สปป.ลาวเร่งขยายตัวเศรษฐกิจท่ามกลางการระบาด COVID-19

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมารัฐบาลสปป.ลาวได้มีมติอนุมัติมาตรการบรรเทาและกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากสปป.ลาวต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ตามข้อมูลของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ก่อนหน้าการระบาด COVID-19 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาเยือนสปป.ลาวในปี 2562 เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 14.4 สร้างรายได้ประมาณ 934 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  แต่จากผลกระทบ COVID-19 รายได้การท่องเที่ยวลดลง 350 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 2 ของ GDP ด้านโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลายโครงการยังคงมีความคืบหน้าตามแผนโดยเฉพาะโครงการที่สำคัญต่อการค้าและการท่องเที่ยวอย่างการก่อสร้างทางรถไฟจีน – สปป.ลาวเที่สร็จสมบูรณ์ไปแล้วกว่าร้อยละ 90 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2564 ในขณะนี้รัฐบาลสปป.ลาวกำลังพัฒนา ในระหว่างนี้รัฐบาลพยายามบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจต่างๆรวมถึงเข้าช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็วทั้งด้านความมั่นคงด้านอาหารและระบบสาธารณสุข

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/10/19/laos-to-boost-economic-growth-amid-pandemic-over-60000-tested-for-covid-19

กัมพูชาวางแผนส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ

แต้มต่อของกัมพูชาในการทำธุรกิจตั้งแต่ดั่งเดิมคือการขาดโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับสำหรับการดำเนินชีวิต ทั้งขาดความสะดวกในการทำธุรกิจและต้นทุนการผลิตที่สูงยังคงเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนที่จะต้องทำการพัฒนาบนโครงสร้างพื้นฐานหากประเทศต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในระดับภูมิภาค โดยเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังระบุว่ากัมพูชาได้เสนอแหล่งข้อมูลที่มีศักยภาพให้กับนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นภาคแรงงาน โครงสร้างประชากร ค่าแรงขั้นต่ำ ยังเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่น่าดึงดูดที่สุดของประเทศเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งโครงการทางด่วนพนมเปญ – สีหนุวิลล์กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ทั้งยังพัฒนาพนมเปญโลจิสติกส์คอมเพล็กซ์ (PPLC) ให้เป็นศูนย์กลางที่มีศักยภาพในการส่งเสริมภาคการขนส่งของกัมพูชาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคและโลกในวงกว้างได้ ไปจนถึงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก ทางรถไฟให้กระจายไปได้ทั่วถึงทั้งประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50774345/promoting-infrastructure-to-boost-trade-status/

สายการบินในกัมพูชากำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก

สายการบินในกัมพูชากำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากหลังจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยเรียกร้องการสนับสนุนจากรัฐบาลในการช่วยฟื้นตัวจากผลกระทบข้างต้น ซึ่งรายรับของสายการบินลดลงถึงร้อยละ 80 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี ตามข้อมูลของ IATA แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายที่ยังจำเป็นต้องจ่ายให้ครอบคลุม เช่น ลูกเรือ การบำรุงรักษา น้ำมันเชื้อเพลิง ภาษีสนามบิน และที่เก็บเครื่องบินอีกจำนวนมาก โดยจนถึงปัจจุบัน IATA ประเมินว่ารัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือเงินกู้และการลดหย่อนภาษีเป็นจำนวนเงินกว่า 160,000 ล้านดอลลาร์เพื่อให้สายการบินสามารถพยุงธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50774468/airlines-face-tough-festive-season-as-hoped-for-pick-up-fails-to-materialise/

ตลาดเซโจ เมืองมัณฑะเลย์พร้อมเปิดอีกครั้ง

นาย U Min Min เลขาธิการคณะกรรมการตลาดเผยกำลังขออนุญาตเปิดตลาด13. ตลาดเซโจ (Zegyo Market) ในเมืองมัณฑะเลย์อีกครั้งหลังปิดมานานกว่าหนึ่งเดือน ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 เพื่อไม่ให้ตลาดหยุดนิ่งหรือปิดลง ซึ่งการค้าขายโดยเฉพาะสินค้าตามฤดูกาล เช่น ผ้าห่มและเสื้อกันหนาวเป็นสิ่งที่ขายในในช่วงเทศกาลตาดิงยุต (Thadingyut Festival of Lights) และเทศกาลตาซองดิน (Tazaungdine Festival of Lights) ตลาดแห่งนี้ใหญ่ที่สุดในเมียนมาตอนเหนือและเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศ พบว่ามีปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและการจ้างงานหากถูกปิดเป็นเวลานาน ทั้งนี้ตลาดจะลดพนักงานลงครึ่งหนึ่งและอนุญาตให้อาคารแค่สี่หลังเปิดทำการตั้งแต่ 8.00 น. ถึงเที่ยงวัน ปัจจุบันมีร้านค้ามากกว่า 5,000 ร้าน ในตลาดแห่งนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-zegyo-market-seeks-ok-reopen.html

โควิดพ่นพิษทำราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น กระทบอาหารแช่แข็งในเมียนมา

ตลาดอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารจานด่วนกำลังประสบปัญหาในระหว่างการระบาดของโควิด -19 ร้านอาหารในท้องถิ่นปิดตัวลงอุตสาหกรรมจึงต้องพึ่งพาตลาดขนาดเล็กและการค้าปลีกออนไลน์ อาหารทะเลส่วนใหญ่ผลิตในประเทศหรือนำเข้าจากไทยและขายให้กับร้านค้าส่วนใหญ่ เช่น Kyay-Oh, Hot-Pot, Barger, Sushi และ Thai BBQ ผู้ผลิตฟาสต์ฟู้ดลดมีปัญหาด้านโลจิสติกส์และโรงงานอาหารแช่แข็งจึงลดการผลิตลง ในขณะเดียวกันราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2000 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัมเนื่องจากลดการเพาะเลี้ยงในช่วงกลางเดือนกันยายน โดยต้นทุนการเลี้ยงไก่อยู่ที่ประมาณ 2700 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัม แต่ราคาในตลาดอยู่ที่ประมาณ 2000 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัมดังนั้นจึงขาดทุนมากกว่า 700 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัม โดยปกติชาวเมียนมาบริโภคไก่ประมาณ 14 ล้านตัวต่อเดือนหรือประมาณ 500,000 ตัวต่อวัน แต่ความต้องการลดลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากโรงแรมร้านอาหารและร้านชาปิดตัวลง ปกติในตลาดเคยขายได้ประมาณ 48 กก. ต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือวันละ 8 กิโล จึงจำเป็นต้องขายผ่านออนไลน์  ร้านค้าปลีกในเขตเมืองกะลาปาเหนือ (North Okkalapa) ในช่วงต้นเดือนกันยายนราคาไก่หน้าฟาร์มต่ำกว่า 1600 จัตต่อ 1.6 กก. และมีความเสียหายประมาณ 50 ล้านจัตต่อวัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rising-prices-hurt-frozen-food-wholesalers-myanmar.html

เอกชนลุ้นกำลังซื้อฟื้น-ขายรถพุ่ง นักลงทุนจีนชี้อีอีซียังมีความหวัง

นายายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์เดือน ก.ย.ที่ผ่านมาอยู่ที่ 150,345 คัน สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนมากกว่า 100,000 คันเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 9 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) ลดลง 40.13% อยู่ที่ 453,643 คัน ส่วนยอดผลิตเพื่อส่งออกลดลง 25.41% อยู่ที่ 67,964 คัน 9 เดือนลดลง 37.49% อยู่ที่ 509,423 คัน รวมยอดผลิตรถยนต์ 9 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 963,066 คัน ซึ่งแม้จะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 38.76% ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า หากพิจารณายอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนต่อเดือน จะเห็นว่าตลาดรถยนต์มีแนวโน้มที่ดี เห็นได้จากยอดขายในประเทศเดือน ก.ย.อยู่ที่ 77,433 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 12.41% เนื่องจากรัฐบาลผ่อนคลายล็อกดาวน์มากขึ้น การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ และการจัดงานมอเตอร์โชว์ ยังมีโอกาสที่ยอดผลิตรถยนต์ปีนี้จะทะลุเป้าหมาย 1.4 ล้านคันได้ แม้จะลดลง 4.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน และยอดขาย 9 เดือนอยู่ที่ 534,219 คัน ลดลง 22.1% แต่มีสัญญาณดีขึ้น จึงเป็นไปได้ที่ยอดขายในประเทศจะทะลุ 700,000 คันในเงื่อนไขต้องไม่มีการระบาดของโควิด-19 รอบสองขณะที่ การส่งออกคงเป้าเดิมที่ 700,000 คัน” ด้านนายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานหอการค้าไทย-จีนกล่าวว่า นักธุรกิจจีนยังมีความพร้อมมาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยมีทุนใหญ่ 2 รายซื้อที่ดินไว้เตรียมลงทุนสมาร์ทซิตี้ ที่ จ.ฉะเชิงเทรา 2,000-3,000 ไร่ และที่เมืองพัทยา 700 ไร่ แต่ยังรอการเปิดประเทศของไทย โดยการเข้ามาจำเป็นต้องเข้ามาผ่านระบบกักตัว 14 วัน ซึ่งได้เดินทางเข้ามาแล้วนับร้อยคน และยังมีรอเตรียมเข้ามาอีกนับพันคน.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1957021

เวียดนามเผยธุรกิจในประเทศแสวงหาช่องทางการส่งออกสินค้าไปยังไทย

ตามการประชุมที่นครโฮจิมินห์ จัดขึ้นโดยศูนย์กลางลงทุนและส่งเสริมการค้า (ITPC) ระบุว่าไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในภูมิภาคอาเซียน มูลค่าการส่งออกและนำเข้าทั้งสองประเทศ คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของยอดการค้าระหว่างประเทศรวมของเวียดนามในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งออกของเวียดนามมายังไทย ติดอันดับ 1 ใน 5 ของยอดส่งออกรวมไปยังอาเซียนและไทยยังเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการของศูนย์ฯ กล่าวว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม-ไทย มีการพัฒนาในหลายๆด้านด้วยกัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้า อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การค้าทวีภาคีลดลงร้อยละ 12.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดหดตัวร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ จุดประสงค์ของงานดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสและให้ธุรกิจในประเทศได้รับโอกาสจากการนำสินค้าไปสู่ ‘Big C, Go !’ และจับมือกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ เพื่อจัดส่งสินค้าไปยังประเทศไทย

  ที่มา : https://vnexplorer.net/domestic-businesses-seek-ways-to-export-products-to-thailand-a2020111121.html

ราคาเนื้อหมูตกต่ำ เหตุเวียดนามนำเข้าเพิ่มขึ้น

นาย Le Xuan Huy รองผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัท CP Livestock Joint Stock Company กล่าวว่าราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวลดลง เนื่องมาจากการนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งหมูแช่แข็งและหมูมีชีวิต รวมถึงความต้องการที่ลดลง ขณะที่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้าเนื้อหมูมากกว่า 93,248 ตัน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากแคนาดา เยอรมนี โปแลนด์ บราซิล สหรัฐฯ สเปนและรัสเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 223 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 อีกทั้ง กระทรวงฯยังได้อนุมัติให้นำเข้ากีบหมูจากไทยในชาวงกลางเดือนมิ.ย. และเมื่อเดือนสิ.ค. มีบริษัท 36 แห่งได้จดทะเบียนให้กักสุกรไว้มากกว่า 4.7 ล้านตัวจากไทยไปยังเวียดนาม นอกจากนี้ รองประธานสมาคมปศุสัตว์ด่งนาย กล่าวว่าราคาสุกรมีชีวิตในภาคใต้ ราคาอยู่ที่ราว 70,000 ด่องต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาเนื้อหมูลดลง เป็นเพราะอยู่ในช่วงเดือนวูลาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลายๆครอบครัวไม่ทานเนื้อสัตว์ (ศาสนา)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pork-prices-fall-as-vietnam-increases-imports/188824.vnp

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยสินค้าส่งออกสำคัญ 5 รายการ มีมูลค่ารวมกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม จำนวน 5 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่

  • โทรศัพท์และชิ้นส่วน มีมูลค่าส่งออก 36.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (18.1% ของยอดส่งออกรวม)
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออก 32.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.9% ของยอดส่งออกรวม)
  • เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ มีมูลค่าส่งออก 22.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (10.9% ของยอดส่งออกรวม)
  • เครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออก 18.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (9.0% ของยอดส่งออกรวม)
  • รองเท้า มีมูลค่าส่งออก 12.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.0% ของยอดส่งออกรวม)

ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญดังกล่าว 5 รายการ มีมูลค่าส่งออกรวมกันร้อยละ 69.4 ของยอดส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/5-commodities-record-export-values-of-over-10-billion-usd/188129.vnp

หลวงพระบางเผยกลยุทธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวสปป.ลาว

หลวงพระบางซึ่งเป็นมรดกโลกชั้นนำของสปป.ลาวกำลังลงทุนอย่างมากในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวควบคู่ไปกับแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการเดินทางภายในประเทศและกระตุ้นการท่องเที่ยว การมุ่งเน้นไปที่นักท่องเที่ยวในประเทศเป็นการตอบสนองต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่รุนแรงและไม่เคยปรากฏมาก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มีผู้เยี่ยมชมจากต่างประเทศหลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 การล็อกดาวน์ของหลายๆประเทศทำให้กรุ๊ปทัวร์ต้องยกเลิกการจองส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูญเสียไปอย่างน้อย 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้หลวงพระบางใช้เงิน 1.7 พันล้านกีบเพื่อสร้างและอัพเกรดสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ที่ Phousy Hill และน้ำตก Kuang Xi ผู้ประกอบการหลายรายได้ลดต้นทุนแพ็คเกจทัวร์และราคาห้องพักเหลือประมาณ 1 ใน 3 ของราคาปกติโดยลดค่าใช้จ่ายลง 70 %  มีการจัดทัวร์ปั่นจักรยาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยังมีแผนที่จะจัดคาราวานยานพาหนะเพื่อเดินทางไปเวียงจันทน์ในเดือนหน้าเพื่อเป็นช่องทางในการส่งเสริมการเดินทางภายในประเทศ ธุรกิจต่างๆฟื้นตัวเล็กน้อยเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวสปป.ลาวจำนวนไม่น้อยที่มีกำลังซื้อจำกัด ไม่สามารถชดเชยการไม่มีลูกค้าต่างชาติได้ทั้งหมด จนถึงปีนี้หลวงพระบางมีนักท่องเที่ยวประมาณ 420,000 คนลดลง 64% เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปี 63

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Luang_203.php