การเติบโตที่แข็งแกร่งของสถาบันทางการเงินรายย่อยที่จดทะเบียนใน CSX

Hattha Kaksekar Ltd และ บริษัท LOLC กัมพูชา จำกัด (มหาชน) ทั้งสองบริษัทได้รายงานการเติบโตของผลประกอบการที่แข็งแกร่งในปีที่แล้วตามรายงานประจำปีที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ท้องถิ่น โดย LOLC กัมพูชารายงานการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อ 61% และยอดเงินฝากเพิ่มขึ้น 95% ซึ่งรวมถึงผู้กู้ที่เพิ่มขึ้น 25% และผู้ฝากเงินเพิ่มขึ้น 86% นอกจากนี้บริษัทกล่าวว่าได้รับส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 10.6% โดย LOLC กำลังมองหาวิธีที่จะเติบโตผ่านกลยุทธ์ของการขยายจำนวนผู้กู้และปรับปรุงคุณภาพสินเชื่อโดยมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าเป็นหลัก ส่วนประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Hattha Kaksekar Ltd (HKL) กล่าวว่าบริษัทของเขาวางแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในปีนี้พร้อมประกาศแผนการเปลี่ยนบริษัทจากสถาบันรับฝากเงินรายย่อยสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ โดยในเดือนตุลาคมปีที่แล้วธนาคารแห่งชาติกัมพูชาอนุมัติคำขอของบริษัทในการเพิ่มทุนจาก 75 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น 115 ล้านเหรียญสหรัฐ จากรายงานประจำปีพอร์ตสินเชื่อของ HKL สูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐและยอดเงินฝากมีมูลค่า 599 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีสาขา 177 สาขาและตู้เอทีเอ็ม 137 แห่งทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50710321/csx-listed-microfinance-institutions-record-a-very-strong-yearly-growth/

ผู้อำนวยการ NBC กล่าวถึงสกุลเงินเรียลและดอลลาร์ในช่วง Covid-19

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้เรียกร้องให้สาธารณชนเพิ่มการใช้สกุลเงิน riels เพื่อช่วยให้ธนาคารกลางใช้สกุลเงินท้องถิ่นของประเทศเป็นเครื่องมือในการกำหนดมูลค่าและอัตราดอกเบี้ยให้มีเสถียรภาพในตลาดในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 โดยทั่วไปเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นให้สถาบันสินเชื่อดำเนินการปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้การปล่อยสินเชื่อภาครัฐในอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่อง นี่คือสาเหตุที่ธนาคารกลางเสนอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนให้ชาวกัมพูชานำเงินออกไปใช้ในระบบให้เป็นสกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีนโยบายเหล่านี้สินเชื่อบนสกุลเงิน riels ได้ลดลงจาก 25% ในปี 2559 เหลือ 10% ในปี 2563

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50710320/nbc-director-general-explains-economics-of-riels-and-dollars-during-the-covid-19-crisis/

CKPower บริจาคเงิน 1 ล้านบาทสนับสนุนการต่อสู้กับ COVID-19

บริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) CKPower)และบริษัทในเครือร่วมกับบริษัท ช. การช่าง (ลาว) จำกัดบริจาคเงิน 1 ล้านบาทให้กระทรวงสาธารณสุขสปป.ลาว ผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียงจันทน์เพื่อแสดงความปรารถนาดีและความห่วงใยต่อรัฐบาลสปป.ลาวในสถานการณ์แพร่ระบาดของCOVID-19 โดยนายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ CKPower กล่าวว่า“ CKPower ตระหนักถึงความจำเป็นในการช่วยเหลือรัฐบาลและภาครัฐในการหยุดการแพร่กระจายของไวรัส Covid-19 โดยเร็วที่สุด” ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของสปป.ลาวยังพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีมาตราการป้องกันต่างๆจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็นการ LOCKDOWN จังหวัดต่างๆ รวมถึงการให้ประชาชนกักตัวที่บ้านก็ยังพบผู้ติดเชื้อเกิดขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นเงินสนับสนุนดังกล่าวจะเป็นกองทุนสำหรับการสนับสนุนการป้องกันการแพร่ระบาด รวมถึงเป็นกองทุนช่วยเหลือประชาชนสปป.ลาวในสถานการณ์นี้อีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_CKPower73.php

ผู้นำอาเซียนเตรียมประชุมทางไกลหารือสู้โควิด-19 สัปดาห์หน้า

ผู้นำประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน กำลังเตรียมจัดการประชุมทางไกลร่วมกันในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แหล่งข่าวทางการทูตเปิดเผยว่า การประชุมสุดยอดทางโทรศัพท์คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 14 เม.ย. พร้อมเสริมว่า อาเซียนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 ชาติ กำลังพิจารณาที่จะจัดการประชุมทางไกลร่วมกับผู้นำญี่ปุ่น, จีน และเกาหลีใต้ด้วย โดยคาดว่านายหลี่ เค่อ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน, นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และประธานาธิบดีมูน แจ อิน ของเกาหลีใต้ จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดทางไกลอาเซียน+3 ครั้งนี้ บรรดาผู้นำจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส, การใช้มาตรการป้องกัน และการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า เมื่อเดือนที่ผ่านมา เวียดนามซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปีนี้ได้แจ้งแก่ประเทศสมาชิกว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนซึ่งเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพนั้น จะเลื่อนจากเดือนเม.ย. ไปเป็นช่วงปลายเดือนมิ.ย. สำหรับการประชุมสุดยอดสหรัฐ-อาเซียนนัดพิเศษซึ่งเดิมมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนมี.ค. ที่นครลาสเวกัส ได้ถูกเลื่อนออกไปเช่นกัน เนื่องจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ยังคงแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทั้งนี้ กลุ่มสมาชิกอาเซียนประกอบด้วยบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2020/11643

กระทรวงเสนอให้กลับมาส่งออกข้าว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เรียกร้องให้รัฐบาลกลับมาดำเนินการส่งออกข้าวอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ต้องจำกัดปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 800,000 ตัน ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ทางกระทรวงฯ เสนอให้อนุมัติการส่งออกข้าวได้ แต่ต้องควบคุมเรื่องโควตาต่อเดือนอย่างเข็มงวด หลังจากพิจารณาความมั่งคงทางด้านอาหารแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนดังกล่าวนั้นเป็นไปตามคำประกาศอย่างเป็นทางการจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เกี่ยวกับปริมาณส่งออกข้าวพันธุ์ฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ อยู่ที่ 3.2 ล้านตัน ซึ่งปริมาณข้างต้นเป็นส่วนที่เหลือจากการบริโภคและสำรองในประเทศแล้ว สำหรับการขนส่งจะเป็นในรูปแบบการค้าผ่านชายแดนระหว่างประเทศ ได้แก่ ทางถนน ทางรถไฟ ทางทะเลและทางอากาศ นอกจากนี้ กระทรวงฯ กำหนดให้ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุด 20 ราย มาลงนามข้อตกลงกับระบบการจำหน่ายสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่าการสำรองอาหารนั้นจะเพียงพอ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/trade-ministry-proposes-resuming-rice-exports/171350.vnp

รัฐวิสาหกิจสูญเสียรายได้ 3.7 ล้านล้านด่ง ในไตรมาสแรก จากโควิด-19 ระบาด

รัฐวิสาหกิจ 9 กลุ่ม และบริษัท ภายใต้คณะกรรมการบริหารเงินทุนของรัฐ (CMSC) มีผลประกอบการขาดทุนมากกว่า 3.7 ล้านล้านด่ง (160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามรายงานล่าสุดของ CMSC ถูกส่งไปยังนายกฯ เหงียนซวนฟุก ระบุว่ารายได้รวมของรัฐวิสาหกิจ 19 แห่ง และบริษัท ลดลงเหลือประมาณ 27.3 ล้านล้านด่ง ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังคงต่อเนื่องและราคาน้ำมันยังไม่ฟื้นตัว จะส่งผลให้รายได้รวมในปี 2563 แตะระดับ 270 ล้านล้านด่ง ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ทั้งปี ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มรัฐวิสาหกิจ 8 แห่งจากทั้งหมด จะสูญเสียรายได้มากกว่า 26.3 ล้านล้านด่ง และทำให้งบประมาณของรัฐต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ 32.8 ล้านล้านด่ง สำหรับทางบริษัทเวียดนามแอร์ไลน์นั้น หากการแพร่ระบาดยังคงดำเนินต่อไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ จะสูญเสียรายได้ประมาณ 72.4 ล้านล้านด่ง รวมถึงบริษัทได้ระงับเส้นทางการบินระหว่างประเทศทั้งหมดแล้วและเน้นให้บริการเส้นทางการบินในประเทศเท่านั้น ในขณะเดียวกัน องค์กรการทางพิเศษแห่งเวียดนาม คาดว่าจะสูญเสียรายได้เหลือ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสแรก จากคนเดินทางน้อยลง ประกอบกับบริษัท PVN ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 และราคาน้ำมันดิ่งลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/stateowned-enterprises-face-37trillionvnd-loss-in-q1-due-to-covid19/171311.vnp

เมียนมาลดเที่ยวบิน, รถไฟ ช่วงเทศกาลตะจาน

Air KBZ งดบินภายในประเทศทั้งหมดชั่วคราวในช่วงวันหยุดเทศกาลตะจาน ตั้งแต่วันที่ 11 ถึง 18 เมษายน 2563 เนื่องจากผู้โดยสารลดลงท่ามกลางความหวาดกลัวต่อการระบาดของ COVID-19 โดยสายการบินจะคืนเงินให้ผู้โดยสารที่จองเที่ยวบินตามวันดังกล่าว แม้สายการบินแห่งชาติเมียนมาจะไม่ยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด แต่ได้ทำการลดตารางการบินลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการควบคุมโรค COVID-19 นอกจากนี้เส้นทางรถไฟยังเปิดให้บริการน้อยในช่วงเทศกาลตะจาน ซึ่งผู้โดยสารควรตรวจสอบกับการไฟฟ้าแห่งเมียนมาในเส้นทางต่าง ๆ โดยเส้นทาง มัณฑะเลย์ – ย่างกุ้ง และ มัณฑะเลย์ – มิตจีนา จะถูกระงับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนถึง 19 เมษายน 2563 นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะหยุดรถไฟทั้งหมดในเส้นทางมิตจีนาอีกด้วย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/flights-trains-suspend-routes-during-thingyan.html