สภานการณ์ส่งออกไตรมาสแรกของกัมพูชายังคงหดตัว

สถานการณ์การส่งออกของกัมพูชาอยู่ในทิศทางที่ค่อนข้างย่ำแย่ในไตรมาสแรกของปี โดยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 5 เท่า จากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งกัมพูชาทำการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงสดรวม 978 ตัน ในไตรมาสแรกของปีนี้ตามรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ในขณะเดียวกันการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูปมีปริมาณอยู่ที่ 172 ตัน ณ ร้อยละ 8.60 ของเป้าหมายที่วางแผนไว้ โดยไทยและเวียดนามเป็นตลาดหลักสำหรับผลิตภัณฑ์ประมงของกัมพูชา ในขณะที่ข้าวสารของกัมพูชาถูกส่งไปยัง 41 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจีนเป็นตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาตามด้วย 19 ประเทศในยุโรปและ 3 ประเทศในอาเซียน (มาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์) โดยตัวเลขจากสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการส่งออกข้าวค่อยๆฟื้นตัว จากปริมาณการส่งออกข้าวในเดือนมีนาคมที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50835793/first-quarter-food-exports-suffering/

กัมพูชาเร่งศึกษาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงภายในประเทศ

กัมพูชาศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโครงการรถไฟขนส่งมวลชนสาธารณะความเร็วสูงสายพนมเปญ
จะเสร็จสิ้นในเดือนหน้าเนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนความช่วยเหลือ รวมทั้งสามารถหาวงเงินกู้จากธนาคารภายในภูมิภาคได้สำเร็จ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าวระหว่างการประชุมเสมือนจริงกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งกล่าวเพิ่มเติมว่าภาคเอกชนที่ทำการศึกษาใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนระยะที่สองสำหรับรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแล้วเสร็จแล้ว ซึ่งได้ขอให้ ADB ตรวจสอบผลการศึกษา โดยรัฐมนตรีฯกล่าวเสริมว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในพนมเปญและถือเป็นการเร่งการพัฒนาอย่างรวดเร็วในระดับประเทศ

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/50835809/phnom-penh-mass-transit-project-studies-rolling-forward/

เวียดนามส่งออกข้าวไปไทย “พุ่ง”

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เผยว่าในช่วงกลางเดือนมีนาคม ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามรวม 214,670 ตัน เป็นมูลค่า 117.58 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.5% ในแง่ของปริมาณและ 40.5% ในแง่ของมูลค่า โดยเฉพาะตลาดไทยที่ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามพุ่ง 30 เท่า ด้วยปริมาณกว่า 16,250 ตัน จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดอื่น อาทิ กานา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟิจิและอินโดนีเซีย ประเทศดังกล่าวนำเข้าข้าวเวียดนามพุ่งอย่างมาก ด้วยอัตรา 74.4%, 302.9%, 500.5% และ 2,180% ตามลำดับ ทั้งนี้ ตามสถิติ ณ วันที่ 6 เม.ย. ราคาส่งออกข้างหัก 5% ลดลง 5-10 เหรียญสหรัฐ อยู่ในระดับต่ำกว่า 500 เหรียญสหรัฐต่อตัน เนื่องจากแนวโน้มราคาข้าวทั่วโลกที่ปรับตัวลดลง ราคาข้าวของไทยและอินเดียปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากค่าเงินบาทและค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-rice-exports-to-thailand-enjoy-surge-848681.vov

เวียดนามตั้งเป้าปี 73 ภาคบริการมีสัดส่วน 60% ของ GDP

ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของเวียดนาม มุ่งเน้นการส่งเสริมภาคบริการในปี 2564-2573 ด้วยกำหนดวิสัยทัศน์ถึงปี 2593 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้นนั้น รัฐบาลจะผลักดันให้เกิดการปฏิรูปองค์กรและส่งเสริมความโปร่งใส รวมถึงยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคบริการในช่วงยุคอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้ เวียดนามจะปรับโครงสร้างภาคเศรษฐกิจผ่านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะสาขาการเงินการธนาคาร การประกันภัย การดูแลสุขภาพ การศึกษา การขนส่ง การค้าและการท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปีนี้ ภาคบริการขยายตัวในทิศทางเป็นบวกที่ 3.34% เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ค่อยๆลดลง

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-government-eyes-services-sector-to-make-up-60-of-gdp-by-2030-316932.html

ราคาถั่วลิมาในตลาดปะโคะกูลดลง ผลจากอุปทานล้นตลาด

ราคาถั่วลิมากำลังลดลงเนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดถึง  40,000 visses ( 1 Viss เท่ากับ 1.65 กิโลกรัม) จากเเมืองเยซาเกียวตลาดปะโคะกู (Pakokku) ในเขตมะกเว ในทุกๆ วัน โดยราคาถั่วลิมาที่ตลาดปะโคะกู อยู่ที่ราคา 14,000 ต่จัตอตะกร้า แต่ราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พบว่ามีการบริโภคน้อยภายในประเทศและส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย จีน และประเทศในยุโรป ปีที่แล้วราคาอยู่ที่ 15,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วลิมา 1 ตะกร้ามี 19 visses จากข้อมูลพบว่าราคามาลดลง 1,000 จัตต่อตะกร้าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/lima-bean-price-drops-due-to-immense-supply-into-pakokku-market/#article-title

National Consulting Group ลงนามข้อตกลงโครงการพลังงานแสงอาทิตย์

National Consulting Group Co. , Ltd. ได้ลงนามในข้อตกลงการพัฒนาโครงการกับรัฐบาลกับในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของการเติบโตสีเขียวและการพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานสะอาด หลังจากการศึกษาความเป็นไปได้ที่ประสบความสำเร็จซึ่งดำเนินการในแขวงเซกองและจำปาสัก โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับพื้นที่ทั้งหมด 813 เฮกตาร์และจะมีขั้นตอนการพัฒนาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กำลังการผลิต 500MW จะเปิดดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงปี 2566 โดยมีกำลังไฟฟ้าปีละ 739 GWh บนพื้นที่ 720 เฮกตาร์ในอำเภอละมัมแขวงเซกองด้วยเงินลงทุนรวม 332.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_National69.php

รัฐมนตรีฯกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา มองมุมบวกหลังเกิดการแพร่ระบาด

กัมพูชายังมองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นโอกาสสำหรับการปฏิรูปเพิ่มเติมตามแผนยุทธศาสตร์ Rectangular Strategy Phase IIII ของรัฐบาล เพื่อเร่งการเติบโตของประเทศและกระตุ้นการค้า กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะที่เป็นประธานในการเปิดการทบทวนงานของกระทรวงในปี 2020 และการวางแผนสำหรับปี 2021 ซึ่งมองว่ากัมพูชาสามารถคว้าโอกาสในการเพิ่มการผลิตภายในท้องถิ่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่ ตามที่รัฐมนตรีกล่าวว่าการส่งออกของกัมพูชาในปี 2020 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 หลังประเทศได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ชี้ให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการด้านการส่งออกของประเทศไปยังกลุ่มประเทศที่ได้ทำการลงนามข้อตกลงเบื้องต้นไว้แล้ว ในขณะเดียวกันกระทรวงยังคงเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่เพื่อรับมือกับความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมถึงการปฏิรูประบบการทำงานของหน่วยงานราชการที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50835111/minister-picks-a-positive-side-of-the-pandemic/

กัมพูชาวางแผนตั้งศูนย์การค้าภายในประเทศจีน

กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการเพื่อจัดตั้งศูนย์การค้าเพิ่มเติมในจีน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสินค้าที่ผลิตภายในกัมพูชาและส่งเสริมการส่งออกของประเทศไปยังจีน ซึ่งกระทรวงกล่าวว่าจะมีการจัดตั้งศูนย์การค้าอีกอย่างน้อย 5 แห่ง ในประเทศจีน ทำให้จำนวนศูนย์การค้าของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็น 11 แห่ง จากเดิมที่ดำเนินการในปัจจุบันอยู่แล้ว 6 แห่ง โดยการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่จากทั้งสองประเทศตั้งความหวังไว้สูงมากในการส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชา (CCC) กล่าวว่านักธุรกิจจะมีโอกาสมากขึ้นจากการที่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาได้ง่ายขึ้น ซึ่งจากข้อมูลสถิติแสดงให้เห็นว่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนในปี 2020 ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50835069/more-trade-centers-planned-for-china/

อาเซียนเล็งดัน ‘ข้าว-อาหาร’ ขึ้นบัญชีสินค้าจำเป็น

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อรมน ทรัพย์ทวีธรรม ระบุ สมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการขยายบัญชีสินค้าจำเป็นเพิ่มเติมจากยาและเวชภัณฑ์ ที่เคยมีมติให้สมาชิกลดอุปสรรคการค้า และงดใช้มาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อไม่ให้มีข้อจำกัดด้านการไหลเวียนของสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงโควิด-19 ล่าสุดเห็นควรให้มีการเพิ่มรายการสินค้าจำเป็น เช่น ข้าว สินค้าเกษตร และอาหาร เพราะเป็นกลุ่มมีความจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ หากมีอุปสรรคในการค้าขายจะไม่เป็นผลดีต่ออาเซียน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/931258

ค้าชายแดนระนอง‘คึก’ ‘เมียนมา’ติดหล่มวิกฤติ เร่งสั่งสินค้าทะลัก

การค้าชายแดนไทย-เมียนมาด้านจังหวัดระนอง ที่ขนส่งกันทางเรือ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาซบเซาลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากสงครามการค้า ต่อด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายหลังคุมการแพร่ระบาดได้ ทำให้การค้าชายแดนด้านจังหวัดระนองเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2563 กระทั่งเกิดเหตุรัฐประหารในเมียนมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลายเป็นวิกฤติรุนแรงยืดเยื้อ ที่หลายฝ่ายวิตกว่าจะกระทบถึงการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ทั้งนี้ นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วิกฤติการเมืองในประเทศเมียนมา และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ไม่กระทบต่อบรรยากาศการค้าชายแดนด้านระนอง แต่กลับส่งผลให้มีความคึกคักมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. 2564 ที่ผ่านมา พบว่าสถานการณ์ในเมียนมามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ประท้วงมีการยกระดับการชุมนุม โดยเฉพาะการนัดหยุดงานในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น สินค้าในเมียนมาเกือบทุกรายการมีการปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันพืชและข้าวสาร ที่ปรับขึ้นถึง 20-30%

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/474656