ตลาดไอพีโออาเซียนร้อนแรง ‘ไทยโดดเด่นสุด’

นักวิเคราะห์ต่างแดนมอง ปีนี้ตลาดหุ้นไทยน่าจะทำไอพีโอทุบสถิติ ข้อมูลชี้การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดดเด่นมากในบรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเว็บไซต์ซีเอ็นบีซี รายงานอ้างคำพูดของ เคน ฟง หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดทุนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทวิเคราะห์ดีลลอจิก ระบุ “ไทยกำลังทำได้ดีมาก สานต่อเทรนด์ดีๆ ต่อเนื่องจากปีก่อน” ซึ่งข้อมูลจากดีลลอจิกชี้ว่าขณะนี้ไทยมีการนำหุ้นออกขายต่อสาธารณะครั้งแรก (ไอพีโอ) รวมแล้ว 2.92 พันล้านดอลลาร์ โดยประมาณร้อยละ 70-80 ของการทำไอพีโอเกิดขึ้นจากไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 ของทุกปี

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943792

โครงการฉีดวัคซีนรอบที่ 2 กำลังจะเริ่มขึ้น

หน่วยงานสาธารณสุขกำลังออกโครงการฉีดวัคซีนรอบที่ 2 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ให้กับผู้คนหลายแสนคน โครงการฉีดวัคซีนรอบที่ 2 จะได้วัคซีนไฟเซอร์ 100,620 โดส และวัคซีนซิโนแฟม 500,000 โดส โดยตั้งเป้าจะเริ่มในวันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2564 ข้อมูล ณ วันที่ 12 มิถุนายน ประชาชนประมาณ 712,793 คนได้รับวัคซีนเข็มแรก ขณะที่ 385,921 คนได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 การส่งมอบวัคซีน Sinopharm และ Pfizer ครั้งล่าสุดจะทำให้กับความพยายามของรัฐบาลในการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม 50% ของประชากร (มากกว่า 3 ล้านคน) ภายในสิ้นปีนี้มีประสิทธิภาพและเป็นไปได้ตามเป้าหมาย ถึงอย่างไรเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการไม่มีวัคซีนหรือมีไม่เพียงพอนั้น รัฐบาลสปป.ลาวอนุญาตให้ทางบริษัทเอกชน สามารถนำเข้าวัคซีนเองได้เพื่อนำมาฉีดให้กับพนักงงานของตน ซึ่งถือเป็นอีกทางสำหรับการฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างครอบคลุม เพื่อนำพาประเทศกลับสู่ภาวะปกติและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Round_115.php

อาเซียนเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ เดินหน้าเศรษฐกิจหมุนเวียน

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 2/52 เมื่อวันที่ 8-10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ผ่านระบบประชุมทางไกล เพื่อเร่งรัดการทำงานตามพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) รวมทั้งเตรียมการประชุมหาแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกับประเทศนอกภูมิภาค ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอินเดีย ทั้งนี้ ไฮไลท์ของการประชุมในครั้งนี้คือการหารือประเด็นใหม่ ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนเพิ่มเติมให้เศรษฐกิจอาเซียนฟื้นตัว เช่น 1. การปรับปรุงแนวทางเพื่อส่งเสริมให้สินค้าและบริการของอาเซียน 2. การเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 3. การจัดทำแผนงานระยะสั้นและกลางเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943593

เวียดนามเผยธุรกิจขนส่งในโฮจิมินห์กว่า 170 ราย ต้องออกจากตลาดในช่วง 5 เดือนแรก

จำนวนบริษัทกว่า 171 รายในเมืองโฮจิมินห์ ปิดกิจการชั่วคราวลงในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เนื่องจากประสบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยระลอกแรกนั้นเริ่มเมื่อปลายเดือนมกราคม และระลอกสองเริ่มเมื่อปลายเดือนเมษายน ทำให้ประเทศไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ และด้วยข้อจำกัดการเดินทาง การปิดชายแดนและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่สามารถฟื้นตัวได้ ทั้งนี้ สำนักงานการท่องเที่ยวเมืองโฮจิมินห์ ระบุว่าเมืองโฮจิมินห์ ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศและเป็นสถานที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด สำหรับด้านจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศ พบว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวนนักท่องเที่ยว 7.1 ล้านคน ดิ่งลง 47% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ มีรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 1.54 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 37% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/82535/over-170-travel-firms-in-hcmc-leave-market-in-five-months.html

‘เวียดนาม’ คาดว่าขึ้นเบอร์ 3 ของโลก ส่งออกข้าวปี 65

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) คาดการณ์ว่าเวียดนามจะก้าวขึ้นแท่นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 3 ของโลกในปีหน้า ด้วยปริมาณการส่งออกประมาณ 6.3 ล้านตัน ในขณะที่ ผลผลิตข้าวทั่วโลกตั้งแต่ปี 64-65 มีแนวโน้มแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 505..4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.9 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 63-64 และสิ่งที่น่าจับตามอง ได้แก่ บังกลาเทศ มาเลเซีย กัมพูชา จีน ไอวอรี่โคสต์ เกาหลีใต้ ปารากวัย ไต้หวัน (จีน) และไทย มีแนวโน้มผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ แผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวจนถึงปี 68 และเวียดนามได้ตั้งเป้ายอดส่งออกข้าวราว 5 ล้านตันต่อปี ผู้ส่งออกข้าวเริ่มปรับสัดส่วนพันธุ์ข้าวขาวมาเป็นข้าวหอมคุณภาพสูง ขณะเดียวกัน พร้อมเน้นตลาดระดับบนหรือตลาดไฮเอนด์ อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-lychees-with-origin-tracing-stamp-hit-shelves-in-france-866010.vov

อุตสาหกรรมประกันภัยกัมพูชายังคงเห็นการเติบโตในไตรมาสแรกของปี

ภาคอุตสาหกรรมการประกันภัยของกัมพูชายังคงมีแนวโน้มในเชิงบวก โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 มีอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 16.3 หดตัวลงเล็กน้อยจากร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2020 ซึ่งเบี้ยประกันทั้งหมดสำหรับไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 85 ล้านดอลลาร์ ตามรายงานของสมาคมประกันภัยแห่งกัมพูชา (IAC) โดยรายงานของ IAC ระบุว่าหมวดประกันทั่วไปและประกันชีวิตยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเบี้ยประกันทั่วไปเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 ส่วนเบี้ยประกันชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 แต่ในทางกลับกันประกันภัยรายย่อยกลับหดตัวร้อยละ 27 โดยในไตรมาสแรกของปีนี้มีจำนวนลูกค้าประกันภัยรวมสูงกว่า 1.2 ล้านราย ประกอบด้วยลูกค้าประกันชีวิต 380,000 ราย ผู้ซื้อประกันทั่วไป 510,000 ราย (ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุรายบุคคล) และผู้ถือกรมธรรม์รายย่อย 280,000 ราย ซึ่งปัจจุบันกัมพูชามีบริษัทประกันทั่วไป 16 แห่ง บริษัทประกันชีวิต 11 แห่ง และบริษัทประกันภัยรายย่อย 5 แห่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50874378/cambodias-insurance-sector-growth-continues-through-q12021/

GMAC รายงานถึงโครงการการลงทุนใหม่ในกัมพูชา

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) รายงานเกี่ยวกับโครงการการลงทุนใหม่ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ในภาตอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า หลังจากสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) อนุมัติเมื่อวานนี้ (14 มิ.ย.) รวมมูลค่ากว่า 14.9 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานใหม่ประมาณ 3,200 ตำแหน่ง ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของกัมพูชา ซึ่ง บริษัท J.A.K Garment Co Ltd. จะสร้างโรงงานในเขตจังหวัดกันดาล ด้วยเงินลงทุน 2.4 ล้านดอลลาร์ สร้างตำแหน่งงานใหม่ 1,053 คน บริษัทถัดมาคือ บริษัท Premier Tech Garment (Cambodia) Co Ltd. จะสร้างโรงงานมูลค่า 4.3 ล้านดอลลาร์ ในเขตจังหวัดตาแก้วคาดว่าจะสร้างงานใหม่ 748 ตำแหน่ง และบริษัทสุดท้ายคือ บริษัท Chanco Textiles (Cambodia) Co Ltd. จะสร้างโรงงานในเขตเมืองหลวง โดยคาดว่าจะสร้างงานใหม่ทั้งหมด 424 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50874436/gmac-welcomes-nearly-15mn-of-investment-in-garment-sector/

ปีงบ 63-64 ส่งออกมะม่วงเมียนมา ดิ่งลง เหลือเพียง 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา การส่งออกมะม่วงของเมียนมาร์สร้างรายได้ 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรก (ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม) ของปีงบประมาณ 2563-2564 ลดลงอย่างมากเนื่องจากปิดชายแดนจากผลกระทบด้านลบของ COVID-19 การส่งออกมะม่วงเพชรน้ำหนึ่ง (Seintalone) ไปจีนในปีนี้น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 50% การเพาะปลูกมะม่วงเขตอิรวดีมีพื้นที่มากสุดประมาณ 46,000 เอเคอร์ รองลงมาตือเขตพะโค พื้นที่ 43,000 เอเคอร์ และมัณฑะเลย์มีมะม่วง 29,000 เอเคอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ในการส่งออกนอกเหนือจากจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่แล้ว เมียนมายังส่งออกไปอินเดีย บังคลาเทศ ไทย สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-278-mln-from-mango-exports-in-h1/

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมาลดฮวบ 7.19 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 9 เดือนแรกของปีงบ 63-63 มูลค่าการค้าชายแดนรวม 7.189 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมากกว่า 842 ล้าน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แบ่งเป็นการส่งออกรวม 4.69 พันล้านดอลลาร์ ส่วนดารนำเข้า 2.49 พันล้านดอลลาร์ เมียนมาเปิดค่ายการค้าชายแดน 18 ด่าน ปริมาณการค้าที่การค้าชายแดนมูเซ จีน-เมียนมามีมูลค่ารวม 3.66 พันล้านดอลลาร์ ลดลงกว่า 567 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ การเกษตร สัตว์ ทะเล ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ การนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์ CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-border-trade-value-hits-7-19-bln-in-2020-2021fy/#article-title

รัฐสปป.ลาวลงนามร่วมทุนเอกชน ตั้งบริษัทพัฒนาโลจิสติกส์สปป.ลาว

รัฐบาลสปป.ลาวลงนามข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัท ท่าเรือแห้งท่าแขก จำกัด ซึ่งจะพัฒนา “ท่าเรือแห้งท่าแขก” ให้เป็นเส้นสู่การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจุดผ่านแดนคำม่วนและสนับสนุนให้สปป.ลาวกลายเป็นศูนย์บริการโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคและระดับสากล ท่าเรือแห้งท่าแขกจะเป็นศูนย์กลางในการบริการด้านลอจิสติกส์ที่ทันสมัยและครบวงจร และจะมีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการขนส่ง ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสปป.ลาวสามารถแข่งขันในตลาดโลกและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างเต็มที่ การพัฒนา “ท่าเรือแห้งท่าแขก” เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเรื่อง “การพัฒนาการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในประเทศสปป.ลาว” ซึ่งระบุถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาท่าเรือในประเทศลาว และสอดคล้องกับนโยบายของประเทศที่จะเปลี่ยนจากการ “ประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเลสู่ประเทศที่บริการขนส่งทางบกระดับภูมิภาคและโลก”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_State_114.php