สปป.ลาวขยายการ Lockdown ไปอีก 14 วัน

มาตราการ Lockdown ในเมืองต่างๆของสปป.ลาว รัฐบาลมองถึงความสำคัญของความต่อเนื่องของการป้องกันการแพร่ระบาดทำให้มีมติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ขยายเวลาเพิ่มเติมจากเดิมวันที่ 1-19 เมษายนให้เพิ่มจากเดิมไปอีก 14 วัน เพื่อความต่อเนื่องของการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสถึงแพร่ยอดผู้ติดเชื้อของสปป.ลาวอาจไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศรอบๆอย่างไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฯลฯ แต่รัฐบาลต้องการให้การแพร่ระบาดหยุดให้เร็วที่สุดเพราะหากปัญหาดังกล่าวกิยเวลานานจะส่งต่อระบบเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เพราะในปัจจุบันภาคการท่องเที่ยว การผลิตและธุรกิจ sme  ล้วนแล้วได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ออกนโยบายเพื่อบรรเทาความยากลำบากของประชาชนและภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนจ่ายภาษีออกไป 3 เดือน หรือมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ ท้ายที่สุดรัฐบาลสปป.ลาวเชื้อเป็นอย่างยิ่งหากประชาชนให้ความร่วมมือเราจะผ่านสถาการณ์ที่เลวร้ายนี้ไปได้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_extends_80.php

ราคาส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

ราคาข้าวหอมมะลิส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในเดือนที่แล้วจาก 50 เหรียญสหรัฐสู่ 100 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันตัน ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) อย่างไรก็ตามราคาซื้อขายข้าวขาวในประเทศยังคงทรงตัว โดยเลขาธิการ CRF อธิบายถึงความไม่เท่ากันของราคาส่งออกที่พุ่งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการปิดชายแดนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 หลายประเทศทำให้การขนส่งสินค้ารวมถึงข้าวทำได้ยากขึ้นและสิ่งนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า ดีมานด์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันเนื่องจากจุดหมายปลายทางที่ทำการส่งออกไปมีสต็อคของสินค้าที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งความต้องการดังกล่าวยังเห็นว่าราคาข้าวหอมมะลิกัมพูชา (Malys Angkor) เพิ่มขึ้น 70 เหรียญสหรัฐเป็น 950 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน ปัจจุบันกัมพูชาได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวหอมเท่านั้นเนื่องจากได้ราคาที่สูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาสั่งห้ามการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่ามีสต็อกเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการภายในประเทศผ่านช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50713246/price-of-exported-rice-doubles/

กัมพูชาไม่มีแผนรับมือในด้านการปรับลดค่าไฟฟ้าทั่วประเทศ

แม้จะมีการลดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับคนงานในโรงงานที่ถูกระงับเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่การไฟฟ้าแห่งกัมพูชา (EAC) หน่วยงานอิสระของทางภาครัฐที่รับผิดชอบในการจัดการและบริหารด้านพลังงานไฟฟ้าในประเทศกล่าวว่า แผนทั่วไปสำหรับการลดค่าไฟฟ้ายังไม่ได้รับการยกขึ้นมาพิจารณา โดยปัจจุบันราคาไฟฟ้าจะถูกเรียกเก็บในระดับที่เลื่อนจาก 380 riel ($ 0.095) ต่อ kWh สำหรับผู้ที่ใช้น้อยกว่า 10 kWh ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นถึง 480 riel ต่อ kWh สำหรับการใช้ไฟฟ้าระหว่าง 11 kWh ถึง 50 kWh ต่อ เดือน. หากพลังงานที่ใช้ลงทะเบียนระหว่าง 51 ถึง 200 kWh ในช่วงเวลาเดียวกันจะถูกเรียกเก็บที่ 610 riel ต่อ kWh โดยมี 730 riel ต่อ kWh สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าในการใช้งานที่มากกว่า 200 kWh ต่อเดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50713248/no-plan-to-reduce-electricity-bills-nationwide/

‘จีน-ไทย’ เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา ป้องกันการแพร่ระบาด

“จีน-ไทย” เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา วางกลไกเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีจีนร่วมการประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) วาระพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบทางไกล เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 14 เม.ย.63 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 1.นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้กล่าวถึงการเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันในอนาคต โดยต้องดำเนินการเพื่อเอาชนะโควิด-19 ให้ได้โดยเร็ว ซึ่งนอกจากจะคุกคามต่อสุขภาพและชีวิตของผู้คนแล้ว ยังทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการหดตัวของอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงเกิดความผันผวนในตลาดการเงินและการค้า ตลอดจนการลงทุนที่ซบเซา ดังนั้น อาเซียนและประเทศคู่เจรจาบวกสามจึงควรแก้ไขปัญหาวิกฤติร่วมกัน โดยวางกลไกการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินสำหรับต่อสู้กับโรคระบาด และเพิ่มบทบาทในเชิงบวกของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อสู้กับการแพร่ระบาดร่วมกัน และช่วยเหลือกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นในภูมิภาค

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876140

รัฐบาลสปป.ลาวออกมาตรการยกเว้นภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19

เศรษฐกิจสปป.ลาวคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวร้อยละ 6.1 ในปีนี้จากก่อนหน้านี้ที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตร้อยละ 6.5 ในปีนี้ ซึ่งมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19ในปัจจุบันถึงแม้สปป.ลาวจะพบผู้ติดเชื้อเพียง 19 คนเท่านั้นในขณะนี้ แต่เศรษฐกิจกลับพบว่ามีผลกระทบเชิงลบอย่างมากโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว การก่อสร้างและการผลิตทำให้รัฐบาลต้องมีการออกมาตราเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยมีการออกมาตราการยกเว้นการจ่ายภาษีเป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ทั้งในส่วนภาษีของธุรกิจและภาษีเงินได้ส่วนบุคคลมาตราการดังกล่าวจะช่วยให้กระแสเงินสดของภาคธุรกิจมีมากขึ้นเพื่อนำไปหมุนเวียนในธุรกิจเพื่อรักษาธุรกิจให้รอดในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะภาคธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม SME มีมากถึงร้อยละ 90ของธุรกิจที่จดทะเบียนในสปป.ลาวหากเกิดปัญหามีการปิดตัวไปหรือล้มละลาย จะทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงรวมถึงแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลตระหนักจึงทำให้มีการยกเว้นภาษีขึ้นมาเพื่อรักษาระบบเศรษฐกิจในขณะนี้

ที่มา : https://www.aseanbriefing.com/news/laos-issues-tax-relief-measures-mitigate-covid-19-impact/

“ผู้นำอาเซียน” เปิดประชุมทางไกล เน้นย้ำ “ร่วมมือ-คุมโรค-รักษาการค้า” ทางรอดโควิด-19

การประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ “โควิด-19” ในวันนี้ (14 เม.ย.) โดยมีนายกรัฐมนตรี เหวียน ชวน ฟุก แห่งเวียดนาม ในฐานะประธานอาเซียน เป็นผู้นำการประชุม โดยผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูล เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศ และมาตรการที่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อควบคุมโรคระบาดและบรรเทาผลกระทบ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษครั้งนี้ ยังมีการประชุมอาเซียน+3 ซึ่งร่วมการประชุมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัจจุบันและประสบการณ์การในการรับมือกับโรคระบาดของแต่ละประเทศอีกด้วย

ที่มา : https://www.prachachat.net/world-news/news-449394

ยอดลงทุนในเขตอุตสาหกรรมส่งออกแปรรูปของนครโฮจิมินห์ พุ่ง 86%

จากข้อมูลของเขตอุตสาหกรรมการส่งออกนครโฮจิมินห์ (HEPZA) กล่าวว่าเงินลงทุนมูลค่า 117 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86 เมื่อเทียบกับปีก่อน และมูลค่าเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) 66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.58 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งจำนวน 11 โครงการ FDI มีเงินทุนจดทะเบียนมากกว่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในจำนวนนั้น เงินลงทุนภายในประเทศ 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ การลงทุนส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมดังกล่าวมาจากแหล่งเงินทุนในประเทศและโครงการต่างชาติที่มีแผนจะเพิ่มเงินทุน แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 นั้น คาดว่าจะยากลำบาก เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 นอกจากนี้ สำนักงานสถิตินครโฮจิมินห์ ระบุว่าในวันที่ 20 มีนาคม เมืองได้ดึงดูดเงินทุนจากต่างชาติมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/investment-in-hcm-citys-export-processing-industrial-zones-up-86-percent/171709.vnp

ผู้เชี่ยวชาญเผยหน้ากาก,ชุดป้องกันที่จะส่งออกต้องได้มาตรฐานสหภาพยุโรป

สำนักงานการค้าเวียดนามในเบลเยียม กล่าวว่าผู้ประกอบการที่จะส่งออกหน้ากากและชุดป้องกันไปยังสหภาพยุโรป ควรจะให้ความสำคัญเรื่องข้อกำหนดมาตรฐานของแต่ละสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งผลิตภัณฑ์ต้องได้รับเครื่องหมาย CE บ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีมาตรฐานที่จะขายแก่ยุโรป สามารถค้นหามาตรฐานแต่ละประเทศในยุโรป : https://standards.cen.eu ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีการผลิตหน้ากากและชุดป้องกันมากขึ้น รวมถึงการหาพันธมิตรทางการค้าเพื่อจะส่งออกไปยังสหภาพยุโรป อีกทั้ง ผู้ประกอบการควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานหน้ากากและชุดป้องกันทางการแพทย์ จากเว็บไซต์ : https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/IP_20_502 หรือ https://www.centexbel.be/en?utm_source=zalo&utm_medium=zalo&utm_campaign=zalo&zarsrc=30

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mask-protective-clothing-exporters-must-meet-eu-standards-authority/171699.vnp

เขตซะไกง์ประกาศเคอร์ฟิว 10:00 น. ถึง 04:00 น.

ประชาชนในเขตซะไกง์จะไม่อนุญาตให้ออกจากบ้านระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. แต่อนุญาตให้ออกไปสถานที่สำคัญ เช่น การซื้ออาหารหรือรักษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการป้องกันการระบาดของ COVID-19 ตามเมื่อประกาศ 13 เมษายน 2563 หากละเมิดกฎเหล่านี้จะดำเนินคดีโดยทันที ทั้งนี้ยังไม่ให้ประชาชนฉลองเทศกาลตะจาน (ปีใหม่ของเมียนมา) และหลีกเลี่ยงการชุมนุมโดยไม่มีเหตุผล เขตซะไกง์เป็นหนึ่งในเขตที่มีประชากรแรงงานอพยพสูงสุด ตามรายงานสถานการณ์ของ COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขระหว่างวันที่ 31 มกราคมถึงวันที่ 11 เมษายน 2563 มีแรงงานกว่า 17,000 คนถูกกักตัวจำนวน 6,889 ซึ่งไม่ชัดเจนว่าตัวเลขเหล่านี้รวมถึงผู้ที่ถูกกักกันที่บ้านหรือไม่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sagaing-imposes-10pm-4am-curfew.html

เมียนมาปิดประตูเข้าออกชายแดนบังคลาเทศ

รัฐบาลเมียนมาได้ปิดการเข้าและออกของผู้คนในประตูชายแดนกับบังกลาเทศตั้งแต่วันที่ 13 เมษายนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะบรรเทาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ได้ห้ามการเข้าและออกของผู้คนจากประตูชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย จีน ไทยและสปป.ลาวและเปิดเฉพาะการขนส่งสินค้าเท่านั้น ซึ่งสินค้าระหว่างเมียนมาและบังคลาเทศก็จะดำเนินต่อไปเช่นกัน วันที่ 13 และ 14 เมษายน 2563 เมียนมามีจำนวนผู้ป่วย 62 คนโดยมีผู้เสียชีวิต 4 รายและหายป่วยไปแล้วสองราย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-stops-entry-exit-people-bangladesh-border-gates.html