การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามยังคงที่ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดแม้จะมีการหยุดการเข้าและออกของประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่ถูกเรียกว่า COVID-19 โดยการพูดคุยกับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเวียดนาม Truong Cong Nhan ของแผนกศุลกากรที่ด่านชายแดน Khanh Binh ภายใต้สำนักงานศุลกากรจังหวัด Giang กล่าวว่าการขนส่งสินค้าผ่านช่องทาง Khanh Binh – Chrey Thom ยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ รถบรรทุกต่อวันเทียบเท่ากับจำนวนก่อนที่คำสั่งระงับการเข้า – ออกจะมีผลในวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้มาตรการกักกันทางการแพทย์ได้ถูกนำไปใช้อย่างเคร่งครัดกับรถบรรทุกที่เข้าสู่เวียดนามเพื่อรับสินค้าที่ส่งออกไปยังกัมพูชา โดยกองกำลังทั้งสามของกัมพูชารวมถึงหน่วยแพทย์ชายแดนและด่านศุลกากรได้ทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนการกักกันอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้ขับขี่ จากนั้นคนขับจะรอในห้องกักกันขณะที่โหลดสินค้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707441/trade-across-cambodia-vietnam-border-remains-stable-amid-covid-19-outbreak/

ผู้ประกอบการกัมพูชาและเวียดนามสร้างความร่วมเชิงกลยุทธ์ร่วมกัน

บริษัทในเครือของ Viettel Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านการสื่อสารทางทหารของเวียดนาม และ MB Cambodia (MB) ของเวียดนาม ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะเวลา 5 ปี เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาและการมีส่วนร่วมระหว่างกันตามพิธีลงนามที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญ โดยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม MB กัมพูชา ได้สนับสนุนด้านสินเชื่อให้กับ Metfone อย่างเต็มที่และให้บริการทางการเงินขององค์กรแก่บริษัทด้วยวงเงินสินเชื่อ 100 ล้านเหรียญสหรัฐและอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่ง Metfone ดำเนินธุรกิจในกัมพูชามานานกว่า 10 ปี โดยเป็นหนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศ สร้างงานให้กับคนงานกว่า 12,000 คนและสนับสนุนด้านงบประมาณกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50706770/cambodia-and-vietnamese-enterprises-adopt-measures-strengthen-strategic-collaboration/

เวียดนามปลดล็อกกฎระเบียบนำเข้า “รถยนต์” กรุยทางสู่ MRA อาเซียน ส.ค.นี้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผย ‘เวียดนาม’ ปรับปรุงเงื่อนไขนำเข้ารถยนต์ ผ่อนปรนให้ตรวจสอบคุณภาพเฉพาะล็อตแรกที่นำเข้า ยกเลิกการใช้หนังสือรับรองคุณภาพที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออก ให้เวียดนามประเมินโรงงานการผลิตของประเทศผู้ส่งออกแทน ชี้ช่วยอำนวยความสะดวกผู้ส่งออกไทยมากขึ้น ด้านอาเซียนเตรียมดันลงนาม MRA ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 สิงหาคมนี้ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เวียดนามได้ออกและบังคับใช้กฤษฎีกา ฉบับที่ 17 (Decree 17/2020) ปรับปรุงเงื่อนไขการนำเข้ารถยนต์ที่เคยกำหนดไว้ในกฤษฎีกา ฉบับที่ 116 (Decree 116/2017) จากเดิมกำหนดให้รถยนต์นำเข้าต้องถูกตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยในทุกล็อตที่นำเข้า ปรับเป็นตรวจสอบเฉพาะรถยนต์ล็อตแรกที่นำเข้า รวมทั้งยกเลิกการใช้หนังสือรับรองคุณภาพรถยนต์นำเข้า (Vehicle Type Approval Certificate: VTA) ที่ออกโดยหน่วยงานในประเทศผู้ส่งออก ปรับเป็นกำหนดให้โรงงานผลิตหรือประกอบรถยนต์ของประเทศผู้ส่งออก ต้องได้รับการประเมินโรงงานการผลิต (Conformity of Production: COP) โดยหน่วยงานตรวจสอบของเวียดนาม (Vietnam Register) ซึ่งผลการตรวจสอบและผลการตรวจประเมินจะมีอายุ 36 เดือน ทั้งนี้ การผ่อนปรนกฎระเบียบการตรวจสอบรถยนต์นำเข้าของเวียดนาม จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งออกรถยนต์ของไทยมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องขอเอกสาร VTA รวมทั้งไม่ต้องถูกตรวจรถยนต์ที่ส่งออกไปเวียดนามทุกล็อต ซึ่งตั้งแต่ปี 2561 กระทรวงพาณิชย์ได้พยายามเรียกร้องและผลักดันเวียดนามเรื่องนี้มาโดยตลอด นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงคมนาคมของเวียดนามได้ออก Circular 05/2020 ซึ่งกำหนดแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยด้านเทคนิค และป้องกันสิ่งแวดล้อมสำหรับรถยนต์ที่ผลิต/ประกอบในประเทศ และรถยนต์นำเข้าตามกฤษฎีกาฉบับใหม่ โดยจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 15 เมษายน 2563 ทั้งนี้ Circular 05/2020 ยังเปิดโอกาสให้หน่วยงานตรวจสอบของเวียดนาม ยอมรับผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานรถยนต์จากหน่วยงานของประเทศที่เวียดนามมีข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้วย ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากขณะนี้อาเซียนอยู่ระหว่างเตรียมลงนามข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ระหว่างกัน โดยที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ได้ขอให้เวียดนามเร่งรัดกระบวนการภายในให้แล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถลงนามข้อตกลงฯ ได้ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 ในเดือนสิงหาคมนี้ ที่เวียดนาม โดยขณะนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศยกเว้นเวียดนาม ได้แสดงความพร้อมที่จะลงนามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ข้อตกลง MRA จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องยอมรับผลการทดสอบ ที่ออกโดยหน่วยงานตรวจสอบที่ได้ขึ้นทะเบียนในประเทศผู้ส่งออก โดยไม่ต้องทำการทดสอบซ้ำในประเทศผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคในการนำเข้าและส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนสร้างตลาดและฐานการผลิตร่วมในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ในปี 2562 เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทย จำนวน 74,993 คัน มูลค่า 1,527 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีปริมาณการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากปี 2561 โดยคาดว่าภายหลัง Decree 17 บังคับใช้ ประกอบกับการทำข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน จะทำให้ไทยสามารถส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามได้มากขึ้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-440168

เวียดนามเผยดัชนีราคาผู้บริโภคไตรมาสแรก ขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 5.56 นับว่าสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563 โดยสาเหตุสำคัญจากความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ในเดือนม.ค. – ก.พ. (ช่วงปีใหม่เต็ด : Tet), ภายในงานแถลงข่าววันที่ 27 มี.ค. ณ กรุงฮานอย รวมถึงราคาอาหารและผักที่ปรับสูงขึ้นร้อยละ 13.21 และ 4.14 ตามลำดับ โดยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น เริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนม.ค. ปีนี้ ดังนั้น ความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ไฟฟ้าและน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.43, 9.89 และ 4.75 ตามลำดับ สำหรับราคาน้ำมันเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรก ลดลงร้อยละ 5.75 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 และสงครามราคาน้ำมันระหว่างโอเปกและรัสเซีย ทั้งนี้ อุปสงค์การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในช่วงวันปีใหม่ แต่เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดทำให้แพ็คเกจทัวร์ลดลง นอกจากนี้ ทางสำนักงาน GSO ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 3 เดือนแรก ปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.05

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/firstquarter-cpi-sees-highest-rise-in-20162020-411898.vov

เวียดนามเกินดุลการค้า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วงไตรมาสแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าเวียดนามเกินดุลการค้าอยู่ที่ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งมูลค่ามากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดหนักของโรคโควิด-19 ในกลุ่มตลาดส่งออกสำคัญ สำหรับภาคธุรกิจในประเทศขาดดุลการค้า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเกินดุลการค้า 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น มูลค่าการส่งออกช่วงไตรมาสแรก 59.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และสินค้าส่งออกหลัก 8 รายการที่มีมูลค่าส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาจีน สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้า 56.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.9 และสินค้านำเข้าหลัก 14 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจีนยังคงเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาเกาหลีใต้ อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ทางสำนักงานดังกล่าวคาดว่าเมื่อข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA มีผลบังคับใช้จะทำให้เวียดนามส่งออกไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ในปีนี้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-enjoys-trade-surplus-of-us28-billion-in-first-quarter-411899.vov

COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจเวียดนามลงมาอยู่ที่ 6.3% : Fitch Solution

จากรายงานของศูนย์วิจัย Fitch Solutions ในวันที่ 24 มี.ค. เปิดเผยว่าปรับลดอัตราการขยายตัวของ GDP เวียดนาม ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 6.3 จากที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.8 ก่อนหน้านี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อีกทั้ง แนวโน้มของตลาดเกิดใหม่ (EM) ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามมีความยืดหยุ่นทางการคลังอยู่ในระดับต่ำ จากการที่หนี้สินภาครัฐสูง รวมถึงทางศูนย์ฯ ยังปรับลดเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่อื่นๆ “แม้ว่าจะไม่แพร่ระบาดของโควิด-19 มากนักในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ แต่คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3 ในปี 2563” ทั้งนี้ ความตึงเครียดของตลาดการเงินทั่วโลกจะแสดงให้เห็นจากความรัดกุมของสภาพคล่องในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งทางศูนย์วิจัยมองว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ และการเทขายของตลาดหุ้นส่งผลให้ดัชนีหุ้นอ้างอิงของบริษัทในตลาดเกิดใหม่ (MSCI) ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 30 ในขณะที่ ไม่น่าแปลกใจมากนัก จากการที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าความตึงเครียดของตลาดการเงินในตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้การเติบโตลดลงอย่างมากหลังจากภาวะทางการเงินที่ย่ำแย่

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/covid19-to-pull-vietnams-growth-down-to-63-fitch-solutions-411813.vov

แอลจีเรียเป็นตลาดที่มีศักยภาพของผลิตภัณฑ์เวียดนาม

จากรายงานของสำนักงานการค้าเวียดนามในแอลจีเรีย ระบุว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรียเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการส่งออกลวดเย็บกระดาษของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กาแฟและข้าว เป็นต้น รายได้จากการส่งออกของเวียดนามไปยังแอลจีเรีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ และเวียดนามอาจขยายส่งออกกาแฟไปยังแอลจีเรีย เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงสุดของผู้คนในท้องถิ่น ทั้งนี้ กาแฟเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกชั้นนำของเวียดนามไปยังแอลจีเรีย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของตลาดแอลจีเรีย ขณะที่ ข้าวยังคงเป็นสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพอย่างมาก เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 โดยแอลจีเรียส่วนใหญ่จะนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ 100,000 ตันต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น อัตราภาษีนำเข้าของประเทศสำหรับอาหารจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มสินค้าประเภทอื่น นอกจากนี้ ในปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังแอลจีเรียราว 17,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 และจำนวนแรงงานชาวเอเชียเพิ่มสูงขึ้นในแอลจีเรีย ทำให้มีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/algeria-a-potential-market-for-vietnamese-products/170720.vnp

ยอดคำสั่งซื้ออาหารทะเลดิ่งลง เนื่องจากผลกระทบเชิงลบของโควิด-19

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ายอดสั่งซื้ออาหารทะเลของธุรกิจลดลง ประมาณร้อยละ 20-50  โดยยอดคำสั่งซื้อลดลงในช่วงต้นเดือนมี.ค. เป็นผลมาจากผลกระทบเชิงลบของโควิด-19 ยกตัวอย่างเช่น บริษัทปลาสวายที่ส่งออกไปยังตลาดจีน ด้วยกำไรสูง แต่ได้หยุดชะงักในช่วงเดือนม.ค.ของปีนี้ จากสถานการณ์แพร่ไวรัส ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงต้นเดือนมี.ค. สถานการณ์แพร่ระบาดหนักไปทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ได้ระงับการทำธุรกรรมทั้งหมดและนโยบายปิดภัตตาคาร โรงแรม ส่งผลให้สินค้าคงเหลือมีจำนวนมากและคำสั่งซื้อใหม่ยังไม่ได้ทำสัญญาอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมการผลิตอาหารทะเลของธุรกิจส่วนใหญ่ล้วนได้รับผลกระทบเชิงลบ จากการที่ขาดวัตถุดิบ ยกเว้นธุรกิจปลาสวาย (Pangasius) ในขณะที่ ยอดคำสั่งซื้อกุ้งลดลงร้อยละ 20-50 จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯและยุโรป จากการล่าช้าในการขนส่งหรือยกเลิก เป็นผลมาจากทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้ามีสินค้าคงเหลือจำนวนมาก นอกจากนี้ แนวทางในการจัดการกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทางสมาคมฯ ได้เรียกรองให้สมาชิกเร่งดำเนินตามกฎหมาย เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข และสิ่งที่ควรทำ คือ กาควบคุมกำลังการผลิตและร่วมมือกับภาครัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/654053/foreign-investors-pour-855b-in-vn-in-q1.html

เวียดนามเผยโครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียน FDI เพิ่มขึ้น 45% ในช่วงไตรมาสแรก

จากรายงานของหน่วยงานการลงทุนในต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าเวียดนามได้รับใบอนุญาตการลงทุนในโครงการใหม่ 758 โครงการ ด้วยเงินทุน 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยโครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนมีอยู่มากกว่า 230 โครงการ มูลค่า 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. ในขณะที่ มูลค่าซื้อหุ้นจากต่างประเทศอยู่ที่ราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและโครงการลงทุนจากต่างชาติมีการเบิกจ่ายเงินทุนประมาณ 3.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสาขาธุรกิจ พบว่านักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนใน 18 ภาคธุรกิจ โดยส่วนใหญ่ลงทุนในภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ด้วยมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 47.5 ของเงินทุนทั้งหมด รองลงมาภาคการผลิตและแปรรูป ตามด้วยภาคการค้าปลีกค้าส่ง นอกจากนี้ สิงคโปร์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด รองมาเป็นญี่ปุ่นและจีน อีกทั้ง บากเลียว (Bac Lieu) เป็นจังหวัดที่ดึงดูดจากนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด รองลงมานครโฮจิมินห์ ตามมาด้วยฮานอยและบ่าเสียะ-หวุงเต่า ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/newly-registered-fdi-rises-by-nearly-45-percent-in-q1/170684.vnp

เวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์พุ่งสูงขึ้นไปยังสหรัฐฯ ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของกรมศุลกากร เผยว่าเวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังสหรัฐฯ ด้วยปริมาณอยู่ที่ 17,900 ตัน คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 126.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21, 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยราคาส่งออกเฉลี่ยของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในช่วง 2 เดือนแรก อยู่ที่ 7,046 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับตลาดสหรัฐฯ เนเธอแลนด์และจีนยังคงเป็นตลาดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทั้งนี้ สมาคมเม็ดม่วงหิมพานต์เวียดนาม ระบุว่าอุตสาหกรรมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเวียดนาม คาดว่าจะได้รับความลำบากในการส่งออกช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสินค้าล้นตลาด ซึ่งการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว มีความเสี่ยงหลายประการด้วยกันและเกิดความผันผวนของตลาดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ทางหน่วยงานแนะนำให้ผู้ประกอบการประเมินอย่างรอบด้านก่อนที่จะทำสัญญาซื้อเม็ดมะม่วงหิมพานต์(ดิบ) โดยไม่มีทางออก และควรติดตามตลาดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แผนการผลิตเป็นไปอย่างเหมาะสมและตั้งเป้าแผนธุรกิจในปีนี้ รวมถึงแนะนำให้อุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องและค่อยปรับปรุง/ซ่อมแซ่มเครื่องจักร อุปกรณ์ เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/654034/viet-nams-cashew-exports-to-us-up-in-two-months.html