การเชื่อมต่อกริดแห่งชาติกับสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 3 ของกัมพูชา

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งที่สามของกัมพูชาเปิดตัวในรูปแบบออนไลน์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในจังหวัดกำปงชนังตามรายงานของ Electricite du Cambodge (EDC) ผู้จัดหาพลังงานชั้นนำในประเทศ ตั้งอยู่ในเขต Toek Phos สามารถสร้างพลังงานเพิ่มเติมได้อีก 60 mW เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัท SchneiTec Renewable Co. , Ltd. ซึ่งเป็น บริษัท เอกชนของกัมพูชาได้รับอนุญาตจากรัฐบาลภายใต้พื้นฐาน ของการจัดหาแหล่งเงินทุน ออกแบบ ก่อสร้างด้วยตนเอง (BOO) ซึ่งถือเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย EDC ได้ซื้อพลังงานที่ผลิตโดยสถานีภายใต้ข้อตกลงระยะยาว ส่วนราคาสำหรับผู้บริโภคยังไม่ได้กำหนด แต่ SchneiTec Renewable Co. , Ltd จำเป็นต้องขายภายใต้กฎหมายในราคาต่ำกว่า 0.076 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งในปี 2562 รัฐบาลให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4 แห่งเพื่อสร้างกริดแห่งชาติทั้งหมดให้ได้ 140 เมกะวัตต์ โดยผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าการทำงานในโรงงานขั้นสุดท้ายซึ่งเป็นโครงการขนาด 60 mW ในจังหวัดกำปงชนังกำลังดำเนินการอยู่ คาดว่าโรงงานผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 4 แห่งจะสร้างพลังงานให้กับกริดในต้นปี 2564

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50712430/third-solar-power-station-joins-national-grid/

กัมพูชาเผยพันธุ์มันฝรั่งที่ให้ผลผลิตสูง

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงได้เผยแพร่ผลการวิจัยเกี่ยวกับการทำฟาร์มมันฝรั่งที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยผลการวิจัยที่จัดทำโดย the Royal University of Agriculture แสดงให้เห็นว่าพันธุ์มันฝรั่งที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในจังหวัดมณฑลคีรีนั้นมาจากไอร์แลนด์เยอรมนีและเวียดนาม แต่ละพันธุ์สามารถให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ 13 ถึง 15 ตันต่อเฮกตาร์และฤดูปลูกที่เหมาะสมสำหรับมันฝรั่งในจังหวัดมณฑลคีรี เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งกัมพูชานำเข้ามันฝรั่งมากกว่า 5,000 ตันทุกปีจากประเทศไทย, เวียดนาม, จีน, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ตามรายงานของสถาบันวิจัยมันฝรั่งซึ่งเป็นศูนย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งกรุงพนมเปญ โดยการศึกษาเกี่ยวกับการเพาะปลูกมันฝรั่งในกัมพูชาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาพื้นที่ในกัมพูชาที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืช จนถึงตอนนี้นอกจากจังหวัดมณฑลคีรี แล้วการทดลองปลูกมันฝรั่งยังดำเนินอยู่ในจังหวัดโพธิสัตว์ และ พระตะบอง เพื่อการพัฒนาต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/711891/high-yielding-potato-varieties-unveiled/

คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวจะหดตัวจากการผลิตการใช้จ่ายในประเทศลดลง

การเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวจะชะลอตัวลง เนื่องจากการผลิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยคาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะหดตัวประมาณร้อยละ 50 แม้ว่าการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจะถูกควบคุมได้บางส่วนแล้ว แต่ด้วยความกังวลต่อโรคและมาตราการป้องกันต่างๆ ของรัฐไม่ว่าจะเป็นการให้ประชาชนกักตัวอยู่ที่บ้านร่วมถึงการให้โรงงานต่างๆ ปิดตัวลงชั่วคราวทำให้มีแรงงานบางส่วนตกงานและโรงงานขาดรายได้ไปชั่วคราวในขณะนี้ ซึ่งนักวิชาการสปป.ลาวด้านเศรษฐศาสตร์ได้กล่าวว่า “ การคาดการณ์ว่าการเติบโตของจีดีพีในลาวจะลดลง 50% นั้นสมเหตุสมผล นอกจากการผลิตและการใช้จ่ายที่ลดลงแล้วภาคการท่องเที่ยวจะเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักร่วมถงธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างโรงแรม ร้านอาหารก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง” ในขณะเดียวกันโครงการรถไฟที่เชื่อมต่อไปจีนที่มีกำหนดการแล้วเสร็จในปลายปีนี้ก็ต้องหยุดชะงักไปก่อน ดังนั้นจากปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาจะทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวหดตัวลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/growth-04102020151706.html

สมาคมเวียดนามเผยยอดขายยานยนต์โต 2 เดือนติดต่อกัน

จากแถลงการณ์ของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่ายอดขายยานยนต์ในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 19,154 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน นับว่าเป็นการเติบโตของยอดขายพุ่งขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน ส่วนรถยนต์ที่ประกอบในประเทศ จำหน่ายได้ 11,878 คัน ทั้งนี้ มีการใช้เครื่องมือดึงดูดการขายหลายช่องทางด้วยกัน อาทิ ส่วนลดหรือของชำร่วยที่มีมูลค่า เป็นต้น นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สมาคมฯ จำหน่ายรถยนต์ได้ 78,419 คัน ลดลงร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าตัวเลขยอดขายข้างต้นนั้น ไม่ได้แสดงถึงภาพรวมทั้งหมดของสภาพตลาดรถยนต์เวียดนาม เนื่องจากยังมีผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมสมาคมฯ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/toyota-honda-among-bestselling-car-makers-in-march/171573.vnp

ผู้ผลิตเหล็กเวียดนามได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) กล่าวว่าผู้ประกอบการเผชิญปัญหาการผลิตที่ลดลงอย่างหนักและการดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งบรรดาบริษัทของสมาคม มีผลผลิตเหล็ก 5.4 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 15 ในขณะเดียวกัน ปริมาณการบริโภค 4.4 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการส่งออกเหล็กถึง 300,000 ตัน ลดลงร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ สมาคมมองว่าในปีนี้ อุตสาหกรรมเหล็กจะเผชิญกับความลำบาก รวมถึงระบบการคุ้มครองของตลาดทั่วโลกและยังไม่มีวี่แววถึงการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งผลกระทบของโควิด-19 ส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคาเหล็กในประเทศดิ่งลงและกิจกรรมการซื้อขายในประเทศ นอกจากนี้ ผู้ผลิตเหล็กในประเทศต้องเร่งปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับการแข่งขันและมองหาตลาดส่งออกให้มากขึ้น ส่วนภาครัฐควรขยายกำหนดระยะเวลาชำระภาษีและลดภาษีแก่ผู้ผลิตเหล็ก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรอดในสถานการณ์ยากลำบาก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/steel-producers-hit-hard-by-pandemic/171598.vnp

MIC อนุมัติการลงทุนด้านแรงงานและการดูแลสุขภาพ

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) จะเร่งอนุมัติการลงทุนในโครงการที่ต้องใช้แรงงานมากและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานจำนวนมากหางานได้มากที่สุดเพื่อชดเชยผลกระทบของการเลิกจ้างในภาคอื่น ๆ เช่น การผลิตและการท่องเที่ยว MIC จะเร่งการอนุมัติสำหรับธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การผลิต เช่น หน้ากากอนามัย นอกจากนี้ยังจะให้ความสำคัญกับสถานประกอบการด้านเภสัชกรรมผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในวันที่ 3 เมษายนอนุมัติเงิน 555 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการใหม่ 11 โครงการในภาคการผลิตการก่อสร้างและการบริการ ในขณะเดียวกันมีการอัดฉีดเงินทุนเข้าโครงการที่มีอยู่ 13 โครงการ คาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานได้มากกว่า 3,234 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mic-accelerate-approvals-labour-intensive-healthcare-investments.html

ข้าวถุงปรับขึ้นราคา 20% มากสุดรอบ 10 ปี

ราคาข้าวเปลือก-ข้าวสารพุ่ง ข้าวถุงรั้งไม่อยู่ แห่ปรับราคาขึ้น 20% สูงสุดรอบเกือบ 10 ปี นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เปิดเผยว่า จากราคาข้าวเปลือกที่ขยับสูงขึ้นมากในเวลานี้ (ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 9,000-10,900 บาท ขึ้นกับคุณภาพและความชื้น สูงสุดในรอบ 7 ปี) ส่งผลถึงต้นทุนข้าวสารที่ใช้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวสูงขึ้น และมีผลให้ราคาข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวจากเดิมแล้วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาประมาณ 20% ถือเป็นการปรับราคาสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี สำหรับราคาข้าวสารบรรจุถุงนี้ถือว่ามีการปรับราคาช้ากว่าราคาข้าวที่ขายตามร้านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือร้านที่ตักข้าวชั่งกิโลขายทั่วไป ที่เมื่อราคาข้าวจากโรงสีปรับตัวสูงขึ้น เมื่อซื้อมาขายก็สามารถปรับราคาขึ้นได้เลย ขณะที่ผู้ประกอบการข้าวถุงต้องผูกสัญญาไว้กับห้างโมเดิร์นเทรดต้องแจ้งทางห้างฯ ล่วงหน้า 10-15 วันจึงจะปรับราคาได้ เวลานี้มีหลายแบรนด์ที่แจ้งทางห้างฯ เพื่อขอปรับราคาแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้จะมีข้าวนาปรังเก็บเกี่ยวรอบสองออกสู่ตลาด คาดจะทำให้ราคาข้าวถุงอ่อนตัวลง จากนี้ไปราคาข้าวถุงคงปรับขึ้นอีกไม่มาก ขอให้เห็นใจผู้ประกอบการด้วยเพราะเป็นการปรับขึ้นตามกลไกตลาด ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่มีการปรับเพราะตลาดมีการแข่งขันสูง และการที่ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นทุกฝ่ายควรที่จะยินดีกับชาวนา

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/429431?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral