9 เดือน เมียนมาส่งออกไปญี่ปุ่น แตะ 694 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – มิ.ย.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แตะระดับ 694.964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เมียนมาได้ดุลการค้า 271.7 964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 966.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกจัดเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดันสามของเมียนมาร์ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้านการนำเข้าจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์เ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) พบว่า ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุน 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเมียนมา ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา อีกทั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ JICA ได้เสนอเงินกู้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ หรือ ODA (Official Development Assistance) เพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-to-japan-top-694-mln-in-nine-months/#article-title

ราคาข้าวเมียนมา พุ่ง 2,800 จัตต่อถุง สูงสุดภายใน 1 เดือน

ราคาข้าวได้เพิ่มขึ้นจาก 800 จัตเป็น 2,800 จัตต่อถุงภายในหนึ่งเดือน เมื่อวันที่ 1 ส.ค.64 ราคาข้าวเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 27,500-42,100 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับคุณภาพและพันธุ์ข้าว ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 29,100—44,900 จัตต่อถุง ในวันที่ 31ส.ค.64 ราคาเริ่มขยับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน นอกจากนี้ ราคาข้าวในปี 63 จะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน ดังนั้นคาดว่าราคาน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูมรสุมของปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ มาตรการควบคุณการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา คาดว่าจะยังคงยืนราคาไปอีกสักระยะหนึ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-rises-by-k2800-per-bag-in-maximum-within-one-month/

LDCs มีความสำคัญในการช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงินยังคงจำเป็นของสปป.ลาว

ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ต้องการความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงิน และความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถเอาชนะความท้าทายที่สำคัญได้นี่เป็นหนึ่งในข้อความที่ส่งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสปป.ลาว Mr Saleumxay Kommasith ในประชุมระดับภูมิภาคระดับสูงของโครงการปฏิบัติการอิสตันบูล (IPoA) สำหรับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม-2 กันยายน  ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ลาวได้รวม IPoA ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อเพิ่มการเติบโตและการลดความยากจน ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการช่วยเหลือการพันธมิตรทำให้หลายปีที่ผ่านเศรษฐกิจสปป.ลาวลาวขยายตัวย่างต่เนื่องและคาดว่าจะสามารถออกจากสถานะ LDC ได้ในปี 2569 ถึงอย่างไรก็ตาม โครงการที่เกิดจาก LDC เพื่อลดความยากจนจะยังคงอยู่เพื่อพัฒนาประเทศต่อไปและเป็นวาระที่รัฐบาลยังคงให้ความสำคัญ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Technical171.php

ราคาเมล็ดกาแฟที่เพิ่มขึ้นและอุปทานที่ไม่เพียงพอในกัมพูชา

ผู้จำหน่ายเมล็ดกาแฟในกัมพูชารายงานถึงราคาเมล็ดกาแฟที่พุ่งสูงขึ้นประมาณร้อยละ 50 ในปีนี้ รวมไปถึงความไม่แน่นอนต่อสถานการณ์การผลิตเมล็ดกาแฟในบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ของโลกที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน โดยทางการกัมพูชาสนับสนุนให้เกษตรกรทดลองเพาะปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ที่มีลักษณะพันธุ์ที่แข็งแกร่งและเติบโตได้ดีในหลายพื้นที่ของกัมพูชา รวมถึงอาจจะเป็นการเพิ่มพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคตให้กับกัมพูชา ซึ่งสถานการณ์การส่งออกกาแฟของกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 54.4 โดยมีปริมาณการส่งออกในปีที่แล้วเพียง 965 ตัน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Tridge ซึ่งเชื่อมโยงผู้ซื้อรายใหญ่ อาทิเช่น Walmart และ Costco กับผู้ขายพืชผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ โดยยอดขายกาแฟในต่างประเทศของกัมพูชายังคงน้อยกว่าเวียดนามที่เป็นผู้ส่งออกเมล็ดกาแฟรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก ซึ่งควบคุมตลาดโลกได้ร้อยละ 6.4 ในปีที่แล้ว โดยส่งออกเมล็ดกาแฟมูลค่ากว่า 1.74 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927112/rising-prices-and-short-supply-present-fresh-opportunities-for-coffee-farmers/

ญี่ปุ่นเร่งกระจายการลงทุนไปยังหลายพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงกัมพูชา

กัมพูชาและญี่ปุ่น เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 22 ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมีสมาชิกภาคเอกชนเข้าร่วมมากกว่า 130 คน โดยจะร่วมหารือมุ่งเน้นไปที่ค่าแรงขั้นต่ำ ภาษี การขนส่ง และการสร้างความเข้าใจต่อห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศกัมพูชามากขึ้น ตามคำแถลงของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ซึ่ง CDC รายงานถึงการอนุมัติโครงการการลงทุนทั้งหมด 145 โครงการ มูลค่ารวม 2.8 พันล้านดอลลาร์ โดยมี 66 โครงการตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นถือเป็นส่วนสำคัญต่อภาคการลงทุนในกัมพูชา สู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตที่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของกัมพูชา เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับภาคธุรกิจในกัมพูชา และถือเป็นการลดความเสี่ยงในภาคธุรกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927114/japanese-investments-to-diversify-economy-praised/

สุพัฒนพงษ์ เตรียมประชุม รมว.เศรษฐกิจอาเซียน ดันแก้อุปสรรคการลงทุน

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม.เมื่อเร็วๆ นี้เห็นชอบร่างกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Facilitation Framework : AIFF) ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของไทย นาย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนของไทยในการรับรองกรอบ AIFF ในการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียนครั้งที่ 24 (ASEAN Economics Ministers-24th ASEAN Investment Area Council Meeting : AEM-24tAA Counail Meeting ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 กันยายน ที่จะถึงนี้ โดยกรอบ AIFF ในครั้งนี้ให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนในฐานะเสาหลักสำคัญของการลงทุนที่นำไปสู่การรักษาและการเติบโตของการลงทุนในประเทศ ผ่านการสร้างบรรยากาศการลงทุนที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนในการจัดตั้ง ดำเนินการ และขยายการลงทุนและธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ภูมิภาคอาเซียนกำลังจะก้าวเข้าสู่สภาพแวดล้อมภายหลังวิกฤติการระบาดของโรคโควิด 19 โดยมุ่งให้อาเซียนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 โดยเน้นที่การลงทุนเพื่อผลักดันให้อาเซียนเป็นฐานการผลิต (ซัพพายเชน) ที่สำคัญของโลก

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/957596

ความกังวลทวีความรุนแรงขึ้นภายหลังกรณีผู้ติดเชื้อโควิดที่แพร่ระบาดในพื้นที่ทั่วประเทศ

กลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ที่บันทึกไว้ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาได้จุดชนวนให้เกิดความกลัวที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชุมชนในเวียงจันทน์และต่างจังหวัด ทำให้ทางการต้องเสริมมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจาย ปัจจุบันสปป.ลาวมีผู้ป่วยโควิด-19 สะสมแล้ว 15,015 ราย หลังจากได้รับการยืนยันผู้ป่วยรายใหม่ 199 รายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สถานการณ์วิด-19 สปป.ลาวอาจไม่ได้รุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแต่ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวค่อนข้างมีความอ่อนแอ ทำให้ยอดจำนวนติดเชื้อดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะรับมือไม่ไหวในระยะยาว ทั้งนี้ประชาชนสปป.มากกว่า 2.4 ล้านคนได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก คิดเป็นร้อยละ 33.3 ของประชากร ขณะที่เกือบ 1.8 ล้านคนได้รับวัคซีน 2 โด๊ส คิดเป็นร้อยละ 24.4 ถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจสำหรับรัฐบาลสปป.ลาว แต่ถึงอย่างไรเห็นได้ชัดว่าการแร่งฉีดวัคซีนเพื่อให้ครอบคลุมที่สุดจะเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาลและจะทำให้สปป.ลาวรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ ถึงกระนั้นในระยะแรกมาตรการที่เข้มงวดเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดอย่างแพร่กระจายและรุนแรง รัฐบาลควรเข้มงวดกับมาตรการและในขณะเดียวกันแผนการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจก็ควรมีอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Concerns_171.php

ภาคการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำในกัมพูชา เร่งปรับตัวใช้พลังงานสะอาด

บริษัท EnergyLab ของกัมพูชา กำลังร่วมมือกับบริษัทในประเทศอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำพลังงานสีเขียวมาปรับใช้กับภาคการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำในกัมพูชา โดย ATEC Biodigesters, Sevea Consulting, CHAMROEUN Microfinance Plc และ People in Need Cambodia กำลังสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าร่วมโปรแกรมที่ถูกเรียกว่า SWITCH to Solar ซึ่งโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงคุณภาพและปริมาณผลผลิต ควบคู่ไปกับการใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน โดยทางด้านโครงการวางแผนที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ MSME ด้านการประมงและเกษตรภายในประเทศสูงถึง 9,000 ราย ภายในสิ้นปี 2024 ร่วมกับซัพพลายเออร์ทางด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในท้องถิ่น 20 ราย ตัวกลางทางการเงิน 15 ราย และสร้างช่องทางการตลาดกว่า 70 ช่องทาง ในการช่วยเหลือ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50926340/aquaculture-sector-helped-to-use-sustainable-clean-energy/

กัมพูชาและเวียดนาม วางแผนเชื่อมทางด่วนระหว่างกัน

กัมพูชาและเวียดนามได้เพิ่มความเป็นไปได้ในการสร้างทางด่วนเชื่อมระหว่างสองประเทศ ณ จุดชายแดน หลังจากที่ทั้งสองประเทศได้หารือกันในประเด็นดังกล่าว โดยกระทรวงได้ขอให้บริษัทจีนผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทางด่วนภายในกัมพูชา ให้ส่งรายงานขั้นสุดท้ายให้กระทรวงตรวจสอบ ซึ่งเร็ว ๆ นี้ทางการเวียดนามจะเริ่มก่อสร้างทางด่วนจากโฮจิมินห์ซิตี้ไปยังประตูชายแดนระหว่างประเทศ เพื่อเชื่อมต่อทางด่วนจากพนมเปญไปยังบาเวต โดยทางการหวังว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมปีนี้ และจะเร่งตรวจสอบการลงนามในสัญญาเงินกู้สัมปทานบนทางด่วนพนมเปญ-บาเวต ในระยะถัดไป และเมื่อรัฐบาลอนุมัติโครงการทางด่วน พนมเปญ-บาเวต แล้วจะถือเป็นทางด่วนแห่งที่ 2 ในกัมพูชา หลังจากที่ก่อนหน้าทางการกัมพูชาได้ก่อสร้างทางด่วนสาย พนมเปญ-สีหนุวิลล์ ที่จะมีความยาวกว่า 109 กิโลเมตร ซึ่งแล้วเสร็จไปแล้วมากกว่าร้อยละ 60

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50926403/cambodia-vietnam-boost-expressway-connection-hopes/

ครม. เห็นชอบแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนหลังโควิด-19 พร้อมแนวปฏิบัติ 5 เสาหลัก

น.ส.ไตรศุลี  ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และถ้อยแถลงข่าวร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนว่าด้วยเรื่องแผนฟื้นฟูฯดังกล่าว พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้การรับรองผลการศึกษาฉบับสุดท้ายของแผนฟื้นฟูฯ และถ้อยแถลงข่าวร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน  โดยผลการศึกษาดังกล่าวประกอบด้วยข้อเสนอแนะและแนวปฏิบัติ 5 เสาหลัก 1.สนับสนุนธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยการฟื้นฟูและการปรับตัว 2.ฟื้นฟูการเดินทางภายในภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ 3.สร้างความมั่นใจในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามหลักการของความยั่งยืนและมีความครอบคลุม 4.นำเสนอรูปแบบใหม่ของการบริการด้านการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนการแข่งขัน 5.สนับสนุนการฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้เร็วในระยะยาว และการเตรียมความพร้อมในภาวะวิกฤติ

ที่มา : https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/38489