ส่งออกเพิ่มดันดัชนีผลผลิตอุตฯ โต 5.12%

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรมเปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนก.ค. 64 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ระดับ 91.41 เพิ่มขึ้น 5.12%เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวด้านเศรษฐกิจของคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปที่มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นภาคการผลิตไทยจึงได้รับอานิสงส์ ส่วนอุตสาหกรรมสำคัญที่ ขยายตัว อาทิ รถยนต์และเครื่องยนต์ขยายตัว 31.49% ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว 19.02% และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ขยายตัว 18.55% เป็นต้น ส่วนการนำเข้าสินค้าทุน ขยายตัว 35.40% ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ รวมถึงการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวสูงถึง 50.11% สะท้อนว่า ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะมีการผลิตเพิ่มขึ้นในเดือนถัดไป

ที่มา: https://www.naewna.com/business/598663

สปป.ลาว สาธารณรัฐเกาหลี ให้คำมั่นกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

สปป.ลาวและสาธารณรัฐเกาหลีมุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ มีการไปเยือนระหว่างกันอย่างต่อเนื่องโดยคณะผู้แทนระดับสูงจากทั้งสองประเทศ แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นระหว่างการประชุมทวิภาคีในกรุงเวียงจันทน์เมื่อวันเสาร์ ระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศลาว Saleumxay Kommasith และ Chung Eui-yong รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเกาหลี ในระหว่างการเจรจารัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีกล่าวว่า “รัฐบาลเกาหลีมีความกระตือรือร้นที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนกับประเทศในอาเซียนรวมถึงสปป.ลาวผ่านการดำเนินการตามนโยบายภายใต้การร่วมมือพหุภาคี” ข้อตกลงดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้าน ICT อุตสาหกรรมและการพาณิชย์ การเกษตรและการพัฒนาเศรษฐกิจ และทรัพย์สินทางปัญญา เกาหลีถือเป็นเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 5 ของสปป.ลาว ด้วยเงินลงทุนสะสมกว่า 790 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และดำเนินการ 299 โครงการ การกระชับความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_ROK_168.php

การก่อสร้างโรงบำบัดน้ำบาเค็งในกัมพูชา แล้วเสร็จแล้วกว่าร้อยละ 38

การประปาส่วนภูมิภาคพนมเปญ (PWSA) กล่าวว่าโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำบาเค็ง เฟสที่ 1 ตอนนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 38 หลังจากเร่งดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการน้ำดื่มที่เพิ่มขึ้นในเมืองพนมเปญและเมืองตาแก้วของจังหวัดกันดาล โดยโครงการประกอบด้วยงานหลัก 4 งาน ได้แก่ โรงบำบัดน้ำ สถานีสูบน้ำ การติดตั้งท่อส่งหลัก และติดตั้งท่อขนาดเล็กใต้แม่น้ำ ซึ่งขณะนี้โรงบำบัดน้ำเสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 10 และการก่อสร้างสถานีสูบน้ำเสร็จสิ้นแล้วร้อยละ 15 ด้านความคืบหน้าของท่อส่งหลักและท่อย่อยในแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ที่ร้อยละ 53 และร้อยละ 30 ตามลำดับ โดยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เฟสที่ 1 มีมูลค่าอยู่ที่ 190 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการก่อสร้างเริ่มดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าจะมีกำลังการผลิตรวม 195,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จภายในปลายปี 2022 ปัจจุบันความต้องการใช้น้ำสะอาดในเมืองหลวงและเมืองตาเขมา มีมากกว่า 700,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ปัจจุบันผลิตน้ำสะอาดเพียง 600,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50924129/bakheng-water-treatment-plant-construction-38-percent-complete/

ผลผลิตทางการเกษตรของกัมพูชา 9 รายการ ถูกยกขึ้นเป็นพืชมูลค่าสูง

รัฐบาลออสเตรเลียได้จัดทำรายการพืชผลมูลค่าสูงของกัมพูชาจำนวน 9 รายการ โดยได้ศึกษาห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรของกัมพูชา-ออสเตรเลีย (CAVAC) ซึ่งผลการศึกษาระบุว่า มะม่วง ถั่วเลนทิล เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริก มันเทศ อะโวคาโด งา น้ำตาลปี๊บ และกล้วยตาก ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ โดยเพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายให้กับเกษตรกร ผู้แปรรูป และผู้ที่มีส่วนได้เสียในภาคการเกษตรของกัมพูชาในการวางแผนการผลิตพืชผล ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาหวังว่าจะเพิ่มความต้องการในตลาดสำคัญๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรป จีน และอาเซียน และหาผู้ซื้อรายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งภาคเกษตรกรรมคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 22 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชา ส่วนการจ้างงานคิดเป็นอย่างน้อยร้อยละ 65 ของประชากรภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50924268/nine-agricultural-products-listed-as-high-value-crops/

‘เวียดนาม’ เผย 8 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการลงทุนในต่างประเทศ พุ่ง 74%

กระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการลงทุนของเวียดนามในต่างประเทศ 575 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 74.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยจำนวนมูลค่า 150.1 ล้านเหรียญสหรัฐเทเข้าไปยังโครงการใหม่ 40 โครงการ คิดเป็น 68.7% ของตัวเลขช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่เงินทุนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นมูลค่า 424.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และอีก 270.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ลงทุนไปยังโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดเป็นสัดส่วน 47.1% ของยอดเงินทุนในต่างประเทศ รองลงมาการค้าปลีกค้าส่ง 150.9 ล้านเหรียญสหรัฐ, เกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง และกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นจุดหมายปลางทางของเงินลงทุน ด้วยมูลค่า 302.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 52.7% ของเงินทุนทั้งหมด รองลงมากัมพูชา สปป.ลาว และแคนาดา

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-overseas-investment-soars-74-percent-in-eight-months/207147.vnp

‘บริษัทเวียดนาม’ ชี้ยังใช้ประโยชย์จากตลาดอาเซียนไม่เต็มที่

แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ว่ายอดการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามและประเทศในอาเซียน ยังคงเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามยังต้องดำเนินการอีกมากเพื่อดึงประโยชน์จากตลาดเพื่อนบ้านให้เต็มที่ การค้าระหว่างเวียดนามกับประเทศอาเซียนในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ แม้จะได้รับผลกระทบของโควิด-19 แต่ตัวเลขการค้ายังคงเพิ่มขึ้น 38.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี ด้วยมูลค่า 40.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ ประชากรรวมกันเกือบ 700 ล้านคน ชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น มีความล้ายคลึงกันทั้งด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ดังนั้นเวียดนามยังมีพื้นที่มากพอที่จะส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคดังกล่าว นอกจากนี้ ประเทศในอาเซียนยังเป็นผู้นำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่อีกด้วย อีกทั้งสินค้าเวียดนามอื่นๆ อีกจำนวนมากที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน ได้แก่ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชา เสื้อผ้าและวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1020310/vietnamese-firms-yet-to-fully-take-advantage-of-asean-markets-experts.html

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมา-อินเดีย พุ่ง 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การค้าระหว่างเมียนมาและอินเดียเพิ่มสูงขึ้นกว่า 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยมูลค่าการค้าชายแดนของเมียนมาแตะ 194 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 20 ส.ค. ของปีงบประมาณนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค.64 แบ่งเป็นการส่งออก 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 1.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การค้าชายแดนส่วนใหญ่ผ่าชายแดน Tamu, Reed และ Thantlang ในขณะที่การค้าของสองประเทศส่วนใหญ่ส่งทางเรือ โดยสินค้าส่งออกหลักๆ จะเป็น ผักและผลไม้ ประมง และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ขณะที่การนำเข้าจะเป็น ยา สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถจักรยานยนต์ เส้นด้าย ฝ้าย เหล็กกล้าไม่เจือ และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-rises-as-of-20-aug/

พาณิชย์ชี้ตลาดสิงคโปร์ หอมมะลิโอกาสสูง-ข้าวกล้องมาแรง

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 64 กรมได้ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงสิงคโปร์ จัดการประชุมหารือกับสมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์ เพื่อผลักดันการส่งออกข้าวไทยไปยังสิงคโปร์ในช่วงที่เหลือของปี 64 นี้ สาเหตุที่สิงคโปร์นำเข้าข้าวจากไทยลดลงมาจากราคามีความผันผวนมาก ผู้นำเข้าบางส่วนจึงหันไปนำเข้าข้าวจากเวียดนามและอินเดียที่มีเสถียรภาพด้านราคา แม้คุณภาพจะด้อยกว่าข้าวไทย แต่ครึ่งปีหลังราคาข้าวไทยคาดจะปรับตัวลดลงโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ นอกจากนี้ ข้าวกล้อง กำลังได้รับความนิยม หลังจากรัฐบาลสิงคโปร์ได้รณรงค์ให้บริโภคข้าวกล้องเพื่อลดอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน คาดว่าครึ่งปีหลังจะมีการนำเข้าข้าวจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา: https://www.naewna.com/business/598361

อาเซียนถกแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ตั้งเป้าชงผู้นำดันอาเซียนสู่ยุคดิจิทัล

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration หรือ HLTF-EI) ครั้งที่ 40 ผ่านระบบประชุมทางไกล ได้ข้อสรุปดันอาเซียนสู่ความเป็นดิจิทัล ชงแผนผู้นำเห็นชอบ ต.ค.นี้ ไทยย้ำการบังคับใช้ความตกลง RCEP ตามแผนเพื่อเร่งขยายการค้า การลงทุน

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000084343

‘เวียดนาม’ กลายเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของห่วงโซ่อุปทานสหรัฐฯ

จากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Dau Tu (Investment) ระบุว่าซีอีโอ 90 คน จากบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เร่งบริจาควัคซีนให้กับเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามเผชิญกับการระบาดของไวรัสที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งจดหมายที่ส่งถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซีอีโอของบริษัทต่างๆ ได้แก่ Adidas, Coach, Gap, Hanesbrands, Nike, VF และ Under Amour ได้เน้นย้ำว่าเวียดนามเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและซัพพลายเชนที่สำคัญของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศผู้ผลิตเสื้อผ้า รองเท้าและอุปกรณ์การเดินทางรายใหญ่อันดับ 2 ของตลาดสหรัฐฯ นอกจากนี้เวียดนามยังเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่สำหรับวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตรองเท้าของสหรัฐฯ และแรงงานสหรัฐฯกว่า 3 ล้านคนเชื่อมโยวผ่านห่วงโซ่คุณค่ากับคนเวียดนามอีกหลายล้านคน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-an-important-link-of-us-supply-chain/206996.vnp