กัมพูชายังคงต้องการข้อตกลงการค้าเสรีเพิ่มขึ้น

กัมพูชาต้องการการลงนามในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศและเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินการเพิ่มเติม ทั้งเพื่อดำเนินการประเมินผลกระทบทางการค้าโดยละเอียด (TIAs) เนื่องจากกัมพูชากำลังมองหาข้อตกลงการค้าทวิภาคีและพหุภาคีมากขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่านับตั้งแต่กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกในปี 2004 ซึ่งเขตการค้าเสรีทั้งหมดที่กัมพูชาได้เข้าร่วมและกำลังพิจารณาได้ผ่านการประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สุดเพื่อชั่งน้ำหนักผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยในปัจจุบันกัมพูชาได้เป็นสมาชิกของข้อตกลงการค้าเสรีพหุภาคีหลายฉบับรวมถึงข้อตกลงการค้าเสรีอีกหลายฉบับ นอกจากนี้กัมพูชายังได้เข้าเป็นสมาชิกหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยปริมาณการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีมีมูลค่าอยู่ที่ 36,700 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 ตามตัวเลขจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781402/increased-free-trade-deals-need-many-more-experts/

NA เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต้นทุนพลังงานไฟฟ้า

รัฐบาลสปป.ลาวถูกเรียกร้องให้แก้ไขข้อเท็จจริงที่ว่าการซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการเขื่อนมีราคาสูงเกินไปแต่ขายในราคาที่ต่ำกว่าซึ่งขัดต่อหลักการทางธุรกิจทั่วไป สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเวียงจันทน์และรองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว ขอให้รัฐบาลชี้แจงเรื่องนี้และหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ “ เราขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหานี้ในขณะที่กำลังมองหาตลาดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการส่งออกไฟฟ้าของสปป.ลาวเพื่อลดภาระหนี้ของประเทศ” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่ารัฐบาลจะพิจารณาการลงทุนในภาคพลังงานเพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหาให้ดีขึ้ เราต้องยึดข้อตกลงเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติหากนักลงทุนบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับต้นทุนการสร้างเขื่อนจะนำมาซึ่งปัญหาระยะยาว รัฐบาลจะประเมินต้นทุนการก่อสร้างเขื่อนที่แท้จริงอีกครั้งเพื่อให้การลงทุนเกิดประสิทธิภาพ สาเหตุที่รัฐบาลเข้ามากำหนดต้นทุนการสร้างเขื่อนที่แน่นอนเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงซึ่งปัจจุบันความต้องการพลังงานที่คาดการณ์ไว้สูงกว่าความต้องการที่แท้จริงรัฐบาลคาดการณ์ว่าโครงการอุตสาหกรรมจะต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากโดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษและกิจการเหมืองแร่ ดังนั้นหากต้นทุนด้านไฟฟ้าสูงจะทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบและจะมีผลต่อการเติบโตต่อเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_220.php

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกปีงบฯ 63-63 สินค้าเกษตรมีโอกาสเติบโต

เมียนมาคาดปริมาณการค้าปีงบประมาณ 63-64 มีแนวโน้มเติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าแม้จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยมีปริมาณการค้าสูงถึง 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งการส่งออกลดลงเหลือ 16.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว ในปีงบประมาณ 62-63 ปริมาณการค้าอยู่ที่ 36.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าที่คาดไว้ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยส่งออกรวม 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าสูงถึง 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกในปีนี้จะเป็น การเกษตร ปศุสัตว์และประมงเป็นหลักซึ่งคาดว่าจะชดเชยการผลิตสิ่งทอที่ลดลง โดยการส่งออกเสื้อผ้าลดลงกว่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการส่งออกเสื้อผ้าในปี 62-63 มีมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์ ในปีนี้มีรายได้รวมเพียง 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งลดลงมากกว่า 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในทางตรงกันข้ามความต้องการพืชผลไม้ เช่น ข้าวโพดเพิ่มขึ้นและการส่งออกถั่วคาดว่าจะมีเสถียรภาพในขณะเดียวกันความต้องการการประมงก็เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ทั้งนี้ยังต้องเจอความท้าทาย เช่น ความไม่แน่นแน่ของชายแดนเมียนมา – จีน ความต้องการระหว่างประเทศที่ผันผวน ตลอดจนอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงซึ่งล้วนส่งผลทำให้ราคาไม่คงที่ ในปี 62-63 เมียนมาขาดดุลการค้า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากปีงบประมาณ 61-62

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-raises-trade-target-aims-grow-agri-exports-year.html

ญี่ปุ่นขอมีส่วนร่วมพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

นาย U Myint San รองประธานคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เผยรัฐบาลญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายแบบฐบาลต่อรัฐบาล (G2G) ถึงแม้มีการระบาดของ COVID-19 แต่ก็อนุมัติให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมทันทีและกำลังรอการสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อเริ่มต้นการก่อสร้างที่ล่าช้ามานาน โครงการการพัฒนาล่าสุดล่าสุดภายหลังจากจีนสนใจที่จะลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 63 ทวายคาดว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนซึ่งใหญ่กว่าติวลาในย่างกุ้งประมาณ 8 เท่าและใหญ่กว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวในยะไข่ถึงสิบเท่า เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมีพรมแดนติดกับประเทศไทยโดยมีพื้นที่ 20,000 เฮกตาร์ซึ่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมและท่าเรือ บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างของไทยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นระหว่างเมียนมาและไทยในปี 51 แต่หยุดชะงักลงในปี 56 เนื่องจากไม่สามารถหาเงินลงทุนได้ตามสัญญา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/japan-offers-participate-dawei-sez-development.html

รัฐบาลสปป.ลาวมั่นใจเศรษฐกิจปีหน้าฟื้นตัว

รัฐบาลสปป.ลาวมองเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 4-4.5 ในปีหน้าแม้ยังไม่มีความแน่นอนจากการสถานการณ์ COVID-19 และปัญหาทางการเงินของสปป.ลาวที่กำลังเผชิญในปัจจุบัน เพื่อบรรเทาความตึงเครียด ด้านงบประมาณ รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและความพยายามลดความยากจนตามเป้าหมายแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรัฐบาลยังมีพยายามเสริมสร้างการผลิตเชิงพาณิชย์ร่วมกับอุตสาหกรรมแปรรูปตลอดจนส่งเสริมการบริการตามทางรถไฟและระเบียงเศรษฐกิจอื่น ๆ นอกจากนี้รัฐบาลจะเปิดตัวระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการจัดเก็บรายได้และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณรวมถึงการดูแลควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ เงินสำรองต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเป้าหมายหลักประการหนึ่งของรัฐบาลในช่วงห้าปีข้างหน้าคือการติดตามการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมยั่งยืนและมีประสิทธิผล

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_219.php

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนลดภาษีสำหรับสินค้าส่งออกประเภทสินค้าทางการเกษตร

กัมพูชาซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่พึ่งพาสินค้าเกษตรที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดในข้อตกลงการเจรจาการค้าเสรี (FTA) โดยประมาณร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาคือ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามความชอบทางการค้าของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยขณะนี้รัฐบาลกำลังส่งเสริมสินค้าเกษตรผ่านการเจรจา FTA หลังจากที่ประเทศได้ลงนาม FTA กับจีน (CCFTA) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ต.ค. ซึ่งอย่างไรก็ตามข้าวของกัมพูชาไม่รวมอยู่ในรายการสินค้าภายใต้ CCFTA เนื่องจากประเทศได้รับกรอบโควต้าสำหรับการส่งออกข้าวสารไปยังจีนแล้ว ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาต่ำที่สุดควรได้รับการสนับสนุนทางภาษีศุลกากรเชิงกลยุทธ์เป็นลำดับแรก โดยสินค้าภายใต้ CCFTA ของจีนครอบคลุมสินค้ากว่า 340 รายการสำหรับการส่งออกของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780935/lower-taxes-on-less-developed-agricultural-export-products-needed-as-trade-deals-sought/

PPSP ภายในกัมพูชายังคงไม่ดำเนินการซื้อหุ้นคืนหลังจากราคาหดตัว

ราคาหุ้นของเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSP) แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันศุกร์โดยราคาปิดที่ 1,850 เรียลต่อหุ้น เนื่องจากบริษัทระบุว่ายังคงดำเนินการเกี่ยวกับแผนการซื้อคืนหุ้นที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนที่แล้ว โดยราคาหุ้น PPSP มีแนวโน้มลดลงนับตั้งแต่แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,650 เรียลต่อหุ้นเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2019 เพิ่มขึ้นจากเดิม 2,890 เรียลเมื่อจดทะเบียนครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2016 ซึ่งบริษัทได้ประกาศจะไม่มีการจ่ายเงินปันผลในปีนี้และจะทำการซื้อหุ้นคืนแทนส่งผลทำให้ราคาหุ้นตกลงมาอย่างมาก โดยการซื้อหุ้นคืนบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นของ PPSP ที่จะรักษาราคาหุ้นให้อยู่ภายใต้การควบคุม ซึ่งเห็นแนวโน้มการลดลงของราคาหุ้นของ PPSP มาตั้งแต่ในช่วงปีงบประมาณที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780979/ppsp-yet-to-implement-buyback-as-share-price-hits-record-low-level/

เวียดนามเผยยอดการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษในนครโฮจิมินห์ พุ่ง 321 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นาย Hua Quoc Hung ผู้อำนวยการของหน่วยงานบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษ (HEPZA) กล่าวว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ การจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่รวมและการปรับเพิ่มเงินทุน มีมูลค่าอยู่ที่ 592 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ เงินลงทุนจากต่างประเทศ อยู่ที่ 270.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา เงินลงทุนรวมในประเทศ สำหรับเขตอุตสาหกรรมส่งออกและเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีมูลค่ามากกว่า 321 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แบ่งออกเป็นจำนวน 46 โครงการใหม่ที่ยื่นขอจดทะเบียน ด้วยมูลค่ารวมราว 251 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ 32 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ นอกจากนี้ องค์กรต่างๆ ที่ยังไม่ฟื้นตัวในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ความคืบหน้าของโครงการประสบปัญหาเกี่ยวกับการระดมทุน ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการจึงรับพิจารณาอนุมัติความคืบหน้า 34 โครงการ

  ที่มา : https://en.dangcongsan.vn/economics/over-321-million-usd-invested-in-izs-in-ho-chi-minh-city-564353.html

ตลาดค้าปลีกเวียดนามดึงดูดผู้ประกอบการญี่ปุ่น

จากรายงานเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) ระบุว่าถึงแม้จะเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลก แต่ว่าการส่งออกและนำเข้าของเวียดนามยังคงเติบโตไปในทิศทางเชิงบวก ในขณะที่ เดือนต.ค. ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วและร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ คุณ Tetsuyuki Nakagawa ผู้อำนวยการกลุ่มบริษัทอิออนเวียดนาม มองว่าสภาพแวดล้อมธุรกิจในอนาคตของเวียดนามอยู่ในทิศทางที่ดี ประกอบกับความพยายามของเวียดนามในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ช่วยให้ภาคค้าปลีกกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเครือข่ายธุรกิจศูนย์การค้า

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-retail-market-lures-japanese-firms-816274.vov

DICA เปิดตัวแอปฯ ลงทุนออนไลน์เป็นครั้งแรกในเมียนมา

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) ของเมียนมา จะเปิดตัวแอปพลิเคชันการลงทุนออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุน ฟังก์ชั่นใหม่ฯ นี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการลงทุนโดยไม่ต้องไปที่สำนักงานของ DICA จึงเชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากขึ้นในช่วงเวลาที่การเดินทางเข้าประเทศยังถูกจำกัดจากการระบาดของ COVID-19 ทั้งยังลดการใช้กระดาษและลดจำนวนคนทำงานลง การเปิดตัวเกิดขึ้นหลังจาก DICA อนุญาตให้นักลงทุนและธุรกิจจดทะเบียนบริษัทผ่านระบบออนไลน์ ในปี 2561 ระบบการจดทะเบียนบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ Myanmar Companies Online (MyCO) ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนมากกว่า 68,000 แห่ง กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ได้อนุมัติใบอนุญาตทางออนไลน์มากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investment-applications-go-online-myanmar.html