National Consulting Group ลงนามข้อตกลงโครงการพลังงานแสงอาทิตย์

National Consulting Group Co. , Ltd. ได้ลงนามในข้อตกลงการพัฒนาโครงการกับรัฐบาลกับในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของการเติบโตสีเขียวและการพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานสะอาด หลังจากการศึกษาความเป็นไปได้ที่ประสบความสำเร็จซึ่งดำเนินการในแขวงเซกองและจำปาสัก โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับพื้นที่ทั้งหมด 813 เฮกตาร์และจะมีขั้นตอนการพัฒนาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กำลังการผลิต 500MW จะเปิดดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงปี 2566 โดยมีกำลังไฟฟ้าปีละ 739 GWh บนพื้นที่ 720 เฮกตาร์ในอำเภอละมัมแขวงเซกองด้วยเงินลงทุนรวม 332.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_National69.php

รัฐมนตรีฯกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา มองมุมบวกหลังเกิดการแพร่ระบาด

กัมพูชายังมองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นโอกาสสำหรับการปฏิรูปเพิ่มเติมตามแผนยุทธศาสตร์ Rectangular Strategy Phase IIII ของรัฐบาล เพื่อเร่งการเติบโตของประเทศและกระตุ้นการค้า กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะที่เป็นประธานในการเปิดการทบทวนงานของกระทรวงในปี 2020 และการวางแผนสำหรับปี 2021 ซึ่งมองว่ากัมพูชาสามารถคว้าโอกาสในการเพิ่มการผลิตภายในท้องถิ่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่ ตามที่รัฐมนตรีกล่าวว่าการส่งออกของกัมพูชาในปี 2020 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 หลังประเทศได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ชี้ให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการด้านการส่งออกของประเทศไปยังกลุ่มประเทศที่ได้ทำการลงนามข้อตกลงเบื้องต้นไว้แล้ว ในขณะเดียวกันกระทรวงยังคงเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่เพื่อรับมือกับความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมถึงการปฏิรูประบบการทำงานของหน่วยงานราชการที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50835111/minister-picks-a-positive-side-of-the-pandemic/

กัมพูชาวางแผนตั้งศูนย์การค้าภายในประเทศจีน

กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการเพื่อจัดตั้งศูนย์การค้าเพิ่มเติมในจีน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสินค้าที่ผลิตภายในกัมพูชาและส่งเสริมการส่งออกของประเทศไปยังจีน ซึ่งกระทรวงกล่าวว่าจะมีการจัดตั้งศูนย์การค้าอีกอย่างน้อย 5 แห่ง ในประเทศจีน ทำให้จำนวนศูนย์การค้าของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็น 11 แห่ง จากเดิมที่ดำเนินการในปัจจุบันอยู่แล้ว 6 แห่ง โดยการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่จากทั้งสองประเทศตั้งความหวังไว้สูงมากในการส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชา (CCC) กล่าวว่านักธุรกิจจะมีโอกาสมากขึ้นจากการที่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาได้ง่ายขึ้น ซึ่งจากข้อมูลสถิติแสดงให้เห็นว่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนในปี 2020 ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50835069/more-trade-centers-planned-for-china/

อาเซียนเล็งดัน ‘ข้าว-อาหาร’ ขึ้นบัญชีสินค้าจำเป็น

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อรมน ทรัพย์ทวีธรรม ระบุ สมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการขยายบัญชีสินค้าจำเป็นเพิ่มเติมจากยาและเวชภัณฑ์ ที่เคยมีมติให้สมาชิกลดอุปสรรคการค้า และงดใช้มาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อไม่ให้มีข้อจำกัดด้านการไหลเวียนของสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงโควิด-19 ล่าสุดเห็นควรให้มีการเพิ่มรายการสินค้าจำเป็น เช่น ข้าว สินค้าเกษตร และอาหาร เพราะเป็นกลุ่มมีความจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ หากมีอุปสรรคในการค้าขายจะไม่เป็นผลดีต่ออาเซียน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/931258

ค้าชายแดนระนอง‘คึก’ ‘เมียนมา’ติดหล่มวิกฤติ เร่งสั่งสินค้าทะลัก

การค้าชายแดนไทย-เมียนมาด้านจังหวัดระนอง ที่ขนส่งกันทางเรือ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาซบเซาลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากสงครามการค้า ต่อด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายหลังคุมการแพร่ระบาดได้ ทำให้การค้าชายแดนด้านจังหวัดระนองเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2563 กระทั่งเกิดเหตุรัฐประหารในเมียนมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลายเป็นวิกฤติรุนแรงยืดเยื้อ ที่หลายฝ่ายวิตกว่าจะกระทบถึงการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ทั้งนี้ นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วิกฤติการเมืองในประเทศเมียนมา และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ไม่กระทบต่อบรรยากาศการค้าชายแดนด้านระนอง แต่กลับส่งผลให้มีความคึกคักมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. 2564 ที่ผ่านมา พบว่าสถานการณ์ในเมียนมามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ประท้วงมีการยกระดับการชุมนุม โดยเฉพาะการนัดหยุดงานในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น สินค้าในเมียนมาเกือบทุกรายการมีการปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันพืชและข้าวสาร ที่ปรับขึ้นถึง 20-30%

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/474656

เวียดนามเผยไตรมาสแรก ยอดส่งออกผักผลไม้กลับมาดีขึ้น

สำนักงานการค้าต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่ายอดการส่งออกผักและผลไม้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ อยู่ที่ 944 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จีนยังคงเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่า 352.83 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการซื้อผักและผลไม้ของเวียดนามตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.พ. ซึ่งมูลค่าดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 62.5% ของยอดการส่งออกสินค้าทั้งหมด ทั้งนี้ ในเดือนมี.ค. เวียดนามส่งออกผักและผลไม้ไปต่างประเทศ อยู่ที่ 380 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี และคาดว่ารายได้จากการส่งออกผัก ผลไม้จะพุ่งขึ้นแตะ 8-10 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากสินค้าแปรรูปที่มีสัดส่วน 30% ของมูลค่าทั้งหมด ภายในปี 2573

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-vegetable-exports-bounce-back-in-q1/199657.vnp

‘SCG’ ตั้งเป้าให้ความสำคัญกับตลาดเวียดนามสูงสุด อีกไม่กี่ปีข้างหน้า

Nikkei Asian เผยบทสัมภาษณ์ของคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่าประเทศเวียดนามเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญของธุรกิจ “อีกไม่กี่ปีข้างหน้า” ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7% ถึงแม้ว่ารายได้จะปรับตัวลดลง แต่คาดว่าธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวมากกว่ากลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้เริ่มขยายธุรกิจในภูมิภาค โดยเวียดนามเป็นศูนย์กลางเชิงกลยุทธ์ในปี 2535 จนถึงในไตรมาสแรกของปี 2560 บริษัทมีแหล่งปฏิบัติการ 22 แห่งในเวียดนาม และมีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมากกว่า 8,600 คน ดังนั้น บริษัทได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความสนใจและมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาคนเวียดนามให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เมื่อถามถึงประเด็นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 พบว่า“สำหรับธุรกิจของ SCG บางส่วนได้รับผลกระทบและบางส่วนไม่ได้รับผลกระทบมากนัก” จำนวนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยอดขายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ล้วนลดลง ตลอดจนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่มีสัดส่วนของยอดขายมากที่สุดของบริษัท ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากโควิด-19 ทำให้ผู้คนไม่มั่นใจว่ารายได้เพียงพอ การซื้อบ้านและคอนโดมีเนียมเกิดหยุดชะงักลง

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-is-top-priority-for-siam-cement-in-coming-years-ceo-30185.html

สปป.ลาว-เวียดนามปฏิญาณกระชับความสัมพันธ์ความเป็นปึกแผ่นพิเศษ

ประธานาธิบดีสปป.ลาว Mr.Thongloun Sisoulith ได้ให้คำมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Mr.Nguyen Xuan Phuc ประธานาธิบดีแห่งรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ของเวียดนามเพื่อยกระดับความสัมพันธ์การร่วมมือและความเป็นปึกแผ่นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น หลายปีมานี้เวียดนามได้ให้การสนับสนุนต่อสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือของเวียดนามในการฟื้นฟูสปป.ลาวจากภัยพิบัติ รวมถึงการช่วยสปป.ลาวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ท่ามกลางวิกฤตการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและโลก เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งที่สปป.ลาวมีการพึ่งพาทั้งด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งเวียดนามเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับสามในสปป.ลาวรองจากจีนและไทยในปี 2563 มูลค่าลงทุนจากเวียดนามทั้งหมด 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการค้ามีมูลค่าอยู่ที่ 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosViet_68.php

กัมพูชาเรียกร้องจีนสนับสนุนการนำเข้าข้าวสารเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) กล่าวว่ามีแผนที่จะเจรจาปัญหากับคู่ค้าของจีนในปีนี้ สำหรับการขอความสนับสนุนให้จีนเพิ่มโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาเป็น 500,000 ตัน ซึ่งกำหนดเดิมจีนกำหนดโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาไว้ที่ 400,000 ตัน โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ซึ่งการส่งออกข้าวของกัมพูชาในไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 153,688 ตัน สร้างรายได้ 109.73 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขรายงานจาก CRF แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวในปี 2021 อยู่ในทิศทางที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว ส่งผลให้เดือนมีนาคมปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50834638/cambodia-wants-china-to-boost-milled-rice-imports/

กัมพูชาส่งออกข้าวไตรมาส 1 สร้างรายได้กว่า 110 ล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกข้าวสารในไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 153,688 ตัน สร้างรายได้รวมกว่า 109.73 ล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขรายงานโดยสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการส่งออกข้าวในเดือนมีนาคม 2021 กำลังค่อยๆฟื้นตัว โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นจาก 41,949 ตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ 77,466 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งไตรมาสแรกของปี 2021 เป็นช่วงที่กัมพูชาทำการส่งออกข้าวต่ำที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดย CRF กล่าวว่าสาเหตุหลักที่ทำให้การส่งมอบสินค้าไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศล่าช้าโดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการส่งออกข้าว ที่ส่งผลทำให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ 5 ปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50834560/cambodia-generates-almost-110-million-from-milled-rice-exports-in-q1/