ก.ล.ต. นำเสนอการระดมทุนหนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการประชุมผู้บริหารระดับสูง ณ OECD กรุงปารีส

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้นำเสนอบทบาทของภาครัฐและ ก.ล.ต. ในการสนับสนุนการระดมทุนที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable financing) ในการประชุมที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เรื่องโอกาสของการระดมทุนแบบยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ในหัวข้อบทบาทของผู้กำหนดนโยบาย ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ เลขาธิการ ก.ล.ต. นำเสนอแนวทางการสนับสนุน sustainable financing ทั้งในยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาตลาดทุน ปัจจัยสำเร็จทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งการพัฒนา ecosystem ความท้าทาย ความคาดหวังของสาธารณะ และความร่วมมือโดยเฉพาะในกรอบตลาดทุนอาเซียน ซึ่งที่ประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum : ACMF) ครั้งที่ 31 ที่ ก.ล.ต. ไทยเป็นเจ้าภาพ ได้เห็นชอบการจัดทำ Roadmap for ASEAN Sustainable Capital Markets นอกจากนี้ ได้นำเสนอความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการดำเนินการของ ก.ล.ต. และร่างแผน ก.ล.ต. ปี 2563 – 2565 ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

ที่มา : https://thaipublica.org/2019/10/oecd-sec-sustainable-financing/

“ภาคเอกชน”แรงขับเคลื่อนหลักของระบบเศรษฐกิจ

จากการประชุมที่จัดขึ้นโดยสถาบัน Central Institute for Economic Management (CIEM) ณ วันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่าเศรษฐกิจมหภาคยังคงมีเสถียรภาพ, อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ขยายตัวได้ดี โดยสาขาอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจ ส่วนภาคการค้าระหว่างประเทศนั้น เวียดนามเกินดุลการค้าประมาณ 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2561 ในส่วนของสาขาการส่งออกและการนำเข้านั้น บริษัทลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่ ภาคเอกชนเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจเวียดนาม อย่างไรตาม เวียกนามต้องเผชิญกับความท้าทายของเศรษฐกิจชุมชน และคาดว่าสาขาอุตสาหกรรมเหมืองแร่จะเป็นภัยคุกคามต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ทางสถาบันฯ แนะนำให้ปฏิรูปเศรษฐกิจมหภาค การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำธุรกิจ และควรให้ความสำคัญกับคุณภาพสินเชื่อ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/private-sector-main-driving-force-for-economic-growth-405492.vov

ไต้หวันเป็นผู้บริโภคกุ้งรายสำคัญในเวียดนาม

จากรายงานสถิติของศูนย์การค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าเวียดนามเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ อันดับ 2 ของบรรดาซัพพลายเออร์ทั่วโลก ไปยังตลาดไต้หวัน (จีน) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 โดยมูลค่าการส่งออกกุ้งไปยังไต้หวันอยู่ที่ 41.9 ล้านเหรียญหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าขยายตัวได้ดีที่สุด เนื่องมาจากผู้บริโภคชาวไต้หวันนิยมกุ้งกุลาดำแช่แย็นแช่แข็ง ราคาอยู่ที่ 6-8 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ สินค้าสัตว์น้ำประเภทอื่นๆ ต่างได้รับความนิยมเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการส่งออกกุ้งอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก แต่เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังไต้หวันนั้น ไม่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามที่คาดหวังไว้ เป็นผลมาจากอัตราภาษีที่สูงขึ้นร้อยละ 20 รวมไปถึงกฎระเบียบที่เข็มงวดในด้านความปลอดภัยของอาหารและมาตรฐานสุขอนามัย

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/taiwan-emerges-as-largest-consumer-of-vietnamese-shrimp-405481.vov

ทศวรรษหน้า ขนส่งสาธารณะย่างกุ้งสามารถพึ่งพา YBS ได้

การประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองของ บริษัท ขนส่งสาธารณะย่างกุ้งประจำเมือง (YUPT) การขนส่งสาธารณะในเขตย่างกุ้งสามารถพึ่งพา YBS (Yangon Bus Service) ได้ในทศวรรษหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการไฟฟ้าและการขนส่งทางถนนกล่าวระหว่างการ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา การขนส่งทางรถไฟรอบเมืองสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณหมื่นคนในขณะที่โครงการรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินไม่สามารถดำเนินการได้ มีผู้โดยสารประมาณ 2.5 ล้านคนต้องพึ่งพา YBS แต่อาจจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านคนเพราะต้องไปและกลับจากบ้านของพวกเขา ย่างกุ้งมีรถบัส 100 สาย พร้อมด้วยรถบัสที่จดทะเบียน 6,635 คัน รถโดยสารมากกว่า 4,500 คัน มีผู้โดยสารประมาณ 1.8 ล้านคนต่อวัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-public-transport-can-rely-on-ybs-for-next-decade-minister

MAB หนุนไมโครไฟแนนซ์เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก

Myanmar Apex Bank (MAB) ได้จัดสรรเงิน 57,000 ล้านจัต เพื่อสนับสนุนบริษัทสินเชื่อรายย่อยที่ปล่อยกู้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ขณะนี้ MAB ได้ให้การสนับสนุนกับ Fullerton Finance Myanmar, Proximity Finance Microfinance, Vision Fund Myanmar, Early Dawn Microfinance, and Pact Global Finance Microfinance Fund. บริษัท ไมโครไฟแนนซ์มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในเมียนมา โดยยินดีที่จะให้ธุรกิจขนาดเล็กได้กู้ยืมสินเชื่อเพราะธุรกิจเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสการจ้างงาน MAB ได้จัดตั้งขึ้นในปี 53 มีบทบาทในการสนัยสนุนทุนให้กับ บริษัทไมโครไฟแนนซ์เพื่อสนับสนุนลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก ในอนาคตได้วางแผนจะขยายการระดมทุนการเงินรายย่อยเพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ ธุรกิจขนาดเล็กมียอดกู้มากที่สุด 10 ล้านจัตและหากมีการเติบโตจะต้องการเงินทุนเพื่อขยายตัวของธุรกิจ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/microfinance-firms-get-more-support.html

ADB ให้สินเชื่อใหม่เพื่อการพัฒนา สปป.ลาว

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) จัดหาเงินกู้ใหม่ 3 วงเงินมูลค่า 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรรม การศึกษาและเพื่อการบริหารการเงินสาธารณะ ซึ่งการเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบชลประทาน ถนนในชนบทและการปรับปรุงสภาพโภชนาการในพื้นที่ชนบทจะช่วยเพิ่มผลผลิตในฟาร์มให้การเข้าถึงตลาดที่ดีขึ้นและยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน การให้การสนับสนุนด้านการศึกษาจะช่วยให้สปป.ลาวผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ และการสนับสนุนการปฏิรูปการคลังสาธารณะจะช่วยลดความเปราะบางของประเทศต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมและส่งเสริมภาคสังคม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/adb-provides-new-loans-development-107384

สปป.ลาว-ชิลี ส่งเสริมธุรกิจและความร่วมมือทางการค้า

สปป.ลาวและชิลีมีเป้าหมายที่จะกระชับความร่วมมือทางธุรกิจและการค้า ในระหว่างการประชุมเอกอัครราชทูตชิลีได้แสดงข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงโอกาสทางการค้าและการลงทุนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ประเทศ การค้าทวิภาคีระหว่างสปป.ลาวและชิลีในปี 60 ประสบความสำเร็จ 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ลดลงเหลือประมาณ 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 61 จากเดือนม.ค.ถึงเดือน ก.ค.ปีนี้ถึง 430,000 ดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกหลักของชิลีไปยังสปป.ลาวคือเครื่องจักรแปรรูปหิน และไวน์ ในขณะที่สปป.ลาวส่งออกไปยังชิลี คือ รองเท้า อุปกรณ์กระจายเสียง และชุดสูทผู้ชายที่ไม่ได้ถัก ทั้งสองฝ่ายหวังว่าการต้อนรับอย่างอบอุ่นจะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านธุรกิจและการค้าและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-chile-boost-business-trade-cooperation-107310

บริษัทญี่ปุ่นเข้าถือหุ้นในโรงไฟฟ้าพลังน้ำโพธิ์ซัด

บริษัท ผลิตไฟฟ้าญี่ปุ่น eRex Co Ltd. ประกาศว่าการมีส่วนร่วมในการก่อสร้างและการจัดการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 80 เมกะวัตต์ในจังหวัดโพธิ์ซัด โดยบริษัทในโตเกียวมีแผนที่จะลงทุน 23.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นให้อยู่ในระดับ 34% ในโครงการนี้กับบริษัท Asia Energy Power ประเทศกัมพูชาและ ISDN Energy Pte. Ltd. ซึ่งโครงการนี้กำลังได้รับการพัฒนาโดย SPHP (กัมพูชา) ซึ่งได้รับใบอนุญาตในการสร้างเขื่อน และได้ลงนามในข้อตกลงกับ Electricite Du Cambodge (EDC) ภายใต้ข้อตกลงนี้จะขายไฟฟ้าที่ 7.9 เซนต์ต่อวัตต์ ไปยัง EDC โดยการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 หรือ 2566 โดยรัฐบาลต้องการกระจายการผลิตพลังงานซึ่งตอนนี้ส่วนใหญ่ครอบคลุมด้วยพลังน้ำซึ่งคิดเป็นประมาณ 50% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ไปเมื่อปีที่ และพลังงานแสงอาทิตย์คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของพลังงานทั้งหมดในปี 2018 ซึ่งด้วยกลยุทธ์การกระจายการลงทุนที่หลากหลายของรัฐบาลหวังที่จะยุติการขาดแคลนในด้านพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อประเทศในระยะหลัง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655894/japanese-firm-acquires-stake-at-upcoming-pursat-hydropower-plant/

การสำรวจน้ำมันในลุ่มน้ำกำปงโสมของกัมพูชา

การสำรวจน้ำมันที่ดำเนินการโดย Angkor Resources Corp ที่กำปงโสมได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว โดยได้ทำการเริ่มต้นสำรวจ Block VIII ที่เป็นบล็อกใหม่ ถึงความเป็นไปได้ของพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำมันเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งจากรายงานการสำรวจกว่า 21 ครั้ง โดยตัวอย่างได้ถูกส่งไปยัง Schlumberger Ltd ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการบ่อน้ำมันชั้นนำของโลกเพื่อยืนยันผลการสำรวจ โดยในเดือนสิงหาคมกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานได้รับใบอนุญาตจาก Angkor Resources Corp เพื่อสำรวจน้ำมันและก๊าซผ่าน EnerCam Resources Co Ltd ซึ่งบริษัทเพิ่งได้ระดมทุนอีก 1 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านการเป็นหุ้นส่วน โดยจะนำเงินที่ได้รับไปชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งกัมพูชาจะผลิตน้ำมันในไม่ช้าหลังจากการค้นพบแหล่งน้ำมันสำรองขนาดใหญ่ในอ่าวไทย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655887/oil-exploration-in-kompong-som-basin-off-to-a-promising-start/

CPI ประจำเดือนตุลาคม เพิ่มสูงขึ้นในรอบ 3 ปี

จากแถลงการณ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน นับว่าเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยดัชนีฯ ขยายตัว เป็นผลมาจากอุปทานเนื้อหมูลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกัน, ราคาน้ำมันโลกเพิ่มสูงขึ้น และการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมของการศึกษา เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา และขยายตัวร้อยละ 1.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเฉลี่ย ขยายตัวร้อยละ 1.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cpi-in-october-shows-threeyear-high-rise-405413.vov