ความร่วมมือจากหลายหน่วยงานในการพัฒนาภาคการผลิตยางกัมพูชา

WWF กัมพูชาและกรมการยางกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง (MAFF) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานยางพาราให้เกิดความโปร่งใสและยั่งยืน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (BMZ) ของรัฐบาลเยอรมนี ผ่าน Welthungerhilfe ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีเพื่อการพัฒนาระดับโลกและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยในระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาองค์กร BMZ ได้มีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับผู้มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรรายย่อยในกัมพูชา ในเมืองมณฑลคีรี เพื่อส่งเสริมการผลิตยางพาราอย่างยั่งยืน ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของคนในท้องถิ่น โดยผู้อำนวยการ WWF กัมพูชา กล่าวว่าการส่งเสริมการปลูกยางพาราของเกษตรกรรายย่อยอย่างยั่งยืนจะไม่เพียงสร้างงานและรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่น แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาส่งออกยางพาราและต้นยางพารามูลค่ารวมกว่า 482.76 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแบ่งเป็นยาง 340,000 ตันและต้นยางพารา 158,400 ลูกบาศก์เมตร ตามรายงานของกระทรวงเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803833/rubber-production-to-receive-multi-agency-effort-to-improve/

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4 แห่ง ในกัมพูชากำลังจะเริ่มส่งกระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากพลังงานแสงอาทิตย์จะเริ่มส่งผ่านกระแสไฟฟ้าในกัมพูชาเร็ว ๆ นี้ จากสถานีใหม่ 4 แห่ง ที่มีกำหนดจะเชื่อมโยงกับกริดในต้นปีนี้ ขณะนี้โครงการทั้ง 4 โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่แล้วเสร็จกว่าร้อยละ 90 ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ด้านพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าโครงการดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกัมพูชาในปลายปี 2019 สำหรับการก่อสร้าง รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อื่น ๆ ทั่วประเทศ รวมขนาด 110 เมกะวัตต์ (mW) ทั่วกัมพูชา เพื่อช่วยตอบสนองต่อความต้องการในการใช้พลังงานของประเทศในไม่ช้า โดยปัจจุบันกัมพูชาผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานลม โรงไฟฟ้าถ่านหิน การผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์และการนำเข้าพลังงานบางส่วน ซึ่งกัมพูชาผลิตไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 85 ของอุปสงค์ในประเทศ โดยมีการนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803921/four-solar-power-stations-coming-online/

เวียดนามเอาชนะจีน อินเดีย ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตถัดไป

ตามรายงานของ Economist Intelligence Unit (EIU) เผยว่าเวียดนามเป็นจุดหมายปลางทางของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเอเชีย หลังออกจากจีนและอินเดีย ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงเป็นศูนย์กลางการผลิตด้วยต้นทุนต่ำในห่วงโซ่อุปทานของเอเชีย ซึ่งปัจจัยสำคัญในการเติบโตของประเทศนั้น ได้แก่ ข้อเสนอให้กับบริษัทระหว่างประเทศ เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดตั้งหน่วยงานในการผลิตสินค้าไฮเทค ด้วยค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ และผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เป็นต้น อีกทั้ง หน่วยงาน EIU ระบุว่าเวียดนามมีคะแนนมากกว่าทั้งอินเดียและจีน เกี่ยวกับเรื่องนโนบาย FDI นอกจากนี้ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ FTA จะแสดงถึงจุดแข็งของความสัมพันธ์ทางการค้าของเวียดนาม และช่วยลดต้นทุนทางด้านการส่งออกอีกด้วย

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-beats-china-india-to-become-next-manufacturing-hub-831078.vov

นักเศรษฐศาสตร์ คาดเศรษฐกิจเวียดนามเร่งตัวพุ่งในปีนี้

การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตค่อนข้างช้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ประเมินว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเร่งพุ่งสูงขึ้น แค่รอโอกาสที่จะกลับมา ดังนั้น รัฐบาลจึงตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้อยู่ที่ 6.5% เพิ่มขึ้น 2 เท่าของปีที่แล้ว นับว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ สาเหตุจากยังคงมีความเสี่ยงจาก COVID-19 และความขัดแย้งทางการค้า รวมถึงความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองทั่วโลก อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าเวียดนามมีโอกาสอีกมากมายและเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ ประกอบกับโอกาสจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และการหันมานำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ รวมถึงการก่อตั้งของอุตสาหกรรมใหม่และโมเดลธุรกิจ นอกจากนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB), ธนาคารยูโอบี (UOB) และธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 6.3%, 7.1% และ 8.1% ในปีนี้ ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/858071/vietnamese-economy-tipped-to-bounce-back-in-2021.html

รัฐยะไข่ทุ่มเงิน 2 พันล้านจัต สร้างค่ายผู้ลี้ภัย

รัฐยะไข่ใช้เงินไปประมาณ 2.2 พันล้านจัต เพื่อสร้างและดูแลค่ายผู้ลี้ เนื่องจากการสู้รบระหว่างเมียนมาและกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่เริ่มมีความรุนแรงขึ้น เป็นผลให้ผู้ลี้ภัยได้รับความเดือดร้อนและถูกขับออกจากพื้นที่เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัย ดังนั้นงบประมาณ 1.5 พันล้านจัต ถูกใช้สร้างค่ายผู้ลี้ภัยเจ็ดแห่งใน โปนน่าจู้น(Ponnagyun), ระเต่ดอง (Rathedaung), เจาะตอ (Kyauktaw), มเยาะอู้ (Mrauk-U) และ มี่น-บย่า (Minbya) นอกจากนี้ยังใช้ในด้านดูแลสุขภาพ การศึกษา และความปลอดภัยสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจนกว่าจะได้กลับหมู่บ้าน เงินจำนวน 88 ล้านจัตถูกใช้ไปกับค่ายผู้ลี้ภัยในเขตเมืองเจาะตอ และ 423 ล้านจัตถูกใช้สร้างค่ายผู้ลี้ภัยใน Angu Village Group, มเยโบน (Myebon) และยังนำไปใช้ในการสร้างค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองอ้าน (Ann ) อีกเช่นกัน รวมถึงการแบ่งปันอาหารเสื้อผ้า ห้องเรียน และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ สำหรับผู้ลี้ภัย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rakhine-expends-k2-billion-state-budget-refugee-camps.html

อคส.ลุยรีแบรนด์ข้าวถุง เป้ายอดปีนี้1,300 ล้าน

อคส.เดินหน้ารีแบรนด์ข้าวถุงครั้งใหญ่ ชูคุณภาพดีราคาถูก เน้นขายเข้าร้านธงฟ้า หลังรายได้ขายเข้าเรือนจำวูบกว่า 40% จากเสียภาพลักษณ์ทุจริตถุงมือยาง ทำส้มหล่นใส่ อ.ต.ก. เร่งกู้ตลาดคืน ตั้งเป้ารายได้ปีนี้ 1,300 ล้านบาท ลุ้นตลาดจีนช่วยดันยอด 4,000 ล้าน นายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุต ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เผยเดินหน้าต่อยอดในส่วนของงานปี 2563 แม้ว่ารายได้จะลดลงจากการจำหน่ายข้าว เข้าเรือนจำจะลดลงไปกว่า 40-50% จากเกิดกรณีทุจริตถุงมือยางช่วงปลายปีและอยู่ระหว่างการเอาผิดผู้เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เรือนจำหันไปซื้อข้าวจากองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.)เพิ่มขึ้น เบื้องต้นมีแผนจะทำข้าวถุงที่มีคุณภาพแต่ราคาถูกลงจากเดิม และปรับคุณภาพข้าวใหม่ มีการหาข้าวสายพันธุ์อื่นๆ มาทำตลาด เช่นจากกลุ่มเกษตรกรลพบุรี กลุ่มเกษตรกรบุรีรัมย์ เป็นต้น สำหรับช่องทางการจำหน่ายข้าวถุงแบรนด์ใหม่ของอคส. จะยังคงเน้นไปที่ร้านธงฟ้า ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และในอนาคตจะมีไปวางจำหน่ายตามหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา พิษณุโลก ส่วนข้าวหอมมะลิจะเน้นขายเข้าโมเดิร์นเทรด วิลล่ามาร์เก็ต  และมีแผนส่งทำตลาดออนไลน์ในจีนผ่าน T-Mall  ที่กระทรวงพาณิชย์มีเครือข่ายอยู่ ทั้งนี้ตั้งเป้ารายได้ปีนี้ไว้ที่ 1,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีรายได้ 1,260 ล้านบาท โดยรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการขายข้าวเข้าเรือนจำ หาก สามารถจำหน่ายข้าวเข้าเรือนจำทั่วประเทศได้จะทำให้มียอดขายแบบก้าวกระโดด ตั้งเป้ารายได้ปี 2565 ไว้ที่ 1,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นปีละ 10% แต่หากการจำหน่ายข้าวถุงประสบความสำเร็จในตลาดจีน อคส.น่าจะมีรายได้แตะ 4,000 ล้านบาท ได้ในปี 2565 

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/464255

เวียดนามลุยลงทุนโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) เริ่มก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำ ด้วยมูลค่า 9.22 ล้านล้านดอง (400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำดาซัง โดยการลงทุนดังกล่าว ประกอบด้วยนักลงทุนราว 30% และอีก 70% มาจากธนาคารพาณิชย์ของรัฐ (Vietcombank) และหน่วยงาน Agence Francaise de Developpement (AFD) อีกทั้ง ผู้รับเหมาในประเทศ ได้แก่ บริษัท Truong Son Construction Corp ภายใต้กระทรวงกลาโหม และบริษัทร่วมทุน Construction Joint Stock Company 47 รายและบริษัทร่วมทุน Lilama 10 จะดำเนินการสร้างโรงงานขยายกำลังการผลิต 480 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและความทันสมัยของเวียดนาม นอกจากนี้ ผู้อำนวยการการไฟฟ้าเวียดนาม นาย Tran Dinh Nhan กล่าวว่าโรงงาน Hoa Binh มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำดาซังอย่างเต็มที่และใช้น้ำที่อุดมสมบูรณ์ในฤดูน้ำหลาก เพื่อที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-kicks-off-us400-million-hydropower-project-315865.html

Oxford Economics คาด GDP เวียดนามปี 64 โต 8%

ตามรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจของ Oxford Economics คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะกลับมาฟื้นตัว 6.2% ในปี 2564 แต่ว่าเวียดนามยังคงขยายตัวได้ดีถึง 8% ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภูมิภาคในปีที่แล้ว หดตัว 4.1% โดยประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนั้น ได้แก่ เวียดนามและสิงคโปร์ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2564 ขึ้นอยู่กับการการผ่อนคลายการปิดเมืองหรือล็อกดาวน์ลง และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการประสบความสำเร็จในการเปิดตัววัคซีน ซึ่งความคืบหน้าของวัคซีนจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นาย Mark Billington ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน ICAEW กล่าวถึงความกังวลต่อกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อ ในขณะเดียวกัน ค่อยๆนำภาคสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวให้เร็วขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/856708/viet-nam-gdp-to-grow-by-8-per-cent-oxford-economics.html

โรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง อ่วม โควิดฯ พ่นพิษ ปิดให้บริการเป็นเวลา 9 เดือน

Shangri-La Group ได้ประกาศในวันนี้ (13 มกราคม) ว่าจะปิดทำการโรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง ชั่วคราวเป็นเวลาเก้าเดือนนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป โดยช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมาโรงแรมได้ลดต้นทุนเพื่อลดผลกระทบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนรวมถึงการตัดสินใจในการปรับปรุงปรับการทำงานของพนักงานเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมากล่าว อย่างไรก็ตามบริษัทได้ตัดสินใจปิดโรงแรมเนื่องจากธุรกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยเปิดโรงแรมอีกครั้งในเวลา 9 เดือนเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว แขกและลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการยกเลิกทั้งหมด ทั้งนี้ในช่วงปิดโรงแรมพนักงานส่วนใหญ่ยังคงได้รับเงินเดือนค่าจ้างแม้จะไม่ได้เข้ามาทำงาน โรงแรมให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 และเดิมชื่อ Traders Hotel เป็นอาคารสูงที่สุดในเมียนมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2542 โรงแรมมี 466 ห้องได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมซูเลแชงกรีลาย่างกุ้งในปี พ.ศ. 2557 โดย Shangri-La Hotels and Resorts  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือ Shangri-La ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงแรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้แบรนด์ Shangri-La, Kerry, Jen และ Traders กลุ่ม Shangri-La ก่อตั้งโดยรชาวฮ่องกงคือ Mr. Robert Kuok ในปี พ ศ. 2514

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sule-shangri-la-hotel-yangon-close-nine-months.html

Covid-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสปป.ลาว

การให้เช่าและการขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วสปป.ลาวโดยเฉพาะในเวียงจันทน์ยังคงเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากผลกระทบอย่างต่อเนื่อง Covid-19 กลุ่มเป้าหมายของผู้เช่าและผู้ซื้อคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวต่างชาติจากประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ หลังจากการเปิดตัวโครงการลงทุนขนาดใหญ่โดยนักลงทุนชาวจีนมีการขยายตัวของการก่อสร้างอาคารอพาร์ตเมนต์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก่อนการระบาดของ Covid-19 กรรมการผู้จัดการ RentsBuy.com กล่าวว่าการเช่าและการขายอพาร์ทเมนต์และคอนโดมิเนียมในเวียงจันทน์ยังคงประสบปัญหาหลังจากการออกจากชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากราคาไม่แพงและเสริมว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นจากจังหวัดต่างๆที่ต้องการย้ายไปเวียงจันทน์ ทั้งนี้ผู้ซื้อส่วนใหญ่ที่ต้องการซื้อที่ดินหรือโครงการบ้านจัดสรรสามารถชำระเงินรายเดือนให้กับเจ้าของบ้านหรือผู้พัฒนาโครงการได้ภายในระยะเวลาหนึ่งของการลงนามในข้อตกลง  ก่อนเกิดวิกฤต Covid-19 สปป.ลาวได้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและการลงทุนจากต่างประเทศใน 12 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ขณะนี้ภาคธุรกิจหวังว่าการมาของวัคซีน Covid-19 จะช่วยยุติการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลกจะฟื้นตัว

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/covid-19-continues-impact-lao-real-estate-businesses