‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำมันพุ่ง 15% เดือน ก.ค.

ราคาน้ำมันในเมียนมา เดือน ก.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 300 จ๊าตต่อลิตร หรือราว 15% หลังจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับทรงตัวมาแล้วในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สถานการณ์ราคาน้ำมันในเมืองมัณฑะเลย์ วันที่ 30 มิ.ย. – 30 ก.ค. พบว่าราคาน้ำมันออกเทน 92 เพิ่มขึ้นจาก 1,990 จ๊าตต่อลิตร ขึ้นมาอยู่ที่ 2,280 จ๊าตต่อลิตร ในขณะที่ราคาน้ำมันออกเทน 95 เพิ่มขึ้นจาก 2,085 จ๊าตต่อลิตร ขึ้นมาอยู่ที่ 2,395 จ๊าตต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจาก 1,975 จ๊าตต่อลิตร ขึ้นมาอยู่ที่ 2,360 จ๊าตต่อลิตร

ที่มา : https://www.mizzima.com/article/myanmar-petrol-prices-15-cent-july

‘ไทย’ หารือทวิภาคีกับเมียนมา

นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้การต้อนรับนาย U Chan Aye ผู้แทนของเมียนมาที่เดินทางมาเยือนที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 ก.ค. เพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ในทุกด้าน โดยทั้งสองประเทศได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการหารืออย่างสม่ำเสมอในทุกระดับ เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ ในขณะที่ด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองประเทศพึงพอใจกับการเติบโตของการค้าทวิภาคีและหารือถึงแนวทางที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ อาทิเช่น การชำระเงินโดยตรงระหว่างสกุลเงินบาท-จั๊ต และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

ที่มา : https://www.nationthailand.com/thailand/general/40029671

‘เมียนมา’ เดือน มิ.ย. นำเข้าปุ๋ย 144,900 ตัน

จากข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าเมียนมานำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 144,900 ตัน มูลค่า 58.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้าปุ๋ยผ่านเส้นทางเดินเรือ 106,900 ตัน และผ่านเส้นทางการค้าชายแดน 38,000 ตัน ทั้งนี้ ปุ๋ยที่นำเข้าผ่านเส้นทางเดินเรือส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน 44,000 ตัน รองลงมาโอมาน ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม รัสเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย สปป.ลาว สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอร์เวย์และจอร์แดน ในขณะที่ปุ๋ยที่นำเข้าผ่านเส้นทางการค้าชายแดนส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน 36,000 ตัน และไทย 2,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-imported-144900-tonnes-of-fertilizer-in-june/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาถั่วดำและถั่วพีเจียนดิ่งลงฮวบ เหตุความต้องการตลาดโลก

ตามข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ค. ของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา (Bayintnaung Commodity Centre) เปิดเผยว่าราคาถั่วเขียวผิวดำ (Black Grams) และราคาถั่วแระ (Pigeon Pea) อยู่ที่ระดับสูงสุด 3.2 ล้านจ๊าดต่อตัน และ 2.3 ล้านจ๊าดต่อตัน ต่อมาราคาถั่วแระและราคาถั่วเขียวผิวดำ ลดลงมาอยู่ที่ 2.97 ล้านจ๊าดต่อตัน และ 2.24 ล้านจ๊าดต่อตันในวันที่ 21 ก.ค. ทั้งนี้ ความต้องการของอินเดียมีความสัมพันธ์อย่างมากกับทิศทางของราคาถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเมียนมา เนื่องจากเป็นผู้ซื้อรายสำคัญของประเทศ อีกทั้ง อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมาจากเมียนมาและอินเดียได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2564 ส่งผลให้อินเดียนำเข้าถั่วเขียวผิวดำ 250,000 ตัน และถั่วแระ 100,000 ตัน เป็นระยะเวลา 5 ปีติดต่อกัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/black-gram-pigeon-pea-prices-plunge-tracking-weak-foreign-demand/#article-title

ระบบการศึกษาในเมียนมา ‘วิกฤต’

คุณ ไศล (Salai) ครูท้องถิ่นในเมียนมา กล่าวว่าหลังจากเกิดความรุนแรงจากเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2564 นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ทิ้งการเรียน และหันมาจับอาวุธ เพื่อสนับสนุนการก่อจราจลระดับรากหญ้า ทั้งนี้ จากรายงานของธนาคารโลก (WB) ระบุว่าเมียนมาเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการสู้รบนองเลือดที่ขยายไปวงกว้าง อีกทั้ง นับตั้งแต่รัฐประหาร มีนักเรียนเพียง 22% ที่ได้เข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดจนเมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่าอัตราการลงทะเบียนเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาของเมียนมา ปรับตัวลดลง 12% ตั้งแต่ปี 2560-2566 แสดงให้เห็นถึงวิกฤตของการเข้าถึงการศึกษาในเมียนมา

ที่มา : https://www.thedailystar.net/news/asia/news/myanmars-education-system-crisis-3373856

‘เมียนมา’ เผยยอดค้าชายแดนชินชเวฮอว์ ทะลุ 291 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่ามูลค่าการค้าชายแดนเมียนมา-จีน ผ่านด่านชายแดนชินชเวฮอว์ ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. จนถึง 7 ก.ค. ในปีงบประมาณ 2566-2564 อยู่ที่ 291.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออก มีมูลค่า 68.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า มีมูลค่า 223.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นราว 266 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วแดง ยางพาราและเนยถั่ว นอกจากนี้ เมียนมาเปิดด่านพรมแดนกับจีน จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ด่านชายแดนมูเซะ (Muse), ด่านลวยเจ (Lweje), ด่านกัมปะติ (Kampaiti), ด่านชีงชเวห่อ (Chin Shwe Haw) และ ด่านกันตุง (Kengtung)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/chinshwehaw-border-trade-value-surpasses-us291-mln-as-of-7-july/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาข้าวพันธุ์ชเวโป ปอว์ ซาน ดันราคาตลาดข้าวพุ่ง

ศูนย์ค้าข้าววาดัน (Wahdan) เปิดเผยข้อมูลวันที่ 17 ก.ค. 2566 ว่าราคาข้าวพันธุ์ชเวโป ปอว์ ซาน (Shwebo Pawsan) หรือข้าวไข่มุกของเมียนมา ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นแตะ 112,000 จ๊าดต่อกระสอบ ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวพันธุ์อื่นๆ เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย อาทิเช่น ราคาพันธุ์ข้าวปอว์ ซาน อยู่ที่ 91,000 – 96,000 จ๊าดต่อกระสอบ และราคาข้าวสารใหม่ อยู่ที่ 89,000 จ๊าดต่อกระสอบ เป็นต้น ทั้งนี้ สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ประกาศที่จะร่วมมือกับโรงสีข้าว ผู้ค้าข้าวและธุรกิจต่างๆ ในการรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวและการควบคุมตลาดข้าวให้มีราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังทำการตรวจสอบผู้ผลิตข่าวเท็จ ข่าวปลอมและข่าวลือที่นำไปเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวล

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/myanmar-exports-over-420kt-of-beans-pulses/

‘เมียนมา’ ส่งออกถั่วและถั่วพัลส์ทะลุ 4 แสนตัน

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าเมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์ (Pulses) ในไตรมาสแรกของปีนี้ อยู่ที่ 424,187 ตัน คิดเป็นมูลค่า 333 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ทั้งนี้ จากข้อมูลทางสถิติตั้งแต่เดือน 1 เม.ย. – 30 มิ.ย.2566 เมียนมาทำการซื้อขายถั่วและถั่วพัลส์ผ่านทางเรือ ประมาณ 369,237 ตัน และผ่านทางชายแดน 54,950 ตัน อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ ระบุว่าการส่งออกถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมาปรับตัวลดลงในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2566-2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ถั่วและถั่วพัลส์นับเป็นพืชที่มีการเพาะปลูกมากเป็นอันดับ 2 ในเมียนมา รองจากข้าว โดยมีสัดส่วน 33% ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/myanmar-exports-over-420kt-of-beans-pulses/

‘เมียนมา’ เผย พ.ค. ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 69,373 คน

กระทรวงการท่องเที่ยวและโรงแรมของเมียนมา เปิดเผยว่าในเดือนพฤษภาคม 2566 นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 69,373 คน เพิ่มขึ้นราว 14,115 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่เดินทางผ่านทางถนน คิดเป็นสัดส่วน 66.6% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด รองลงมาทางอากาศ (33.34%) และทางทะเล (0.05%) นอกจากนี้ จากข้อมูลในปี 2565 พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศเมียนมา อยู่ที่ 233,487 คน

ที่มา : https://english.news.cn/20230715/b7847a6d93c2441798bf3eaadf522f58/c.html

วิกฤตเมียนมาเป็นวาระสำคัญในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 11 กรกฏาคม 2566 กล่าวว่า การประชุมสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดขึ้น 2 วันในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศมีวาระการประชุมเกี่ยวกับพื้นที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์, ปัญหาเมียนมา และจะตามมาด้วยการหารือร่วมกับตัวแทนจากจีน, สหรัฐอเมริกาวอชิงตัน และชาติมหาอำนาจอื่นๆ

ที่มา : https://www.thaipost.net/abroad-news/412234/