JICA ส่งมอบระบบแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลให้กระทรวงโยธาฯ สปป.ลาว

สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ส่งมอบระบบแบ่งปันข้อมูลดิจิทัล ได้แก่ VirGo (https://virgo.mpwt.gov.la) ให้กับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว โดยมีตัวแทนจากกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง กรมโยธาธิการและขนส่งเวียงจันทน์ สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และทีมผู้เชี่ยวชาญของ JICA จากการสำรวจสภาพปัจจุบันในระยะนำร่องของโครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านการควบคุมและส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศลาว (CDUDCP) เว็บไซต์ VirGo ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการ CDUDCP ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย JICA ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 เว็บไซต์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการวางผังเมืองและการพัฒนาเมือง ไม่เพียงแต่สำหรับหน่วยงานของรัฐเท่านั้น แต่ยังสำหรับประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจเอกชน โดยการใช้งานผ่านเว็บไซต์ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและข้อมูลอย่างเป็นทางการต่างๆ เช่น แผนการใช้ที่ดิน แผนที่เครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ได้ตลอดเวลา โดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือสมาร์ทโฟน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_15_Jica_y24.php

 

Wanli Tyre ตั้งเป้าขยายกำลังการผลิตในกัมพูชา

Wanli Tyre Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองกวางโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง ได้เริ่มขยายฐานการผลิตระยะใหม่ในกัมพูชา ท่ามกลางการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตล้อยางเมื่อปีที่แล้ว โดยโครงการระยะนี้ถือเป็นระยะที่ 3 ของการจัดตั้งโรงงานในกัมพูชา ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างโรงงานสาธิตการผลิตยางรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการคาดการณ์กำลังการผลิตไว้ที่ปีละ 12 ล้านเส้น สำหรับในปี 2023 สำหรับปริมาณการผลิตและยอดคำสั่งซื้อของบริษัท Wanli ในกัมพูชา เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 18.77 และร้อยละ 19.42 ตามลำดับ ซึ่งมีกำไรเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่ากว่า 40.69 ล้านดอลลาร์ ในปีก่อน และพร้อมที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตยางในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501426360/wanli-tire-eyes-major-capacity-expansion-in-cambodia/

2023 กัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5.4 ล้านคน

กัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ราว 5.43 ล้านคน ภายในปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 139 จากปริมาณ 2.27 ล้านคน ในปี 2022 รายงานโดยกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ซึ่งนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยถือเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มสำคัญของกัมพูชา หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 1.82 ล้านคน รองลงมาคือเวียดนาม 1.01 ล้านคน จีน 547,789 คน สปป.ลาว 372,285 คน และสหรัฐฯ 184,780 คน เป็นสำคัญ โดยจากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยว คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนกัมพูชาจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นกว่า 7 ล้านคน ภายในปี 2025 สูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ 6.6 ล้านคน ในปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501426346/cambodia-welcomes-5-4-million-foreign-tourists-in-2023/

หอการค้าไทย-จีนหนุนผู้ประกอบการรุก “CIIE 2024” เพิ่มโอกาสส่งออกตลาดจีน

นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า งานมหกรรมสินค้านำเข้านานาชาติจีน ครั้งที่ 7 (China International Import Expo-CIIE 2024) หรือ CIIE จะเป็นการเปิดโอกาสให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีน ขณะที่นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกัฐมนตรี กล่าวว่า งาน CIIE 2024 เป็นการเปิดโอกาสให้นักธุรกิจและผู้ประกอบการไทยได้รับฟังศักยภาพของงาน CIIE รวมถึงแนวคิดการจัดงาน CIIE ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการส่งเสริมการนำเข้าสินค้าตามนโยบายเปิดกว้างทางเศรษฐกิจของจีน และเป็นเวทีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับนานาประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าสินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสู่ตลาดจีน รวมถึงเป็นโอกาสในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐผ่านการเยือนของผู้บริหารระดับสูงของไทย และเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางผลักดันการค้า การลงทุนระหว่างผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนไทย-จีน ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/economy/586466

‘เวียดนาม-ฮังการี บิสซิเนส ฟอรั่ม’ ร่วมผลักดันความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุน

การประชุมเวียดนาม-ฮังการี บิสซิเนส ฟอรั่ม (Vietnam-Hungary Business Forum) เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเวียดนามและฮังการีในการส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุน รวมถึงเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคธุรกิจ โดยปีนี้มีนายกรัฐมนตรีฮังการี วิกเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝ่ามมิงห์ ชินห์ ผู้นำกระทรวงและตัวแทนของภาคธุรกิจของทั้งสองประเทศเข้าร่วม

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อให้ข้อมูลทางด้านศักยภาพ การลงทุนและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตลอดจนศึกษาโอกาสเส้นทางธุรกิจในเวียดนามและฮังการี ในขณะเดียวกันมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นถึงกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะนโยบายแบบพิเศษ โครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-and-hungary-hold-great-cooperation-potential-joint-business-forum-post1072774.vov

‘ฟิลิปปินส์’ กลายเป็นผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ปี 66

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในปี 2566 เวียดนามส่งออกข้าวมากกว่า 8 ล้านตัน และฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม โดยจากตัวเลขทางสถิติแสดงให้เห็นว่าเวียดนามส่งออกข้าว 8.34 ล้านตันในปีที่แล้ว ทำรายได้ราว 4.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4% และ 35.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าฟิลิปปินส์จะเป็นผู้นำเข้าข้าวเวียดนามมากที่สุด แต่อินโดนีเซียก็เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตในระดับสูง ปริมาณการนำเข้าข้าวของอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าทิศทางการส่งออกข้าวของเวียดนามในปีนี้ จะได้รับแรงหนุนมาจากราคาในตลาดโลกที่คงอยู่ในระดับสูง และผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนิโญ รวมถึงการซื้อข้าวจากกลุ่มประเทศในเอเชียและแอฟริกา คาดว่าจะผลักดันราคาในตลาดโลกให้สูงขึ้นในปี 2567

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/philippines-is-vietnams-largest-rice-consumer-in-2023-post1072880.vov

นายกฯ สปป.ลาว แนะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคุมเข้มการใช้ที่ดิน

นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว แนะนำให้เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดูแลการจัดสรรและใช้ที่ดินอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แม้ว่า การออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศดำเนินไปด้วยดี โดยมีการออกโฉนดที่ดินเป้าหมายเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนเป้าหมาย นอกจากนี้ การให้สิทธิการใช้ที่ดินแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายที่ดินรวมทั้งในระดับเขตยังไม่เสร็จสิ้นตามที่ตั้งใจไว้ ภายใต้กฎหมายโครงการสัมปทานที่ดินของรัฐควรได้รับการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดตามกฎระเบียบที่กำหนด ในขณะเดียวกัน โครงการที่ไม่ก่อให้เกิดผลควรหยุดหรือยกเลิก ในขณะที่โครงการที่ดำเนินการได้สำเร็จและสอดคล้องกับประเภทการใช้ที่ดินที่ระบุควรได้รับการสนับสนุน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_14_PMcalls_y24.php

‘นโยบายแบตเตอรี่แห่งอาเซียน’ สปป.ลาว เดินหน้าต่อ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถทางการค้ากับกัมพูชา

สปป.ลาว และกัมพูชา ย้ำความมุ่งมั่นในการยกระดับการค้าพลังงานระหว่างทั้งสองประเทศ หลังจากการจัดตั้งสายส่งไฟฟ้าขนาด 500 กิโลโวลต์ ในแขวงจำปาสักไปจนถึงชายแดนติดกับกัมพูชา ข้อตกลงที่จะส่งเสริมการค้าพลังงานมีขึ้นในขณะที่นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ได้พบกับรัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ในระหว่างการเยือนประเทศ ปัจจุบัน สปป.ลาว ผลิตไฟฟ้าส่งขายให้กับกัมพูชาผ่านสายส่งขนาด 115 กิโลโวลต์ ระหว่างแขวงจำปาสักกับจังหวัดสตึงแตรง ประเทศกัมพูชา ด้วยการใช้สายการผลิตใหม่ขนาด 500 กิโลโวลต์ คาดว่าการถ่ายโอนพลังงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบัน กัมพูชานำเข้าไฟฟ้าจากลาว ประมาณ 445 เมกะวัตต์ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 ปัจจุบันประเทศกัมพูชานำเข้าไฟฟ้า 25% จากลาว เวียดนาม และไทย

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/01/19/battery-of-southeast-asia-plans-move-forward-as-laos-enhances-trade-capacity-with-cambodia/

เมียนมาร์-ไทย ตัดสินใจยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ตามรายงานของสหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) เมื่อวันที่ 17 มกราคม เมียนมา และไทยได้จัดประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคีไทย-เมียนมาเพื่อส่งเสริมการค้าและความสัมพันธ์ นายมงคล วิศิษฏ์สตัมภ์เอกอัครราชทูตไทยประจำเมียนมา พร้อมคณะเข้าพบหารือกับประธาน UMFCCI นายอู เอ วิน และเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ โดยในระหว่างการประชุม การอภิปรายมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างเมียนมาและไทย การเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการค้า การปรับปรุงมาตรการการค้าชายแดน การขยายธุรกิจและการลงทุน รับรองกระบวนการส่งออกและนำเข้าให้มีความราบรื่น (รวมถึงอาหาร ของใช้ส่วนตัว นม และผลิตภัณฑ์นม) ส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวและยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 7 มกราคม กระทรวงการค้าได้ออกแถลงการณ์อนุญาตให้นักธุรกิจเปลี่ยนค่ายการค้าเพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าในกระบวนการส่งออกและนำเข้าของเขตการค้าเมียวดี ผู้ประกอบการส่งออกได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุมัติเพื่อส่งไปยังตลาดต่างประเทศผ่านค่ายการค้าชายแดนตามแนวชายแดนเมียนมาร์-ไทย ถ้าไม่เช่นนั้นก็สามารถเลือกเส้นทางการค้าทางทะเลได้ นอกจากนี้ ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การค้าเมียนมา-ไทย มีมูลค่าทะลุ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 9 เดือนแรกของปีงบประมาณนี้ หากเทียบกันในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2022-2023 มูลค่าการค้าสูงถึง 3.951 พันล้านดอลลาร์ ดังนั้นมูลค่าการค้าในปีการเงินปัจจุบันจึงลดลง 385.353 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-decide-to-enhance-economic-cooperation/

2023 กัมพูชาส่งออกยางไปยังตลาดต่างประเทศมูลค่า 490.6 ล้านดอลลาร์

General Directorate of Rubber (GDR) รายงานการส่งออกยางแห้งของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศปริมาณกว่า 368,048 ตัน ในปี 2023 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.3 จากปริมาณ 372,903 ตันในปีก่อนหน้า โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายสำคัญของกัมพูชาที่มูลค่า 490.6 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 7 จากมูลค่า 527.6 ล้านดอลลาร์ในปีก่อน ซึ่งส่งออกไปยังยังมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีน เป็นหลัก ขณะที่การเพาะปลูกต้นยางพาราในกัมพูชามีพื้นที่ทั้งหมด 407,172 เฮกตาร์ และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว 320,184 เฮกตาร์ โดยรายงานระบุเสริมว่าการส่งออกยางที่ลดลงเป็นผลเนื่องมาจากความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการมีอยู่ของโรงงานผลิตยางรถยนต์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501425159/cambodia-exports-rubber-worth-490-6-million-in-2023/