‘จีน-ญี่ปุ่น’ซบไทย ลงทุน‘กนอ.’9เดือนพุ่ง1.3แสนล้าน

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีนักลงทุนสนใจที่จะซื้อ/เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้า (Warehouse) ที่เติบโตอย่างโดดเด่น ส่งผลให้นักลงทุนชาวจีน ญี่ปุ่น และอเมริกาเข้ามาลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น จนถึงปัจจุบันมีการลงทุนแล้วกว่า 230 โครงการ เงินลงทุนรวม 1.2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม มูลค่าการลงทุนรวม 9 เดือนปี 2564 คิดเป็นมูลค่า 130,289.44 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 138.27% เมื่อเทียบกับปี 2563 ( 54,681.37 ล้านบาท) จากการลงทุนเพิ่มขึ้นของฐานลูกค้าเดิมที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กระบวนการผลิต โดยจีนให้ความสนใจมาลงทุนมากเป็นอันดับหนึ่ง 15.15% รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 12.12% และสิงคโปร์ เกาหลี และสหรัฐอเมริกา 9.09%

ที่มา: https://www.naewna.com/business/593581

‘สหรัฐ’ ประกาศมอบ 500,000 ดอลลาร์ เข้ากองทุน ‘อาเซียน’ โควิด

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงในวันนี้ เกี่ยวกับผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน- สหรัฐว่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐในภูมิภาค ขณะที่ นายแอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ ได้ประกาศว่า สหรัฐสนับสนุนเงินจำนวน 500,000 ดอลลาร์ ให้แก่กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือโควิด-19 ในที่ประชุม นายดอน ได้เสนอประเด็นส่งเสริมความร่วมมืออาเซียน-สหรัฐ 4 ด้าน ได้แก่ 1.การสำรองวัคซีนโควิด-19 และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในภูมิภาคสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคต 2.การเสริมสร้างดุลยภาพทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคโดยมีอาเซียน เป็นเวทีในการขับเคลื่อนความร่วมมือที่สร้างสรรค์ระหว่างทุกผู้เล่นหลักในภูมิภาค 3.การพัฒนาความร่วมมือด้านดิจิทัล 4.การสร้างความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG)เป็นแนวคิดที่สอดคล้องและสามารถสนับสนุนข้อริเริ่ม Build Back Better World (B3W) ของสหรัฐ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/953051

เวียดนามเผยยอดส่งออกสินค้าเกษตรและประมง ม.ค.-ก.ค. พุ่ง 27%

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เผยว่าเดือนม.ค.-ก.ค. มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ 28.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่ามากกว่า 12.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบเป็นรายปี  ในขณะที่ ยอดการส่งออกสินค้าป่าไม้และประมง 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 54% และกว่า 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 12% ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเดือนก่อน กลุ่มสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริกไทย ผักผลไม้ กุ้ง ปลาสวายและงานไม้ โดยเฉพาะการส่งออกยางพารา เพิ่มขึ้น 33.6% ในแง่ของปริมาณและ 73.6% ในแง่ของมูลค่า อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ เป็นผู้ซื้อสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 8.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาจีนและญี่ปุ่น มง ม.ค.-ก.ค. พุ่งต้นนั้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83551/agro-forestry-fishery-exports-up-27-in-jan-jul.html

‘เวียดนาม-อินโดนีเซีย’ ส่งออกเติบโตแข็งแกร่ง แม้เผชิญวิกฤตโควิด-19

ตามรายงานสถิติของกรมศุลากากรเวียดนาม ชี้ว่ายอดการส่งออกของเวียดนามไปยังอินโดนีเซียในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อยู่ที่ 1.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 47.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตัวเลขของมูลค่าข้างต้นนั้นส่วนใหญ่มาจากกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมของเวียดนามที่มีอัตราการเติบโตสูง ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของเวียดนามที่ขยายตัวแข็งแกร่ง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 167.3% ตามมาด้วยวัตถุดิบพลาสติก 95.1%, เหล็กและเหล็กกล้า 93.6% เป็นต้น ในขณะเดียวกัน เวียดนามส่วนใหญ่นำเข้าถ่านหินและน้ำมันพืชจากอินโดนีเซีย เป็นมูลค่า 894.12 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 24.7% ของยอดการนำเข้าทั้งหมดจากอินโดนีเซีย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/indonesia-vietnam-enjoy-robust-export-growth-despite-covid-19-threat-880054.vov

ตลาดหัวหอมเมียนมาซบเซา เหตุออเดอร์ต่างประเทศลดฮวบ !

ตลาดหัวหอมยังคงนิ่งจากความต้องการของต่างประเทศที่ลดลง  การปิดด่านชายแดนส่งผลให้ราคาลดลงอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหายและสามารถบริหารจัดการต้นทุนการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวได้ในตอนนี้ ด้วยเหตุนี้ผู้ปลูกบางรายในเขตมะกเวจำต้องทิ้งต้นหอมในฤดูเก็บเกี่ยวปีที่แล้ว เนื่องจากไม่สามารถแบกรับค่าจ้างแรงงานและค่าขนส่งได้ ในช่วงต้นปี 63 ราคาหัวหอมอยู่ที่ 1,200-1,300 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) จากนั้นราคาก็ลดลงอย่างมากในช่วงวิกฤต COVID-19 ปัจจุบันราคาในตลาดค้าปลีกปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ การค้าที่ซบเซาเกิดจากสภาวะทางการเมืองในปัจจุบันและการปิดร้านอาหาร โรงแรม โรงงาน และกิจกรรมต่างๆ เหตุเหล่านี้กระทบต่อตลาดอย่างรุนแรง วึ่งก่อนหน้านี้ บังคลาเทศและอินเดียมีความต้องการหัวหอมจำนวนมาก แต่ต้องหยุดชะงักเพราะการแพร่กระจายของ COVID-19  ที่ผ่านมาราคาหัวหอมเคยพุ่งเกิน 3,000 จัตต่อ viss ในปี 2558, 2561 และ 2562 ทั้งนี้หัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://gnlm.com.mm/onion-market-remains-sluggish-due-to-lack-of-foreign-demand/

วาระแห่งชาติพิเศษของ NA เปิดให้อภิปรายเพื่อหาข้อสรุป

การประชุมวิสามัญครั้งแรกของสภานิติบัญญัติแห่งที่ 9 ของรัฐสภาเริ่มขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เพื่ออภิปรายมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงินและเศรษฐกิจ และปราบปรามการใช้ยาเสพติดเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากคณะกรรมการกลางพรรคปฏิวัติประชาชนลาวในเดือนมีนาคมปีนี้ได้มีมติให้หาแนวทางแก้ไขปัญหาทางการเงินและเศรษฐกิจ และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด โดยจัดเป็นวาระระดับชาติเพื่อการพิจารณาอย่างเร่งด่วน ดร.ไซสมพร พรหมวิหาร ประธาน NA ได้เสนอร่างวาระแห่งชาติต่อ NA ว่ารัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินการตามวาระแห่งชาติภายในสองปีครึ่งหรือภายในสิ้นปี 2566 โดยหัวหน้ารัฐบาลได้สรุปการดำเนินการหลัก 5 ประการเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงินและเศรษฐกิจ ดังนี้ ส่งเสริมการผลิตเพื่อลดการนำเข้าและเพิ่มการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น ส่งเสริมความประหยัด ป้องกันความฟุ่มเฟือย สร้างความมั่นใจในการลงทุนและการใช้จ่ายของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการชำระหนี้ในประเทศและต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ kip เสถียร เพิ่มประสิทธิภาพของหลักนิติธรรม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA152.php

อัตราการฉีดวัคซีนของกัมพูชามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กัมพูชามีอัตราการฉีดวัคซีน COVID-19 สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ตามรายงานของ Global Change Data Lab ของสหราชอาณาจักร โดยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา ชาวกัมพูชาได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 โดส แล้วกว่าร้อยละ 29 ของคนในประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับอัตราการฉีดวัคซีนของประเทศญี่ปุ่น นับเป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์ ที่ได้ทำการฉีดวัคซีนให้กับคนในประเทศแล้วกว่าร้อยละ 58 หากไม่นับรวมประเทศจีน โดยทางด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการเข้าถึงวัคซีนของแต่ละประเทศ ซึ่งการเข้าถึงวัคซีนถือเป็นความหวังในการที่จะทำให้กิจกรรมต่างๆภายในประเทศกลับมาสู่ภาวะปกติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50908833/cambodia-vaccine-rate-among-highest-in-region-as-global-recovery-splits-into-two-blocs/

รัฐบาลกัมพูชารับฟังคำเรียกร้องจากภาคเอกชน ในการปรับมาตรการการกักตัว

รัฐบาลกัมพูชากำลังเร่งพิจารณาอย่างจริงจังในการปรับมาตรการการกักกันโรค เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน นักธุรกิจ และนายจ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปสู่การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ โดยความเคลื่อนไหวนี้อยู่ในขั้นของการพิจารณาหลังจากภาคเอกชนแสดงความกังวลเกี่ยวกับมาตรการการกักกันสำหรับนักธุรกิจที่ต้องการเดินทางเข้ามายังกัมพูชา ซึ่งทางด้านรองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้สมาชิกในคณะทำงานและคณะอนุกรรมการด้านการจัดการป้องกันโรค ให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนต่อไป เพื่อกำหนดแนวทางในการกักกันโรคที่ยืดหยุ่นขึ้น ทั้งในมิติของระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการกักตัวที่เหมาะสม เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักธุรกิจที่ต้องการเดินทางมายังกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50908912/govt-is-heeding-private-sectors-calls-for-adjustment-to-business-visitors-compulsory-quarantine/

การคลังของเวียดนาม ยื่นลดภาระ ‘ภาษีนิติบุคคล’ ปี 64 เหลือ 30%

กระทรวงการคลัง (MoF) ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ปี 64 เกี่ยวกับการปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคล 30% เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการรัฐสภา ในขณะที่ภาษีบุคลลธรรมดาได้มีการเสนอให้ปรับลด 50% และดำเนินการจ่ายในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้ อีกทั้ง กระทรวงฯ ยังเสนอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับกรณีจ่ายเงินล่าช้าเมื่อปีที่แล้วและปีนี้แก่กิจการที่ขาดทุน 3 ปี ติดต่อกัน อย่างไรก็ดี แพจเกจลดหย่อนภาษีและยกเว้นค่าธรรมเนียม คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 897 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยเหลือประชาชนและกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ministry-proposes-30-percent-decrease-in-2021-corporate-income-tax/205772.vnp

เวียดนามเผยกิจการเครื่องนุ่งห่มกว่า 30% ปิดกิจการ เหตุโควิด-19 ระบาด

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) ระบุว่าโรงงานสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มกว่า 30-35% ถูกปิดตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบโควิด-19 โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สาเหตุที่สำคัญมาจากกิจการไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจและจ่ายเงินให้กับพนักงานให้กลับมาทำงาน นับว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามอย่างมาก นอกจากนี้แล้ว อัตราการฉีดวัคซีนของอุตสาหกรรมสิ่งทอของเวียดนามอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ดังนั้น ทางสมาคมฯ ได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีช่วยเร่งฉีดวัคซีนให้กับคนงานและช่วยเหลือธุรกิจให้รอบด้าน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1003124/more-than-30-per-cent-of-textile-garment-operations-on-hold-due-to-covid-19.html