ราคาน้ำมันปาล์มเมียนมาพุ่งเป็น 8,000 จัต แม้ ตรึงราคาอยู่ที่ 5,725 จัต

รายงานอุตสาหกรรมอาหารทอดในเมียนมา เผย แม้ว่าราคาน้ำมันปาล์มจะตรึงไว้ที่ 5,727 จัต แต่ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคต้องซื้อยังพุ่งไปถึง 8,000 จัต ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาประกาศว่าผู้ที่ขึ้นราคาโดยไม่เป็นธรรมจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยราคา FOB ณ ตลาดย่างกุ้ง ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.ถึง 5 มิ.ย.65 อยู่ที่ 5,725 จัต แต่ราคาที่ซื้อขายจริงอยู่ที่ 8,000 จัต ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงต้องลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้กระทรวงยังต้องควบคุมราคาน้ำมันปาล์มในประเทศเพื่อให้เป็นธรรมและสอดคล้องกับราคาตลาดโลก และต้องจับตาราคา FOB น้ำมันปาล์มของมาเลเซียและอินโดนีเซียที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกอย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-price-up-by-k8000-despite-fixed-price-at-k5725/

พริกไทยมีแนวโน้มราคาพุ่ง ! จากผลผลิตที่ลดฮวบลง

นาย U Hla Han พ่อค้าซื้อขายพริกไทยจากพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ตลาดบุเรงนอง เปิดเผยว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา การปลูกพริกไทยในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีราคาพุ่งสูงขึ้น โดยเกษตรกรได้ให้ข้อมูลว่าเนื่องจากมีฝนตกหนักและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตจึงอาจลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง อีกทั้งมีเกษตรกรเพียง 10% เท่านั้นที่สามารถซื้อปุ๋ยได้ เนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนปุ๋ย โดยเมื่อปีก่อนราคาปุ๋ยอยู่ที่ 40,000 จัตต่อถุง และราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 200,000 จัตต่อบาร์เรล ในปีนี้ ราคาปุ๋ยพุ่งขึ้นเป็น 90,000 จัตต่อปุ๋ย 1 ถุง และราคาน้ำมันดีเซลพุ่งขึ้นเป็น 500,000 จัตต่อบาร์เรล ทั้งนี้คาดว่า ราคาพริกไทยในปีนี้อาจพุ่งสูงเกือบ 2 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pepper-price-may-rise-due-to-drop-in-its-yield/#article-title

ค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ พุ่ง 2.863 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งรัฐยะไข่ เผย เดือนเม.ย. 2565 มูลค่าการค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ 2 แห่ง ทั้งที่ท่าเรือชเวมิงกันในซิตต์เวย์และท่าเรือกันยินชวงในเมืองหม่องตออยู่ที่ 2.863 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย 51% ของสินค้าส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ประมงมูลค่า 1.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีเพียง 0.3% นอกจากสินค้าประมงแล้วยังส่งออกหัวหอม ขิง ลูกพลัมแห้ง เมล็ดมะขาม ถั่วลันเตา น้ำตาลโตนด ลูกเนียง มะพร้าว ถั่ว มะม่วง พริกแห้ง แยมลูกพลัม และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/us2-863-million-worth-of-trade-volume-handled-on-myanmar-bangladesh-border/

 

GDP เมียนมา โดยได้แรงหนุนจากภาคบริการถึง 58%

ระหว่างพิธีเปิดตัวแว็บไซต์เวอร์ชันใหม่ของ Services Trade and Investment Portal-STIP ที่จัดขึ้น ณ กรุงเนปยีดอ เมื่อวานนี้ (25 พ.ค.2565) โดย Dr. Pwint San รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา กล่าวว่า GDP ของประเทศมาจากการค้าบริการคิดเป็นร้อยละ 58 และรั้งอันดับ 4 ของประเทศอาเซียนในปี 2562  ซึ่ง  STIP Web Portal เป็นเว็บไซต์ที่เสนอกฎหมาย กฎและข้อบังคับของของการค้าบริการ และการบังคับใช้ตามพันธสัญญาของเขตการค้าเสรี ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ซึ่งการค้าและการบริการมีบทบาทสำคัญในเมียนมาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-gets-58-of-gdp-growth-from-services-trade/

ยอดจำหน่ายข้าวสาลีในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผู้ค้าธัญพืชและถั่ว เผย ทุกวันนี้ข้าวสาลีเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดมัณฑะเลย์ ทำให้ราคายังพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยราคาเมื่อเดือน ม.ค.65 ที่ผ่านมาราคาอยู่ที่ 90,000 จัตต่อถุง (สามตะกร้า) แต่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาราคาพุ่งขึ้นเป็น 125,000 จัตต่อถุง ซึ่งข้าวสาลีเป็นพืชที่นิยมบริโภคสูงเป็นอันดับ 2 ในประเทศรองจากข้าว โดยปกติแล้วเมียนมาจะอาศัยการนำเข้าเป็นหลัก เพื่อเป็นการลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ผู้ค้าข้าวสาลีจึงแนะนำให้เกษตรเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูกให้มากขึ้นและปรับปรุงกระบวนการการผลิต เพราะการบริโภคข้าวสาลีในประเทศก็เพิ่มขึ้นทุกปีและกลายเป็นพืชผลสำคัญชนิดหนึ่งหนึ่งของประเทศ ทั้งนี้ เมียนมาสามารถปลูกข้าวสาลีได้ปีละครั้ง และพบได้ทั่วไปในรัฐฉานทางตอนใต้และตอนเหนือ รัฐชิน และรัฐกะยา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-market-sees-brisk-sales-of-wheat-crops/#article-title

กัมพูชา-เมียนมา เร่งเจรจาข้อตกลงทางการค้า 2 ฉบับ

เมียนมาและกัมพูชาเร่งการเจรจาร่างข้อตกลง 2 ฉบับ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางด้านการค้า โดย Pan Sorasak รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน ภายใต้กรอบระดับภูมิภาคและทวิภาคีที่มุ่งเพิ่มปริมาณการค้าและส่งเสริมการฟื้นทางเศรษฐกิจ ซึ่ง Aung Naing Oo รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเมียนมา เห็นด้วยกับความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น หลังเห็นถึงความสำคัญของข้อตกลงที่ผ่านมา โดยเฉพาะครั้งล่าสุดของกัมพูชาที่ได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งการเจรจาร่างข้อตกลงการลงทุน กัมพูชา-เมียนมา และข้อตกลงการยกเว้นภาษีระหว่างสองประเทศกำลังอยู่ในกระบวนการ โดยปริมาณการนำเข้าและส่งออกของกัมพูชาไปยังเมียนมาร์ในปี 2020 อยู่ที่ 24.93 ล้านดอลลาร์ และ 3.27 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจากปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501081773/myanmar-cambodia-expedite-talks-on-two-trade-cooperation-deals/

เดือนเม.ย.66 ของงบฯ 65-66 เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาทะลุ! 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการบริษัทแห่งการบริหารการลงทุนและบริษัท (DICA)  เปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย. 2565 เมียนมามีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเกือบ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการลงทุนของจีน 2.782 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยไต้หวัน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฮ่องกง 1.215 ล้านดอลลาร์ และประเทศอื่นๆ รวมเป็น 5.997 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในช่วงหกเดือนของงบประมาณย่อยปี  2564-2565 พบว่าประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมา คือ สิงคโปร์ 297.349 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามด้วย จีน 142.137 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ฮ่องกง  109.140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,  เกาหลีใต้ 62.693 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ใต้หวัน 8.641 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนไทย 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฯลฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us6-mln-foreign-investment-flows-in-april-this-2022-2023fy/

หนี้สินเพื่อการเกษตรของมัณฑะเลย์ จากปี 57 ถึง 63 เหลือเพียง 987.10 ล้านจัต !

จากข้อมูลของธนาคารพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (เขตมัณฑะเลย์) ชาวนาจาก 23 เมืองของเขตมัณฑะเลย์ มียอดหนี้กู้เพื่อการเกษตรในช่วงมรสุมตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2563 เหลือยอดหนี้ 987.10 ล้านจัต  จากยอดกู้รวมทั้งสิ้น  590,572.33 ล้านจัต โดยสามารถเก็บยอดชำระหนี้ได้ถึงร้อยละ  99.83 จากยอดหนี้ทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคาร ซึ่งก่อนนี้จะที่ 8% แต่สำหรับเกษตรกรที่เคยกู้ยืมเงินจะลดลงเหลือ 5% ทั้งนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (เขตมัณฑะเลย์) ยังเผยด้วยว่า อัตราดอกเบี้ยแบบ Two Step Loan ของ Myanma Economic Bank (MEB) จะลดลงจากปัจจุบัน 9% เป็น 6.5%

ที่มา: https://news-eleven.com/article/231181

 

ราคาลูกตาลในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่งขึ้น !

ราคาลูกตาล ในปีนี้พุ่งสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ท่ามกลางจำนวนต้นตาลลดลงและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งลูกตาลเป็นผลไม้ตามฤดูกาลในจังหวัดเมะทีลา เขตมัณฑะเลย์ แต่ข้องเผชิญกับค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นเพื่อส่งไปยังตลาดมัณฑะเลย์ ราคาจึงพุ่งขึ้นถึง 50%  ในปีนี้ ราคาลูกตาล อยู่ที่ 1,000 จัตต่อลูกตาลจำนวน 10 ลูก ขณะที่ในปีที่แล้ว ราคาลูกตาล1,000 จัตจะได้ลูกตาล 6 ลูก ทั้งนี้ชาวเมียนมานิยมบริโภคลูกตาลเพราะมีรสชาติที่อร่อยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/seasonal-ice-apple-fetches-good-price-in-mandalay-market/#article-title

เม.ย.65 ส่งออกเมียนมา พุ่งขึ้น 9.4%

เมื่อวันพุธที่ 18 พ.ค.2565 กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ได้เผยตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 1.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสินค้าส่งออกที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น อาทิเช่น สินค้าเกษตรและสัตว์ แร่ธาตุ และสินค้าอุตสาหกรรม โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ จีน ไทย บังคลาเทศ และอินเดีย ทั้งนี้สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา ได้แก่ สินค้าเกษตร สัตว์และผลิตภัณฑ์จากทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรม

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20220518/0ff1ca49a0a543ba9e87c1c228fa6194/c.html