นักลงทุนชาวเวียดนามในสปป.ลาวหารือถึงมาตรการรับมือกับ COVID-19

เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศเวียดนามกล่าวในการประชุมร่วมกับสมาคมธุรกิจเวียดนามเพื่อความร่วมมือและการลงทุนในประเทศสปป.ลาว (BACI) เมื่อวันอาทิตย์ที่เวียงจันทน์ เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการรับมือกับการระบาดของ COVID-19 ซึ่งเศรษฐกิจสปป.ลาวชะลอตัวลงด้วยความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะอันเนื่องมาจากผลกระทบของไวรัส อีกทั้งรัฐบาลสปป.ลาวได้ใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อกระตุ้นการลงทุนการผลิตและธุรกิจเพื่อสนับสนุน บริษัทต่างๆ ประเทศกำลังเร่งปฏิรูปและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนต่างประเทศธุรกิจการเงินและการธนาคาร นอกจากนี้โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญบางโครงการเกือบจะแล้วเสร็จ การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานจะสร้างโอกาสที่สำคัญสำหรับองค์กรต่างๆกระตุ้นให้บริษัทเวียดนามเตรียมพร้อมที่จะรับโอกาสดังกล่าว อีกทั้งยังเรียกร้องให้บริษัทเวียดนามในสปป.ลาวปรับปรุงรูปแบบการจัดการองค์กรและใช้โซลูชันออนไลน์เพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และพัฒนาแผนการลงทุนและการผลิตหลังการระบาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเวียดนามมีโครงการในสปป.ลาว 413 โครงการด้วยทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 4.22 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/749526/vietnamese-investors-in-laos-discuss-measures-to-cope-with-covid-19.html

กัมพูชามองหาแหล่งเงินกู้ต่างประเทศเพื่อกระตุ้นการเติบทางเศรษฐกิจ

กัมพูชากำลังมองหาแหล่งเงินกู้อื่น ๆ เช่นจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และพันธมิตร รวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารโลก เพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เพื่อสร้างสมดุลหนี้สินในระบบเศรษฐกิจ โดยฮิโรชิซูซูกิประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของสถาบันวิจัยธุรกิจแห่งกัมพูชา (BRIC) กล่าวว่าสัดส่วนหนี้คงค้างจากจีนอยู่ที่ร้อยละ 47.48 จากสถิติหนี้สาธารณะของกัมพูชา ซึ่งรายงานจาก MEF ณ ปี 2562 หนี้สาธารณะของกัมพูชาอยู่ที่ 7.6 พันล้านดอลลาร์ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นอยู่ที่เพียงร้อยละ 0.01 ต่อปีและครบกำหนด 40 ปีตามรายงาน ซึ่ง ADB เพิ่งอนุมัติเงินกู้ 250 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชาในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับธุรกิจ โดยกัมพูชาเก็บภาษีได้ 6 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นกว่า 1.485 พันล้านดอลลาร์จากเป้าหมายของรัฐบาลที่ 4.56 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาดังกล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744111/widening-foreign-debt-sources-to-boost-economic-growth/

บริษัทจากญี่ปุ่นวางแผนร่วมกับรัฐบาลกัมพูชาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ญี่ปุ่นประกาศถึงการกระชับกฎเกณฑ์สำหรับการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหินในต่างประเทศในด้านสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่ารัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะกระชับกฎการสนับสนุนการลงทุนบนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งรัฐบาลในปัจจุบันให้เงินทุนแก่ บริษัท ญี่ปุ่นหากโครงการเข้าคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยการลงทุนของญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้วคิดเป็นจำนวนกว่า 4.8 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการลงทุนบนโรงไฟฟ้าถ่านหินในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย เวียดนามและบังคลาเทศ ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเป็นเสาหลักของการส่งออกโครงสร้างพื้นฐานสำหรับญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743959/japan-to-limit-financing-of-overseas-coal-power-plants/

ไทยร่วงเบอร์ 1 ในการจัดหาผักผลไม้ไปยังเวียดนาม

สมาคมผักผลไม้แห่งเวียดนาม (Vinafruit) เปิดเผยว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามนำเข้าผักผลไม้รวมที่ 583 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสหรัฐอเมริกา จีน ออสเตรเลีย เมียนมาและไทย เป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทั้งนี้ เลขาธิการสมาคมผักผลไม้แห่งเวียดนาม กล่าวว่าการส่งออกผักและผลไม้กำลังเผชิญกับช่วงเวลาอันยากลำบาก ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องกระตุ้นการบริโภคในประเทศ จากการที่ผักมีราคาถูกกว่ามาก ด้วยเหตุนี้เอง คนเวียดนามส่วนใหญ่หันมาบริโภคในประเทศเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เวียดนามส่งออกไปยังไทยเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ ร้อยละ 233 มูลค่าราว 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้ามากกว่า 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ จากข้อมูลข้างต้น เป็นผลมาจากความพยายามในการผลักดันขยายตลาด เพื่อชดเชยการส่งออกผักผลไม้ที่ลดลงไปจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนไทยในเวียดนาม ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) ที่มีการนำเข้าผักเวียดนามไปไทยเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/thailand-beaten-out-of-no1-in-fruit-and-vegetable-supply-to-vietnam-22295.html

เวียดนามเปิดตัวเลขเดือนม.ค.-มิ.ย. มียอดเกินดุลการค้า 5.46 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าพิษโควิด-19

ในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. ปี 2563 เวียดนามมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงถึง 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 122.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าที่ 117.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เดือนมิ.ย. เวียดนามมียอดเกินดุลการค้า 1.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน คาดว่ามียอดส่งออก 18.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีมูลค่า 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกัน ยอดส่งออกเสื้อผ้าลดลงร้อยละ 13 สู่ระดับ 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ จีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 34.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เวียดนามขาดดุลการค้าที่ 15.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://vietreader.com/business/5246-vietnams-jan-june-trade-surplus-seen-expanding-to-546bln-despite-virus.html

จีนมอบใบอนุญาตส่งออกข้าวให้กับ 43 บริษัทของเมียนมา

ศุลกากรของจีนได้มอบใบอนุญาตส่งออกข้าวให้แก่ 43 บริษัทของเมียนมา โดยได้อนุมัติใบอนุญาตไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ต้นเดือนมีนาคมจีนเริ่มจำกัดการนำเข้าจากเมียนมาไปยังบริษัทที่จดทะเบียนกับทางการจีนเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่งจีนถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ของเมียนมาและจะส่งผลดีในระยะยาว เกษตรกรสามารถได้รับราคาข้าวและข้าวหักที่ราคาดีขึ้น การส่งออกข้าวไปยังจีนสูงถึงหนึ่งล้านตันต่อปี แต่ลดลงเหลือประมาณ 40,000 ถึง 50,000 ตัน หลังจากข้อจำกัดมีผลบังคับใช้ ก่อนปี 2558  จีนกำหนดโควตาการขายข้าวโดยอนุญาตให้บริษัทของเมียนมาเพียง 11 แห่ง ในอดีตการส่งออกข้าวของเมียนมา 60% ถูกส่งออกไปยังจีนและตอนนี้ก็เหลือเพียง 30% จีนและเมียนมาจัดการประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ Belt and Road Initiative การพัฒนาอีคอมเมิร์ซระหว่างสองประเทศ การค้า เศรษฐกิจ และอื่น ๆ  การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือระหว่างมณฑลยูนนานและเขตมัณฑะเลย์ในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลอีคอมเมิร์ซและการลดความยากจน ทั้ง 2 ประเทศต้องการที่จะดำเนินการโครงการเหล่านี้โดยเร็วที่สุดและเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-grants-rice-export-licences-43-myanmar-companies.html

งานแสดงสินค้าออนไลน์ช่วยรักษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ช่วง COVID-19

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่ซบเซาในช่วงการระบาด COVID-19 เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเนื่องจากยอดขายจากตลาดออนไลน์ เดือนมีนาคมและเมษายน 2563 ความต้องการของตลาดในย่างกุ้งลดลง แต่ส่วนลดพิเศษและการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ทำให้ตลาดสามารถกลับมาอีกครั้งในกลางเดือนพฤษภาคม เมื่อเปรียบเทียบกับต้นปี 2563 จำนวนการซื้อลดลง 60% ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 แม้ความต้องการของตลาดจะลดลง แต่ราคาก็ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญและการทำธุรกรรมยังคงทำผ่านเคาน์เตอร์ งานแสดงสินค้าออนไลน์ได้ช่วยตลาดไว้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสามถึงหกเดือนกว่าที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัว แม้ว่าตลาดจะไม่ฟื้นตัวจากระดับก่อนหน้านี้ แต่ผู้บริโภคชาวเมียนมาที่เปลี่ยนไปและเริ่มคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมออนไลน์ โดย  iMyanmarHouse.com สามารถสร้างยอดขายอสังหาริมทรัพย์สองครั้งสำคัญในช่วงสามเดือนแรกของปี 2020 ชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศให้ความสนใจกับงานแสดงสินค้าอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์มากขึ้น งานแสดงสินค้ายังเสนอส่วนลดพิเศษและโปรโมชั่นพิเศษและอาจดึงดูดให้ตัดสินใจกลับเมียนมาเพื่อลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/online-expos-saves-real-estate-market-during-covid-19.html

พาณิชย์ เผยตลาดออนไลน์ออสซี่โต 10 % หลังโควิค -19

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แนะผู้ส่งออกวางแผนลุยตลาดออสเตรเลียรับ New Normal ชี้เจาะผ่านช่องทางออนไลน์ หลังเติบโตแรง คาดจะขยายตัว 20% ภายใน 12-18 เดือนข้างหน้าเผยสินค้าสุขภาพ อาหาร อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน มาแรง หลังจากเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยพบว่าการค้าออนไลน์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 10% ของมูลค่าธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า ซึ่งหากไม่เกิดวิกฤติโควิด-19 อาจจะต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และวางแผนในการทำตลาดออสเตรเลียใหม่ โดยใช้ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของชาวออสเตรเลีย ทั้งนี้ นอกจากการขยายตัวของการค้าออนไลน์ ยังพบว่า รูปแบบการซื้อสินค้าได้เปลี่ยนเป็นการซื้อออนไลน์แบบไม่สัมผัสสินค้า (Contactless Shopping) หรือการเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์แล้วเลือกสถานที่ๆ จะรับสินค้า (Click and Collect) โดยการลดราคาสินค้า ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อ แต่ความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น และรูปแบบการค้าออนไลน์ ยังมีอิทธิพลครอบคลุมทั้งการค้าสินค้าและบริการ เช่น การให้บริการ Streaming Video การให้อาหารนกเพนกวินของ Sea Life Sydney Aquarium เป็นต้น สำหรับสินค้าไทยที่มีโอกาสในการเจาะเข้าสู่ตลาดออสเตรเลีย ได้แก่ สินค้าเพื่อสุขภาพ ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและสินค้าออร์แกนิค ตั้งแต่อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เครื่องสำอาง และสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อตลาดสัตว์เลี้ยงที่มีมากกว่า 28 ล้านตัว นอกจากนี้ ยังมีอาหารประเภท Ready to Eat และ Ready to Cook ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าการรับประทานอาหารในร้านอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภควัยทำงานที่มีมากกว่า 65% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ที่ต้องการความสะดวกในการพกพาและการรับประทาน และได้คุณประโยชน์ สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์แบบ DIY เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ทำสวน และเครื่องออกกำลังกาย ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น จากการ Work From Home จึงใช้เวลาในการปรับปรุงและซ่อมแซมที่พักอาศัย และรัฐบาลยังจัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลือประชาชนสำหรับซ่อมแซม ปรับปรุงบ้านพักอาศัย การสร้างบ้านใหม่ และการอนุมัติโครงการก่อสร้างพื้นฐาน ทำให้มีความต้องการอุปกรณ์ก่อสร้างและของตกแต่งบ้านเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มาพร้อมกับความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ ความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจไทยในการเรียนรู้และปรับตัว เป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยตลาดออสเตรเลีย ไม่ใช่ตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่เป็นตลาดที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีกฎระเบียบการนำเข้าที่ค่อนข้างเข้มงวด ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการเข้าสู่ตลาดที่ผู้ประกอบธุรกิจควรคำนึงถึง เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการค้า และสร้างโอกาสในการส่งออกให้กับสินค้าไทย

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/889034?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic