ส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและไลฟ์สไตล์ไทย 4 เดือนแรกปี’63 ร่วง 10%

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว การแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย. 2563) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 2,032.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปี 2562 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มลดลง 10.7% โดยแยกเป็นการส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.4% และ การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 752.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.8% ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงมีแนวคิดในการพลิกฟื้นการค้าและการส่งออกของประเทศโดยการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อรองรับธุรกิจตามวิถีใหม่ (New normal) สำหรับภาคธุรกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยนำร่องพัฒนา 30 ผลิตภัณฑ์ นำไปทดสอบตลาดคาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10% หรือมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4326769

เวียดนามเผยราคาเนื้อหมูดิ่งลง หลังจากนำเข้าจำนวนมาก

ราคาเนื้อหมูในประเทศประสบปัญหาดิ่งลงฮวบในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) อนุญาตให้บริษัทสามารถนำเข้าสุกรมีชีวิตจากไทย ด้วยเหตุนี้ ราคาสุกรมีชีวิตในจังหวัดทางตอนเหนือชองประเทศปรับตัวลดลง ระหว่าง 88,000-93,000 ด่งต่อกิโลกรัม เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ขณะที่ ภาคกลางมีราคาผันผวนอยู่ที่ 84,000-91,000 ด่งต่อกิโลกรัม ซึ่งคาดว่าราคาจะยังคงลดลงต่อไปอีกในสัปดาห์หน้า เมื่อมีการนำเข้าสุกรจากไทยจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าว ทำให้ผู้คนในท้องถิ่นมีความกังวลถึงการนำเข้าสุกรมีชีวิต เนื่องจากมีความเสี่ยงอีกครั้งของการแพร่ะระบาดโรคไข้หวัดสุกร ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการสำนักเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่ามีธุรกิจจำนวนหนึ่งได้ลงทะเบียนเพื่อสามารถนำเข้าสุกรมีชีวิต ซึ่งหนึ่งในกลุ่มดังกล่าว มีปริมาณการนำเข้าสุกรสูงถึง 100,000-200,000 ตัว นอกจากนี้ ราคาขายสุกรมีชีวิตยังไม่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าราคาจะอยู่ที่ราว 50,000 ด่งต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/domestic-pork-prices-fall-as-pigs-imported-in-large-volume-414963.vov

สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเป็นผู้นำขีดความสามารถในการแข่งขันรายจังหวัด

รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) แถลงรายงานตัวชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันรายจังหวัด (PCI) เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. พบว่าจังหวัดที่อยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) เป็นภูมิภาคชั้นนำทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการประเมินว่าภูมิภาคดังกล่าวมีความพยายามในการพัฒนาหรือส่งเสริมคุณภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2558-2562 ดัชนีจังหวัด PIC ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 คิดเป็น 5.95 คะแนน จาก 59 คะแนนในปี 2558 จนถึงปี 2561 อยู่ที่ 64.99 คะแนน ทั้งนี้ ในกลุ่ม 20 จังหวัดและเมืองที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุด พบว่าบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง มี 5 จังหวัดที่ติดอันดับ ได้แก่ ดงทับ, วินห์ลอง, เบ็นเต๋, ลองอันและแคนโถ เป็นต้น นอกจากนี้ ในบริเวณณพื้นที่ดังกล่าวมีขนาดยุ้งฉางข้าวใหญ่ที่สุดในประเทศ ประกอบไปด้วย 12 จังหวัดและอีก 1 เมืองศูนย์กลางภูมิภาค

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mekong-delta-leads-in-provincial-competitive-index/174954.vnp

ผู้บริโภคสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่จำเป็นเพิ่มขึ้น

จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มีกิจการปิดตัวลงมากมาย ทำให้มีแรงงานตกงานจำนวนมากจากตัวเลขอัตราการว่างงานในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 25 ซึ่งจากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 3 ในปีที่แล้ว ไม่เพียงแค่ปัญหาดังกล่าวที่สปป.ลาวต้องเผชิญในปัจจุบัน  แต่ในปัจจุบันระดับราคาสินค้าที่จำเป็นปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารสดจำพวกผักเช่น หัวหอม ผักชี พริกและมะเขือ ราคาเพิ่มขึ้นไปเกือบ 2 ซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรได้ให้ความเห็นว่า “เป็นการยากที่จะควบคุมต้นทุนผักและสินค้าจำเป็นอื่น ๆ ในตลาดเนื่องจากการปรับตัวเป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทานโดยคาดว่าราคาสินค้าดังกล่าวจะปรับตัวลงมาในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพราะจะเข้าสู่ช่วงหน้าฝนซึ่งจะทำให้มีผลผลิตออกมาจำนวนมากจนส่งผลให้ระดับราคามีการปรับตัวลง” ถึงอย่างไรก็ตามรัฐบาลกำลังหารือถึงแนวทางในการช่วยเหลือผู้บริโภคหากราคามีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีก

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/prices-06162020154319.html

กระทรวงฯเรียกร้องมีการเปิดโรงงานแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงได้เรียกร้องให้บริษัทผู้ปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์ในเสียมเรียบเริ่มลงทุนในโรงงานแปรรูป เนื่องจากรัฐบาลกำลังพิจารณาจัดตั้งศูนย์วิจัยเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยบริษัท Sophorn Theary Peanich Co Ltd. ซึ่งได้รับสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจ (ELC) 4,000 เฮคเตอร์ ในจังหวัดเสียมเรียบตั้งแต่ปี 2549 โดยทำสัญญากับกระทรวงเกษตรใน 2017 ที่จะปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์บนพื้นที่ปลูก 1,232 เฮกตาร์ ซึ่งรัฐบาลแนะนำให้บริษัทควรเริ่มขยายพื้นที่เพาะปลูก และจัดตั้งโรงงานแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยกระทรวงฯกล่าวว่าหากบริษัทสามารถลงทุนในโรงงานแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ได้จะส่งผลให้ภูมิภาคกลายเป็นศูนย์กลางการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในอนาคตและจะสร้างงานให้มากขึ้นในจังหวัด ซึ่งรายงานจากกระทรวงเกษตรแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 190,141 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734356/ministry-calls-for-cashew-nut-processing-factory/

ธนาคาร SME อนุมัติ 2.3 ล้านดอลลาร์

SME Co-Financing Scheme (SCFS) ได้อนุมัติคำร้องขอกู้ยืมเงินจำนวน 13 ฉบับ โดยมีมูลค่าการอนุมัติของสินเชื่อรวม 2.338 ล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SME Bank แห่งกัมพูชากล่าวว่าการเบิกจ่ายทั้งหมดมีมูลค่า 1.908 ล้านดอลลาร์และคาดว่าจะมีการเบิกถอนเงินอีกจำนวน 4.3 แสนดอลลาร์ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยปล่อยเงินกู้ยืมให้แก่ธุรกิจและกิจกรรมภายในประเทศหลายภาคส่วน เช่นการผลิตและการแปรรูปอาหาร, การผลิตสินค้าสำหรับภาคการท่องเที่ยว, การผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป, อะไหล่หรือชิ้นส่วนประกอบ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งโครงการ Co-Financing SME ของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ในการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนและพัฒนา SMEs ท้องถิ่นในภาคต่างๆ ซึ่ง SMEs สามารถยืมเงินทุนหมุนเวียน 2 แสนดอลลาร์ และสำหรับเงินลงทุน 3 แสนดอลลาร์ ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 7 ต่อปี ระยะเวลาการชำระคืน 7 ปีและหลักประกันขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของ PFI แต่ละรายการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734391/2-3-million-approved-by-sme-bank/

การลงทุนในย่างกุ้งยังคงดำเนินต่อแม้จะการระบาด ของ COVID-19

การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสไม่ได้ทำให้นักลงทุนสนใจในย่างกุ้งลดลง ตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในเมียนมาเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งมี 4  ธุรกิจที่ได้รับอนุมัติให้ลงทุน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในย่างกุ้ง การประชุมเชิงปฏิบัติการและโรงงานในยังดำเนินงานตามปกติและไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง บริษัท 3 แห่งจากจีนและฮ่องกงและบริษัทท้องถิ่นแห่งหนึ่งได้รับอนุมัติให้ลงทุนในย่างกุ้ง ซึ่งการลงทุนคาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานกว่า 656 ตำแหน่ง โดยผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเขตย่างกุ้ง คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้งจัดการประชุม 2 ครั้งต่อเดือนเพื่อตัดสินใจอนุมัติเงินลงทุนสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 6 พันล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investments-yangon-continue-despite-pandemic.html

ยอดผู้โดยสารลดลงส่งผลกระทบต่อคนขับแท็กซี่อย่างหนัก

แท็กซี่ในเมียนมากำลังประสบปัญหาในการหาผู้โดยสารจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในย่างกุ้ง แม้เจ้าของอู่จะลดค่าเช่าลง (ประมาณ 50%) แต่จำนวนผู้โดยสารก็ลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี สำหรับค่าธรรมเนียมการเช่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันลดลงจาก 10,000 จัต เหลือ 5000 จัตต่อเดือน รถที่ใช้แก๊สจะมีการลดค่าธรรมเนียมจาก 15,000 จัตเหลือ 8,000 จัตต่อคัน คนขับ taxi รายหนึ่งเล่าว่าแต่ก่อนมีรายได้มากกว่า 40,000 จัตต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือเพียง 20,000 จัตเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/falling-demand-hits-taxi-drivers-hard.html