รัฐบาลเมียนมาทุ่มเงินหนุนการใช้ไฟฟ้าช่วงโควิด

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 64 กระทรวงไฟฟ้าและพลังงานประกาศว่ารัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนสำหรับการใช้ไฟฟ้าในประเทศจำนวน 150 หน่วยในเดือนนี้ ซึ่งออกมาตรการนี้ได้ถูกใช้ไปเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วเพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชากรในช่วงการระบาดของCOVID -19 จากนั้นเงินอุดหนุนจะขยายออกไปเป็นรายเดือนไป คาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ 35,000 ล้านจัตต่อเดือน โดยถ้าใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยหรือเท่ากับ 11,550 จัตจะถูกเรียกเก็บเงินแบบก้าวหน้า ขณะที่มิเตอร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประเภทอื่น ๆ จะไม่ถูกนำมารวมในมาตรการนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/government-extends-subsidies-electricity-myanmar.html

ราคาสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์ตลาดมัณฑะเลย์ ราคาลดฮวบ 10%

Mandalay Brokerage House เผยการปิดทำการของธนาคารและการขนส่งจากการประท้วงในประเทศทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาถูกระงับ ส่งผลให้ราคาสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงถึง 10% โดย Mandalay Brokerage House ให้บริการใน 3 ตลาด ได้แก่ การส่งออกไปยังประเทศจีน การส่งออกผ่านย่างกุ้ง และตลาดในประเทศ ซึ่งเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองและการปิดบริการของธนาคารได้นำไปสู่ความยากลำบากในการค้ากับจีนและอินเดีย ทั้งนี้ธุรกิจจะกลับมาก็ต่อเมื่อประเทศมีเสถียรภาพและเมื่อธนาคารกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/mandalay-market-sees-10-pc-drop-prices.html

ส่งออกข้าวโพดไปไทยพุ่ง แต่นำเข้าลดลงกว่าครึ่ง

การส่งออกข้าวโพดไปยังไทยที่ด่านเมียวดีกำลังเติบโต แต่การนำเข้าจากเพื่อนบ้านในอาเซียนลดลง เมียนมาส่งออกข้าวโพดกว่า 200 คัน ไปยังไทยทุกวันผลเกิดจากการยกวันภาษีการส่งออกสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป การนำเข้าสินค้าของไทยจึงลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ความไม่สงบทางการเมืองและการปิดทำการของธนาคารสร้างความเสียหายอย่างมากต่อการค้าของเมียนมา ก่อนหน้านี้ด่านการค้าชายแดนมีรถบรรทุกประมาณ 50 คันขนส่งสินค้าเกษตร เช่น ถั่วดิน พริก หัวหอม ปลาและกุ้ง ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นโดยมีรถบรรทุกประมาณ 200 ถึง 300 คันที่ขนส่งข้าวโพดมายังไทยทุกวัน มีการประท้วงอย่างต่อเนื่องและการปิดธนาคาร ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การสั่งซื้อสินค้า อีกทั้งไม่สามารถเสียภาษีได้และปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก่อนหน้ามีรถบรรทุกจากไทยประมาณ 400 คันเข้าเมียนมาทุกวัน ตอนนี้มีเหลือเพียง 150 คันเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-corn-exports-rise-thai-imports-more-halved.html

เมียนมา ตัดสัญญาณเน็ต กระทบธุรกิจออนไลน์ยอดขายลดฮวบ

ธุรกิจออนไลน์ของเมียนมากำลังเจอปัญหาจากการประกาศเคอร์ฟิว การปิดสัญญาณอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลทหาร ตั้งแต่เวลา 01.00 น. ถึง 9.00 น. ร้านค้าออนไลน์กล่าวว่ายอดขายลดลงครึ่งหนึ่งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมจากการเชื่อมต่อที่หยุดชะงักและความเร็วที่ช้าลง จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาทำให้ธุรกิจหันเหปรับเปลี่ยนเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอาหารออนไลน์อย่าง Food Panda  หรือธุรกิจอาหารและร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ล้วนได้รับผลกระทบต่อยอดขายที่ลดลงจากการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/internet-cut-spells-trouble-online-businesses-myanmar.html

ส่งออกเมียนมายังปกติ แต่นำเข้ามุเซ หยุดชะงัก

การส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าเน่าเสียง่ายไปจีนของเมียนมายังเป็นปกติแม้มีการต่อต้านการยึดอำนาจของทหารเมียนมาแบบอารยะขัดขืนโดยการขวางการนำเข้าของประเทศ ขณะนี้ตัวแทนที่นำเข้าค้าชายแดนมูเซกำลังเข้าร่วมเคลื่อนไหวส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการทำธุรกรรมในแต่ละวันและรถบรรทุกขาเข้าที่ติดอยู่ที่เขตการค้า ผู้ดูแลศูนย์ค้าส่งมูเซ 105 ไมล์ เผยอย่างไรก็ตามการส่งออกผักผลไม้และสินค้าเน่าเสียง่ายของประเทศไปยังจีนยังคงดำเนินการตามปกติ อย่างไรก็ตามยังสามารถขนส่งการส่งออกพืชผลไปยังจีนได้บางส่วน ด้านการส่งออกแตงโม แตงกวา มะม่วง ปลา ปู และปลาไหลยังขนส่งไปจีนตามปกติ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-operating-usual-imports-stutter-muse.html

ยอดขายชุด PPE ในเมียนมา ลดฮวบ

ตลาดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ของเมียนมาลดลงเนื่องจาก ปัญหาด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและความไม่สงบทางการเมืองในปัจจุบันส่งผลให้ผู้ซื้อใช้ลดลงอย่างมาก นาย U Aye Kyaw ผู้ขายอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในย่างกุ้งเผย ตลาดหน้ากากในประเทศลดลงครึ่งหนึ่ง ด้านอุปทานลดลงเช่นกันเนื่องจากรถบรรทุกหยุดให้บริการเพราะคนขับรถได้เข่าร่วมต่อต้านรัฐบาลทหาร ปัญหาการขนส่งยังส่งผลให้ชุด PPE มากเกินความต้องการที่ศูนย์การค้าชายแดนเมียวดีหลักไมล์ 105 ตลาดหน้ากากในย่างกุ้งลดลง 40% :จากที่คนขับรถบรรทุกร่วมอารยะขัดขืนต้านรัฐประหารด้วยการหยุดวิ่งรถ ดังนั้นจึงไม่มีการส่งมอบหน้ากากที่ด่านมูเซ ทำให้ตลาดไม่เคลื่อนไหวและราคายังไม่เปลี่ยนแปลง ราคาหน้ากากอนามัย 50 กล่องในย่างกุ้งในราคา 760 จัต ราคาขายนอกตลาดอยู่ระหว่าง 1,000-1,200 จัต หน้ากากอนามัยที่ขายมาจากล็อตก่อนหน้านี้คาดว่าจะหมดในภายในสัปดาห์ถัดไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/demand-personal-protective-equipment-falls-myanmar.html

พิษการเมืองกระทบหนักภาคการเกษตรเมียนมา

การยึดอำนาจของกองทัพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมของประเทศอย่างรุนแรง การส่งออกและโครงการที่วางแผนไว้ถูกระงับ นาย Daw Sandar Myo ประธานสมาคมผู้ประกอบการอะโวคาโดแห่งเมียนมา เผยหลังการหารือการจัดตั้งโรงงานคัดบรรจุอะโวคาโดที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐในรัฐฉานตอนใต้ได้ถูกโต้กลับจากสหรัฐด้วยเช่นกัน ความช่วยเหลือจากนานาชาติหยุดลง ซึ่งรวมถึงความช่วยเหลือจากเดนมาร์ก ทั้งนี้โครงการที่มุ่งเน้นไปที่ MSMEหรือกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เช่น Responsible Business Fund จะหยุดลงหรือไม่ยังไม่มีความแน่ชัด องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ระงับโครงการการค้าเกษตรอาเซียนและความร่วมมืออื่น ๆ กับเมียนมา การส่งออกผลไม้ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันไม่ว่าจะเป็นอะโวคาโดและขิงไปที่ส่งออกไปสหราชอาณาจักรและแตงเมลอนไปยังสหภาพยุโรป แผนการส่งออกแตงโมไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักแห่งเมียนมา มีแผนจะขายผลไม้เพื่อการส่งออกในตลาดท้องถิ่น แต่อาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีผลผลิตจำนวนมาก

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/political-unrest-turns-myanmars-agriculture-sector-sour.html

สหภาพแรงงานฯ เตรียมดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ต่อต้านการประท้วงในเมียนมา

สมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งเมียนมา (CTUM) กล่าวว่าเจ้าหน้าที่คนใดก็ตามที่บังคับให้พนักงานที่ประท้วงกองทัพเมียนมาให้ลาออกหรือออกจากสถานสงเคราะห์จะต้องถูกตั้งข้อหา ขณะนี้มีการประณามการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่บังคับให้แรงงานออกจากงานหรือที่พักอาศัย CTUM กำลังตรวจสอบพนักงานของรัฐที่เข้าร่วมในการประท้วงต่อต้านกองทัพเมียนมาที่เข้ายึดอำนาจ ทั้งนี้เมื่อสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติจะขอคืนสถานะให้เป็นพนักงานของรัฐเหมือนเดิม CTUM พร้อมให้บริการทางการแพทย์ฟรีแก่ผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ไร้ซึ่งความยุติธรรม ก่อนหน้านี้ CTUM ได้ออกจากองค์กรไตรภาคีซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ ภาคธุรกิจ และแรงงาน ที่ได้หารือเกี่ยวกับปัญหาที่คนงานประท้วงการยึดอำนาจและควบคุมตัวผู้นำระดับสูงของประเทศรวมถึงนางอองซาน ซูจี ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/trade-union-myanmar-prosecute-those-taking-legal-action-against-cdm-participants.html

วิกฤตการทางการเมืองเมียนมาส่งผล SME ส่อเค้าทรุดหนัก

นักธุรกิจจากเมืองเปียงมานา (Pyinmana)  ของเนปยีดอ เผยยอดขายสินค้าตั้งแต่อาหารไปจนถึงสินค้าฟุ่มเฟือยลดลงอย่างมากหลังจากการประกาศภาวะฉุกเฉินหนึ่งปีของกองทัพเมียนมา พบว่าผู้คนต่างจับจ่ายเฉพาะสิ่งของจำเป็นเพราะวิตกกังวลกับสถานการณ์ปัจจุบันในตอนนี้ เช่น ยอดขายไข่ลดลงประมาณ 70% อีกทั้งยอดขายสัตว์ปีกและเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ ยังได้รับผลกระทบอย่างหนักตามไปด้วย ขณะนี้ตลาดยังไม่เปิดเต็มรูปแบบเนื่องจาก COVID-19 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันผู้คนกังวลว่าเศรษฐกิจจะแย่ลงและหลายคนเริ่มประหยัดมากขึ้น ซึ่งการใช้จ่ายที่ลดลงยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจสตาร์ทอัพในพื้นที่และธุรกิจ SMEs ส่วน MSMEs (วิสาหกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม) ล้วนประสบปัญหามากมายช่วงการระบาดและบางส่วนถูกบังคับให้ปิด MSMEs คิดเป็น 90% ของเศรษฐกิจประเทศและหากเกิดปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจกระทบต่อการว่างงานอย่างมากในอนาคต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/growing-number-myanmar-smes-forced-fold-amid-political-crisis.html

MADB จับมือ JICA ปล่อยกู้ 500 ล้านจัตให้เกษตรกรมัณฑะเลย์

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา ธนาคารพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (MADB) สาขามัณฑะเลย์ ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ปล่อยเงินกู้ประมาณ 500 จัตล้านให้แก่เกษตรกรจาก 9 เมืองในเขตมัณฑะเลย์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปซื้อเครื่องจักรการเกษตรที่ทันสมัย ผู้จัดการ สามารถเพิ่มผลผลิตการทำฟาร์มได้โดยการเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรแบบอุตสาหกรรมส่งผลให้มาตรฐานดีขึ้นต้นทุนต่ำลงและคนมีงานทำมากขึ้น รายงานล่าสุดระบุว่า JICA มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของเมียนมา ซึ่งได้ลงนามข้อตกลงกับกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานเพื่อร่วมมือในโครงการห่วงโซ่คุณค่าพืชผลทางการเกษตรที่ครอบคลุมผลผลิต เช่น ผักขม ฟักทอง มะเขือเทศ แครอท และบรอกโคลี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/k500-million-loans-granted-mandalay-farmers.html