กระทรวงแรงงาน สปป.ลาว เร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลแรงงานภายในประเทศ

สปป.ลาว กำลังต่อสู้กับวิกฤติการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง เนื่องจากคนรุ่นใหม่แสวงหาค่าจ้างที่สูงขึ้นผ่านโอกาสการจ้างงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สปป.ลาว ได้ออกแถลงการณ์เร่งด่วนแก่ชาวลาวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพิจารณาโอกาสการจ้างงานภายในประเทศลาว ด้วยความพยายามที่จะรักษาจำนวนพนักงานไว้ภายในประเทศ นอกจากนี้ ช่องว่างระหว่างค่าแรงขั้นต่ำและค่าครองชีพในลาวยังคงมีอยู่มาก ส่งผลให้คนงานลาวจำนวนมากมองหาโอกาสในต่างประเทศ ซึ่งมีการเสนอค่าจ้างที่สูงกว่าการทำงานในประเทศ โดยที่ไทย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และญี่ปุ่น กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับแรงงานอพยพชาวลาว ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายด้านอุปทานแรงงานของประเทศในปัจจุบัน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/04/labor-ministry-calls-for-lao-nationals-to-apply-for-jobs-in-laos/

การส่งออกผลิตภัณฑ์ป่าไม้ของเมียนมาทะลุ 65.7 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 11 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาระบุว่า ณ วันที่ 22 มีนาคม การส่งออกผลิตภัณฑ์ป่าไม้ของเมียนมามีมูลค่า 65.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีการเงิน 2566-2567 โดยแบ่งเป็น 0.77 ล้านดอลลาร์จากภาครัฐ และกว่า 64.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากภาคเอกชน ในขณะเดียวกันช่วงปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมา การส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่าของเมียนมามีมูลค่าอยู่ที่ 139.35 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมาได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) ปี 2563-2568 เพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยมีภาคส่วนที่สำคัญของ NES ได้แก่ การผลิตทางการเกษตร เครื่องแต่งกายและเครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล , บริการโลจิสติกส์, การจัดการคุณภาพ, บริการข้อมูลการค้า, ภาคนวัตกรรมและผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-forest-product-export-surpasses-us65-7m-over-11-months/#article-title

MIC อนุมัติ 6 โครงการใหม่ การประกอบรถ EV การผลิตไฟฟ้า

คณะกรรมการการลงทุนเมียนมา (MIC) อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ 6 โครงการในระหว่างการประชุมครั้งที่ 4/2567 ที่จัดขึ้นที่กรุงเนปิดอว์เมื่อวานนี้ โดยโครงการลงทุนทั้ง 6 โครงการอยู่ในภาคอุตสาหกรรม โรงแรมและการท่องเที่ยว และไฟฟ้า รวมถึงการขยายเงินทุนเริ่มต้นของโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งการลงทุนโดยรวมมีมูลค่า 33.911 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 545,500 ล้านจ๊าด สร้างโอกาสในการทำงาน 1,349 ตำแหน่ง ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับไฟเขียว ได้แก่ การประกอบและการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าภายใต้ภาคการลงทุนและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี สิงคโปร์ จีน และไทย เป็นนักลงทุนที่โดดเด่นที่สุด จาก 53 ประเทศที่ลงทุนในเมียนมาจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2567 นอกจากนี้ ในบรรดาภาคธุรกิจ 12 กลุ่มนั้น การลงทุนในด้านไฟฟ้า อยู่ที่ร้อยละ 28.48 ของการลงทุนทั้งหมด ในขณะที่ร้อยละ 24.44 อยู่ในน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และร้อยละ 14.43 อยู่ในภาคการผลิต

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mic-approves-6-new-projects-ev-assembly-power-generation-included/

นักลงทุนเรียกร้องให้สนับสนุนเป้าหมายด้านพลังงานในกัมพูชา

ทางการกัมพูชายินดีกับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และการลงทุนจากทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตพลังงานทดแทนที่เป้าหมายร้อยละ 70 ของกำลังการผลิต และการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด (TFEC) ลดลงร้อยละ 19 กล่าวโดย Keo Rottanak รัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ซึ่งพร้อมที่จะสนับสนุนนักลงทุนในภูมิภาค โดยได้กล่าวไว้ในการประชุมสุดยอดธุรกิจกัมพูชา-อาเซียนประจำปี 2024 ขณะที่เป้าหมายของกัมพูชาคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 จะบรรลุเป้าหมายทางด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านการกำหนดกลยุทธ์ 4 ประเด็น เพื่อบรรลุเป้าหมายพลังงานสีเขียว โดยเน้นไปที่การเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงประเทศกำลังสร้างโครงข่ายที่ยืดหยุ่นซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับสภาวะและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำให้การซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนเป็นจริง ไปจนถึงการผลักดันให้กัมพูชามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า (EVS) ซึ่งคาดว่ารถยนต์ร้อยละ 40 และรถจักรยานยนต์ร้อยละ 70 ในกัมพูชาจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2050

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501466705/investors-urged-to-support-kingdoms-energy-goals/

ฮุน มาเนต คาดเศรษฐกิจกัมพูชาโต 6.6% ภายในปี 2024

ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา กล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจของกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 6.6 ในปี 2024 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.6 ในปี 2023 โดยแรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ มาจากการขยายตัวของการส่งออกเสื้อผ้า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว อุตสาหกรรมการเกษตรที่เริ่มมีบทบาท รวมถึงภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มเห็นการเติบโต ซึ่งคาดว่าการเติบโตของกัมพูชาจะกลับคืนสู่ระดับร้อยละ 7 เท่ากับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19  ภายในปี 2028

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501466941/cambodias-economy-projected-at-6-6-pct-in-2024-pm/

‘เวียดนาม’ รับเงินจากการขายคาร์บอนเครดิตให้กับเวิลด์แบงก์ 51.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าเวียดนามได้รับเงินจากการขายคาร์บอนเครดิตให้กับธนาคารโลก (WB) มูลค่า 51.5 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการลดคาร์บอนไดออกไซด์ 10.3 ล้านตันในช่วงปี 2561-2567 นาย เจิ่นกวางบ๋าว รองอธิบดีกรมป่าไม้ของกระทรวงฯ กล่าวว่าพื้นที่ที่มีการจัดเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ 80% อยู่ใน 6 จังหวัดที่ตั้งอยู่ในชายฝั่งตอนกลางเหนือ และ 20% อยู่ในส่วนของท้องถิ่น โดยในส่วนของท้องถิ่นจะมีการจัดสรรเงินให้กับคนในชุมชนที่ลงนามในสัญญาโครงการปกป้องป่าไม้

นอกจากนี้ เวียดนามเริ่มขายคาร์บอนเครดิตเป็นครั้งแรกในปีที่แล้ว จำนวนมากกว่า 10 ล้านคาร์บอนเครดิต มูลค่ากว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดอันดับ 1 ใน 60 ประเทศทั่วโลกที่มียอดการค้าคาร์บอนเครดิตสูงสุด

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/vietnam-receives-usd51-5m-from-world-bank-for-carbon-credits/

‘VinFast’ รถไฟฟ้าสัญชาติเวียดนาม รุกหน้าเปิดร้านตัวแทนจำหน่ายแห่งแรกในอินโดนีเซีย

วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติเวียดนาม ประกาศร่วมมือกับบริษัทในท้องถิ่น ‘PT Gallerie Setia Utama’ ในการเปิดร้านตัวแทนจำหน่ายแห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเดป็อก (Depok) จังหวัดชวาตะวันตก โดยร้านตัวแทนจำหน่ายจะเริ่มจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า รุ่น VF5 และ VF e34 ขณะที่บริษัทวินฟาสต์มีแผนที่จะขยายเครือข่ายการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในหัวเมืองใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ นาย Nguyen Duc Thanh รองประธานกรรมการบริหารของบริษัทวินฟาสต์ กล่าวว่าการเปิดตัวตัวแทนจำหน่ายของอินโดนีเซียในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของบริษัทในการนำรถยนต์ไฟฟ้าคุณภาพสูงและการให้บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยมนำเสนอสู่ผู้บริโภค

นอกจากนี้ วินฟาสต์ วางแผนที่จะสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้า มูลค่ากว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นที่ 200 เฮคเตอร์ในเบอกาซี และจะจัดหารถยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวาให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซียและออสเตรเลีย รวมถึงแบตเตอรี่ EV และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า

ที่มา : https://jakartaglobe.id/business/vietnams-vinfast-opens-first-dealer-store-in-indonesia

‘เวียดนาม’ เล็งนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาว 5,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2573

สำนักข่าวเวียดนาม (VNA) รายงานว่าเวียดนามตั้งเป้าที่จะนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาว ประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ (MW) ภายในปี 2573 ตามแผนงานการดำเนินการตามแผนพัฒนาไฟฟ้าแห่งชาติปี 2564-2573 โดยสามารถนำเข้ากำลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 8,000 เมกะวัตต์ ในกรณีที่สภาพเอื้ออำนวยและราคาสมเหตุสมผล ทั้งนี้ กำลังการผลิตรวมของพลังงานลมนอกชายฝั่ง พลังงานลมบนบก และพลังงานชีวมวลในเวียดนามในปี 2573 จะอยู่ที่ 6,000 MW, 21,880 MW และ 1,088 MW ตามลำดับ ในขณะที่พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากขยะ อยู่ที่ 1,182 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา 2,600 เมกะวัตต์

ที่มา : https://english.news.cn/20240403/d1f7f69dabed4dc1928a2e5c403f88bf/c.html

สปป.ลาว ไทย และจีน หารือเส้นทางการบินใหม่เพื่อรองรับเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น

เส้นทางการบินใหม่อยู่ระหว่างการหารือระหว่างไทย จีน และ สปป.ลาว เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด และเพื่อตอบสนองต่อการคาดการณ์ว่าจะมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นอีก 100,000 เที่ยวในน่านฟ้าประเทศไทย สปป.ลาว และจีน โดยเส้นทางคู่ขนานที่นำเสนอนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความแออัดในเส้นทางการบินที่มีอยู่ซึ่งกำหนดโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของลาว แผนเหล่านี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่จะวางตำแหน่งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ความต้องการเดินทางจากจีนมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยจำนวนเที่ยวบินสูงถึงประมาณ 80% ของระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาด โดยอินเดียมองว่าเป็นตลาดที่กำลังเติบโตและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเที่ยวบินเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 900,000 เที่ยวบินในปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 800,000 เที่ยวบินในปี 2566 และภายในปี 2568 ปริมาณเที่ยวบินจะดีดตัวกลับไปสู่ระดับ 1 ล้านเที่ยวบิน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/01/thailand-laos-china-in-talks-for-new-aviation-routes-to-handle-surge-in-flights/

สปป.ลาว เดินหน้าร่างกฎหมายคาร์บอนเครดิต

กรมจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว ร่วมกับพันธมิตรด้านการพัฒนาได้พูดคุยถึงรายละเอียดของพระราชกำหนด รวมถึงกระบวนการในการซื้อและขายคาร์บอนเครดิตในตลาดต่างประเทศ โดยร่างกฎหมายนี้มุ่งเน้นไปที่การคำนวณและรับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ ภาษีเงินได้ ค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อและการขายคาร์บอนเครดิต เจ้าหน้าที่จากกรมการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่า พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ จะส่งเสริมการลงทุนในการลดก๊าซเรือนกระจกและทำให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้รับการจัดการผ่านระบบรวมศูนย์ ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าตลาดคาร์บอนของ สปป.ลาว มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน และจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมและจำหน่ายคาร์บอนเครดิตทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_67_Govtmakes_y24.php