลา กุ้งแช่แข็ง กุ้งแห้ง และเนื้อปูเป็นการส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ รสชาติ และความชอบที่เปลี่ยนไปในอาหารแช่แข็งของผู้บริโภคจึงได้รับความนิยมในประเทศเนื่องจากอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้น

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50761273/cambodia-frozen-food-market-is-forecasted-to-reach-119-56-million-by-2024/