ท่าเรือแห้งธนาเล้ง เวียงจันทน์ โลจิสติกส์ พาร์ค สนับสนุนการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์

ท่าเรือแห้งทนาเล็ง (TDP) และเวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค (VLP) โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่สองโครงการได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลสปป.ลาวในการเปลี่ยนสปป.ลาวให้กลายเป็นจุดเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์และประเทศที่เชื่อมโยงทางบกภายในภูมิภาคเอเชี่ยตะวันออกเฉี่ยงใต้ ท่าเรือแห้งทนาเล็งเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์แห่งชาติของสปป.ลาวตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2568 โครงการนี้มีแผนที่จะเชื่อมโยงกับเส้นทางการค้าทางทะเล สนามบิน และทางรถไฟ ดังนั้นโครงการนี้จะช่วยสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพทางการค้าและการลงทุนสูงสุดของสปป.ลาว ในอนาคตอันใกล้ โครงการนี้มีแผนที่จะเชื่อมโยงกับท่าเรือหวุงอังในจังหวัดห่าติ๋งตอนกลางของเวียดนาม ซึ่งรัฐบาลสปป.ลาวและเวียดนามได้ตกลงที่จะร่วมกันพัฒนาเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Thanaleng_105.php

เวียดนามเผยจำนวนธุรกิจ 60,000 แห่ง ปิดกิจการชั่วคราว ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติประจำเวียดนาม (GSO) เผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 จำนวนสถานประกอบการ 59,800 แห่ง หยุดกิจการชั่วคราว เพื่อรอขั้นตอนการยุบและเลิกกิจการ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป้นรายปี ในขณะเดียวกัน สถานประกอบการจัดตั้งใหม่ราว 55,800 แห่ง ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 778.3 ล้านล้านดอง (33.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) และจำนวนแรงงานทั้งสิ้น 412,400 คน เพิ่มขึ้น 15.4% ในแง่ของสถานประกอบการ และ 39.5% ในแง้ของเม็ดเงินทุน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ สถานประกอบการเกือบ 22,600 แห่ง กลับมาดำเนินกิจการ เพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้สถานประกอบการจดทะเบียนใหม่และสถานประกอบการที่กลับมาดำเนินกิจการ รวมกันทั้งสิ้น 78,300 แห่ง ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค.

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/nearly-60000-firms-temporarily-suspend-stop-operations-in-five-months/202367.vnp

เวียดนามเผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม พ.ค. ขยายตัว 10%

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 9.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากจำแนกประเภท พบว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ขยายตัว 12.6% ตามมาด้วยการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ขยายตัว 8.3% และการประปาและบำบัดน้ำเสีย 7.5% ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมเหมืองแร่ หดตัว 7% ทั้งนี้ จำนวนพนักงานที่ทำงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรม ณ วันที่ 1 พ.ค. ขยายตัว 1.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ 11.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย. ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเขตอุตสาหกรรมหลายแห่ง โดยเฉพาะจังหวัดบั๊กซาง และบั๊กนิญ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/963411/iip-grows-10-in-may.html

จำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวรายงานถึงจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นโดยอยู่ที่จำนวน 194,025 คน ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 696.33 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ถึงแม้ว่าในเดือนเมษายนที่ผ่านมารีสอร์ททุกแห่งในกัมพูชาได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราวและมีการสั่งห้ามเดินทางในหลายจังหวัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีใหม่ของกัมพูชา ซึ่งมีการสั่งห้ามการเดินทางในช่วงวันที่ 6 และ 17 เมษายนตามลำดับ โดยเมื่อวันที่ 25 เมษายน รัฐบาลประกาศยุติการห้ามเดินทางระหว่างจังหวัดและการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทั่วประเทศอีกครั้งภายใต้มาตรการการป้องกันอย่างเข้มงวด ซึ่งหลังจากรัฐบาลได้ทำการยกเลิกการล็อกดาวน์ส่งผลทำให้ผู้คนจำนวนมากในประเทศออกท่องเที่ยว โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดในเขตพื้นที่จังหวัดกำปอต รองลงมาคือจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ กำปงสปือ และจังหวัดสีหนุวิลล์ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50865863/domestic-tourism-numbers-leap-to-over-190000-during-month-of-may/

สถานการณ์การส่งออกกัมพูชาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021

ไตรมาสแรกของปี 2021 กัมพูชาส่งออกสินค้ารวมมูลค่า 4,428 ล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต โดยเน้นถึงการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มในเดือน มกราคม-มีนาคม มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2,527 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่การส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทะยานสู่ระดับ 887 ล้านดอลลาร์ โดยการเติบโตของมูลค่าการส่งออกสำหรับสินค้าที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่ม แสดงให้เห็นถึงความต้องการสินค้าที่ผลิตจากกัมพูชาอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโลก เช่นสหรัฐอเมริกา ซึ่งเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรทำสถิติสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 รวมมูลค่ากว่า 1,014 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50865678/4-4-billion-in-cambodias-export-of-garment-non-garment-and-agricultural-products/

ปีงบฯ 63-64 เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตรพุ่ง 33%

7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาพุ่งแตะ 33.36% มูลค่า 3.46 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 ในปัจจุบัน แม้จะมีข้อจำกัดของการเปิดทำการของธนาคารและมาตรการควบคุมโควิด-19 แถบชายแดน สะท้อนจากการเพิ่มขึ้น 866.066 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากปีงบประมาณ (2562-2563) ที่ 2.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 22% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ได้แก่ ข้าวและปลายข้าว เมล็ดถั่ว ข้าวโพด ผักและผลไม้ งา ใบชา แห้งน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เกษตรอื่น ๆ ตลาดส่งออกสำคัญ เช่น จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา แต่บางครั้งตลาดสำคัญยังคงมีความไม่แน่นอนความต้องการของตลาดโลก ปัจจุบันภาครัฐได้เข้ามาช่วยเกษตรกรในการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การจัดหาเมล็ดพันธุ์ และรับมือกับกับสภาพอากาศที่ยากจะคาดเดา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-up-33-per-cent-this-fy/

นายกฯ สปป.ลาว เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนสร้างโอกาสในการพัฒนาเยาวชน

วันเด็กโลกในวันที่ 1 มิถุนายนนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนของสังคมร่วมมือกันสร้างเงื่อนไขและโอกาสที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็ก สร้างเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อให้เด็กลาวสามารถเติมเต็มศักยภาพในการพัฒนาและการเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสำหรับประเทศ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่าทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดจะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาเด็กหลากหลายเชื้อชาติของสปป.ลาวจนถึงปี 2573 ตามแผนงาน ในขณะเดียวกันก็มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM104.php

ราคาหม้อดินเผาในหมู่บ้านงามพญาอก ยังนิ่ง แม้เป็นที่ต้องการของตลาด

ความต้องการหม้อดินแบบดั้งเดิมอยู่ในระดับปานกลาง และราคาส่วนใหญ่มีเสถียรภาพในงามพญาอก  อำเภอญองอู้ จังหวัดญองอู้ เขตมัณฑะเลย์ ราคาของหม้อดินเผาอยู่ระหว่าง 2,000-7,000 จัตขึ้นอยู่กับลวดลายการออกแบบ ขนาด และคุณภาพ หมู่บ้าน Taunggon ใน ตำบลงามพญาอก ประกอบกิจการหม้อดินเผามาหลายชั่วอายุคน โดยทำการค้าและส่งท่าเรือไปยังเขตและรัฐอื่น ๆหมู่บ้านสามารถผลิตหม้อดินเผามากกว่า 250,000 ต่อปี โดยเฉพาะหม้อดินสำหรับน้ำดื่มเป็นที่ต้องการตลอดทั้งปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/prices-of-traditional-clay-pots-stable-in-ngapthayauk/#article-title

ธุรกิจ Healthcare ปัจจัยสำคัญสู่การดิจิทัลไลเซชั่นและการลงทุนในกัมพูชา

ภาคธุรกิจ Healthcare ในกัมพูชาถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับการสร้างการลงทุนและก่อให้เกิดดิจิทัลไลเซชั่นด้านการดูแลสุขภาพในกัมพูชา โดยเห็นถึงโอกาสในการฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19 ในกัมพูชา กลับมาสู่ภาวะปกติ ซึ่งทางกัมพูชาเห็นถึงความสำคัญของภาคธุรกิจด้านสุขภาพมากขึ้นหลังเกิดการแพร่ระบาด จากการที่ผู้ป่วยภายในประเทศเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่มีมาตรฐานได้ไม่ทั่วถึง ทางกัมพูชาจึงมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ เช่น การให้คำปรึกษา การวินิจฉัยและการจัดส่งยาจากระยะไกล ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สะดวกในการเดินทางมายังโรงพยาบาล โดยเชื่อว่ามีโอกาสสำหรับนักลงทุนที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรม Healthcare ภายในกัมพูชา เนื่องจากกัมพูชาขาดผู้ผลิตยาที่ถือเป็นหนึ่งในความสำคัญลำดับต้นๆ ของภาคอุตสาหกรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50865080/kingdoms-healthcare-sector-prime-for-digitalisation-and-investment/

กระทรวงเกษตรฯ กัมพูชาวางแผนเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน

กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงมีแผนที่จะส่งเสริมการผลิตทุเรียนโดยการขยายพื้นที่เพาะปลูกสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงงานด้วยการสร้างมาตรฐานและจัดตั้งสมาคมชาวสวนทุเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งราคาทุเรียนที่ปลูกในท้องถิ่นนั้นสูงกว่าราคาที่ทำการนำเข้ามาส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากสวนทุเรียนที่ 10,000 ถึง 20,000 ดอลลาร์ต่อเฮกตาร์ต่อปี โดยภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรฯ กำลังวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ในการขยายการปลูกทุเรียนและผลไม้อื่น ๆ ที่มีศักยภาพในตลาดในประเทศและในต่างประเทศ รวมถึงเสริมสร้างทักษะด้านเทคนิคการปลูกให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตต้นน้ำได้มีองค์ความรู้เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันกัมพูชามีพื้นที่ปลูกทุเรียน 5,289 เฮกตาร์โดยมีผลผลิตต่อปี 36,656 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50865112/ministry-of-agriculture-plans-to-increase-durian-plantations/