เวียดนามจำเป็นต้องเปิดพรมแดน เพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว

นายเหงียน ฮิ๋ว เถาะ นายกสมาคมท่องเที่ยวแห่งประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เผยว่าเวียดนามจำเป็นต้องค้นหาโซลูชันและเตรียมความพร้อมกับเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อที่จะเปิดพรมแดนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติถือเป็นทางออกเดียวสำหรับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 9.2% ของ GDP ในปี 2562 ทั้งนี้ การควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศ เพื่อที่จะสามารถรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ในขณะที่ ณ ปัจจุบัน ประเทศในกลุ่มภูมิภาคแห่งนี้ มีแผนที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศไทย ได้ประกาศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ตลอดจนสิงคโปร์เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีใบรับรองระบุสถานะติดลบของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังไม่สามารถรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากได้ แต่ก็ไม่อาจชะลอตัวได้ เนื่องจากการแข่งขันของประเทศในภูมิภาค ประกอบกับคนในพื้นที่กลัวการระบาดอีกครั้ง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/904845/viet-nam-needs-to-open-borders-for-tourism-recovery-experts.html

เศรษฐกิจเวียดนามยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงแรกของปี 64

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ได้รับสัญญาจากการเติบโตของภาคธุรกิจควบคู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ได่แก่ การผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ อุตสาหกรรมและดัชนีพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น และยังมีตัวชี้วัดอื่น ได้แก่ การดึงดูดของการลงทุนจากภาคเอกชนและกิจกรรมการส่งออก-นำเข้าที่กลับมาดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ยอดจดทะเบียนของธุรกิจใหม่กว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนแตะ 179 พันล้านดอง นอกจากนี้ นาย Tran Toan Thang หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและวิเคราห์เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NCIF) กล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ได้รับสัญญาในทิศทางที่เป็นบวกในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ธุรกิจในท้องถิ่นหยุดกิจการชั่วคราวกว่า 33,000 แห่งในช่วง 2 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 18.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnamese-economy-continues-to-reboot-during-first-months-of-2021-29289.html

เปิดตัวโครงการนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียวของสปป.ลาว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์และ Global Green Growth Institute ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาภายใต้แนวความคิด “นโยบายอุตสาหกรรมสีเขียวของสปป.ลาว” ภายใต้โครงการนี้จะมีการแก้ไขนโยบายสำหรับภาคอุตสาหกรรมพลังงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงแผนปฏิบัติการสำหรับการลงทุนของภาคเอกชนในภาคพลังงานอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับโครงการ ในระยะกลางโครงการจะขยายการลงทุนของภาคเอกชนในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรม ในระยะยาวจะมีแนวทางลดการปล่อยก๊าซจากอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมไปสู่เส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ปล่อยมลพิษน้อยลงในอนาคต โครงการเหล่านี้จะช่วยเร่งการนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมในสปป.ลาวและด้วยเหตุนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นตัวของภาคพลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจสปป.ลาวในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_53.php

ยูเอ็นชี้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นนับตั้งแต่ทหารยึดอำนาจ

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าองค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ ชี้ราคาอาหารและเชื้อเพลิงในเมียนมา ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนฐานะยากจน ในขณะที่โครงการอาหารโลก (WFP) เผยว่าราคาอาหารเพิ่มสูง โดยเฉพาะราคาน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้น 20% ในบางพื้นที่รอบเมืองย่างกุ้ง และราคาข้าวเพิ่มขึ้น 4% ในเมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ตลอดจนในบางพื้นที่ของรัฐคะฉิ่น ราคาข้าวปรับตัวพุ่ง 35% โดยปัจจัยที่ทำให้ราคากลุ่มอาหารและเชื้อเพลิงสูงขึ้นนั้น เป็นผลมาจากภาคธนาคารเป็นอัมพาต ทำให้ส่งเงินกลับเข้าประเทศเป็นไปอย่างล่าช้าและปัญหาการขาดแคลนเงินสด

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/troubling-signs-of-myanmar-food-price-rises-since-coup-un-agency

ธนาคาร ACLEDA พิจารณาขยายเพดานสินเชื่อมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา

ธนาคาร ACLEDA พิจารณาขยายเพดานสินเชื่อมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของ The International Finance Corporation (IFC) ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก โดย IFC ได้เสนอการขยายเพดานสินเชื่อนี้เพื่อให้ธนาคารสามารถขยายโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเมื่อเดือนกันยายน 2020 ธนาคาร ACLEDA มีสินเชื่อรวมอยู่ที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์ และมีเงินฝากรวมราว 4.2 พันล้านดอลลาร์ โดยธนาคารผู้ให้กู้กล่าวถึงผลกระทบในการพัฒนาภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ จึงส่งผลให้เกิดข้อเสียเปรียบในการขยายธุรกิจหรือการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ด้วยปัญหาเบื้องต้นทางธนาคารจึงมีแนวคิดที่จะร่วมพัฒนาธุรกิจขนาด SMEs จากการสนับสนุนและส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50825298/200m-loan-for-cambodias-leading-commercial-bank-acleda-in-the-works/

กัมพูชาคาดโครงการรูปแบบ Mixed-Use จะเป็นตัวผลักดันการเติบโตภาคอสังหาฯ

ภาคการก่อสร้างคาดว่าจะเติบโตในปีนี้ตามการคาดการณ์ของทางการ ซึ่งคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับอาคารแบบผสมผสาน (Mixed-Use) โดยภาคการก่อสร้างหดตัวในปีที่แล้ว มีส่วนทำให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชาหดตัวตามไปด้วย ซึ่งหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ตามรายงานของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา เนื่องจากภาคการก่อสร้างที่ถือเป็นเสาหลักในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกระทรวงฯ คาดว่าโครงการภาคอสังหารมทรัพย์ต่างๆจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2021 และมีส่วนช่วยในการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศที่คาดการณ์ไว้ที่ประมาณร้อยละ 3.3 ในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50825395/mixed-use-buildings-forecast-to-drive-construction-growth/

5สัญญาณรัฐประหารทุบเศรษฐกิจเมียนมา

การรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของกองทัพเมียนมาเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ทำให้ดินแดนนี้ตกอยู่ในสภาพวุ่นวาย มีการชุมนุมประท้วงทุกวันและมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและทหาร-ตำรวจแทบทุกวัน ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ที่สำคัญกว่านั้น การรัฐประหารที่เกิดขึ้นกำลังสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจของเมียนมา จากข้อมูลของสหประชาชาติ(ยูเอ็น)บ่งชี้่ว่าเมียนมา ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดของโลกแต่การที่เมียนมาค่อยๆปรับเปลี่ยนไปสู่ระบอบประชาธิปไตยก็สร้างความหวังแก่โลกว่าในไม่ช้าเศรษฐกิจของเมียนมาจะเติบโตเหมือนเพื่อนบ้านในอาเซียน ขณะที่ ตั้งแต่สิงคโปร์ ประเทศที่เข้าไปลงทุนโดยตรงในเมียนมารายใหญ่สุด จนถึงญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ายังมองไม่เห็นอนาคตของเมียนมา เนื่องจากคนงานจำนวนมากในเมียนมา ถ้าไม่ผละงานออกไปร่วมชุมนุมประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐประหารก็หนีกลับบ้านเกิดในช่วงที่ทางการใช้กำลังเข้าปราบปราม สิ่งเหล่านี้ทำให้กิจกรรมทางธุรกิจสะดุ ทั้งนี้ 5 สัญญาณที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของเมียนมาได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพ 1) ดัชนีพีเอ็มไอร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 2) การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ลดลง86% 3) การลงทุนหดหาย 4) ปริมาณการค้าหุ้นดิ่ง60% 5) ความสามารถในการตรวจโควิดลด90%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/927525

“ภาคอิเล็กทรอนิกส์” ดันอุตสาหกรรมโดยรวมของเมืองโฮจิมินห์

การผลิตอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองโฮจิมินห์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ สาเหตุหลักมาจากการรักษาเสถียรภาพของตลาดส่งออกและการส่งเสริมการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ นาง Nguyễn Thị Xuân Thủy รองผู้​อำนวยการศูนย์ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม กล่าวว่าภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นที่ต้องตัดเงินเดือนพนักงาน ดังนั้น ธุรกิจต้องเร่งหาตลาดใหม่และค้นหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมเติบโตในอัตรา 32.4% ส่งผลในทิศทางที่ดีขึ้นต่อ 4 อุตสาหกรรมหลักในเมืองโฮจิมินห์ ถึง 7.8% และปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/903910/electronics-lead-hcm-city-industrial-revival.html

“Foxconn” เข้ามาลงทุนในเวียดนาม เพิ่มอีกกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

“Foxconn” ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิปคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลก มีแผนที่จะลงทุนในเวียดนามเพิ่มอีกกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2550 ทางบริษัทได้เริ่มเข้ามาลงทุนในเวียดนาม ส่วนใหญ่จะลงทุนในจังหวัดบั๊กนิญ, บั๊กซางและหวิญฟุก ในขณะที่ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว บริษัท Apple เข้ามาลงทุนในเวียดนามอยู่ที่ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ รายรับรวมของบริษัท Foxconn จากกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แตะถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 และ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว รวมถึงคาดว่าในปีนี้ จะมีมูลค่าที่ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ และตั้งเป้าเพิ่มพนักงานถึง 10,000 คนในปีนี้ นอกจากนี้ คาดว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้า บริษัทจะทำรายได้เพิ่มขึ้นในเวียดนามกว่า 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/903909/foxconn-to-invest-700-million-more-in-viet-nam.html

ญี่ปุ่นพิจารณาตอบโต้การรัฐประหารของเมียนมา

หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกล่าวว่ารัฐบาลกำลังติดตามสถานการณ์การรัฐประหารภายในเมียนมาและจะพิจารณาว่าจะตอบสนองต่อสถานการณ์ในเมียนมาอย่างไร ในแง่ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและนโยบายโดยติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์พร้อมทั้งคำนึงถึงผลกระทบจากประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งคำกล่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากเกาหลีใต้กล่าวว่าจะระงับการแลกเปลี่ยนทางด้านกลาโหมกับเมียนมาและทำการห้ามส่งออกอาวุธเข้าประเทศหลังการรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว จากการกระทำของรัฐบาลเมียนมาในการจัดการผู้ประท้วงด้วยความรุนแรง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 138 คน ในเมียนมานับตั้งแต่การประท้วงเริ่มต้นขึ้น ตัวเลขผู้เสียชีวิตอ้างอิงจาก กลุ่มสิทธิมนุษยชน สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (AAPP)

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/japan-says-considering-response-to-myanmars-military-coup