รัฐบาลสปป.ลาวได้ชี้แจงการใช้จ่ายฉุกเฉินสำหรับการฟื้นฟูการศึกษาและสาธารณสุข

ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงสปป.ลาว เพื่อมุ่งเน้นมาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อป้องกันการควบคุมและแก้ไขการระบาดของ COVID-19  เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 รัฐบาลอัดฉีดงบประมาณ 10 พันล้านกีบ เพื่อใช้สำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงงบประมาณอีก 6.64 พันล้านกีบเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ด้านอื่นๆ และยังมีวงเงินฉุกเฉินอีก 100 ล้านกีบที่เป็นเงินสำรองในกรณีที่ COVID-19 กลับมาระบาดอย่างรุนแรงในด้านการศึกษารัฐบาลอนุมัติวงเงิน6.9 พันล้านกีบเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา จำนวนเงินดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยในการฟื้นฟูในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสปป.ลาว และจะเป็นฐานสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/06/01/78655/

สหภาพยุโรปจะให้ความช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาหลังการระบาด Covid-19

กัมพูชาได้ขอให้สหภาพยุโรปให้ความช่วยเหลือในภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยคำร้องขอดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอนและเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำกัมพูชา ได้หารือทวิภาคีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อหารือเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักเศรษฐกิจของประเทศ โดยทางกัมพูชาได้ขอคำแนะนำจากสหภาพแรงงานในการฟื้นฟูภาค ในขณะเดียวกันก็พยายามส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวของกัมพูชาในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปกล่าวว่าสหภาพยุโรปจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวของกัมพูชา โดยหวังว่าการร่วมมือกันจะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและสหภาพยุโรปต่อไป ซึ่งกัมพูชามีนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปจำนวน 793,937 คน ลดลง 3% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในไตรมาสแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 24% โดยมีผู้เข้าชมเพียง 221,066 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728834/eu-to-assist-tourism-sector-post-covid-19/

แรงงานท้องถิ่นในกัมพูชาเสี่ยงตกงานถึง 1.76 ล้านคน

ธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตของกัมพูชาจะชะชอตัวลงมาอยู่ที่ระหว่างร้อยละ -1 ถึง -2.9 โดยมีความเสี่ยงในภาคแรงงานอย่างน้อย 1.76 ล้าน ตำแหน่งตามรายงานเศรษฐกิจล่าสุดของธนาคารโลก ซึ่งรายงานเรื่อง “Economic Update for Cambodia in a time of COVID-19” แสดงให้เห็นว่าความยากจนในกัมพูชามีโอกาสเพิ่มขึ้นในกลุ่มครัวเรือนในภาคเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ระหว่างร้อยละ 3 – 11 สูงกว่าระดับในปัจจุบัน ด้วยการขาดดุลทางการคลังของประเทศอาจถึงระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี หนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภายในปี 2565 นอกจากนี้ยังเตือนว่าเงินทุนไหลเข้าจะลดลง ซึ่งจะก่อให้เกิดการผ่อนคลายของราคาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยสินเชื่อที่ขยายตัวในปัจจุบันสำหรับภาคการก่อสร้าง โดยการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนและการคุ้มครองสุขภาพของคนในประเทศในระยะสั้น จะช่วยหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและส่งเสริมความยืดหยุ่นทางการคลังและสังคมในระยะกลาง ซึ่งประสิทธิผลของการแทรกแซงของรัฐบาลจะมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728835/report-1-76m-local-jobs-at-risksreport-1-76-million-local-jobs-at-risk/

ยอดเกินดุลการค้าในเดือนม.ค.-พ.ค. ของเวียดนาม ลดลงสู่ระดับ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าของเวียดนามอยู่ที่ 196.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ ในเดือนพฤษภาคม มีแนวโน้มขาดดุลการค้าถึง 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ค. ยอดเกินดุลการค้าลดลงแตะ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม พบว่าโทรศัพท์และชิ้นส่วนคาดว่าสร้างรายได้มากที่สุดในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. อยู่ที่ 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.11 ของมูลค่าการส่งออกรวม ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีรายได้ประมาณ 15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว, เสื้อผ้า (10.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.), อุปกรณ์และชิ้นส่วน, รองเท้า, ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้, ยานพาหนะขนส่ง, สินค้าการประมงและอื่นๆ เป็นต้น ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมาจีนและสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกัน จีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของเวียดนาม รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnam-trade-surplus-narrows-to-us1-9-billion-in-jan-may-a202045252.html

ภาคการผลิตของเวียดนาม ส่งสัญญาฟื้นตัวในเดือนพฤษภาคม

Nikkei และ HIS Markit รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เพิ่มขึ้นจาก 32.7 ในเดือนเมษายน (ต่ำที่สุด) มาอยู่ที่ 42.7 ในเดือนพ.ค. (+10) ซึ่งส่งสัญญาว่าสภาวะของภาคธุรกิจเริ่มจะฟื้นตัวกว่าเดือนก่อนหน้า ผู้ผลิตยังคงปรับลดการผลิตลง จากการจัดซื้อ และคลังสินค้าทั้งที่มาจากการจัดซื้อและสินค้าสำเร็จรูป ทั้งนี้ การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดห่วงโซ่ปุทานเกิดภาวะชะงักงัน ถือเป็นลักษณะสำคัญจากการสำรวจในเดือนพ.ค. นอกจากนี้ การขาดแคลนของวัตถุดิบบางอย่าง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ต้นทุนปัจจัยการผลิตลดลงในเดือนที่สอง สะท้อนได้จากราคาน้ำมันลดลง ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตจึงปรับลดราคาสินค้าในแต่ละเดือน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนก.พ. ถึงแม้ว่าจะเริ่มผ่อนคลายลงในเดือนเม.ย. นอกจากนี้ การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในเวียดนาม ส่งผลให้ผู้ผลิตส่วนใหญ่มองว่ากิจกรรมการผลิตจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า ตามแนวโน้มเชิงลบในเดือนก่อน

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnams-manufacturing-activity-signals-improvement-in-may-a202045256.html

รัฐสภาเมียนมาอนุมัติสินเชื่อเพื่อใช้จ่ายและจัดการกับ COVID-19

สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐสภาได้อนุมัติเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายสาธารณะรวมถึงเงินเพื่อจัดการกับ COVID-19 ซึ่งรวมถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), 30 พันล้านเยนจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ 250 ล้านดอลลาร์จากสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศของธนาคารโลก ในขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเติบโตและการพัฒนาในระยะยาวของเมียนมา อย่าง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อแห่งแรกของเมียนมาและ 33 ล้านยูโรจากธนาคาร Unicredit ของออสเตรียเพื่อสร้างรหัสอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการลงทะเบียนประชากร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/us25b-loans-public-spending-covid-19-response-approved-last-week.html