เวียดนามส่งออกลิ้นจี่ชุดแรกไปยังญี่ปุ่น ในสิ้นเดือนพ.ค.

นายเหงียน ซวน กวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม เมื่อวันที่ 26 เม.ย. เดินทางไปยังจังหวัดทางตอนเหนือ ‘บั๊กซาง’ เพื่อเตรียมส่งออก หน่วยงานท้องถิ่นกล่าวว่าทางจังหวัดได้ร่วมมือกับสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช ในการเลือกรหัสพื้นที่ 19 ด้วยขนาด 103 เฮกตาร์และผลผลิตประมาณ 600 ตัน รวมถึงขอให้ทางญี่ปุ่นอนุมัติรหัสดังกล่าว ซึ่งประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัด ระบุเสริมว่าทางจังหวัดพร้อมที่จะส่งออกผลไม้คุณภาพสูงและธุรกิจท้องถิ่นได้ทำสัญญาส่งออกไปยังญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในปี 2563 จังหวัดบั๊กซางมีพื้นที่เพาะปลูกลิ้นจี่ 28,000 เฮกตาร์ รวมถึงพื้นที่เก็บเกี่ยวมากกว่า 160,000 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 10,000 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะเดียวกัน พื้นที่ผลิตลิ้นจี่ตรงตามมาตรฐานฉลากสีเขียว ‘VietGAP’ ด้วยพื้นที่ประมาณ 15,000 เฮกตาร์และผลผลิต 110,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 และ 69 ของรวม ตามลำดับ อีกทั้ง มีพื้นที่เพาะปลูก 80 เฮกตาร์ ภายใต้มาตรฐาน ‘GlobalGAP’ ด้วยผลผลิตประมาณ 500 ตัน เพื่อเตรียมส่งออกไปยังตลาดระดับสูง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-to-export-first-batch-of-litchi-to-japan-in-late-may/172368.vnp

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่นแถลงการณ์สู้โควิด-19

อาเซียนจับมือญี่ปุ่นออกถ้อยแถลงร่วมด้านเศรษฐกิจ รับมือวิกฤตโควิด-19  เน้นบรรเทาผลกระทบและเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ พร้อมจัดหาวัตถุดิบและสินค้าส่งออกตลาดโลก  นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและญี่ปุ่นได้ออกถ้อยแถลงร่วม “ข้อริเริ่มด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19” โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ  1.รักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันใกล้ชิดระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น และรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19  2. ร่วมมือกันบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19 และ 3. เสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ โดยได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อให้ข้อริเริ่มดังกล่าวเป็นรูปธรรมโดยเร็ว อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการรักษาตลาดที่เปิดกว้าง และส่งเสริมให้เกิดห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยอาเซียนและญี่ปุ่นในฐานะผู้ผลิตหลักของห่วงโซ่อุปทานโลกจะพยายามอย่างเต็มที่ในการจัดหาวัตถุดิบและสินค้าต่างๆ ส่งออกสู่ตลาดโลก เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด รวมถึงไม่สร้างอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายสินค้าที่จำเป็น เช่น อาหาร สินค้าโภคภัณฑ์ ยา อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น ตลอดจนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเอื้อให้ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนของโลก รวมทั้งช่วยเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877536?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เวียดนามคาดไตรมาสแรก ยอดส่งออกกุ้งพุ่งไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมกุ้งเวียดนามในตลาดสำคัญสดใส ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดนเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าอยู่ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) กล่าวว่า ญี่ปุ่นติด 5 อันดับแรกของตลาดส่งออกกุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของมูลค่าส่งออกกุ้งรวม หลังจากในเดือนก.พ. ส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวพุ่งขึ้นร้อยละ 63 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกกุ้งอันดับ 2 ของเวียดนามในไตรมาสแรก เนื่องจากมีความต้องการอาหารจำเป็นเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมถึงกุ้งด้วย ท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัส ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 115.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน นับว่าเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในบรรดาตลาดส่งออกสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกอื่นๆ กลับมีมูลค่าลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้และจีน เป็นต้น ถึงแม้ว่าไม่ทราบความชัดเจนเมื่อไรการระบาดจะสิ้นสุดลง แต่ความต้องการกุ้งทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-high-shrimp-export-growth-to-us-and-japan-in-q1/172232.vnp

ฮอนด้าเวียดนามเตรียมกลับมาผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จากวันที่ 23 เม.ย.

อนด้าเวียดนามออกมาประกาศว่าจะกลับมาผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากวันที่ 23 เมษายนหลังจากระงับการดำเนินการมาแล้ว 22 วัน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งการกลับมาดำเนินงานต่อนั้น เนื่องมาจากเวียดนามสามารถควบคุมการระบาดได้ ด้วยไม่มีผู้ผู้ติดเชื้อรายใหม่มาแล้ว 6 วันที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ บริษัทได้ออกมาประกาศถึง 2 ครั้ง ในการระงับการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ตั้งแต่วันที่ 1-15 เมษายน และครั้งที่ 2 วันที่ 15-22 เมษายน ถึงแม้ว่ายอดขายรถยนต์อยู่ที่ 1,968 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน สำหรับยอดขายรถจักรยานยนต์อยู่ที่ 157,984 คัน ลดลงร้อยละ 3 ทั้งนี้ ในเดือนนี้ ฮอนด้าเวียดนามส่งออกรถยนต์ 19,739 คัน ไปยังตลาดต่างๆ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/honda-vietnam-resumes-automobile-bike-production-from-april-23/172207.vnp

รัฐบาลเพิ่มการสำรองข้าวและน้ำมันปาล์มรับมือ COVID-19

รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณสำรองข้าวและน้ำมันปาล์มสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่มีการระบาดของ COVID-19 กระทรวงพาณิชย์ประกาศในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายนว่าจะซื้อและกักตุนข้าว 50,000 ตันและน้ำมันปาล์ม 12,000 ตัน เพื่อสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-beef-rice-and-palm-oil-reserves.html

องค์กร UNFPA ช่วยเหลือประชาชนสปป. ลาวด้านสุขภาพจิต

สมาชิกของสหภาพสตรีลาว (LWU), ศูนย์เยาวชนเวียงจันทน์ (VYC) และสหภาพยุวชนลาว (LYU) ได้พบปะกันที่เวียงจันทน์เพื่อเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมออนไลน์เรื่องการช่วยเหลือทางจิตสังคมในช่วงการระบาดของโควิด -19 พวกเขาหารือเกี่ยวกับองค์ประกอบของ UNFPA สำหรับการสนับสนุนด้านจิตสังคมนอกจากนี้เพื่อบรรเทาผลกระทบของ Covid-19 UNFPA Laos ยังสนับสนุนด้านจิตสังคมที่เป็นส่วนช่วยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สภาพจิตใจของประชาชนสปป.ลาวดีขึ้นถือเป็นส่วนหนึ่งการสนับสนุนระบบสาธารณะสุขอย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_National_77.php

สปป.ลาวยังคงมีความเสี่ยงการแพร่ระบาด COVID-19

ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของCOVID-19 ในสปป.ลาวจะมีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากที่ไม่พบผู้ติดเชื้อติดต่อกัน 11  วันและยอดติดเชื้อก็ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศรอบๆ ที่มียอดติดเชื้อหลักพันสาเหตุที่ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดในสปป.ลาวไม่ได้หนักนั้นส่วนหนึ่งมาจากมาตราการการป้องกันของสปป.ลาวไม่ว่าจะเป็นการLockdown ในพื้นที่ต่างๆ  การให้ประชาชนกักตัวอยู่บ้านและห้ามมีกิจกรรมที่มีการรวมตัวกัน เป็นต้น นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกซึ่งเป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงสาธารณสุขของสปป.ลาวและได้ขอคำแนะนำและความช่วยเหลือแก่สปป.ลาวรวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์จากสมาชิกอาเซียน อย่างไรก็ตามสปป.ลาวยังคงมีความเสี่ยงที่จะกลับมาการแพร่ระบาดหนัก ดังนั้นสิ่งสำคัญสปป.ลาวควรเข้มงวดกับมาตราการต่างๆต่อไประยะหนึ่ง

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/covid-19-vulnerable-04222020202207.html

Maybank Cambodia ให้คำแนะนำลูกค้าฟรีแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19

Maybank Cambodia กำลังเพิ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินฟรีให้กับลูกค้าธุรกิจทั้งหมด โดยธนาคารมีสภาพคล่องที่แข็งแกร่งในประเทศกัมพูชาแม้ธุรกิจโดยภาพรวมจะได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดในกัมพูชา ในไตรมาสแรกของปี 2563 เมย์แบงก์มีอัตราการเติบโตเป็นบวกทั้งเงินฝากและสินเชื่อ โดยในปัจจุบันธนาคารได้รับผู้สมัครกว่า 200 รายที่กำลังมองหาการปรับโครงสร้างเงินกู้และขอชำระเงินต้นล่าช้า ซึ่งทางธนาคารได้ทำการรับประเมินลูกค้าทั้งหมด และพยายามที่จะดูว่าทางใดเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา NBC ได้ออกคำสั่งไปยังธนาคารและสถาบันการเงินทั้งหมดเพื่อปรับโครงสร้างสินเชื่อเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและลดภาระของลูกหนี้ที่เผชิญกับรายได้หลักที่ลดลง ซึ่งอาจพบว่าเป็นการยากที่จะชำระคืนเงินกู้เนื่องจากการระบาดของ Covid-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50715986/maybank-offers-free-client-advice-to-covid-victims/

ลมแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับภาคอุตสาหกรรมพลังงานของกัมพูชา

บริษัท พลังงานชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วางแผนที่จะสร้างฟาร์มกังหันลมแห่งแรกในกัมพูชา โดยThe Blue Circle บริษัทชาวสิงคโปร์กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้า Electricite du Cambodge (EDC) ของรัฐเพื่อเจรจาข้อตกลงการซื้อไฟฟ้า (PPA) ในฟาร์ม ซึ่งจะตั้งอยู่บนภูเขา Bokor ในจังหวัดกำปอต ซึ่งกระบวนการนี้อาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยค่า PPA อาจต่ำเพียง 7 เซ็นต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง วิกเตอร์โจนาผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของกระทรวงพลังงานกล่าว เมื่อมีการตกลงกันแล้วการก่อสร้างฟาร์มพลังงานสะอาดซึ่งจะมีกังหันลมอย่างน้อย 10 แห่ง สามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้ 80 เมกะวัตต์ต่อปี โดยทั่วไปหนึ่งเมกะวัตต์สามารถตอบสนองความต้องการพลังงานของบ้านได้ระหว่าง 225-300 ครัวเรือนต่อปี โดยการใช้พลังงานทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 23% เมื่อปี 2561 ซึ่งจากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประเทศกัมพูชามีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำถึง 10,000 เมกะวัตต์ (mW) ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมพลังงาน 8,100 mW และ 6,500 mW ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50716028/winds-of-change-for-energy-industry/