ปีงบประมาณย่อย 64-65 เมียนมานำเข้าสินค้าทุนลดลง

6 เดือนแรกของปีงบประมาณย่อย (2564-2565) ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 31 มี.ค. 2565 เมียนมามีการนำเข้าสินค้าทุน เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องจักร และเหล็กกล้า เป็นมูลค่าประมาณ 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า2.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564 จากผลกระทบของ COVID-19 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ กระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่พึ่งพาชาวต่างชาติเป็นหลัก ที่ลดลงถึง 70% ผู้ประกอบการต้องลดค่าเช่า ตามยอดดารเข้าพักที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ที่เงินจัตอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ซีเมนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร สูงขึ้น ในทางกลับกัน วัตถุดิบที่ใช้ในการตัดเย็บเสื้อผ้าประเภท Cut-Make-Pack (CMP) มีมูลค่านำเข้า  1.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลับเพิ่มขึ้นถึง 329 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้ว โดย 10 ประเทศหลักที่เมียนมานำเข้าสินค้าทุน ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-records-import-plunge-in-capital-goods-in-past-mini-budget-period/

การค้าทวิภาคีระหว่าง กัมพูชา-เกาหลี เพิ่มขึ้น 22.8% ในช่วง Q1

การค้าเสรีทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 หรือคิดเป็นมูลค่า 234.4 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ตัวเลขดังกล่าวรายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 61.3 ล้านดอลลาร์ไปยังเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้มูลค่า 173 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-เกาหลี (CKFTA) มีผลบังคับใช้ โดยเกาหลีใต้ถือเป็นตลาดหลักของกัมพูชาสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้าและรองเท้า ในขณะที่สินค้าส่งออกที่สำคัญของเกาหลีใต้มายังกัมพูชา ได้แก่ รถยนต์ เครื่องจักร สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501060027/cambodia-korea-bilateral-trade-jumps-22-8-percent-in-q1/

ไตรมาส 1 การค้ากัมพูชาพุ่ง หลังคุมโควิดได้ ร่วมกับ FTA

การจัดการกับวิกฤตการณ์โควิด-19 ของรัฐบาลกัมพูชาอย่างมีประสิทธิภาพ และการมีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ของกัมพูชา ถือเป็นส่วนช่วยสำคัญ ในการเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชา ณ ไตรมาส 1 อยู่ที่ 13.1 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานล่าสุดของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ซึ่งการส่งออกมีมูลค่าถึง 5.7 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และการนำเข้ามีมูลค่า 7.4 พันล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.9 โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายสำคัญของกัมพูชา ซึ่งมีมูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชาอยู่ที่ 2.87 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501060030/cambodias-q1-trade-jumps-on-covid-19-handling-ftas/

จี้รัฐเร่งเปิดด่านชายแดน ฟื้นฟูเศรษฐกิจเชียงราย

สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทำให้รัฐบาลไทยสั่งปิดด่านชายแดนแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ จ.เชียงราย มานานกว่า 2 ปี สภาพเศรษฐกิจด้านนี้ย่ำแย่ และได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนอีก ล่าสุด ตัวแทนภาคธุรกิจเมืองเศรษฐกิจการค้าชายแดน จ.เชียงราย ออกมาเรียกร้องให้รัฐเร่งเปิดด่านโดยเร็ว ก่อนที่ร้านรวงจะล้มหายตายจากไปจนหมด ด้าน น.ส.ผกายมาศ เวียร์ร่า รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงรายและประธานหอการค้าแม่สาย เปิดเผยว่า ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจชายแดนอย่างเร่งด่วน ด้วยการตั้งคณะกรรมการทั้งภาครัฐและเอกชนที่รู้ปัญหาชายแดนไทย-เมียนมา-สปป.ลาว-จีน เพื่อเจรจาระดับภาคีขอเปิดด่านพรมแดน ซึ่งตอนนี้โควิด-19 เริ่มดีขึ้นบ้าง ประเทศเพื่อนบ้านต่างมีมาตรการดูแลประชาชน ซึ่งอยากให้เร่งพิจารณาเมื่อพื้นที่ไหนพร้อมก็ควรเปิด โดยเฉพาะ อ.แม่สาย เป็นเส้นทางถนนเอเชียไฮเวย์ 2 (เส้นทาง R3B) เชื่อมต่อ 8 ประเทศ เข้าจากทางภาคใต้ด่าน จ.สงขลา ไปออกแม่สาย ผ่านสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 1 เชื่อมโยงไปจีนตอนใต้ ตามเส้นทาง จ.ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง-เมืองลา เขตโกกั้ง เมืองตองจี เมืองมัณฑะเลย์ ถึงชายแดนเมียนมา-จีน ที่ด่านมูเซ-รุ่ยลี่ แต่ละปีสินค้าไทยและสินค้าเกษตรของเมียนมาเข้า-ออกจีนที่ด่านนี้ มีมูลค่าการค้านับแสนล้านบาท ชายแดนฝั่งตรงข้ามไทยไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม เขายังพึ่งพาอาหารและสินค้าไทยเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดชายแดนจีน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/north/2372316

สปป.ลาวสูญเสียเงินจากการคอรัปชั่นตลอดหลายปีมากกว่า 760 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ตามรายงานของหน่วยงานตรวจสอบรัฐบาลสปป.ลาว รัฐบาลลาวสูญเสีย 767 ล้านเหรียญสหรัฐจากการคอร์รัปชั่นตั้งแต่ปี 2559 โดยโครงการพัฒนาและการลงทุนของรัฐบาล เช่น การก่อสร้างถนนและสะพานเป็นต้นเหตุของการรับสินบนที่แพร่หลาย แม้จะมีการตรากฎหมายต่อต้านการทุจริตที่ทำให้การใช้อำนาจในทางมิชอบ การฉ้อฉลของภาครัฐ การยักยอกเงิน และการติดสินบน บทลงโทษยังไม่รุนแรงพอที่จะทำให้คนทุจริตเกรงกลัว ทั้งนี้รัฐบาลได้ให้คำมั่นว่าจะจัดการกับการทุจริตที่แพร่หลายในด้านการเมืองและทุกภาคส่วนของสังคมเศรษฐกิจและยังยืนยั่นว่าการตรวจสอบเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งของรัฐบาลและพรรค

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/corruption-losses-04182022171408.html

ไทยเตรียมส่งออกทุเรียนล็อตใหม่ ผ่านรถไฟจีน-ลาว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยความคืบหน้าการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน โดยล่าสุด เจ้าหน้าที่ด่านโม่ฮานของจีน ได้เปิดนำเข้าทุเรียนไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากระงับการนำเข้าทุเรียนไทย 3 วัน ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน จากเหตุพบการปนเปื้อนโควิดในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์ และช่วงกลางสัปดาห์นี้ไทยจะมีการส่งออกทุเรียนอีกล็อตหนึ่ง โดยใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาว ด้วยการขนส่งระบบผสมราง-รถ ซึ่งจะต้องคุมเข้มมาตรการขจัดทุเรียนอ่อนและป้องกันการปนเปื้อนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อ ให้มีมาตรฐานตามข้อกำหนด

ที่มา : https://news.ch7.com/detail/563786

หนี้สาธารณะเวียดนาม พุ่งแตะระดับ 3,500 ล้านล้านดอง

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเวียดนาม ภายใต้กระทรวงการคลัง ได้เผยแพร่ข้อมูลตัวเลขหนี้สาธารณะ ณ เดือนมิถุนายน 2564 พบว่าหนี้รัฐบาล มีจำนวน 3,100 ล้านล้านดอง มาจากเงินกู้ต่างประเทศ 1,100 ล้านล้านดอง หากเทียบกับปี 2560 ชี้ให้เห็นถึงรัฐบาลมีหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 533 ล้านล้านดอง ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นผู้ให้กู้เงินรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีจำนวน 333 ล้านล้านดอง รองลงมาเกาหลีใต้ ฝรั่งเศสและเยอรมนี ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาการให้กู้ยืมของเวียดนามกับสถาบันการเงินระดับโลก พบว่าธนาคารโลก (World Bank) เป็นผู้ให้กู้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีจำนวน 382 ล้านล้านดอง รองลงมาธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) นอกจากนี้ กระทรวงฯ ได้คาดการณ์ว่าหนิ้สาธารณะจะอยู่ที่ระดับ 46%-47% ของ GDP

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-s-public-debt-totals-vnd3-500-trillion-as-of-june-2021-2010781.html

‘สหรัฐอเมริกา’ ขึ้นแท่นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ไตรมาส 1/65

จากรายงานทางสถิติของสำนักงานศุลกากร เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยมีสัดส่วน 29.1% ของมูลค่าการค้าทั้งหมด และในเดือนมีนาคม เพียงเดือนเดียว เวียดนามส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ สูงถึง 9.76 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ยอดการส่งออกรวมทั้งสิ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ อยู่ที่ 25.96 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สินค้าส่งออกหลักของเวียดนามไปยังตลาดสหรัฐฯ ที่มีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป มีจำนวน 6 รายการสินค้า ได้แก่ เครื่องจักร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ รองเท้า ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ เป็นต้น อย่างไรก็ดี สินค้าเวียดนามประเภทเครื่องนุ่งห่ม มีความโดดเด่นอย่างมากในตลาดสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าสูงถึง 4.36 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีสัดส่วนกว่า 50.3% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/us-remains-vietnams-largest-export-market-in-q1-post938047.vov

6 เดือนแรกของงบประมาณย่อย 64-65 การค้าชายแดนเกาะสอง แตะ 170 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ปีงบประมาณย่อย 2564-2565 การส่งออกจากชายแดนเกาะสองกับประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกอยู่ที่ 161.695 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน 21.249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 163.564 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการค้าระหว่างเมียนมาและไทยในปีงบประมาณ 2562-2563 มีมูลค่าเพียง 5,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2561-2562 โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 5,117.913 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/229173

Q1/2022 กรมศุลกากรกัมพูชารายงานการจัดเก็บภาษีเกือบ 600 ล้านดอลลาร์

กรมศุลกากรและสรรพสามิตของกัมพูชา (ACC) รายงานการเก็บภาษี ณ ไตรมาส 1 ปี 2022 ที่มูลค่า 2,428.6 พันล้านเรียล หรือเทียบเท่ากับ 597.6 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 23.2 ของแผนที่กำหนดไว้ประจำปี 2022 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2021 ลดลง 61.2 พันล้านเรียล หรือร้อยละ 2.5 ซึ่งแบ่งออกเป็นรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 943.8 พันล้านเรียล (เทียบเท่ากับร้อยละ 38.9 ของรายได้ทั้งหมด), ภาษีธุรกิจเฉพาะ 894.9 พันล้านเรียล (เทียบเท่ากับร้อยละ 36.8 ของรายได้ทั้งหมด), ภาษีศุลกากรจำนวน 436.3 พันล้าน เรียล (เทียบเท่าร้อยละ 18 ของรายได้ทั้งหมด), ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีจำนวน 100.9 พันล้านเรียล (เทียบเท่ากับร้อยละ 4.2 ของรายได้ทั้งหมด), ภาษีนำเข้า-ส่งออก และค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกจำนวน 52.8 พันล้านเรียล (คิดเป็นร้อยละ 2.2 ของรายได้ทั้งหมด)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501059681/customs-collected-nearly-600-million-in-revenue-in-the-first-quarter-of-this-year/