การบริโภคเนื้อหมูของเวียดนามใหญ่อันดับ 2 ในเอเชีย

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ประมาณการณ์ว่าปีนี้ เวียดนามเป็นผู้บริโภคเนื้อหมูที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากจีน ดังนั้น การบริโภคเนื้อหมูของเวียดนามจะสูงถึง 3.4 ล้านตันในปีนี้ และจะขยายตัว 3.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตั้งแต่ปี 2565-2573

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าการกลับมาเปิดได้อีกครั้งของภัตตาคาร โรงเรียนและโรงงานต่างๆ ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ราคาหมูมีชีวิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในบางพื้นที่ โดยราคาหมูมีชีวิตเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ 53,000-58,000 ดองต่อกิโลกรัม (2.3-2.5 ดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 1,000-3,000 ดองต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. สาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น แต่คาดว่าจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากโรงเรียนจะเข้าสู่ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนและการบริการจัดเลี้ยงยังไม่ฟื้นตัวเท่ากับช่วงก่อนการระบาดเชื้อไวรัส

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1192291/vn-pork-consumption-forecast-as-second-largest-in-asia.html

กัมพูชาตั้งเป้า ดึงทุนจีนพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์

ประธานสมาคมผู้ประเมินราคาและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แห่งกัมพูชา (CVEA) กล่าวว่า นักลงทุนชาวจีนกำลังมองหาการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างในกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น โดยมีความเป็นไปได้ที่จะลงทุนในจังหวัดพระสีหนุ พนมเปญ และจังหวัดอื่นๆ ที่มีศักยภาพ ซึ่งคาดว่าจะมีการวางแผนจัดตั้งโครงการการลงทุนเพิ่มเติมภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ในจีนยังไม่ดีขึ้นมากนัก ซึ่งประธาน CVEA ย้ำว่าหากพิจารณาจากสถานการณ์ภาคอสังหาริมทรัพย์ในตลาดกัมพูชา พบว่าปัจจุบันมีการเข้าซื้อที่ดิน และคอนโดมิเนียม เพิ่มขึ้นจากนักลงทุนในท้องถิ่น ในขณะที่ตั้งแต่กัมพูชาได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การลงทุนของจีนในภาคการก่อสร้างลดลงกว่าร้อยละ 50 จึงทำให้ทางการกัมพูชาวางแผนที่จะเร่งดึงดูดนักลงทุนจากจีนกลับมาลงทุนยังกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501076977/cambodias-real-estate-sector-main-target-for-chinese-investment/

ในช่วง 4 เดือนแรก กัมพูชาส่งออกพุ่ง 32%

กัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่ารวม 7,606 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิต แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ช่วง มกราคม-เมษายน สหรัฐฯ ถือเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาด้วยมูลค่ารวม 2,923 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือเวียดนามและจีนที่มีมูลค่า 977 ล้านดอลลาร์และ 423 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ คิดเป็นมูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและประเทศคู่ค้าที่มูลค่า 17,649 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หลังกัมพูชากลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเต็มรูปแบบเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มีส่วนทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501076534/cambodias-exports-jump-32-percent-in-first-four-months/

เมียนมาส่งออกอ้อยกว่า 50,000 ตัน ไปจีนผ่านชายแดนรุ่ยลี่

รถบรรทุกอ้อยทั้งหมด 7 คัน บรรทุกอ้อยกว่า 50,000 ตัน ไปจีนผ่านเขตการค้ามูเซ 105 ไมล์ เข้าสู่ชายแดนรุ่ยลี่ ทั้งนี้จีนได้สร้างถนนเส้นใหม่สำหรับรถบรรทุกอ้อย ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่ง  โดยการส่งออกอ้อยภายในหนึ่งเดือนผ่านชายแดนรุ่ยลี่หลังจากกลับมาเปิดชายแดนอีกครั้ง มีปริมาณอ้อยทั้งหมด 5,440 ตัน (2.448502 ล้านหยวน)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-50000-tonnes-of-sugarcane-exported-to-china-via-ruili/#article-title

เมียนมา เร่งส่งออกมะม่วง Sein ta lone จากเมืองกั่นบะลู ไปยังจีน

มะม่วงสายพันธุ์ Sein Ta Lone หรือหรือมะม่วงเพชรน้ำหนึ่งของเมียนมา ที่ปลูกในเขตเกษตรกรรมพิเศษ ในจังหวัดกั่นบะลู เขตซะไกง์ ได้ส่งออกไปยังจีนผ่านด่านชายแดนมูเซ สำหรับราคาในตลาดจีน อยู่ที่ประมาณ 90-100 หยวนต่อตะกร้า (ขนาด 16 กก). ราคาอาจพุ่งสูงถึง 120 หยวน ปัจจุบันราคาอาจปรับตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากผลผลิตล้นตลาด กรมวิชาการเกษตรเขตซะไกง์กำหนดให้พื้นที่ 2,500 เอเคอร์ในจังหวัดกั่นบะลู เป็นเขตเกษตรกรรมพิเศษสำหรับการปลูกมะม่วง Seintalone ซึ่งอุปสรรคทางการค้าคือค่าขนส่งที่สูงจากการขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น มาตรการป้องกัน COVID-19 มีส่วนให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย โดยมะม่วง Seintalone อายุ 5 ปี ออกผลผลิตได้ 20-30 ลูกต่อต้น ถ้าอายุมากกว่า 10 ปี จะออกผลผลิตได้ประมาณ 70-80 ลูกต่อต้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/seintalone-mango-from-kanbalu-district-to-be-shipped-to-china/#article-title

‘สัมพันธ์เวียดนาม-ลาว’ ผลักดันการค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี 1962 เวียดนามและสปป.ลาว ได้ส่งเสริมความร่วมมือผ่านซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยในปี 2559-2563 การค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศ สามารถบรรลุการค้ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หลังจากนั้นได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภัยธรรมชาติ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าการค้าทวิภาคีในปี 2563 ลดลง 11.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการส่งออกเวียดนามอยู่ที่ 571.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.5% อย่างไรก็ดี การค้าทวิภาคีกลับมาขยายตัวขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2564 เพิ่มขึ้น 33.3% คิดเป็นมูลค่า 1.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุสำคัญมาจากการแก้ไขปัญหาของผู้นำเวียดนามและสปป.ลาว ทั้งในเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่อย่างรวดเร็วและขจัดอุปสรรคของการดำเนินธุรกิจทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดสปป.ลาว ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า, เครื่องจักรและอุปกรณ์ม ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปุ๋ยและผัก เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamlaos-trade-ties-growing-sustainably/228623.vnp

 

กัมพูชาจัดเก็บภาษีเกินร้อยละ 50 ของแผนการจัดเก็บแล้ว

การเก็บภาษีของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่รัฐบาลได้เปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว โดยกรมภาษีอากร (GDT) ได้รายงานถึงการจัดเก็บภาษีที่มีมูลค่ารวมแล้วกว่า 1,501 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือน มกราคม-เมษายน ของปีนี้ คิดเป็นร้อยละ 53 ของแผนการจัดเก็บภาษีที่ได้กำหนดไว้สำหรับปี 2022 ซึ่งในปี 2020 การจัดเก็บภาษีของกัมพูชาอยู่ที่ร้อยละ 101.3 ของแผนการจัดเก็บ ในขณะที่ปี 2021 การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 124 ของเป้าการจัดเก็บภาษี โดยรายได้ของกรมศุลกากรจากการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 800 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501075852/tax-collection-crosses-50-percent-of-financial-plan/

กัมพูชาส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 53

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ มูลค่าแตะ 2,923 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือน มกราคม-เมษายน ปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต ในขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้ามูลค่า 104 ล้านดอลลาร์จากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ในช่วงเวลาเดียวกัน คิดเป็นมูลค่าการค้ารวมระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯที่ 3,028 ล้านดอลลาร์ รองจากจีนที่มีมูลค่าระหว่างกัมพูชาที่ 3,930 ล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้า รวมถึงสินค้า เช่น รองเท้า จักรยาน และเฟอร์นิเจอร์ ภายใต้ GSP ของสหรัฐฯ ซึ่งในปีที่แล้ว การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ อยู่ที่ 9,159 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็นกัมพูชาส่งออกมูลค่า 8,745 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 ตามรายงานของสำนักสำรวจสำมะโนสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501075889/cambodia-exports-to-us-surge-53-percent/

สปป.ลาว เกาหลี พัฒนาเวทีส่งเสริมการท่องเที่ยว

สปป.ลาวและเกาหลีใต้เป็นพันธมิตรกันในการแลกเปลี่ยนการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และอุตสาหกรรมระหว่างสองประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะนำนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีมาที่สปป.ลาวมากขึ้น Green Discovery Laos และสมาคมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (ICIA) ของสมาคมอุตสาหกรรมและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเกาหลี-ลาว ได้ตกลงที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศลาว โดยรวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ร้านอาหาร และโรงแรมทั่วประเทศ MOU มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวเกาหลี ไม่เพียงเพื่อให้พวกเขาสามารถเพลิดเพลินกับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว Green Discovery แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวอื่น ๆ ทั่วประเทศลาว สอดรับกับรัฐบาลเกาหลีวางแผนที่จะเปิดประเทศอีกครั้งเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเพิ่มเที่ยวบินลาว-เกาหลีภายในสิ้นปีนี้              ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นโอกาสของทั้งสองฝ่ายในการฟื้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten92_Laos_korea_y22.php

สภาพัฒน์ หั่นเศรษฐกิจปี 65 โตเหลือ 3%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 2565 ขยายตัว 2.2% จากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ซึ่งปรับลดลงจากที่ประมาณไว้เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2565 ก่อนที่มีสงครามรัสเซียยูเครน โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 2.5-3.5% หรือ ค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ 3% จากเดิมที่คาดไว้ก่อนหน้าจะขยายตัวได้ 3.5-4.5% ซึ่งเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจากการยืดเยื้อของสงครามรัสเซียยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันแพง ส่งผลต่อเงินเฟ้อสูงถึง 4.2 – 5.2% นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงหนี้ครัวเรือนไทยสูง โดยเฉพาะหนี้เสียของครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/683242