‘ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย’ ขยายรองรับผู้โดยสาร 100 ล้านคนต่อปี

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย หรือเรียกอีกชื่อว่า “สนามบินฮานอย” จะขยายรองรับผู้โดยสาร 100 ล้านคนต่อปี เพื่อให้มีการพัฒนาพื้นที่รอบสนามบินฮานอยอย่างเหมาะสม และช่วยลดผลกระทบต่อการวางแผนโครงการ โดยรองนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมประชุมกับกระทรวงและหน่วยงานท้องถิ่น ในการหารือเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานและวางแผนของสนามบินนานาชาติดังกล่าว ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมและการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) ร่วมมือกับบริษัท ADPi ที่เป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมสนามบิน ทั้งนี้ การวางแผนจะรองรับผู้โดยสารมากขึ้นนั้น เพื่อต้องการลดการขยายพื้นที่น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่อยู่อาศัย เพื่อให้โครงการได้สภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายการลงทุน ทั้งนี้ ในปี 2561 สนามบินรองรับผู้โดยสารประมาณ 25.9 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งไว้ด้วยจำนวนผู้โดยสาร 13.1 ล้านคน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/noi-bai-airport-to-be-expanded-for-100-million-passengers-per-year-406739.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้เกินกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนตุลาคม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนตุลาคมของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรองประธานสมาคมหัตถกรรมและแปรรูปไม้นครโฮจิมินห์ (Hawa) ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่มีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ที่สูงกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ ประกอบกับรัฐบาลได้ป้องกันการทุจริตว่าด้วยเวียดนามส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ดังนั้น ตลาดส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะสดใส ในช่วงเดือนสุดท้ายของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไม้แปรรูปยังคงต้องตื่นตัวต่อปัญหาการทุจริตในการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้และไม้แปรรูป เพื่อรักษาตลาดสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน ทั้งนี้ ในปี 2561 การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม คิดเป็นมูลค่าราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/wood-and-wood-product-exports-exceed-1-billion-usd-in-october-406728.vov

บริษัทเริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตการเกษตรในรัฐฉาน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา AEG Agriculture ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมมือกันในการลงทุนกับรัฐฉาน ถือเป็นการเริ่มต้นในการให้บริการเทคโนโลยีแก่การเกษตรในท้องถิ่น ด้วยการใช้ระบบความแม่นยำที่ชาญฉลาด HydroPlant ที่จะให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสภาพอากาศ สภาพดิน และรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูก ระบบอัจฉริยะนี้นำเสนอข้อมูลที่เกษตรกรต้องการผ่านสมาร์ทโฟนรวมถึงระบบควบคุมอัตโนมัติ AEG Agriculture ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ 5,000 ไร่ในรัฐฉานด้วยความช่วยเหลือจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งสามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา HydroPlant ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในห้าเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการ Cohort 3 ของ Phandeeyar Accelerator สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นและเติบโตเทคโนโลยีใหม่ๆ ของเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/firms-use-technology-optimise-agriculture-yields-shan.html

รัฐฉานต้องการการลงทุนเพิ่มในภาคการเกษตร

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) เรียกร้องให้มีการลงทุนในประเทศและต่างประเทศมากขึ้นในภาคเกษตรของรัฐฉาน เพราะเป็นรัฐที่มีศักยภาพที่ดีสำหรับธุรกิจการเกษตร แหมาะแก่การพัฒนาในด้านการเกษตร ปศุสัตว์และภาคอุตสาหกรรม เป้าหมายคือเป็นภูมิภาคที่จัดหาสินค้าเกษตรสำหรับตลาดในและต่างประเทศ ปัจจุบันมีผลผลิตอย่าง กาแฟ ใบเมี่ยง ข้าวโพด เนย และผัก ซึ่งสินค้าเกษตรมีจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นและส่งออก กาแฟส่งออกไปยังอเมริกา ยุโรป และเอเชีย พืชชนิดอื่น ๆ จะส่งออกไปจีนเป็นหลัก รัฐฉานมีสภาพอากาศเหมาะสมสำหรับธุรกิจการเกษตร และมีที่ตั้งใกล้กับไทยและจีนนั้นเป็นข้อได้เปรียบในการกระจายสินค้า ความท้าทายคือ ขาดเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีเพาะปลูกแบบดั้งเดิม รัฐบาลกำลังเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน อีกทั้งยังแนะนำโครงการลงทุนของรัฐฉาน (2563-2573) และโครงการพัฒนาการเกษตรระยะสั้น ส่วนความขัดแย้งในบางพื้นที่อาจเป็นเรื่องท้าทายของรัฐบาลที่กำลังหาทางแก้ไข การลงทุนส่วนใหญ่มาจากธุรกิจท้องถิ่น รัฐบาลมีแผนที่จะจัดตั้งเขตเกษตรกรรมและเศรษฐกิจใน Hopone โดยร่วมมือกับเขตปกครองตนเอง Hopone และเขตเศรษฐกิจชายแดนเมียนมา – จีนทางตอนเหนือของรัฐฉาน จากสถิติบริษัทต่างชาติได้ลงทุนในรัฐฉานตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2560 มีมูลค่ามากกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-state-seeking-more-investors-agricultural-sector.html

ผู้นำกลุ่มแม่น้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลีได้ชื่นชมผลของความร่วมมือที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

วันที่ 27 พย. มีการประชุมสุดยอดแม่น้ำโขง-สาธารณเกาหลีครั้งที่ 1 ที่กรุงปูซานในการประชุมครั้งนี้เป็นการยกระดับความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงเป็นเวทีในการกำหนดแผนในอนาคตสำหรับกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง – สาธารณรัฐเกาหลีเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแม่น้ำโขง โดย 3 โครงการที่กำลังดำเนินการในลาวปัจจุบันมีเป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนสปป.ลาวและเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการบูรณาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจสถาบันและการเปิดกว้างเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งทั้ง 3โครงการได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง – สาธารณรัฐเกาหลีโดยในปี 61เกาหลีได้ให้เงินสมทบเพิ่ม 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 62 อีก 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเร่งการเติบโตในในภูมิภาคแม่น้ำโขง ภายในงานยังมีการกล่าวปฏิญญาของผู้นำในกลุ่มโดยระบุถึงแผนความร่วมมือใน 7 ด้านเพื่อการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สันติภาพของสปป.ลาวรวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อสาธารณรัฐเกาหลีอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_259.php

กฎหมายภาพยนตร์ใหม่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์: รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของสปป.ลาวจะได้รับการส่งเสริมที่สำคัญในไม่กี่ปีข้างหน้าหลังจากการแนะนำกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์ตามที่รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว หนึ่งในผลลัพธ์ที่สำคัญที่กระทรวงคาดหวังจากกฎหมายคือสปป.ลาวและผู้สร้างภาพยนตร์นานาชาติจะได้รับการสนับสนุนให้ผลิตภาพยนตร์ในสปป.ลาวมากขึ้นด้วยกฎที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เนื้อหารายละเอียดของกฎหมายจะเป็นแหล่งอ้างอิงที่มีประโยชน์สำหรับผู้ผลิตภาพยนตร์ นอกเหนือจากการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ กฎหมายใหม่จะให้แนวทางที่ชัดเจนขึ้นสำหรับผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์ และจะทำให้ผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์เรียนรู้จากประชาคมระหว่างประเทศ เกี่ยวกับวิธีการควบคุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างมีประสิทธิภาพ ในการร่างกฎหมายกระทรวงได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลกระบวนการและเสริมว่าคณะกรรมการศึกษาเนื้อหาของกฎหมายที่คล้ายกันในประเทศเพื่อนบ้านก่อนที่จะร่าง นอกจากนี้คณะกรรมการจัดประชุมกับผู้แทนของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เพื่อหารือเกี่ยวกับเนื้อหาเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับนโยบายของรัฐและกฎหมายอื่น ๆ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_film_259.php

การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนของกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้โควตาของปีที่แล้ว

ซีอีโอของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท (RDB) กล่าวว่า Cofco ผู้ผลิตและผู้ค้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของจีนยังไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อใดๆ สำหรับข้าวสารที่ผลิตในกัมพูชาในปี 2562 โดยโควตาสำหรับปี 2562 อยู่ที่ 400,000 ตัน ซึ่งผู้ส่งออกข้าวในประเทศบางรายกำลังพยายามส่งข้าวไปยังประเทศจีนตามโควตาสำหรับปี 2018 ที่ 300,000 ตัน โดยจีนได้ให้คำมั่นที่จะซื้อข้าว 400,000 ตันจากกัมพูชาในปีนี้ ซึ่งคำปฏิญาณดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคมระหว่างการประชุมที่ปักกิ่งระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและประธานาธิบดีจีนจินผิงโดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมปีนี้กัมพูชาส่งข้าวสารจำนวน 184,844 ตัน ไปยังประเทศจีน คิดเป็น 40% ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของกัมพูชาที่ 457,940 ตัน เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากข้อมูลของ SOWS-REF สหภาพยุโรปเป็นผู้ซื้อข้าวกัมพูชารายใหญ่เป็นอันดับสองโดยซื้อข้าวสารจำนวน 155,950 ตัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคมเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานแสดงให้เห็นว่า 83 บริษัท ส่งออกข้าวกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศรวมทั้ง บริษัท Baitang (Kampuchea) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664440/rice-exports-to-china-still-under-last-years-quota-crf/

การรวมกลุ่มกว่า 100 บริษัทจากทั้งกัมพูชาและเวียดนาม

บริษัท จากกัมพูชาและเวียดนามกว่า 100 รายเริ่มสร้างเครือข่ายทางธุรกิจครั้งแรกจัดขึ้นโดยชมรมธุรกิจเวียดนามแห่งกัมพูชา (VBCC) ซึ่งงานนี้จัดขึ้นที่สถานเอกอัครราชทูตเวียดนามในกรุงพนมเปญ โดยเป็นการรวมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของทั้งสองประเทศมารวมตัวกัน โดย Farax (กัมพูชา), Ws Asia Pacific, Cargo, Angkor Milk และ MekongNet เป็นหนึ่งใน บริษัท ของกัมพูชาที่เข้าร่วมการประชุม ด้านเวียดนามมี Metfone, Cargoteam, BMB Steel และธนาคาร เช่น Sacombank, Agribank และธนาคารเพื่อการลงทุนและพัฒนากัมพูชา (BIDC) นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจากจังหวัด An Giang ของเวียดนาม ซึ่งเชื่อว่าธุรกิจจากทั้งสองประเทศได้รับประโยชน์จากการรวมตัวกันในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนชาวเวียดนามและ SMEs ในการค้นพบศักยภาพของตลาดกัมพูชา  ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ซึ่งปัจจุบันเวียดนามเป็นหนึ่งในคู่ค้าและนักลงทุนที่สำคัญที่สุดของกัมพูชา ซึ่งมีบริษัทจากเวียดนามกว่า 200 บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664448/event-draws-100-firms-from-vietnam-cambodia/

อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จับงานฉลองเปิดแฟรนไชส์สาขาแรกที่เวียดนาม

บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ILM ผู้นำธุรกิจร้านค้าปลีกของตกแต่งบ้านครบวงจรในประเทศไทย ร่วมมือกับ VI Funiture Joint Stock Company ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม Vietnam Investment Group (VIG Group) ผู้ประกอบการชั้นนำในธุรกิจค้าปลีกแห่งเวียดนาม  นำโดย Mr.David Do, VIG Managing Director ฉลองเปิดให้บริการอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ร้านแฟรนไชส์สาขาแรกอย่างเป็นทางการ รูปแบบสแตนด์อโลน มีพื้นที่ 990 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนถนน.Nguyen Thi Minh Khai เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นถนนสายเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านของผู้บริโภคชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียนและจะส่งผลดีต่อการเพิ่มยอดขายและรายได้จากธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศให้แก่บริษัทฯ จากปัจจุบันที่ขยาย แฟรนไชส์แล้วใน 8 ประเทศ (รวมเวียดนาม)

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3071345

โครงการสัมมนาส่งเสริมการค้าเวียดนาม-กานา

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ระบุว่างานสัมมนาส่งเสริมการค้าในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยนำคณะผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประเทศกานาเข้ามาเยี่ยมชม ซึ่งจุดประสงค์ของกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการทำธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการเวียดนามกับกานา ให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศกานาถือว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ด้วยรายได้ต่อหัวมากกว่า 2,316 เหรียญสหรัฐต่อปี ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจากตัวเลขสถิติการค้าเวียดนามกับกานา ในปี 2561 อยู่ที่ 572.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังประเทศกานา ได้แก่ ข้าว เครื่องใช้ในครัวเรือน และเหล็กกล้า เป็นต้น ขณะที่ เวียดนามนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และไม้ เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/business-seminar-to-promote-vietnam-ghana-trade-406676.vov