การพัฒนาพลังงานสะอาดภายในประเทศกัมพูชากับความท้าทาย

โดยมีเป้าหมายที่จะขยายการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์อีกร้อยละ 12 ภายในสิ้นปีนี้และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งกัมพูชากำลังเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดตามรายงานของกองทุนเพื่อการลงทุนด้านภูมิอากาศ (CIF) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) จากรายงานเรื่อง “การเปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางการพัฒนาพลังงานสะอาดของกัมพูชา” ออกมาในเดือนนี้ โดยวัตถุประสงค์ของรัฐบาลสอดคล้องกับคำแนะนำในด้านการสร้างแหล่งพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นตามคำแนะนำของ CIF และ ADB ซึ่งจากรายงานกล่าวถึงปัญหาในด้านของความโปร่งใส ความเสี่ยง ราคาและบทบาทของภาคเอกชน ที่ถือเป็นความท้าทายสำหรับการกำหนดสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สำหรับภาคเอกชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนต่างประเทศกัมพูชาได้นำเสนอตลาดพลังงานใหม่ โดยมีการจำกัดความสามารถในการดำเนินการประมูล ให้อยู่บนความโปร่งใสและเปิดกว้างในภูมิภาค ปัจจุบันสวนพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของกัมพูชาสามารถแข่งขันในด้านการประมูลราคาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 0.039 ดอลลาร์ / กิโลวัตต์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50737288/clean-energy-development-presents-challenges/

คาดอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในกัมพูชากำลังจะเติบโต

ภาคปศุสัตว์ในกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.1 ในปีนี้ โดยอัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 ในปี 2564 ตามรายงานล่าสุดจากรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังของการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่โดยเฉพาะสุกรและไก่สด รวมถึงส่งผลให้คนในท้องถิ่นได้บริโภคเนื้อสัตว์ในราคาที่เหมาะสม โดยรัฐบาลมีการสนับสนุนและจะช่วยสร้างงานและสร้างรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแรงงานกลุ่มที่อพยพกลับมายังประเทศรวมถึงแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 ซึ่งประธานสมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์กัมพูชากล่าวว่าสัตว์ปีกถือเป็นกลุ่มที่มีการศักยภาพมากที่สุด โดยสังเกตเห็นว่าไก่และเป็ดประมาณ 10,000-12,000 ตัว ถูกส่งไปยังตลาดในประเทศทุกวัน รวมถึงภายในประเทศมีปัญหาการขาดแคลนเนื้อหมูอยู่ประมาณ 300 ตันต่อวัน หรือคิดเป็นหมูสดประมาณ 3,000 ตัว ทำให้มองเห็นถึงโอกาสในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50737483/animal-husbandry-to-rise/

ครม.เห็นชอบไทยเข้าร่วมข้อตกลงสินค้าเกษตรอาเซียน

ครม. กำหนดกรอบการเจรจาความตกลงด้านมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของอาเซียน ลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) อำนวยความสะดวกทางการค้า รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของอาเซียน ภายใต้รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ตามที่กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งเป็นการกำหนดท่าทีของประเทศไทยที่จะไปตกลงในเรื่องดังกล่าว เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) อำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสาระสำคัญคือ 1.กำหนดหรือพิจารณามาตรฐานของอาเซียนด้านระบบการผลิตพืช ปศุสัตว์ และประมง ในระดับฟาร์ม และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการตรวจสอบและรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของประเทศสมาชิกอาเซียน 2.กำหนดขอบข่ายและเงื่อนไขในการยอมรับผลการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 3.พัฒนากลไกการประสานงานของอาเซียนและการปฏิบัติตามความตกลงของประเทศสมาชิก โดยกำหนดกลไกในการดำเนินการให้การยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นไปตามเงื่อนไขในการตกลงในการนำเข้าและส่งออกในภูมิภาค 4.ประเด็นอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติความตกลงนี้ เช่น การระงับข้อพิพาท ความโปร่งใส การเพิ่มบทบาทของอาเซียนและของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร การมีผลใช้บังคับ และการแก้ไขความตกลง รวมทั้งประเด็นอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อไทย

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/886351

สปป.ลาวสนับสนุนแผนอาเซียนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ศ.ดร. Kikeo Khaykhamphithoune รัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนาแรงงานของสปป.ลาว ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ครั้งที่ 23 เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แผนการพัฒนาดังกล่าวว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเปลี่ยนแปลงตามโลกในปัจจุบันรวมถึงโอกาสที่มากขึ้นสำหรับประเทศอาเซียนในการแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงแนวทางปฎิบัติในการดำรงชีวิตในแบบวิถีใหม่ (New Normal) รวมถึงการเรียกร้องให้มีการร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาด้านไวรัสวิทยาควบคู่ไปกับการผลิตยาต้านไวรัสและวัคซีนรวมถึงการเข้าถึงวัคซีนและเวชภัณฑ์ที่เท่าเทียมกันและต้องมีราคาย่อมเยาในที่ประชุมยังเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทำงานร่วมกันในแผนฟื้นฟูหลังเกิดโรคระบาดเพื่อบรรเทาผลกระทบของ Covid-19 ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนและเศรษฐกิจของภูมิภาคอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos120.php

สมัชชาแห่งชาติปรับลดเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจหลังการระบาด Covid-19

รัฐบาลสปป.ลาวคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อีกครั้งหลังจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 คณะรัฐมนตรีกำลังสรุปรายงานและคาดว่าจะลดเป้าหมายการเติบโตของ GDP ของประเทศจากร้อยละ 6.4 เหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ตามสรุปรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติได้ส่งรายงานของเดือนเมษายนที่ระบุว่าจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ส่งผลในทุกภาคส่วนของประเทศทั้ง แรงงานที่ตกงานจนอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 ภาคธุรกิจประสบปัญหาจนต้องปิดตัวรวมถึงภาคการท่องเที่ยวสูญเสียเงินมากกว่า 450,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนแรกของปี 2563 ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ GDP ของสปป.ลาวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/23/national-assembly-to-address-gdp-target-amid-economic-downturn/

ภาคการก่อสร้างในกัมพูชาประสบปัญหากับการเติบโตที่ต่ำลง

หนึ่งในเสาหลักทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกัมพูชาคือภาคการก่อสร้างถูกกำหนดให้มีอัตราการเติบโตติดลบในปีนี้ ซึ่งไม่เคยเห็นมาตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินระหว่างปี 2550 ถึง 2552 โดยภาคนี้มีช่วงการเติบโตที่น่าประทับใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากตัวเลขอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการพิจารณาคดีการลงทุน มีมูลค่าถึง 11 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับปี 2561 จำนวน 5.5 พันล้านดอลลาร์ ในแง่ของผลกระทบจาก COVID-19 ภาคนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ติดลบร้อยละ 5.3 ในปี 2563 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.3 ในปีหน้าตามรายงานฉบับล่าสุดของกระทรวงเศรษฐกิจ และการเงิน ซึ่งภาคการก่อสร้างที่ลดลงอย่างมากนี้ส่งผลให้คาดการณ์ว่าการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงตามไปด้วย โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีมีการอนุมัติ 1,547 โครงการ เพิ่มขึ้น 322 โครงการในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มีมูลค่าประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 หรือคิดเป็น 6.8 ล้านตารางเมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736882/construction-suffers-from-low-growth/