“เวียดนาม-ไทย” มุ่งมั่นกระชับความร่วมมือทางการค้า

สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยที่นครโฮจิมินห์ เป็นเจ้าภาพในงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้า ณ วันที่ 14 กรกฎาคม เพื่อหาช่องทางแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคและโอกาสสำคัญในการยกระดับความร่วมมือระหว่างไทยกับเวียดนาม ทั้งนี้ คุณสภาพร สุขมาก ผู้อำนวยการสำนักงานการค้าในต่างประเทศที่นครโฮจิมินห์ กล่าวว่าสำนักงานฯ ได้จัดงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้าผ่านทางออนไลน์และโดยตรง เพื่อให้การสนับสนุนแก่บริษัทต่างๆ ในขณะที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ยังคงมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ สภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจระหว่างไทยกับเวียดนาม อีกทั้ง คุณศรัณยา สกลธนารักษ์ ประธานสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนาม กล่าวว่าในฐานะสมาชิกของอาเซียน ไทยและเวียดนามควรส่งเสริมความหลากหลายทางเศรษฐกิจในหลายด้านด้วยกัน เพื่อที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นและสร้างซัพพลายเชนทั่วภูมิภาค เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่จะกลายเป็นประตูสำคัญสู่อาเซียน รวมถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน การลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-thailand-strive-to-intensify-trade-exchange-activities-416087.vov

พื้นที่นอกกริดเมียนมามีโอกาสได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

ประชาชนในเขตชนบทของเมียนมากว่า 450,000 คน คาดหวังจะได้ใช้ไฟฟ้าตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลและธนาคารโลก โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะระดมทุนร่วมกัน 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่รอบนอก การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปรับปรุงวิถีชีวิตและมาตรฐานการครองชีพของคนในชนบท ในปัจจุบันประชากรกว่าครึ่งไม่สามารถเข้าถึงกริดแห่งชาติและมากกว่าสองในสามของครัวเรือนในพื้นที่ชนบทที่ประชากรส่วนใหญ่ต้องอาศัยเทียน น้ำมันก๊าด แบตเตอรี่และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล เงินทุนดังกล่าวมาจากบริษัทต่างๆ ไปยังผู้ค้าปลีกสู่ผู้บริโภคและจะช่วยในการผลิตจัดจำหน่ายและจำหน่ายสินค้าในชนบทที่มีคุณภาพ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/grid-areas-myanmar-enjoy-solar-power.html

จีดีพีเมียนมาโต 6% ในปีหน้า

ประชุมร่วมรัฐสภา ( Pyidaungsu Hluttaw) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา U Set Aung รองรัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการคลังคาดเศรษฐกิจจะขยายตัว 6% ในปีงบประมาณ 2563-2564  ตามร่างพระราชบัญญัติการวางแผนแห่งชาติ จีดีพีของประเทศคาดจะสูงถึง 125.8 ล้านล้านจัตและรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีคาดว่าจะมากกว่า 2.2 ล้านจัต เมื่อเทียบปีงบประมาณ 2562-2563 อยู่ที่ 2 ล้านจัตใน และปี 2561-2562 อยู่ที่ 1.9 ล้านจัต โดยภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการถือเป็นรายได้หลักของจีดีพี ซึ่งคาดว่าจะเติบโตที่ 2.6%, 6.5% และ 7.4% ตามลำดับ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-gdp-grow-6-next-year.html

ธนาคารโลกและพันธมิตรมอบเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่สปป.ลาวในการควบคุม COVID-19

กระทรวงสาธารณสุขธนาคารโลกและสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย เยอรมนีและญี่ปุ่นมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านศูนย์อำนวยการฉุกเฉินโรคระบาด (PEF) เพื่อสนับสนุนการตอบสนองของลาวต่อ COVID-19 ดร. Bounkong Syhavong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า “รัฐบาลสปป.ลาวกำลังใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อจัดการกับการระบาดของ COVID-19 การสนับสนุนจากพันธมิตรจะช่วยให้สปป.ลาวผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างดี” เงินช่วยเหลือจะถูกส่งตรงไปยังองค์การยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก PEF โดยเงินทุนร้อยละ 80 จากกองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ซึ่งจะดำเนินการจัดหาเงินทุนและการส่งมอบวัคซีนเพื่อให้แน่ใจว่าบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นจะดำเนินต่อไป อีกร้อยละ 20 จะไปที่องค์การอนามัยโลกโดยตรงเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านสุขภาพของสปป.ลาวในการตอบสนอง COVID-19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Worldbank135.php

กัมพูชาเก็บภาษีได้ 1.6 พันล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020

กรมจัดเก็บภาษีทั่วไป (GDT) เก็บรายได้จากภาษีคิดเป็นจำนวน 6,820.48 พันล้านเรียล (ประมาณ 1,684 ล้านดอลลาร์) ในช่วงแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรายได้ซึ่งแบ่งโดย GDT ที่สรุปได้นั้นเท่ากับร้อยละ 59 ของเป้าหมายในปี 2020 ตามรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ที่ออกหลังการประชุม ซึ่งการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีที่มาจากสองแหล่งหลักคือภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และร้อยละ 23 เป็น 1,385.06 พันล้านเรียล (336 ล้านดอลลาร์) และ 2,710.18 พันล้านเรียล (657 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ ด้วยการเติบโตของรายได้จากภาษี ผู้อำนวยการของ GDT กล่าวว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายการปฏิรูปในเชิงลึกของรัฐบาลผ่านมาตรการที่สำคัญรวมถึงการเสริมสร้างและการจัดการการปฏิรูปภาษี ของการจัดเก็บภาษีและอื่นๆร่วมด้วย โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะรวบรวมรายได้จากภาษี 11,543 ล้าน Riel (2,885 ล้านดอลลาร์) ในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744480/cambodia-collected-1-6-billion-in-tax-revenue/

ธนาคารกลางกัมพูชาประกาศถึงสินเชื่อภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) รายงานถึงสินเชื่อประเภทเช่าซื้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42.6 สู่ระดับ 330.3 ล้านดอลลาร์ โดยมี 110,479 บัญชีทำการกู้ยืมในช่วงระหว่างครึ่งแรกของปี 2563 โดยสถาบันการเงินรายย่อย (MFI) กัมพูชามองว่าส่วนใหญ่ของการปล่อยกู้ยังมีเสถียรภาพ แต่สินเชื่อด้อยคุณภาพในธุรกิจลีสซิ่งยังคงต้องจับตามองจากการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของ NPL ซึ่งในเดือนธันวาคม 2019 LOLC มีลูกค้า 41,000 ราย ที่มีสินเชื่อลิสซิ่ง คิดเป็นจำนวน 103 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2563 พอร์ตสินเชื่อของลีสซิ่งยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2562 โดยส่วนใหญ่จากมากจากสินเชื่อเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซด์ รถยนต์ รถแทรกเตอร์และรถสามล้อ ซึ่งรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายอุปกรณ์การเกษตรของ RMA กัมพูชาซึ่งให้บริการด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและรถแทรกเตอร์ภายใต้แบรนด์ John Deere กล่าวว่าปัจจุบันลูกค้าของ RMA ประมาณ 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์กำลังใช้บริการสินเชื่อจากธนาคาร และ MFIs เพื่อทำการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วยอดขายลดลงประมาณร้อยละ 15 จากผลกระทบของ COVID-19 ด้านธนาคารกลางกัมพูชากล่าวว่าได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการดูแลภาพรวมของธนาคารและสถาบันการเงินภายในประเทศ ให้มีเสถียรภาพมากที่สุดในช่วงของการระบาดใหญ่ในครั้งนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744333/the-central-bank-announces-big-jump-in-financial-leasing-credit/

ครม.เห็นชอบแถลงการณ์ร่วม รมต.อาเซียน-จีนเสริมสร้างการขนส่งสู้โควิด-กระตุ้นศก.

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ราบรื่นเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 และการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้ รมว.คมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโควิด-19 ด้วยระบบการประชุมทางไกล ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 16 ก.ค.นี้ แถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าวแสดงออกถึงความมุ่งมั่นระหว่างอาเซียนและจีนในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก การเดินทางและการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการผลิต การค้าปลีก การคมนาคม และการบริการด้านอื่นๆ รวมทั้งห่วงโซ่อุปทานและตลาดการเงินหยุดชะงัก สาระสำคัญ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ไม่ให้เกิดอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าที่จำเป็นข้ามพรมแดน รวมถึงอาหาร ยาและเวชภัณฑ์สำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสินค้าและบริการอื่นๆ อำนวยความสะดวกในการเข้า ออก และผ่าน ของวัสดุและสินค้า ให้ความสำคัญต่อการเดินเรืออย่างปลอดภัย ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสข้ามพรมแดน และลดความเสี่ยงของกลุ่มที่นำเชื้อโรคเข้าประเทศ รวมทั้ง อาเซียนและจีน จะอำนวยความสะดวกในการเตรียมการเดินทางโดยค่อย ๆ ลดข้อจำกัดด้านการเดินทางแต่ยังคงเคารพซึ่งการป้องกันสุขภาพ โดยอาเซียนและจีนเห็นพ้องถึงความสำคัญที่จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างความปลอดภัยด้านสาธารณสุขและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/news/2020-b451b842b5809ae67c3bef48c86fe410

สปป.ลาว-เวียดนามร่วมมือเพื่อช่วยธุรกิจในสปป.ลาว

สปป.ลาวและเวียดนามได้รับอนุญาตให้เริ่มต้นเส้นทางการบินใหม่ระหว่างประเทศในขณะเดียวกันได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศเวียดนามเหงียนบาหังเป็นประธานการสัมมนาชุมชนธุรกิจชาวเวียดนามที่อยู่ในลาวเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม โดยมีจุดประสงค์ในการหารือแนวทางแก้ปัญหาอุปสรรคที่ธุรกิจเผชิญจากการระบาดของโรค COVID-19 ในที่ประชุมยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน การแบ่งปันข้อมูลที่หลากหลายและประสบการณ์โดยละเอียดในหมู่ชุมชนธุรกิจในช่วงเวลานี้ นอกจากนี้ธุรกิจต้องเริ่มปลี่ยนวิธีการจัดการกิจกรรมทางธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 รวมถึงตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต สำหรับระยะกลางและระยะยาวที่สปป.ลาวจะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งตามทางเดินเหนือ – ใต้และตะวันออก – ตะวันตกเสร็จสิน เพื่อเชื่อมต่อจีน สปป.ลาว เวียดนามและไทยจะเปิดโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ มากมายซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นวางรากฐานที่แข็งแกร่งของภาคธุรกิจ เพื่อความสามารถด้านการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/mutual-support-needed-to-help-vietnamese-firms-in-laos-remove-hurdles-416010.vov

นักลงทุนชาวเวียดนามในสปป.ลาวหารือถึงมาตรการรับมือกับ COVID-19

เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศเวียดนามกล่าวในการประชุมร่วมกับสมาคมธุรกิจเวียดนามเพื่อความร่วมมือและการลงทุนในประเทศสปป.ลาว (BACI) เมื่อวันอาทิตย์ที่เวียงจันทน์ เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการรับมือกับการระบาดของ COVID-19 ซึ่งเศรษฐกิจสปป.ลาวชะลอตัวลงด้วยความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะอันเนื่องมาจากผลกระทบของไวรัส อีกทั้งรัฐบาลสปป.ลาวได้ใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อกระตุ้นการลงทุนการผลิตและธุรกิจเพื่อสนับสนุน บริษัทต่างๆ ประเทศกำลังเร่งปฏิรูปและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนต่างประเทศธุรกิจการเงินและการธนาคาร นอกจากนี้โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญบางโครงการเกือบจะแล้วเสร็จ การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานจะสร้างโอกาสที่สำคัญสำหรับองค์กรต่างๆกระตุ้นให้บริษัทเวียดนามเตรียมพร้อมที่จะรับโอกาสดังกล่าว อีกทั้งยังเรียกร้องให้บริษัทเวียดนามในสปป.ลาวปรับปรุงรูปแบบการจัดการองค์กรและใช้โซลูชันออนไลน์เพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และพัฒนาแผนการลงทุนและการผลิตหลังการระบาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเวียดนามมีโครงการในสปป.ลาว 413 โครงการด้วยทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 4.22 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/749526/vietnamese-investors-in-laos-discuss-measures-to-cope-with-covid-19.html

กัมพูชามองหาแหล่งเงินกู้ต่างประเทศเพื่อกระตุ้นการเติบทางเศรษฐกิจ

กัมพูชากำลังมองหาแหล่งเงินกู้อื่น ๆ เช่นจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และพันธมิตร รวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารโลก เพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เพื่อสร้างสมดุลหนี้สินในระบบเศรษฐกิจ โดยฮิโรชิซูซูกิประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของสถาบันวิจัยธุรกิจแห่งกัมพูชา (BRIC) กล่าวว่าสัดส่วนหนี้คงค้างจากจีนอยู่ที่ร้อยละ 47.48 จากสถิติหนี้สาธารณะของกัมพูชา ซึ่งรายงานจาก MEF ณ ปี 2562 หนี้สาธารณะของกัมพูชาอยู่ที่ 7.6 พันล้านดอลลาร์ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นอยู่ที่เพียงร้อยละ 0.01 ต่อปีและครบกำหนด 40 ปีตามรายงาน ซึ่ง ADB เพิ่งอนุมัติเงินกู้ 250 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชาในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับธุรกิจ โดยกัมพูชาเก็บภาษีได้ 6 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นกว่า 1.485 พันล้านดอลลาร์จากเป้าหมายของรัฐบาลที่ 4.56 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาดังกล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744111/widening-foreign-debt-sources-to-boost-economic-growth/