‘เวียดนาม’ เผยตลาดธุรกิจห้องเย็น มีโอกาสแตะ 295 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2568

บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร Cushman & Wakefield เปิดเผยว่าตลาดธุรกิจห้องเย็น (Cold Storage) ของเวียดนาม มีแนวโน้มอยู่ที่ 295 ล้าน เหรียญสหรัฐในปี 2565 เนื่องมาจากมีความต้องการที่จะกระจายวัคซีนและการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารทะเล และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดธุรกิจห้องเย็นของเวียดนามเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ตามกระแสการจัดส่งอาหาร (Food Delivery) และอีคอมเมิร์ซ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 15 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคเริ่มหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกและสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งกระตุ้นความต้องการธุรกิจห้องเย็นที่สูงขึ้นและการลงทุนเพิ่มเติมในห่วงโซ่อุปทานห้องเย็น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-cold-storage-market-forecast-to-hit-us295-million-by-2025-320204.html

 

‘อีสปอร์ตเวียดนาม’ เล็งเห็นโอกาสทองทางธุรกิจ ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ว่าองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และเอกลักษณ์ที่ผสมผสานของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ทำให้เวียดนามสามารถตามทันกระแสของอีสปอร์ตและยังเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ โดยเวียดนามมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ 77% ของทั้งประเทศ จำนวนผู้คนกว่า 61 ล้านคนที่ใช้สมาร์ทโฟน และพบว่าเด็กรุ่นใหม่ “Gen Z” ส่วนใหญ่ 90% เป็นฐานลูกค้าหลักของธุรกิจเกมหรืออีสปอร์ต (E-Sport) ทั้งนี้ ตามรายงานการวิจัย เปิดเผยว่าตลาดเกมส์ในประเทศ ปี 2563 สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน ในขณะที่ผู้เล่นอีก 18 ล้านคนที่ชอบแข่งขันอีสปอร์ตและอีกประมาณ 86 ล้านคนที่เป็นผู้ชมอีสปอร์ต ซึ่งจากผลงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์สินค้าอีกด้วย นอกจากนี้ ตามรายงานของผู้ให้บริการอย่าง Appota ชี้ว่าผู้คนกว่า 80% ส่วนใหญ่ชื่นชอบดูผลงานของครีเอเตอร์เกมในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยใช้เวลาเล่นเกมและดูการแข่งขัน E-Sport เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1164078/viet-nams-e-sports-present-golden-opportunities.html

 

กัมพูชาคาดส่งออกรองเท้าไปยังจีนเพิ่มขึ้นภายใต้ RCEP

กัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์รองเท้าไปยังจีนเพิ่มขึ้นภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา กล่าวโดย Kith Meng ประธานหอการค้ากัมพูชาและประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน โดยได้กล่าวเสริมว่ากัมพูชาถือเป็นหนึ่งในประเทศที่คาดว่าจะใช้ความตกลงดังกล่าวให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาได้ดำเนินการตามกรอบแนวทางของ RECP ทั้งในด้านของการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน เศรษฐกิจดิจิทัล และการแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รวมถึงการปรับปรุงสินค้าที่จำเป็น เพื่อเป็นการลดต้นทุนทั้งในด้านของการผลิตและการขนส่งในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501039486/cambodia-exports-footwear-to-china-under-rcep/

การค้าระหว่าง กัมพูชา-สหภาพยุโรป พุ่งแตะ 4.98 พันล้านดอลลาร์

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรป (EU) มีมูลค่าแตะ 4.5 พันล้านยูโร (4.98 พันล้านดอลลาร์) ในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหลักที่กัมพูชาส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ได้แก่ สินค้าเกษตร อาทิเช่น ข้าวสาร สิ่งทอ รองเท้า สินค้าเพื่อการท่องเที่ยว และจักรยาน ในขณะที่สินค้าสำคัญที่กัมพูชานำเข้าจากสหภาพยุโรป ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเภสัชภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมกัมพูชา-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 11 โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันทั้งทางด้านการค้าและการลงทุน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501039659/cambodia-eu-trade-up-4-6-percent-to-4-98-billion-last-year/

นักวิชาการหวั่นศึกยูเครน ลามถึงต้นทุนสร้าง‘เมกะโปรเจกท์’

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ และ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ม.รังสิตแสดง ระเมินสถานการณ์สงครามรัสเซียยูเครนว่า จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ ของไทย ทำให้ต้นทุนของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้าง เหล็กประเภทต่างๆ ซึ่งสต๊อกผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากแหล่งผลิตและส่งออกเหล็กแหล่งอื่นๆ ไม่สามารถชดเชยได้ในระยะสั้นและระยะกลาง ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าเหล็กทั่วโลก ทำให้ผู้ผลิตและใช้เหล็กต่างเร่งปรับตัวหาแหล่งวัตถุดิบอื่นทดแทนรัสเซีย และยูเครนเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับ 5 และ 12 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดราว 14% ของการส่งออกสินค้าเหล็กของทั้งโลก

ที่มา: https://www.naewna.com/business/641162

‘อาเซียน’ นัดประชุมรายสาขาด้านเศรษฐกิจครั้งแรก ตั้งเป้ายกระดับอาเซียนสู่ยุคดิจิทัล

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า อาเซียนกำหนดจัดประชุมคณะกรรมการรายสาขาด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (Committee of the Whole: CoW) ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่ 10 มีนาคมนี้ การประชุมครั้งนี้ เป็นเวทีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการรายสาขาด้านเศรษฐกิจของอาเซียนรวม 23 ด้าน อาทิ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พิธีการศุลกากร และการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยมีผู้แทนจากเสาการเมือง เสาสังคมและวัฒนธรรม และผู้แทนภาคเอกชนของอาเซียน เข้าร่วมหารือแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างสาขาต่างๆ เพื่อให้เกิดผลได้จริง อาทิ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chains: GVCs) และแนวทางการดำเนินการต่อไปในประเด็นแผนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (4IR) ทั้งนี้ ความสำเร็จที่สำคัญจากการประชุมที่ผ่านมา คือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์อาเซียนประเด็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากมติที่ประชุม CoW สมัยพิเศษโดยแผนยุทธศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาประชาคมอาเซียนสู่ยุคดิจิทัลของทั้งสามเสาประชาคมอาเซียน ซึ่งอาเซียนกำลังจัดทำแผนดำเนินงานและกิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3305016

โอกาสผลผลิตทางการเกษตร ‘เวียดนาม’ ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งในตลาดโลก

ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเติบโตเป็นบวกอย่างต่อเนื่องและหวังว่าจะไปในทิศทางที่เป็นบวกต่อไป มูลค่าการส่งออกของภาคการเกษตร ป่าไม้และประมงอยู่ที่ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ ตามรายงานของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดสหภาพยุโรป (EU) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต และเมื่อปี 2564 เวียดนามมีโควตาไม่เกิน 80,000 ตัน ยกเว้นภาษีนำเข้าให้เวียดนามภายใต้ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) โดยการส่งออกสินค้าประเภทข้าว กาแฟ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยางพาราและผัก ไปยังตลาดอียูจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ นอกจากนี้ นายฝุ่ง ดึ๊ก เตี่ยน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม กล่าวว่าภาคการเกษตรเล็งเห็นโอกาสทางการส่งออกไปยังจีนและแสวงหาตลาดใหม่ดเผยว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดยุ างการเกของเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/chances-for-vietnam-farm-produce-to-strengthen-position-in-global-market-insiders/223258.vnp

 

‘เวียดนาม’ เผยอุตสาหกรรมป่าไม้ เตรียมรับมือวัตถุดิบในประเทศให้เพียงพอ

การประชุมสัมมนาออนไลน์ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “วิกฤติความขัดแย้งรัสเซีย – ยูเครน ส่งผลกระทบแฝงต่ออุตสาหกรรมไม้ของเวียดนาม” จัดขึ้นโดยสมาคมไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้เวียดนาม เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ผู้เข้าร่วมการประชุมกล่าวว่าวัสดุไม้จากรัสเซียเข้ามายังเวียดนามมีปริมาณน้อยมากและในอนาคตคงจะหมดไป ดังนั้น ผลกระทบดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไม้ของเวียดนาม นอกจากนี้ รัสเซียไม่ได้เป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ไม้รายใหญ่ของเวียดนาม คาดว่าจะไม่สร้างผลกระทบในเชิงลบมากเท่าไร อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมการประชุม ชี้ว่าความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน จะทำให้อุปทานวัสดุไม้จากรัสเซียลดลง ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัสดุไม้ไปยังทั่วโลกในอนาคต

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11260602-vietnam-s-wood-industry-seeks-to-ensure-self-sufficiency-in-domestic-materials.html

ยอดส่งออกข้าวโพดเมียนมาพุ่ง ดันราคาพุ่งแตะ 1,000 จัตต่อ viss

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung) เผย ราคาข้าวโพดในประเทศพุ่งสถึง 1,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ผลมาจากความต้องการจากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง และค่าเงินจัตที่อ่อนค่าลง ปัจจุบันราคา FOB ข้าวโพดอยู่ที่ 310-330 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ทั้งนี้ราคาอาจพุ่งไปถึง 1,010-1,030 จัตต่อ viss ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ไทยได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับการนำเข้าระหว่างเดือนก.พ ถึงเดือนส.ค. อย่างไรก็ตามไทยกำหนดอัตราภาษีสูงสุดร้อยละ 73 สำหรับการนำเข้าเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศ โดยเมียนมาตั้งเป้าส่งออก 1.5 ล้านตันไปยังไทยในปีการผลิต 2564-2565 ซึ้งปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา ประเทศส่งออกข้าวโพดมากกว่า 1.7 ล้านตันไปยังไทย เมียนมาส่งออกข้าวโพด 2.3 ล้านตัน ส่วนใหญ่ส่งกลับไทย ที่เหลือส่งออกไปจีน อินเดีย และเวียดนาม ปัจจุบันมีการเปลูกข้าวโพดในรัฐฉาน รัฐคะฉิ่น คะยา และกะเหรี่ยง มัณฑะเลย์ ซากาย และมาเกว โดยมีการเพาะปลูกได้ทั้ 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และมรสุม มีผลผลิตอยู่ที่ 2.5-3 ล้านตันต่อปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/foreign-demand-kyat-depreciation-drive-corn-price-up-to-over-k1000-per-viss/#article-title

 

Laopec โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมสมัยใหม่แห่งแรกในลาว

Lao Petroleum & Chemical Co., Ltd. (Laopec) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพัฒนา Saysettha ในเวียงจันทน์ ได้ลงทุนมากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐในโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่นและสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลสปป.ลาวมูลค่ากว่า 66 พันล้านกีบ ทั้งนี้บริษัทวางแผนที่จะลงทุนรวมมูลค่ากว่าอีก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในสามขั้นตอนเพื่อสร้างโรงงานกลั่นปิโตรเลียมที่ทันสมัย ​​ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักในการกลั่นปิโตรเลียม สารเคมีที่ดี พลังงานสะอาด และการผลิต การจัดเก็บ การขาย และการขนส่งผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โรงงานแห่งนี้จะช่วยให้สปป.ลาวมีอุปทานน้ำมันกลั่นที่ปลอดภัยและมีเสถียรภาพ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของสปป.ลาวและช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและลดราคาน้ำมันในตลาดภายในประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laopec49.php