MIC อนุมัติลงทุน 5 โครงการรวม City Loft West ของ FMI YOMA

ในการประชุมคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ครั้งที่ 15 (15/2020) มีการอนุมัติการลงทุน 5 โครงการซึ่งรวมถึงโครงการ City Loft West ของ FMI FMI Riverside Development Limited ในการสร้างอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่าและขายภายใต้ City Loft West ซึ่งเป็นโครงการลงทุนที่ลงทุนโดยชาวเมียนมา 100%  สถานที่ตั้งของโครงการตั้งอยู่ใน Hlaing Tharya Township เขตย่างกุ้ง ตั้งอยู่ระหว่างสะพาน Bayint Naung และสะพาน Aung Zeya บนถนน Hlaing River City Loft เป็นโครงการที่อยู่อาศัยระดับกลางโครงการแรกของ FMI Yoma Group ที่เปิดตัวในปี 2019 ใน Star City Thanlyin ปัจจุบัน City Loft เป็นโครงการที่ขายดีที่สุดและได้รับอนุญาตให้สร้างอีกครั้งหนึ่งภายใต้ชื่อ City Loft West ซึ่ง City Loft West ของ FMI YOMA เป็นหนึ่งในรายชื่อที่ได้รับใบอนุญาตการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC)

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-investment-commission-approves-five-investments-including-fmi-yomas-city-loft-west

เมียนมาเล็งปั้นท่องเที่ยวเชิงเกษตรแนวคิดใหม่ หวังเพิ่มรายได้เข้าประเทศ

จากข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบการการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา มีแผนที่จะใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรใน 5 รัฐและทั่วภูมิภาคเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหรือกิจกรรมทางการเกษตรซึ่งจะเป็นการพาเยี่ยมชมฟาร์มหรือฟาร์มปศุสัตว์ โดยจะให้ความสำคัญให้กับภูมิภาคย่างกุ้ง พะโค อิรวะดี ตลอดจนรัฐคายาห์ และรัฐชิน การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกำลังได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนเสริมของการดำรงชีวิตของคนส่วนใหญ่ของเมียนมา กระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยวยังออกแพ็คเกจทัวร์ใหม่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงทัวร์เที่ยวบินเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวทางบกตลอดจนการล่องเรือในทะเลและแม่น้ำโดยจะเริ่มเปิดตัวในเดือนนี้ ใบอนุญาตการท่องเที่ยวจะออกโดยการท่องเที่ยวคาดว่าจะเปิดอีกครั้งในต้นปี 2564 ที่ผ่านมาจากการที่สายการบินถูกระงับทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อร้านอาหารร้านค้าและการขนส่งซึ่งได้รับความสูญเสียอย่างมาก รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงกว่า 80% หรือราว 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 จากการสำรวจครอบคลุมภาคการท่องเที่ยวร่วมกับภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น สายการบินระหว่างประเทศ การขนส่งภายในประเทศ อาหารและเครื่องดื่ม ที่พักธุรกิจบันเทิงตลอดจนการช็อปปิ้งสินค้าต่างๆ พบว่ารายได้เหล่านี้มีมูลค่ารวม 543 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-looks-agritourism-other-novel-ideas-boost-revenue.html

ต้นปี 64 เมียนมาเริ่มส่งออกกาแฟ 100 ตันไปเอเชียตะวันออก

นาย U Ngwe Tun ผู้ก่อตั้ง Genius Coffee เผยเมียนมาจะส่งออกกาแฟ 100 ตันไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออก โดยกาแฟหกตู้มูลค่าประมาณ 850,000 ดอลลาร์สหรัฐจะถูกส่งออกไปยังเกาหลี ญี่ปุ่น และจีนซึ่งมีความสนใจในกาแฟที่มีการผลิตแบบออร์แกนิก Genius Coffee จะส่งออกเมล็ดกาแฟโดยร่วมมือกับอีก 2 บริษัท ซึ่งจะถูกส่งออกภายในเดือนมกราคม อีก 2 ตู้คอนเทนเนอร์ในเดือนมีนาคมและที่เหลือภายในต้นเดือนพฤษภาคม เป็นโอกาสที่เมียนมาจะได้แสดงคุณภาพของกาแฟสู่สายตาชาวโลก ปัจจุบันผู้ผลิตในท้องถิ่นสามารถผลิตกาแฟคั่วบดได้ประมาณหนึ่งตันต่อวัน ด้วยกำลังการผลิตที่มีอยู่จะใช้เวลาสองสัปดาห์เพื่อตอบสนองความต้องการที่เริ่มมากขึ้นจากตลาดต่างประเทศ ขณะนี้กาแฟเมียนมากำลังได้รับความนิยมหลังงานแสดงกาแฟนานาชาติที่ผ่านมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-export-100-tonnes-coffee-east-asia.html

ปี 64 เมียนมาพร้อมเปิดตัวระบบเงินชดเชยจากการว่างงาน

กรมสวัสดิการสังคม กระทรวงแรงงานการเข้าเมืองและประชากรเผยเมียนมาจะเริ่มระบบเงินชดเชยจากการว่างงานในปีงบประมาณ 63-64 แม้ว่าสิทธิประโยชน์การว่างงานถูกกำหนดไว้แล้วภายใต้กฎหมายประกันสังคมปี 55 แต่ยังไม่มีการบังคับใช้ ซึ่งกระทรวงจะเริ่มดำเนินการโดยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และสหภาพยุโรป จากการประกันภัย 6 ประเภทภายใต้กฎหมายประกันสังคม พ.ศ. 55 มีการบังคับใช้เฉพาะการประกันสุขภาพและเงินชดเชยจากการบาดเจ็บในการทำงานเท่านั้น การประกันภัยประเภทอื่น ๆ อีกสี่ประเภทที่ยังคงต้องดำเนินการ ได้แก่ การประกันความช่วยเหลือครอบครัว ผลประโยชน์จากการว่างงาน การประกันความทุพพลภาพ เงินอุดหนุนและผลประโยชน์ของผู้รอดชีวิตตลอดจนความช่วยเหลือด้านประกันสังคม ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณหนึ่งล้านคนที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมและเป็นสมาชิกสวัสดิการสังคมในเขตย่างกุ้ง ตามกฎหมายเงินสมทบประกันสังคมคือ 5% – 2% จากเงินเดือนของพนักงานและเงินสมทบจากนายจ้างอีก 3% ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกันสังคม 60% ใช้สำหรับการดูแลสุขภาพของพนักงานส่วนที่เหลืออีก 40 % .ใช้สำหรับการลงทุน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-introduce-unemployment-benefits-system-2021.html

ท่าเรือติวาลาพร้อมรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่

การท่าเรือของเมียนมา (Myanmar Port Authority: MPA) อนุญาตให้เรือขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 10 เมตรเข้าเทียบได้ที่ท่าเรือติวาลาของย่างกุ้งในเดือนนี้ คาดว่าจะช่วยให้มีปริมาณการขนส่งสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์มากและสามารถกระตุ้นให้มีปริมาณการค้าที่สูงขึ้น ซึ่งการค้าของเมียนมาประมาณ 95% เป็นการค้าทางทะเล ในปีงบประมาณที่แล้วมีการส่งออกสินค้ามูลค่ากว่า 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 15.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านเส้นทางเดินเรือ ท่าเรือ Thilawa ซึ่งมีความยาว 10 เมตรสามารถรองรับเรือได้ถึง 20,000 ตันหรือ 2,000 TEU (Twenty foot Equivalent Unit : ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) จนถึงต้นปีนี้มีเพียงเรือที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตรเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เทียบที่ท่าเรือ สามารถรองรับเรือได้ถึง 15,000 ตันหรือ 1,500 TEU

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangons-thilawa-port-receive-larger-ships.html

อินเดีย-เมียนมา เดินหน้าเจรจาทวิภาคีหนุนการค้าและการลงทุน

ในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าเมียนมา – อินเดียครั้งที่ 7 ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและการลงทุนแบบทวิภาคี นายอูหมินหมิน อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าเมียนมากล่าวว่าการหารือเป็นไปเพื่อกระตุ้นการค้ารวมถึงการเพิ่มโควต้าการนำเข้าของอินเดียสำหรับถั่วและพัลส์ และการเปิดตลาดชายแดน หลังจากแก้ปัญหาชายแดนการขยายตลาดสำหรับภาคสิ่งทอได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคของอินเดียในภาคการเกษตรและปศุสัตว์และเร่งโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและสะพานตามเส้นทางการค้าเมียนมา – อินเดีย นอกจากนี้ยังจับมือกับ MyanTrade ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศ สิ่งนี้จะทำให้เกิดโอกาสพัฒนาและการเติบโตใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการเกษตร สิ่งทอ การขนส่ง และการธนาคารของเมียนมาด้วย ทั้งสองประเทศยังหารือเกี่ยวกับการเพิ่มการลงทุนของอินเดียในภาคพลังงานของเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-strengthen-bilateral-trade-and-investment.html

ก๊าซ LNG จากมาเลเซีย ถูกลำเลียงไปยังโรงไฟฟ้าย่างกุ้ง

จากรายงานของกระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 63 เมียนมานำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นครั้งที่ 2 จากมาเลเซีย จำนวนทั้งหมด 126,000 ลูกบาศก์เมตรถูกส่งไปยัง CNTIC VPower ที่ท่าเรือติวาลาในย่างกุ้งและจะถูกถ่ายโอนไปยังโรงไฟฟ้าตั่นหลิน (Thanlyin) กำลังผลิต 350MW และโรงไฟฟ้าธาเกตา (Thaketa) กำลังผลิต 400MW โดยได้ลงนามในข้อตกลงกับ Petronas LNG Ltd ของมาเลเซียและ CNTIC VPower ของจีนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเพื่อซื้อ LNG เป็นระยะเวลา 5 ปี LNG จะถูกใช้ในโรงงานใหม่ 7 แห่งใน Magwe, Shwe Taung, Kyun Chaung, Ahlone, Kyauk Phyu, Thanlyin และ Thaketa เพื่อผลิตพลังงานรวม 1166MW สำหรับฤดูร้อนในปีนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-takes-delivery-lng-yangon-power-plants.html

ระบบขนส่งแบบใหม่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งสินค้าของเมียนมา

การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในอาเซียนจะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นด้วยการใช้ระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในภูมิภาค ขณะนี้มีการร่างข้อตกลงเกี่ยวกับระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยไทยและฟิลิปปินส์ได้กำหนดกฎหมายส่วนเมียนมาเสร็จสิ้นขั้นตอนการร่างเรียบร้อยแล้ว การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมีการผสมผสานระหว่างรูปแบบการเคลื่อนย้ายสินค้าที่แตกต่างกันอย่างน้อยสองรูปแบบภายใต้ใบส่งเพียงใบเดียวซึ่งหมายความว่าผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่สำหรับการขนส่งทั้งหมดแม้ว่าจะดำเนินการในรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกัน เช่น ทางอากาศ ทางรถไฟ ถนนหรือทางทะเล หากนำระบบนี้ไปใช้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจโลจิสติกส์ขนาดใหญ่และคาดว่าจะอำนวยความสะดวกในการค้าข้ามแดนในอาเซียน นอกจากนี้ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะไม่มีการเรียกเก็บภาษีสำหรับสินค้าซึ่งจะอนุญาตให้ผ่านโดยไม่มีข้อจำกัด

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-regional-transport-system-benefit-myanmars-freight-forwarders.html

ปีงบฯ 63-64 เมียนมาตั้งเป้าส่งออกอาหารทะเลทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมียนมาคาดส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 63-64 แม้จะหยุดชะงักจาก COVID-19  ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณ 62-63 ถึง 17% ที่ส่งออกได้ 853 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงสุดในรอบ 20 ปีในเวลานั้น เมียนมาคาดว่าจะมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งตั้งแต่ซาอุดีอาระเบียได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าสินค้าประมงในปี 61  ผลิตภัณฑ์ทางทะเลส่วนใหญ่ส่งออกไปยังไทย จีน และยุโรป เมื่อเดือนที่แล้วท่าเรือของซาอุดีอาระเบียได้ยึดเรือประมงเมียนมาจำนวน 30 ตู้ มูลค่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้เนื่องจากความสับสนในเรื่องศุลกากรและข้อกำหนดของนโยบาย ทั้งนี้กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทานของเมียนมาจะสนับสนุนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในท้องถิ่นและชาวประมงที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากเพื่อเลี่ยงการหยุดชะงัก

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-targets-us1b-marine-exports-fiscal-2020-21.html

RCEP กระตุ้นภาคการผลิตของเมียนมา

งานวิจัยของ Oxford Business Group ชี้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีส่วนผลักดันการผลิตของเมียนมาโดยกลุ่มการค้าจาก 15 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อขยายฐานการผลิต สภาหอการค้าอังกฤษในเมียนมาเผยผู้ผลิตในท้องถิ่นระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ต้องเข้าร่วมในตลาดอาเซียนกำลังใช้ประโยชน์จากโอกาสในเมียนมา เพราะเศรษฐกิจเมียนมาร์ยังมีความใหม่มีพื้นฐานทางการเกษตรและการผลิตโดยรวมอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีฐานต้นทุนที่ต่ำ โครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเติบโตและรัฐบาลที่เปิดกว้าง รัฐบาลใหม่ของนางอองซานซูจี ตอนนี้ถึงเวลาสร้างและเสริมสร้างขีดความสามารถของกระทรวงต่างๆเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน RCEP อย่างมีประสิทธิผลแ 5 ปีที่ผ่านมาธุรกิจจากต่างประเทศมีการลงทุนลงทุนกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจการผลิต 711 แห่ง ส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ลงทุน 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 50 ธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จากรายงานของคณะกรรมการด้านการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) การลงทุนภาคการผลิตมีมูลค่ามากที่สุดในช่วงปี 2559 ถึง 2563 ด้วยมูลค่า 7.4 พันล้านดอลลาร์  โดย RCEP ได้ลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งมีประเทศร่วมลงนาม ได้แก่ 10 ประเทศจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ RCEP มีประชากรคิดเป็น 30% ของประชากรโลก และขนาดของเศรษฐกิจจะเท่ากับ 28% ของ GDP โลก โดยกลุ่มอาเซียนที่เข้าร่วม ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-asean-led-trade-deal-boost-myanmar-manufacturing-sector.html