การรถไฟฯ ‘เวียดนาม’ แนะส่งเสริมบริการโลจิสติกส์

ในเดือน ก.ค. ปีที่แล้ว การรถไฟเวียดนาม (VNR) ได้เพิ่มการเชื่อมโยงการขนส่งทางรถไฟใหม่จากเวียดนามไปยังเบลเยียม โดยออกเดินทางจากสถานีเยนเวียน (Yen Vien) กรุงฮานอย ไปยังเมืองลีเอเจ้ (Liege) ที่ประเทศเบลเยียม ซึ่งปัจจุบันการรถไฟฯ เวียดนามกำลังเร่งเปิดบริการรถไฟบรรลุสินค้าจากเวียดนาม-จีน-รัสเซีย-ยุโรป-อาเซียน-กลุ่มประเทศแถบเอเชียกลาง เพื่อรองรับการให้บริการโลจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ นาย Vu anh Minh หัวหน้าการรถไฟเวียดนาม กล่าวว่าการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ผ่านทางรถไฟ ใช้เวลาราว 18-20 วัน ในขณะที่การขนส่งทางทะเล ใช้เวลาราว 40-45 วัน และได้ตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งนี้เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับการขนส่งทางรถไฟ โดยเฉพาะสินค้าที่เหมาะสมกับสภาพการจัดเก็บที่ดีและจัดส่งได้รวดเร็ว ตลอดจนธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันหันมาใช้ตู้คอนเทนเนอร์แทนการขนส่งทางทะเลมากขึ้น อย่างไรก็ดี โครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟในเวียดนามอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างมาก ทำให้ความสามารถในการขนส่งอยู่ในระดับต่ำ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1141763/vnr-should-seek-ways-to-promote-logistics-services.html

ราคานำเข้าน้ำมันปาล์ม พุ่งพรวด!! ปรับขึ้นอีก 5,000 จัตต่อ viss

สมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชเมียนมา เผย ราคาน้ำมันปาล์มขยับขึ้นเป็น 5,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในปัจจุบัน ตามราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันอยู่ที่ 1,450 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะช่วงต้นเดือนม.ค.65 อยู่ที่เพียง 1,360 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งบ่งชี้ว่าเพิ่มขึ้น 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันภายในหนึ่งเดือน ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มพุ่งพรวดขึ้นเป็น 5,150 จัตต่อ viss โดยธนาคารกลางแห่งเมียนมาขายน้ำมันพืช 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับภาคธุรกิจเพื่อจำหน่าย ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันอยู่ที่ 4,500 จัตต่อ viss ซึ่งจัดจำหน่ายโดยรถโมบายจากการประสานงานกับสมาคมฯ ทั้งนี้การบริโภคน้ำมันพืชในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี เป็นการผลิตน้ำมันประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน เพื่อความพอเพียงในตลาดภายในประเทศจึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/import-price-elevates-palm-oil-price-to-over-k5000-per-viss/#article-title

ญี่ปุ่นให้คำมั่นสัญญา 8.78 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับระบบเตือนภัยล่วงหน้า

รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงที่จะจัดหาเงิน 1 พันล้านเยน (8.78 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในหกจังหวัดของสปป.ลาว ระบบได้รับการออกแบบเพื่อให้ข้อมูลพยากรณ์อากาศและช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศที่เป็นอันตราย การใช้ระบบจะช่วยลดผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดจากสภาพอากาศที่รุนแรงได้และยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสปป.ลาวด้วย โดยมีมูลค่ารวมของความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศต่อปีมากถึง 164 ล้านเหรียญสหรัฐ ความช่วยเหลือของญี่ปุ่นสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลญี่ปุ่นในการสนับสนุนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของลาวสำหรับปี 2564-2568 และช่วยให้ประเทศจัดการกับเหตุการณ์สภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างลาวและญี่ปุ่นกระชับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากทั้งสองประเทศยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในปี 2558

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan23.php

สายการบินภายในประเทศกัมพูชาเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง

ท่าอากาศยานบางแห่งของกัมพูชาประกาศกลับมาเปิดเที่ยวบินภายในประเทศอีกครั้ง เนื่องจากจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศเข้ามายังกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ สายการบิน Cambodia Angkor Air ได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศอีกครั้ง ซึ่งสายการบินจะเริ่มเที่ยวบินระหว่างพนมเปญ-เสียมราฐ และพนมเปญ-สีหนุวิลล์ ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป โดยกำหนดเที่ยวบินทุกวันศุกร์และวันอาทิตย์ของสัปดาห์ ซึ่งวางแผนที่จะค่อยๆ เพิ่มจำนวนเที่ยวบิน และอาจจะเพิ่มเที่ยวบินจนไปเทียบเท่ากับภาวะปกติในอนาคตอันใกล้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501017539/domestic-airlines-resume-flights-as-flights-to-cambodia-increase/

ท่องเที่ยวกัมพูชาคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากซบเซาไปกว่า 2 ปี

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชาคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2022 หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวเปิดเผยว่ากัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.3 ล้านคนในปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 80 จากปี 2019 และจำนวนดังกล่าวลดลงอีกร้อยละ 85 มาอยู่ที่ 196,495 คน ในปี 2021 ซึ่งคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนกัมพูชาจะเริ่มฟื้นตัวจากปีนี้ เนื่องจากกัมพูชาได้เปิดรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว ภายใต้นโยบายปลอดการกักตัว โดยคาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้กว่า 5 แสนคน ซึ่งภาคการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501017486/cambodias-tourism-to-recover-after-2-years-of-slump/

“พิพัฒน์” จ่อเจรจาทราเวลบับเบิลจีน สทท.หนุนเพิ่มดีมานด์ตลาดอาเซียน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ตามกำหนดการเดินทางไปร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 24 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่าง 3-6 ก.พ.นี้ จะขอหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ประเทศจีน ถึงความเป็นไปได้ในการทำทราเวลบับเบิล (Travel Bubble) เพื่อแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างไทยกับจีนโดยไม่ต้องกักตัว และปลายเดือน ก.พ. จะหารือกับทางการมาเลเซียเรื่องทำทราเวลบับเบิล เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมาเลเซียมีกำหนดเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า จากสถิติการลงทะเบียนสมัครไทยแลนด์พาส (Thailand Pass) เมื่อ 1 ก.พ. ตั้งแต่เวลา 9.00-24.00 น. ซึ่งกลับมาเปิดระบบลงทะเบียนประเภท Test & Go รอบใหม่เป็นวันแรก พบว่ามีผู้ลงทะเบียนในระบบไทยแลนด์พาสรวม 35,046 ราย แบ่งเป็นประเภท Test & Go จำนวน 31,343 ราย แซนด์บ็อกซ์ 3,290 ราย และ AQ หรือการกักตัว 413 ราย

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/986185

‘อลงกรณ์’ชูชุมพรฮับผลไม้ใต้ มั่นใจรถไฟจีน-ลาวช่วยส่งออกปีนี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่ากระทรวงเกษตร มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของ จ.ชุมพร เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2565 กว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งพืชเศรษฐกิจหลักทำรายได้ เช่น ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มะพร้าวและกาแฟโรบัสต้า รวมทั้งเศรษฐกิจภาคบริการด้านการท่องเที่ยว จึงได้วางนโยบายการพัฒนาอย่างน้อย 3 ด้าน ดังนี้ 1.นโยบายพัฒนาชุมพรเป็นมหานครผลไม้ภาคใต้ ซึ่งชุมพรเป็นจังหวัดที่ผลิตทุเรียนได้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางขนส่งผลไม้ทางรถไฟสาย จีน-ลาว จะเพิ่มการส่งออกผลไม้ได้มากขึ้นในปีนี้ จึงเร่งยกระดับการพัฒนาชุมพรเป็นฮับผลไม้ภาคใต้ 2.นโยบายพัฒนาชุมพรเป็นฮับกาแฟโรบัสต้าของประเทศ โดยสร้างแบรนด์สร้างมูลค่ากาแฟโรบัสต้าที่ชุมพร 3.นโยบายพัฒนาชุมพรเป็นประตูท่องเที่ยวเกตเวย์ทะเลใต้

ที่มา : https://www.naewna.com/local/632576

‘เวียดนาม’ เผยเดือน ม.ค. ดัชนีผลผลิตอุตฯ โต 2.4%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IPI) ในเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปคิดเป็นสัดส่วน 70% ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดของประเทศและปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ สาขาหรือกิจกรรมการผลิตของภาคอุตสาหกรรมหลายด้านด้วยกันที่ผลักดันให้ดัชนีผลผลิตอุตฯ เติบโตสูงขึ้น ได้แก่ การขุดเหมืองแร่ (21.9%), การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะสำเร็จรูป (16.8%), หนังและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (12.3%), อุปกรณ์ไฟฟ้า (11.5%), การผลิตเสื้อผ้า (11.4%) สิ่งทอ (8.8%), ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (8.1%) ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมที่ทำให้ดัชนีผลผลิตอุตฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิตเครื่องดื่ม (2.7%), การผลิตยาและเวชภัณฑ์ สมุนไพร (3.6%), อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ (5%), การแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ (5.1%), น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ (9.7%)

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/business/vietnam-business-news-february-1-813048.html

‘เวียดนาม’ ชี้งบประมาณ เดือน ม.ค. บรรลุเป้าหมาย 13% ทั้งปี

กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าการจัดเก็บรายได้งบประมาณของรัฐในเดือน ม.ค. อยู่ที่ 183.5 ล้านล้านดอง บรรลุตามเป้าหมาย 13% ของทั้งปี และหดตัว 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจากรายได้งบประมาณข้างต้น มาจาก 1) รายได้งบประมาณในประเทศ 151.3 ล้านล้านดอง (12.9% ของงบประมาณที่ตั้งเป้าไว้) และลดลง 8% เมื่อเทียบเป็นรายปี 2) รายได้งบประมาณจากรัฐวิสาหกิจ 17.2 ล้านล้านดอง (11.1% ของงบประมาณที่ตั้งเป้าไว้) 3) รายได้งบประมาณจากบริษัทที่ลงทุนในต่างประเทศ 30.6 ล้านล้านดอง (14.9% ของแผนที่ตั้งเป้าไว้) 4) รายได้งบประมาณจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 15 ล้านล้านดอง และภาษีสิ่งแวดล้อม 4.6 ล้านล้านดอง 5) รายได้งบประมาณจากน้ำมันดิบ 3.9 ล้านล้านดอง และ 6) รายได้งบประมาณจากการนำเข้า-ส่งออก 28.3 ล้านล้านดอง

ทั้งนี้ การใช้จ่ายงบประมาณรวมมีมูลค่าทั้งสิ้น 113.9 ล้านล้านดองในเดือน ม.ค. การใช้จ่ายส่วนใหญ่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความมั่งคงและการบริหารจัดการภาครัฐ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/budget-collection-in-jan-meets-13-of-full-year-target/

แรงงานสปป.ลาวมีฝีมือเริ่มกลับมาทำงานที่ไทย

สถิติจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมระบุว่า แรงงานกว่า 246,000 คน ได้เดินทางกลับจากไทยไปยังลาวตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ เมื่อมีการเลิกจ้างจำนวนมาก โดยมีคนประมาณ 150,000 คน ที่เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว นายพงษ์สายศักดิ์ อินทรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสังคมสงเคราะห์ กล่าวว่า กว่าร้อยละ 50 ของแรงงานที่กลับมาทำงานในสปป.ลาวได้กลับมาทำงานที่ประเทศไทยแล้ว เขายังกล่าวเสริมว่านายจ้างในประเทศไทยมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้นและเสนอค่าจ้างที่เหมาะสม ในขณะที่บริษัทในลาวยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่รัฐบาลกำลังจัดตั้งศูนย์จัดหางานในทุกจังหวัดของสปป.ลาวเพื่อช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวที่กลับมาโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานใหม่แก่พวกเขา ศูนย์แห่งใหม่นี้จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ตลาดแรงงาน ทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับการติดตามและรายงานเกี่ยวกับนโยบายการจ้างงานและแรงงาน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะในการทำงาน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Skilledlao_22_22.php