รัฐบาลไฟเขียวจับมือเอเปกพัฒนาการท่องเที่ยว

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน 2567 สาธารณรัฐเปรู ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปก ครั้งที่ 12 ขึ้น เพื่อให้ประเทศสมาชิกรับทราบและรับรองผลการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเอเปก ปี พ.ศ. 2563-2567 รวมทั้งมอบนโยบาย และกำหนดทิศทางการดำเนินงานในสาขาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยในการประชุมจะได้ร่วมกันรับรองร่างเอกสาร 3 ฉบับ ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (4 มิ.ย. 2567) ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติแล้ว ได้แก่ 1.ร่างถ้อยแถลงการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปก ครั้งที่ 12 2.ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายหลักการในการป้องกันและลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก และ 3.ร่างแนวคิดโครงการแพลตฟอร์มเอเปกเพื่อเผยแพร่โอกาสความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ทั้งนี้ สาระสำคัญเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้นวัตกรรมใหม่ เพื่อรับมือกับความท้าทายในภาคการท่องเที่ยวในปัจจุบัน รวมถึงการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในขณะที่ ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฯ เป็นโครงการวิจัยที่จัดทำขึ้นโดยสาธารณรัฐเปรู ซึ่งได้ระบุเกี่ยวกับปัญหาของการทำอาหารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างขยะอาหารในภาคการท่องเที่ยว และได้มีข้อเสนอแนะ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนหลักการของเอเปคให้เป็นรูปธรรม และร่างแนวคิดโครงการฯ ที่มีเป้าหมายในการสร้างแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในภาคการท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกัน การถ่ายทอดความรู้ การแลกเปลี่ยนโอกาสด้านความร่วมมือที่มีอยู่ และการจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก อย่างไรก็ดี ร่างเอกสารฯ จำนวน 3 ฉบับ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของเขตเศรษฐกิจเอเปก เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก และเป็นการแสดงถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในการฟื้นฟูการท่องเที่ยว และกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก อย่างครอบคลุมและยั่งยืน รวมถึงยังเป็นการสนับสนุนบทบาทเด่นของประเทศไทยในเวทีนานาชาติด้วย

ที่มา : https://www.thaipost.net/general-news/599375/

เมียนมาส่งออกยางกว่า 19,000 ตันไปยังตลาดต่างประเทศในเดือนพฤษภาคม

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาจัดส่งยางมากกว่า 19,400 ตัน มูลค่า 26.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับคู่ค้าต่างประเทศในเดือนพฤษภาคม โดยส่งออกผ่านช่องทางการค้าทางทะเลไปยังจีน 8,270 ตัน ไปยังมาเลเซียกว่า 6,670 ตัน ไปยังเวียดนาม 2,190 ตัน ไปยังอินโดนีเซีย 500 ตัน ไปยังญี่ปุ่น 360 ตัน ไปยังอินเดีย 315 ตัน  ไปยังเกาหลีใต้กว่า 100 ตัน และส่งออกไปยังศรีลังกาและบังคลาเทศอีกเล็กน้อย เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รวมกว่า 17,300 ตัน มูลค่า 23.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 ถึง 24 พฤษภาคม เมียนมาส่งมอบยางให้กับประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางด่านชายแดน มากกว่า 1,610 ตันให้กับไทย และ 516 ตันให้กับจีน รวมกว่า 2,120 ตัน มูลค่า 2.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ตามสถิติกระทรวงพาณิชย์เผยอีกว่า เมียนมาส่งออกถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียว จำนวน 147,170 ตัน มูลค่าประมาณ 131.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤษภาคม แบ่งเป็นถั่วดำ 66,036 ตัน มูลค่า 64.48 ล้านเหรียญสหรัฐ ถั่วเขียว 53,630 ตัน มูลค่า 34.787 ล้านเหรียญสหรัฐ และถั่วแระกว่า 27,500 ตัน มูลค่า 32.26 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-19000-tonnes-of-rubber-to-foreign-markets-in-may/

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกทะลุเป้าท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา รายงานว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังช่วยแก้ไขปัญหาของบริษัทที่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำโดยร่วมมือกับสมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุและเกินเป้าหมายการส่งออกของประเทศ รวมถึงการส่งออกหลัก เช่น ข้าว ถั่ว ข้าวโพด และยางพารา ตามที่ ก.ล.ต. กำหนด เพื่อการส่งออกตามข้อกำหนดเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ยังได้ช่วยแก้ไขปัญหาที่พบในการส่งออกโดยประสานงานกับสมาคมต่างๆ เช่น สหภาพเมียนมา สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรม สมาพันธ์ข้าวเมียนมา ถั่ว ข้าวโพด และงา สมาคมพ่อค้าเมล็ดพันธุ์พืช, สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งเมียนมา, สมาคมอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา, สมาคมผู้ปลูกและผู้ผลิตยางแห่งเมียนมา และสมาคมผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงและส่งออกแห่งเมียนมา อย่างไรก็ดี ในบรรดาการส่งออกต่างประเทศ ข้าว 2.5 ล้านตันถูกกำหนดให้ส่งออกในปีงบประมาณ 2567-2568 จากสถิติที่รายงานวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ซึ่งเรือบรรทุกข้าว 8 ลำจอดเทียบท่าที่ท่าเรือระหว่างประเทศ 8 แห่งเพื่อส่งออกข้าว โดยข้าวทั้งหมด 135,920 ตัน แบ่งเป็นข้าว 12,500 ตันจากท่าเรือ Alone International Port Termina 12,500 ตันจากท่าเรือนานาชาติย่างกุ้ง 10,000 ตันจากท่าเรือเมียนมา (เดิมชื่อท่าเรือโบ ออง จ่อ) 9,800 ตันจากท่าเรือนานาชาติวิลมาร์และท่าเรือ Sule Pagoda Wharves จำนวน 91,120 ตันจะถูกส่งออก นอกจากนี้ เรืออีก 4 ลำกำลังจะเทียบท่าที่ท่าเรือนานาชาติย่างกุ้งเพื่อส่งออกข้าว 74,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-aims-to-surpass-national-export-targets-amid-economic-growth/

จำนวนนักเรียนในระดับมัธยมปลายของ สปป.ลาว ลดลงต่อเนื่อง จากปัญหาเศรษฐกิจ

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว เผยจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างเกรด 4 และเกรด 7 ทั่วประเทศลาวลดลงเป็นปีที่สามติดต่อกัน สะท้อนจากจำนวนนักเรียนที่ทำการสอบเข้าระดับมัธยมปลายมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนเป็นพิเศษในปีการศึกษานี้ โดยจำนวนนักเรียนชั้นเกรด 4 ที่เข้าสอบมีเพียง 68,850 คน ซึ่งลดลงจาก 76,322 คนในปีที่แล้ว และ 83,544 คนในปี 2565 ส่วนจำนวนนักเรียนชั้นเกรด 7 ที่เข้าสอบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เหลือเพียง 46,744 คน จาก 50,276 คนในปีที่แล้ว และ 55,828 คนในปี 2565 ปัจจัยหลักเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ เช่น ค่าจ้างที่ต่ำ และอัตราเงินเฟ้อมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่ออัตราการออกกลางคันของนักเรียน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/06/05/decline-in-secondary-school-enrollments-continues-for-third-consecutive-year/

รายได้ท่าเรือ PAS เพิ่มขึ้น 24% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี

Sihanoukville Autonomous Port (PAS) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา สร้างรายได้กว่า 35.2 ล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยท่าเรือ PAS ได้ดำเนินการขนส่งตู้สินค้ากว่า 296,685 TEUs (ตู้) จนถึงเดือนเมษายนของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากปริมาณรวมกว่า 239,273 TEUs ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านนักวิเคราะห์มองว่าการเติบโตของรายได้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกครั้งในปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาคการท่องเที่ยวและการผลิตเสื้อผ้า ส่งผลทำให้การนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้ท่าเรือเติบโตคือการสร้างอาคารเทียบเรือแห่งใหม่ที่เพิ่งแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2023 ทำให้ท่าเรือสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่และขนถ่ายสินค้าได้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501499470/pas-revenue-up-24-percent-in-first-four-months/

บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตยังคงตามหลังบริการธนาคารผ่านมือถือ

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) รายงานการทำธุรกรรมทางการเงินของชาวกัมพูชาว่าส่วนใหญ่ดูเหมือนจะนิยมทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันมือถือมากกว่าการใช้บริการธนาคารบนอินเทอร์เน็ต โดยจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ธุรกรรมธนาคารบนอินเทอร์เน็ตลดลงร้อยละ 7 เหลือมูลค่าทางการทำธุรกรรมรวม 18.22 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023 จาก 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022 ขณะที่การทำธุรกรรมผ่านระบบมือถือเติบโตกว่าร้อยละ 11 คิดเป็นมูลค่า 164 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023 จากมูลค่า 183 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลและธนาคารถยังได้ร่วมกันส่งเสริมการใช้งาน Bakong มากขึ้น ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลของทางการกับพูชา นอกเหนือจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงที่ว่าการใช้งานมือถือมีมากกว่าการใช้งานแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในประเทศ จากรายงานของ Digital 2023 Cambodia ในไตรมาสแรกของปี 2023 โดยกัมพูชามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพียง 11.37 ล้านคน ขณะที่การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านระบบมือถือของคนกัมพูชามีมากถึง 22.16 ล้านราย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501499458/internet-banking-lags-behind-as-mobile-banking-takes-off/

‘หุ้นเวียดนาม’ ต่างชาติเทขาย 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 66

นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นเวียดนามในตลาดหลักทรัพย์นครโฮจิมินห์ (HOSE) มูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 58 ล้านล้านด่อง หรือประมาณ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2566 และจากข้อมูล เปิดเผยว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เผชิญกับแรงขายหุ้นอย่างรุนแรง เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีมูลค่าเกินกว่า 58 ล้านล้านด่อง ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะทำสถิติใหม่เร็วๆนี้ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติไม่มีแนวโน้มที่จะยุติการเทขาย

ทั้งนี้ ผู้สังเกตการณ์บางราย แย้งว่ากระแสของเงินทุนจากต่างประเทศเป็นเพียงยอดขายสุทธิบางส่วน เป็นผลมาจากการปรับพอร์ดหุ้นเท่านั้น จึงมองได้รับผลกระทบจำกัดต่อตลาดโดยรวม

นอกจากนี้ แรงกดดันจากการขายกองทุน ETF ขนาดใหญ่ ได้แก่ DCVFMVN DIAMOND ETF และ Fubon ETF ที่มีการไหลออกตั้งแต่ต้นปี 2567 มากกว่า 6.3 ล้านล้านด่อง และ 800 พันล้านด่อง  ตามลำดับ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจเวียดนามยังคงได้รับการประเมินในเชิงบวกก็ตาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656788/foreign-investors-net-selling-exceeds-2-3-billion-since-2023.html

‘อียู’ ทุ่มงบกว่า 10.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ศึกษาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟใต้ดิน สาย 3

สหภาพยุโรป (EU) เตรียมให้ทุนสนับสนุนสำหรับโครงงานการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคของโครงการส่วนต่อขยายรถไฟใต้ดินสายที่ 3 กรุงฮานอย มูลค่ารวม 10 ล้านยูโร หรือประมาณ 10.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นไปตามข้อตกลงความช่วยเหลือระหว่างกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนามและสำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งฝรั่งเศส (AFD)

ทั้งนี้ รถไฟใต้ดินสายที่ 3 เส้นทางรถไฟเดิมจากสถานีรถไฟเญิน-ฮานอย ระยะทางรวม 12.4 กม. รวมถึงระยะทางใต้ดิน 4 กม. ในขณะที่ส่วนต่อขยายรถไฟจะมีระยะทางรวมกันราว 8.8 กม. ซึ่งมีเส้นทางใต้ดิน 8.13 กม. และมีสถานี 7 แห่ง ใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1.59 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว รถไฟใต้ดินสายที่ 3 จะมีระยะทาง 21 กม. รวมถึงเส้นทางใต้ดิน ระยะทางมากกว่า 12 กม. เชื่อมต่อระหว่างเส้นทางรถไฟเญิน-ฮานอย-เขตหว่างมาย

ที่มา : https://en.vneconomy.vn/eu-funds-10-8-mln-to-study-extension-of-hanoi-metro-line-3.htm

สปป.ลาว-สิงคโปร์-กัมพูชา ผนึกกำลังอำนวยความสะดวกการค้าไฟฟ้าข้ามพรมแดน

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป.ลาว และกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ร่วมมือจัดตั้งคณะทำงาน โดยมีหน้าที่กำหนดกรอบการทำงานที่ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนภายในอาเซียน โดยเริ่มจากความร่วมมือระหว่างทั้งสามประเทศ นอกจากนี้ ยังจะปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแลและขั้นตอนการออกใบอนุญาตสำหรับการผลิต การส่งออก และการนำเข้าไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งรวมถึงการลดความซับซ้อนของการสมัครและการอนุญาตให้มีกระบวนการสำรวจใต้ทะเลและการติดตั้งสายไฟใต้ทะเลข้ามพรมแดน ทั้งนี้ คณะทำงานจะสำรวจวิธีการอำนวยความสะดวกในข้อตกลงทางการค้า และส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตและการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนระหว่างทั้งสามประเทศจะมีความราบรื่น

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/06/04/laos-singapore-cambodia-unite-to-facilitate-cross-border-electricity-trade/

กระทรวงพลังงานเดินหน้าขุดเจาะบ่อน้ำมันลึกเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมัน

กระทรวงพลังงานได้ประกาศแผนการจัดหาเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญระดับสากลเพื่อเจาะบ่อน้ำมันเก่าให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยันด้วยว่าจะมีการขุดเจาะหลุมใหม่ 2 หลุมในปีงบประมาณ 2567-2568 โดยมีบริษัท Myanma Oil and Gas Enterprise จะดูแลการขุดเจาะหลุมเหล่านี้ ด้วยความช่วยเหลือทางเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญจาก MPRL E&P Company อย่างไรก็ดี หลุมที่ได้รับการอนุมัติเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะเข้าถึงระดับความลึกที่กระทรวงกำหนด และสร้างเหตุการณ์สำคัญใหม่ในประวัติศาสตร์การผลิตน้ำมัน เนื่องจากความพยายามก่อนหน้านี้ต้องดิ้นรนในการผลิตน้ำมันจากทรายที่มีไฮโดรคาร์บอนซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ดิน นอกเหนือจากความพยายามในการวิจัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการผลิตในแหล่งน้ำมันที่สมบูรณ์แล้ว เจ้าหน้าที่ยังมุ่งเน้นไปที่การประสานงานและการแบ่งปันความรู้อีกด้วย รวมทั้งกระทรวงพลังงานกำลังดำเนินมาตรการเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และการขุดเจาะบ่อน้ำลึกในแหล่งน้ำมันเก่า ตลอดจนการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของยุทธศาสตร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moe-advances-deep-well-drilling-to-boost-oil-production/