การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาร์มีมูลค่าสูงถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ เผยสถิติ มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการตัด ผลิตและบรรจุหีบห่อ (CMP) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – วันที่ 1 ธันวาคม ในปีงบประมาณ 2566-2567 มีมูลค่ามากกว่า 2.966 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาสินค้าส่งออกหลัก 10 รายการ ในขณะที่ มูลค่าการส่งออกก๊าซธรรมชาติมีมูลค่า 2.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วดำ 474.126 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกข้าวและข้าวหัก 378.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกข้าวโพด 271.312 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกปลา 220.418 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วเขียว 185.983 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกยางธรรมชาติ 123.691 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วมะแฮะ 101.952 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการส่งออกโลหะและแร่ 79.404 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในบรรดาประเทศคู่ค้าสิบอันดับแรกของเมียนมาร์ ประเทศไทยถือเป็นอันดับหนึ่งด้วยมูลค่าการค้ากว่า 2.472 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือจีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สเปน สาธารณรัฐเกาหลี และสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังพยายามเพิ่มการส่งออกภาคการผลิต และไม้วีเนียร์และไม้อัด ผลิตภัณฑ์ไม้สำเร็จรูป เสื้อผ้า น้ำตาล และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากชายแดนแล้ว เมียนมาร์ยังส่งออกสินค้าทางทะเลและทางอากาศอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/garment-exports-top-us2-9-bln-in-past-eight-months/#article-title

คณะกรรมการกลางว่าด้วยการกำกับดูแลการไหลเวียนของการค้าและสินค้า หารือเรื่องการจำหน่ายเชื้อเพลิง และมาตรการเพื่อเพิ่มการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร

Mya Tun Oo รัฐมนตรีสหภาพสมาชิกสภาบริหารแห่งรัฐ และประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยการกำกับดูแลการไหลเวียนของการค้าและสินค้า ได้กล่าวปราศรัยในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/2566 ที่กรุงเนปิดอว์เมื่อวานนี้ ว่ามีการเตรียมการอย่างเป็นระบบเพื่อให้แน่ใจว่ามีเชื้อเพลิงเพียงพอที่สถานีบริการน้ำมันและจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงในสต็อก ในทางกลับกันยังกำกับดูแลการต่อต้านการค้าเชื้อเพลิงที่ผิดกฎหมายอีกด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการยังเน้นไปที่มาตรการเชิงปฏิบัติสำหรับการนำเข้า การจัดเก็บ และการจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และพิจารณาว่าเชื้อเพลิงที่นำเข้ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานคุณภาพหรือไม่ ในทำนองเดียวกัน มีการแจกจ่ายน้ำมันสำหรับใช้ปรุงอาหารอย่างเพียงพอไปยังภูมิภาคและรัฐ รวมถึงกรุงเนปิดอว์ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเสถียรภาพต่อตลาดและราคาสินค้า อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีสหภาพฯ กล่าวต่อว่าในสมัยนั้นมีการใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว ถั่ว ข้าวโพด งา และยางพารา นอกจากนี้ยังต้องกำกับดูแลการส่งกลับรายได้จากการส่งออกตามขั้นตอนที่กำหนดและจะจัดลำดับความสำคัญของการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับเขตอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าส่งออก และเน้นย้ำถึงความร่วมมือกับ UMFCCI สมาคมพี่น้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/central-committee-on-ensuring-smooth-flow-of-trade-and-goods-discusses-fuel-distribution-measures-to-increase-export-of-farm-produce/#article-title

เมียนมาร์กระตุ้นการส่งออกถั่วพัลส์ตามเป้าหมายประจำปี โดยส่งออกไปแล้ว 1 ล้านตัน

สมาคมผู้ค้าถั่วพัลส์ ถั่ว ข้าวโพด และเมล็ดงาของเมียนมาร์ รายงานว่า ด้วยการส่งออกพัลส์ในปัจจุบันมากกว่า 1 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่ทางทะเล ในปีงบประมาณนี้ คาดการณ์ว่าสมาคมจะบรรลุเป้าหมายประจำปีตามปกติอยู่ที่ประมาณ 1.5 ถึง 2 ล้านตันต่อปี โดยการค้าทางทะเลถือเป็นช่องทางหลักในการส่งออก ในขณะที่เส้นทางชายแดนส่วนใหญ่ใช้สำหรับขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน ท่ามกลางความยากลำบากในการขนส่งทางถนน ทั้งนี้ ในบรรดาประเทศปลายทาง อินเดียถือเป็นประเทศอันดับหนึ่งที่เมียนมาร์มีการส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าว โดยการส่งออกไปยังอินเดียส่วนใหญ่ผ่านทางทะเล เนื่องจากการค้าชายแดนเป็นเรื่องยากในการขนส่ง อย่างไรก็ดี ตามข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 17 พฤศจิกายน ปีงบประมาณนี้ เมียนมาร์มีรายได้มากกว่า 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1 ล้านตัน รวมถึงถั่วดำและถั่วแฮะ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pulses-export-on-track-to-meet-annual-target-with-1-mln-tonne-already-shipped/

การส่งออกของเมียนมาร์มีมูลค่าเกือบ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา

ตามการรายงานของการค้าภายนอก กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาร์ ในช่วงต้นเดือนธันวาคมสำหรับปีการเงินปัจจุบันปี 2566-2567 การส่งออกของเมียนมาร์มีมูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมีสินค้าส่งออกได้แก่ ถั่วดำ ข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด กรัมเขียว ยางพารา ถั่วพีเจ้น งา ถั่วลิสง หัวหอม มะขาม ขิง คอนยัค เมล็ดละหุ่ง เมล็ดกาแฟ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ฝ้าย มันสำปะหลัง แตงโม แตงกวา มะม่วงและกล้วยทิชชู่ในหมวดผลิตผลทางการเกษตร นอกจากนี้ ปลา กุ้ง ปู ปลาไหล และปลาแห้งยังเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ประมงอีกด้วย ทั้งนี้ เมียนมาร์ส่งออกสินค้าไปยัง 117 ประเทศระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีประเทศคู่ค้าที่โดดเด่นซึ่งมีอุปสงค์สูง ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี โปแลนด์ เกาหลีใต้ อังกฤษ สเปน เบลเยียม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อย่างไรก็ดี จีนกำลังส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกอย่างแข็งขัน รวมถึงเสาเข็มวัสดุคอมโพสิต ไม้เนื้อดี ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ทำจากไม้ เสื้อผ้า น้ำตาล และสินค้าขั้นสุดท้ายอื่นๆ นอกจากนี้ รายงานระบุอีกว่าบริษัท 5,938 แห่งดำเนินธุรกิจส่งออกและนำเข้าผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เส้นทางทะเล เส้นทางการค้าชายแดน และเส้นทางการบิน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-reach-almost-us10-bln-in-last-eight-months/#article-title

ผลิตภัณฑ์ CMP ของเมียนมาร์เข้าถึงตลาดมากกว่า 80 แห่ง รวมถึงสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี

U Min Min รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า เสื้อผ้าของเมียนมาร์ส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง 12 ประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี โดยสินค้า CMP มีส่วนสำคัญ ในภาคการส่งออกสิ่งทอของเมียนมาร์โดยมีประเทศปลายทางมากกว่า 100 ประเทศ และรายได้สุทธิ อยู่ที่ 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2565-2566 ทั้งนี้ ตลาดหลักสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของเรา ได้แก่ ญี่ปุ่น โปแลนด์ สเปน เยอรมนี เกาหลี สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และเบลเยียม อย่างไรก็ดี ประเทศที่จ้างเหมานำเข้าวัตถุดิบหลักส่วนใหญ่สำหรับโรงงาน CMP นำเข้าผ่านทางตลาดจีน 90% ซึ่งในปีนี้มีการนำเข้าสิ่งทอดิบมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตัวระบบออนไลน์ Myanmar Tradenet 2.0 เพื่ออำนวยความสะดวกใน กระบวนการนำ เข้าวัตถุดิบและส่งออกผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรม CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-cmp-products-reach-over-80-markets-including-us-japan-korea/

สมาคมผู้ประกอบการทองคำแห่งเขตย่างกุ้งปรับลดราคาอ้างอิงทองคำ ท่ามกลางราคาทองคำที่ดิ่งลง

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม สมาคมผู้ประกอบการทองคำแห่งเขตย่างกุ้ง (YGEA) ปรับลดราคาอ้างอิงทองคำลงเหลือบาทละ 3.209 ล้านจ๊าด (0.578 ออนซ์หรือ 0.016 กิโลกรัม) ตามการลดลงเล็กน้อยของราคาทองคำสปอตที่ 2,033 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ในขณะที่เมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา ราคาทองคำสปอตแตะระดับสูงสุดที่ 2,086 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ส่งผลให้ YGEA กำหนดราคาอ้างอิงสูงขึ้นเป็นบาทละ 3.28 ล้านจ๊าด อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดทองคำบริสุทธิ์ผันผวนขึ้นไปเป็นบาทละ 3.73 ล้านจ๊าด ในตลาดที่ไม่เป็นทางการ ส่งผลให้ช่องว่างระหว่างราคาอ้างอิงของ YGEA และอัตราของตลาดที่ไม่เป็นทางการนั้นเพิ่มขึ้นเป็นกว่าบาทละ 520,000 จ๊าด ทำให้ YGEA เปลี่ยนมาใช้อัตราการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารในการคำนวณราคาอ้างอิงสำหรับทองคำบริสุทธิ์ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐมีอิทธิพลต่อช่องว่างมูลค่าตลาดทองคำในประเทศ และราคาทองคำอ้างอิงของ YGEA โดยปัจจุบันเงินดอลลาร์สหรัฐมีอัตราแลกเปลี่ยนแบบไม่เป็นทางการอยู่ที่ประมาณ 3,530 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ygea-lowers-gold-reference-price-amid-spot-gold-price-dip/#article-title

เงินสกุลจ๊าดอ่อนค่าลงกว่า 3,500 จ๊าดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลจ๊าดเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 3,380 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าลงอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 3,550 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ว่าไม่ได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงอีกต่อไป และอนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับใบอนุญาตซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถแลกเปลี่ยนในอัตราที่เสรีมากขึ้น  อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ยังได้กล่าวอีกว่าจะไม่เข้าแทรกแซงตลาด Forex ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และธนาคารที่ได้รับอนุญาตมีสิทธิ์ดำเนินการซื้อขายออนไลน์ตามอัตราตลาดตามอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ การโอนเงินไปต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-weakens-to-over-k3500-against-us-dollar/#article-title

เมียนมาร์มีรายได้ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในเดือนที่ผ่านมา

ในเดือนพฤศจิกายน เมียนมาร์มีรายได้ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าว ซึ่งสูงกว่าเดือนก่อนหน้า ตามข้อมูลที่เผยแพร่จากสหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ ทั้งนี้ รายได้จากปริมาณการส่งออกข้าวอยู่ที่ 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 119,526 ตันในเดือนตุลาคม และ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 175,990 ตันในเดือนพฤศจิกายน ตามลำดับ โดยในปีงบประมาณนี้ มีการส่งออกข้าวจำนวน 759,673 ตันตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน สร้างรายได้ให้เมียนมาร์กว่า 361 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์คาดว่าจะส่งออกข้าวได้ 2 ล้านตันในปีการเงิน 2566-2567 นอกจากนี้ ข้อกำหนดใบอนุญาตก่อนหน้านี้ในการสต็อกข้าวส่งออกล่วงหน้า 100% ปรับลดลงเหลือ 50% ตามการระบุของสหพันธ์ข้าวเมียนมาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-us-90-million-from-rice-export-last-month/#article-title

ยางมากกว่า 90,000 ตัน ของเมียนมาร์ส่งออกไปยัง 7 ประเทศ

ตามการระบุของ สมาคมนักวางแผนและผู้ผลิตยางเมียนมาร์ กล่าวว่า ในปีงบประมาณนี้ ยางมากกว่า 90,000 ตันถูกส่งออกไปยัง 7 ประเทศ โดยการผลิตยางร้อยละ 75 ถูกส่งออกไปยังประเทศจีน เช่นเดียวกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ทั้งนี้ สมาคมได้เริ่มวางแผนที่จะส่งออกไปยังจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินเดีย อย่างไรก็ดี ในช่วงปีงบประมาณ 2018-2019 ถึงปีงบประมาณ 2022-2023 รายได้จากการส่งออกยางอยู่ที่ระหว่าง 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึง 450 ล้านดอลลาร์โดยเฉลี่ย เมียนมาร์พื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด มากกว่า 1.64 ล้านเอเคอร์ทั่วประเทศ และพื้นที่การผลิตประมาณ 950,000 เอเคอร์ ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 400,000 ตันตามสถิติ โดยในรัฐมอญเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ที่สุด ในขณะที่รายใหญ่เป็นอันดับสองคือเขตตะนาวศรี และใหญ่เป็นอันดับสามคือรัฐกะเหรี่ยง ยางพารายังปลูกใน เขตพะโค เขตย่างกุ้ง เขตอิรวดี รัฐฉาน รัฐคะฉิ่น เขตสะกาย ตอนบน และรัฐยะไข่ อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/more-than-90000-tonnes-of-rubber-exported-to-7-countries/#article-title

การส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาร์มีรายได้ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 8 เดือน

ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ ระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์สร้างรายได้มากกว่า 1.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตามสถิติตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 24 พฤศจิกายน ระบุว่าการส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่าอยู่ที่ 1.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงประมาณ 286 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีรายได้ 2.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผู้ส่งออกเชื่อว่าการลดลงนี้เป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นภายในประเทศ อย่างไรก็ดี การส่งออกของประเทศครอบคลุมผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแบบตัดบรรจุ (CMP) และสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะที่ เมียนมาร์นำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค และวัสดุสำหรับผลิตสินค้า CMP เป็นหลัก นอกจากนี้ ผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้าว ข้าวหัก ถั่วและถั่ว ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และสินค้าเกษตรอื่นๆ โดยประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agri-exports-earn-us1-9-bln-in-eight-months/#article-title