รายได้จากศุลกากรของกัมพูชาถึงเป้าหมายก่อนสามเดือนที่กำหนดไว้

ในช่วง 9 เดือนแรกของปีกัมพูชามีรายรับ 2.3 พันล้านดอลลาร์จากการจัดเก็บภาษีและภาษีสรรพสามิตซึ่งเกินเป้าหมายของรัฐบาลตลอดทั้งปีแล้ว 5% โดยหลังจากนี้อีกสามเดือนคาดหวังว่าจะจัดเก็บภาษีได้อีก 800 ล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปี ซึ่งรายได้จากการจัดเก็บจะถูกใช้ไปกับการลงทุนภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามลำดับเพื่อเป็นการลดการพึ่งพารัฐบาลต่างประเทศลง โดยเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีศุลกากรและการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเป็นสัญญาณเชิงบวกที่หมายถึงประเทศกำลังนำเข้ามากขึ้นเพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจในการต่อสู้กับการทุจริตและประสิทธิภาพของความพยายามร่วมกันของทุกหน่วยงาน ซึ่งยังมีช่องว่างมากมายสำหรับการปรับปรุงในเรื่องการจัดเก็บภาษี โดยบริษัท ใหญ่ทุกแห่งจะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันด้านภาษี ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชามีรายรับและภาษีสรรพสามิต 2.5 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับปี 2560

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647257/govt-reaches-customs-revenue-goal-three-months-in-advance/

เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐฯ เปิดเผยว่าเวียดนามมีการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา และเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจของเวียดนามนั้นมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะสามารถขยายตัวร้อยละ 6.8-7 ในปี 2562 รวมไปถึงทางข้อมูลของบริษัทฟิทช์ ระบุว่าในไตรมาสที่ 3/2562 เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ภาครัฐได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินหาโซลูชั่นทางเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชน รวมไปถึงสร้างสภาพแวดล้อมในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20191003/vietnams-gdp-growth-at-9year-high-topping-southeast-asia-govt/51443.html

เวียดนามจัดเก็บอัตราภาษีอากรสูงสุดตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับสินค้าอลูมิเนียมของจีน

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) ได้ประกาศกำหนดอัตราอากรสูงที่สุด เพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมที่มาจากผู้ประกอบการจีน 16 ราย ดังนั้น ทางกระทรวงฯตัดสินใจที่จะเรียกเก็บอากรจากผู้ประกอบการจีน 6 ราย ในอัตราอากรสูงที่สุดร้อยละ 35.58 และอีก 6 รายที่เผชิญกับอัตราอากรร้อยละ 18.16-35.39 และ 2 ราย ที่จะต้องเสียอากรในอัตราร้อยละน้อยกว่า 10 โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ทำการตรวจสอบการนำเข้าอลูมิเนียมจากประเทศจีน ตามกฎระเบียบขององค์การค้าโลก ซึ่งพบว่าในบางกรณี ราคาอลูมิเนียมของจีนต่ำกว่าต้นทุนการผลิตในเวียดนาม ส่งผลให้ผู้ประกอบการในประเทศได้รับความเดือดร้อนหลายปีที่ผ่านมา และทำให้ผู้ประกอบการหลายๆคน ล้มเลิกออกจากกิจการนี้ไป รวมไปถึงต้องไล่พนักงานบางส่วนอีกด้วย นอกจากนี้ ในปี 2561 สหรัฐฯ ได้ทำการตรวจสอบการหลบเลี่ยงการนำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมที่มาจากประเทศเวียดนาม และได้ข้อสรุปว่าผู้ประกอบการบางคน ได้ทำการหลีกเลี่ยงอากรทุ่มตลาดที่สหรัฐฯได้กำหนดไว้กับผลิตภัณฑ์มาจากประเทศจีน ส่งผลให้สหรัฐฯ อาจตอบโต้ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมจากประเทศเวียดนามอย่างจริงจัง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/highest-antidumping-tax-rate-imposed-on-chinese-aluminium-products-404107.vov

เมโทรเมียนมาวางแผนเปิดโชว์รูมสินค้าในมัณฑะเลย์

METRO Wholesale Myanmar บริษัท บริษัทค้าส่งต่างประเทศรายแรกกำลังวางแผนจะเปิดร้ายขายสินค้าในมัณฑะเลย์ ซึ่งร้านขายสินค้าเปิดในย่างกุ้งไปแล้วเมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมาเมโทรเมียนมาร์มีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำตลาดในประเทศที่สามารถช่วยส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรและเศรษฐกิจ ซึ่งให้การบริการด้านโรงแรม ร้านอาหาร ปัจจุบันศูนย์กลางคลังสินค้ามีขนาด 5,800 ตารางเมตรในติวาลา ปัจจุบันลูกค้าทั่วประเทศสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้มากกว่า 2,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นมือถือ โดยสินค้าจะถูกส่งมอบสินค้าโดยรถบรรทุกที่ควบคุมอุณหภูมิของบริษัทโลจิสติกส์

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/metro-wholesale-myanmar-plans-to-open-showroom-in-mandalay

โตโยต้าเมียนมาเริ่มประกอบรถยนต์ในปี 64

บริษัท พัฒนาติวาลาเมียนมา – ญี่ปุ่น (MJTD) ใช้พื้นที่ 21 เฮคเตอร์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา (SEZ) เพื่อสร้างโรงงานประกอบรถยนต์และสามารถเริ่มผลิตรถยนต์ในปี 64 MJTD มีพื้นที่ 2,400 ไร่ใน SEZ มีพื้นที่ 405 เฮคตาร์ในโซน A และโซน B ถูกนำไปใช้โดยบริษัท โตโยต้าจากญี่ปุ่นบนพื้นที่ 21 เฮคเตอร์ ซึ่งจะตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ด้วยทุน 52.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐและประกอบ Toyota Hilux โดยระบบ SKD (Semi Knock Down) ปีละ 2,500 คันเริ่มตั้งแต่ปี 64 และมีพนักงาน 130 คน รายได้ทั้งหมดของ TMY นั้น 85% แบ่งเป็น Toyota Motor Corporation และอีก 15% เป็น Tsusho Corporationความต้องการซื้อรถใหม่ของตลาดเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลปี 61 มีการผลิตประมาณ 18,000 คัน และเพิ่มสองเท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โตโยต้าขายโตโยต้าไฮลักซ์วีออสรัชและอื่น ๆ และ TMY ก่อตั้งขึ้นในเดือน มิ.ย.ปี 62

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/toyota-to-begin-auto-assembly-in-myanmar-in-2021

ภาคธุรกิจประเมินความสะดวกในการลงทุนการค้าในสปป.ลาว

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว ทำการประเมินวิธีการอำนวยความสะดวกในแขวงต่างๆและนครหลวงเวียงจันทร์ในการลงทุนและการค้าภายใต้โครงการระยะที่ 2 ของโครงการ ProFIT การประเมินนี้คาดว่าจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจและเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ADB ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ ADB ที่จะได้รับข้อมูลที่ชัดเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือในบางโครงการที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ การวิเคราะห์จะดำเนินการคาดว่าจะเสร็จสิ้นทั่วประเทศภายในสิ้นเดือนพ.ย. โดยจะจัดลำดับความสะดวกในการทำธุรกิจในแต่ละแขวง และวัตถุประสงค์ของโครงการอีกประการหนึ่งคือการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามกฎระเบียบ นอกจากนี้ยังประเมินการบริการสาธารณะและการจัดอันดับแขวงที่มีขีดความสามารถเพื่อจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการค้าและการลงทุนและยังส่งเสริมความสามารถของผู้ประกอบการ รัฐบาลได้รับประโยชน์จากการได้รับข้อมูลที่สำคัญสำหรับการเปรียบเทียบการบริการสาธารณะในระดับแขวงเพื่อปรับปรุง ดังนั้นจึงเป็นเครื่องมือวัดและประเมินผลสำหรับรัฐบาล ProFIT จะช่วยให้จังหวัดต่างๆดึงดูดการลงทุนและในขณะเดียวกันธุรกิจก็สามารถนำปัญหามาใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไข

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/business-sector-assesses-facilitation-investment-trade-laos-105441

กัมพูชามีอัตราภาษีนิติบุคคลที่ต่ำที่สุดใน SEA

กัมพูชาสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น โดยเป็นประเทศที่อัตราภาษีต่ำที่สุดในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง Trading Economics เป็นแพลตฟอร์มทางสถิติเศรษฐกิจออนไลน์แสดงให้เห็นว่ากัมพูชามีอัตราภาษีนิติบุคคลต่ำเป็นอันดับที่สามในภูมิภาครองจากบรูไนและสิงคโปร์ โดยอัตราภาษีนิติบุคคลของกัมพูชาในปัจจุบันอยู่ที่ 20% ซึ่งเท่ากับอัตราภาษีไทยและเวียดนาม โดยสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคอยู่ที่ 17% รองลงมาคือบรูไนอยู่ที่ 18.5% ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในประเทศและต่างประเทศต่างกล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่กัมพูชาจะต้องเสนออัตราภาษีนิติบุคคลที่ต่ำหรือให้มีการแข่งขันกันเกิดขึ้น ตามรายงานจากภาครัฐ FDI ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงได้รับประโยชน์จากเขตภาษีที่ต่ำโดย FDI เพิ่มขึ้นจาก 62 พันล้านดอลลาร์ในปี 2560 เป็น 77 พันล้านดอลลาร์ในปี 2561 เทียบกับกัมพูชา 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647262/cambodia-has-one-of-the-lowest-corporate-tax-rates-in-sea/

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของนครโฮจิมินห์ เพิ่มขึ้น 7.26%

จากรายงานของสำนักอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของนครโฮจิมินห์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของภาคอุตสาหกรรมหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ วิศวกรรมการผลิต อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์พลาสติก และอาหารแปรรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่าสถานการณ์การค้าโลกอยู่ในภาวะการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรง รวมไปถึงโรคไข้หวัดหมูแอฟริกา ที่ล้วนส่งผลต่อการผลิตทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนครโฮจิมินห์ นอกจากนี้ ทางหน่วยงานเมืองได้ตั้งเป้าหมายในการปฏิรูปการบริหาร รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) และพัฒนาการบริหารสาธารณะให้ดีขึ้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ นวัตกรรม สตาร์ทอัพ และปัญหามลภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในทิศทางที่ดีมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hcm-citys-industrial-production-index-up-726-percent-404055.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกไม้ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากรายงานสถิติของสำนักงานบริหารป่าไม้เวียดนาม (Vietnam Administration of Forestry) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ด้วยมูลค่า 7.932 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตลาดส่งออกหลักไม้ และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ของเวียดนาม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งประเทศดังกล่าว มีมูลค่ารวมกันเกือบ 6.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87.4 ของมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้รวม ในขณะเดียวกัน เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงที่สำคัญกับสหภาพยุโรป ในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา รวมไปถึงข้อตกลงการค้าเสรี (EVFTA) และข้อตกลงการคุ้มครองการลงทุนเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVIPA) ซึ่งเมื่อข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จะมีการลดภาษีนำเข้าทั้ง 2 ฝ่ายกว่าร้อยละ 99 ของสินค้านำเข้า และจะทยอยลดภาษีสินค้าที่เหลือภายใน 7 ปี แต่ว่าบริษัทที่ทำธุรกิจไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้เวียดนาม ต้องได้ใบรับรองที่ออกโดยองค์กร FSC เพื่อที่จะสามารถเข้าตลาดกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้ และตลาดอื่นๆ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/wood-and-forestry-exports-hit-close-to-us8-bil-in-ninemonth-period-404037.vov

ความต้องการข้าวโพดของเมียนมาเพิ่มสูงสุดในอาเซียน

ความต้องการข้าวโพดของเมียนมาได้เพิ่มขึ้นในงอาเซียนในปีนี้ทำให้การส่งออกไปจีนลดลงหลังจากรัฐบาลหยุดการส่งออกข้าวโพดเป็นเวลาเก้าเดือนซึ่งเป็นความพยายามในการควบคุมการค้าผิดกฎหมายที่ชายแดนระหว่างสองประเทศ ไทยนำเข้า 400,000 ตันเทียบกับ 100,000 ตันในปีที่แล้ว การขนส่งไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 – 40,000 ตันในปีนี้จาก 10,000 ตันในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามการถูกห้ามนำเข้าของจีนทำให้พื้นที่เพาะปลูกปีนี้ลดลงเหลือ 323,000 เฮกตาร์จาก 404,000 เฮกเตอร์ รัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมการเพาะปลูกและช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งความต้องการจากไทยช่วยยกระดับราคาให้สูงขึ้น ในขณะที่การส่งออกไปประเทศอื่น ๆ มีการปรับตัวลดลง แต่ก็ไม่ได้สูญเสียตลาดจีนไปซะทีเดียว เพราะจีนเคยซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของพม่าถึง 80% ปีที่แล้วส่งออกข้าวโพดจำนวน 1.67 ล้านตันไปยังจีน หากรวมการส่งออกที่ผิดกฎหมายอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านตัน ทุกปีเมียนมาผลิตข้าวโพดได้ประมาณ 3.2 ล้านตันจากพื้นที่ 607,000 เฮกเตอร์ โดยเฉพาะในรัฐฉานและเขตสะกาย และเขตมะกเว โดยรัฐฉานมีพื้นที่เพาะปลูกคิดเป็น 46% ของการเพาะปลูกข้าวโพดทั้งประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/asean-demand-myanmar-maize-rises.html