ตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง หารือเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการล่วงหน้าและที่ปรึกษา

ตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) ได้จัดการเสวนาในคณะกรรมการจดทะเบียนและแต่งตั้งที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม และได้ประกาศด้วยว่า บริษัท เอเชีย แปซิฟิค บิสสิเนส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กำลังพยายามจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ YSX ด้านนาย U Myo Hein ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Myanmar Enterprise Solutions กล่าวว่า “บริษัท APC ได้แต่งตั้งให้เราเป็นเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการสำหรับคณะกรรมการจดทะเบียนหุ้น แม้ว่า YSX จะได้รับการพัฒนามาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว แต่ความสนใจของสาธารณชนยังคงต่ำ เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด บริษัทหลายแห่งจึงไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจดทะเบียนล่วงหน้าก่อตั้งขึ้นในปี 2565 และในปี 2567 มีบริษัทจดทะเบียน 3 แห่ง ทั้งนี้ มีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าสู่ YSX Pre-listing Board ของ APC Public Holding Limited นอกจากนี้ ภายในงานยังได้พูดคุยถึงสิ่งที่บริษัทต่างๆ ต้องเตรียมการเข้าสู่คณะกรรมการจดทะเบียนล่วงหน้า และให้ความรู้เกี่ยวกับความพร้อมของการจดทะเบียนล่วงหน้า และขั้นตอนที่บริษัทท้องถิ่นควรดำเนินการท่ามกลางการลงทุนจากต่างประเทศที่ลดลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/yangon-stock-exchange-discusses-pre-listing-board-and-consultant-appointment/

ชายแดนหมอตอง-สิงขร มีแนวโน้มที่จะเป็นด่านถาวร

อ้างอิงจากสำนักข่าวของประเทศไทย มีรายงานว่า ครม.ไทยเตรียมเปิดด่านสิงขรเชื่อมชายแดนมอตองเมียนมาเป็นด่านถาวร ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีพรมแดนติดกับเมืองมอตอง เขตตะนาวศรี จะได้รับการยกระดับให้เป็นด่านถาวรเพื่อสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดนทวิภาคี โดยผู้ค้าจากทั้งสองประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนแสดงถึงความตั้งใจให้ด่านสิงขรเป็นด่านถาวร ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและการต่างประเทศของไทยเดินทางเยือนชายแดนสิงขรเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ถือเป็นการเยือนครั้งแรกของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และมีความคาดหวังสูงว่าจะเปิดด่านสิงขรเป็นจุดตรวจถาวรเพื่อเร่งการค้าชายแดนกับเมียนมา อย่างไรก็ดี ผู้ค้าที่ทำการค้าชายแดนกับไทยที่ชายแดนมอตอง กล่าวว่า ปัจจุบันด่านสิงขรยังไม่มีการกำหนดให้ทำการค้าระหว่างประเทศ เป็นเพียงด่านชั่วคราวเท่านั้น และด้วยความคิดริเริ่มเกี่ยวกับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตกของไทย ที่ได้มีการศึกษาเส้นทางการค้าหมอตอง-สิงขร-กรุงเทพฯ ช่องทางการค้าบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี หรือด่านชายแดนอื่น รวมทั้งเหตุจากความล่าช้าในชายแดนเมียวดี-แม่สอด ทำให้ทางการไทยต้องสำรวจด่านชายแดนแห่งอื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mawtaung-singkhon-border-likely-to-become-permanent-checkpoint/#article-title

ธนาคารแห่ง สปป.ลาว คาดเงินเฟ้อยังมีระดับสูงตลอดทั้งปี 67

นายบุญเหลือ สินชัยวรวงศ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป.ลาว (BOL) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว จะยังคงมีระดับสูงจนถึงสิ้นปี 2567 ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะลดอัตราเงินเฟ้อลงเหลือตัวเลขหลักเดียวภายในปีนี้ โดยในเดือนเมษายน 2567 อัตราเงินเฟ้อของ สปป.ลาว อยู่ที่ 24.92% ปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ทั้งราคาเชื้อเพลิง ก๊าซ และสินค้านำเข้า การอ่อนค่าของเงินกีบ เมื่อเทียบกับเงินบาทไทยและดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สถานการณ์ยุ่งยากยิ่งขึ้น โดยทำให้ยากต่อการรักษาราคาสินค้านำเข้าให้ต่ำ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/05/23/inflation-in-laos-to-remain-high-all-year-long-bank-of-laos-says/

สภาเวียดนามลงมติเลือก “พลเอกโต เลิม” เป็นปธน.คนใหม่

สมาชิกสภาแห่งชาติของเวียดนาม ลงมติเลือกพลเอกโต เลิม วัย 66 ปี เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านความมั่นคงของเวียดนาม ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่แทนอดีตประธานาธิบดีหว่อ วัง เถือง ผู้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา หลังจากอยู่ในตำแหน่งได้เพียง 1 ปี โดยพลเอกโต เลิม มีผลงานโดดเด่นจากการดำรงตำแหน่งผู้นำโครงการปราบปรามการคอร์รัปชันครั้งใหญ่ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมเจ้าหน้าที่รัฐบาลและนักธุรกิจเวียดนามหลายพันคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และการขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาเกิดขึ้นในขณะที่พรรคโปลิตบูโรของเวียดนามสูญเสียสมาชิก 6 คนจากทั้งหมด 18 คน รวมถึงอดีตประธานาธิบดี 2 คนและหัวหน้ารัฐสภาของเวียดนาม ท่ามกลางการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตรับสินบนที่ขยายตัวออกไป

ด้านนักวิเคราะห์ชี้ว่า การขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของพลเอกโต เลิม เป็นการปูทางให้เขาก้าวเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คนใหม่แทนนายเหงียน ฟู จอง วัย 80 ปี

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2787791

‘นายกฯ เวียดนาม’ สั่งจัดงบประมาณปี 68 มุ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นายฟาม มินห์ จิญ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ลงนามคำสั่งว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจัดทำงบประมาณปี 2568 โดยตั้งข้อสังเกตไว้ว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปีหน้านั้น ได้มีการร่างขึ้นมาแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์ที่รวดเร็วและคาดการณ์ไม่ได้ ในขณะที่ในปี 2568 ถือเป็นปีที่สำคัญของเวียดนาม เนื่องจากตรงกันกับช่วงการประชุมสมัชชาของพรรคทุกระดับ ก่อนที่จะไปสู่การประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติครั้งที่ 14

ทั้งนี้ ตามแผนการทำงานดังกล่าว ทางนายกฯ เรียกร้องให้กระทรวง หน่วยงานกลางและท้องถิ่น ระบุประเด็นหลักของแผนพัฒนาปี 2568 และตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถบรรลุเป้าหมายได้และแนวทางการแก้ไข รวมถึงชี้แจงรายละเอียดของเนื้อหา ระยะเวลาและความคืบหน้า ในขณะเดียวกัน การจัดทำแผนงบประมาณปี 2568 ต้องมีรายละเอียดของการใช้จ่ายงบประมาณและการจัดเก็บงบประมาณ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pm-orders-building-socio-economic-development-plans-budget-estimates-for-2025-post287427.vnp

‘เวียดนาม’ พึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศมากเกินไป จำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน มีสัดส่วนราว 90% ของการส่งออกรวม และมีสัดส่วน 25.8% ของจำนวนงานทั้งหมดในประเทศ ในขณะที่การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของการลงทุนทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนสภาพจากการลงทุนของรัฐไปเป็นของการลงทุนที่มิใช้รัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ทั้งนี้ ธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจ FDI เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากธุรกิจในประเทศประสบปัญหากับการยกระดับขีดความสามารถทางด้านการผลิตและการบริหาร รวมถึงการขาดเทคโนโลยีขั้นสูงและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656090/vn-too-heavily-dependent-on-fdi-must-improve-industrial-ecosystem.html

บริษัทและโรงงานอาหารกว่า 1,550 แห่งยื่นขอ GACC ในช่วง 2 ปีครึ่ง

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ ในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา ตามพระราชกฤษฎีกา GACC 248 และ 249 โดยผู้ส่งออกอาหารจำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาต GACC เพื่อนำสินค้าเข้าสู่ตลาดจีน โดยระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2021 ถึง 5 พฤษภาคม 2024 โรงงาน 1,550 แห่งได้รับการส่งต่อคำขอ 3,092 รายการไปยัง GACC ผ่านกรมวิชาการเกษตร (คำขอ 2,935 รายการ) กรมประมง (134 รายการ) กรมพันธุ์สัตว์และสัตวแพทย์ปศุสัตว์ (14 รายการ) และหน่วยงานอาหารและยา ฝ่ายธุรการ ซึ่งประกอบด้วยกิจการ แปรรูปน้ำมันสำหรับบริโภค เมล็ดพืชน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ขนมอบยัดไส้ รังนกที่บริโภคได้ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธัญพืชที่บริโภคได้ การสีธัญพืช ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมอลต์ ผักสดและอบแห้ง ถั่วแห้ง ชนิดพืช ถั่วและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟไม่คั่วและเมล็ดโกโก้ อาหารพิเศษไม่รวมนมผง อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ผึ้ง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และอาหารสัตว์ และธุรกิจปศุสัตว์ อย่างไรก็ดี ผู้ส่งออกสามารถเข้าถึง China International Trade Single Window ได้โดยตรงผ่าน https://cifer.singlewindow.cn โดยการสร้างบัญชีสำหรับกลุ่มอาหารที่ไม่อยู่ใน 18 กลุ่มที่กล่าวถึงข้างต้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/1550-food-companies-factories-apply-for-gacc-in-2-5-years/#article-title

วิสาหกิจในประเทศ 20 แห่ง โครงการต่างประเทศ 11 โครงการได้รับการอนุมัติในรัฐมอญในเดือนเมษายน

ตามการประชุมของ MSIC ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 คณะกรรมการการลงทุนของรัฐมอญ (MSIC) ไฟเขียวให้วิสาหกิจในประเทศ 20 แห่ง และวิสาหกิจต่างชาติ 11 แห่ง เข้ามาลงทุนในภูมิภาคเมื่อเดือนเมษายน ส่งผลให้มีการจ้างงานคนในท้องถิ่น 4,487 ตำแหน่ง โดยวิสาหกิจต่างชาติมีมูลค่าการลงทุน 15.456 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในภูมิภาคนี้ ในขณะที่การลงทุนภายในประเทศของวิสาหกิจเมียนมามีมูลค่า 70.388 พันล้านจ๊าด รวมทั้งพบว่าวิสาหกิจที่มีอยู่จะขยายทุนในเดือนเมษายน อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ กำลังพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่นโดยการสนับสนุนวิสาหกิจในประเทศและต่างประเทศตามกฎหมายและกฎระเบียบที่มีอยู่ นอกจากนี้ เนื่องจากรัฐมอญตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ คณะกรรมการจึงจัดลำดับความสำคัญในการกระตุ้นการลงทุน สนับสนุนธุรกิจที่มีอยู่ ดึงดูดนักลงทุนรายใหม่ เพิ่มโอกาสในการทำงานในภูมิภาค และเสริมสร้างเศรษฐกิจสังคมของชุมชนท้องถิ่น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/20-domestic-enterprises-11-foreign-projects-greenlit-in-mon-state-in-april/#article-title

คาด RCEP-FTA ดึงการลงทุนเข้ามายังกัมพูชาเพิ่มขึ้น

Chea Serey ผู้ว่าการธนาคารชาติกัมพูชา กล่าวว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และความตกลงการค้าเสรี (FTA) แบบทวิภาคี จะช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และส่งเสริมการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งความตกลงด้านการค้าเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมศักยภาพการผลิตให้กับกัมพูชา และส่งเสร้างการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยคาดว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาจะเติบโตกว่าร้อยละ 6 ภายในปี 2024 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 ในปี 2023 จากแรงหนุนด้านการส่งออกที่เพิ่มขึ้น และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ร่วมกับการเติบโตที่แข็งแกร่งในด้านคมนาคม รวมถึงการเติบโตในภาคการเกษตร ซึ่งรายงานของรัฐบาลระบุว่าปัจจุบันกัมพูชาอนุมัติโครงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมูลค่าราว 2.5 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2024 สร้างการจ้างงานประมาณ 130,000 ตำแหน่ง ขณะที่ด้านการค้าประเทศในกลุ่มสมาชิก ASEAN กัมพูชามีการส่งออกสินค้ามูลค่ารวมกว่า 8 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 จากมูลค่า 6.94 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501491953/rcep-ftas-to-help-cambodia-attract-more-fdis-boost-exports/

กัมพูชา-อินเดีย ร่วมแสดงความยินดี สำหรับการเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างกัน

กัมพูชาและอินเดีย ร่วมแสดงความยินดีต่อกัน สำหรับการเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงพนมเปญและกรุงนิวเดลี ซึ่งจะเริ่มให้บริการในเร็วๆ นี้  โดยคาดว่าเที่ยวบินตรงดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวระหว่างทั้งสองประเทศ รวมถึงจะเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าร่วมกันในระยะถัดไป สำหรับถ้อยคำดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการพบปะระหว่าง Hun Sen ประธานวุฒิสภากัมพูชา กับ Devyani Uttam Khobragade เอกอัครราชทูตอินเดียประจำกัมพูชา ณ วังวุฒิสภา เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สำหรับการประชุมครั้งนี้ Devyani Uttam Khobragade ได้แสดงความคาดหวังต่ออนาคตของความสัมพันธ์ระหว่าง กัมพูชา-อินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคง ขณะเดียวกันทางการอินเดียมีความพร้อมและมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501491947/cambodia-india-congratulate-the-upcoming-establishment-of-direct-flights/